ปฏิรูปหลังเลือกตั้งจะปฏิรูปได้อย่างไร
ประโยชน์นักการเมืองจะขัดกับประโยชน์ประชาชน
ประเด็นที่เผ็ดร้อนที่สุดในขณะนี้คงหนีไม่พ้นเรื่องของการปฏิรูปประเทศไทยว่าจะทำก่อนเลือกหรือหลังการเลือกตั้ง
ที่มาของข้อเสนอให้มีการปฏิรูปประเทศเกิดจากการลุกฮือแข็งข้อของพลเมืองที่เลือกข้างความถูกต้อง ออกมาชุมนุมเป็นประชาสังคมที่มิใช่ “ม็อบ” เพื่อปลดแอกประเทศไทยให้พ้นจากการปกครองของตระกูลชั่วเพื่อมิให้ลูกหลานต้องเป็นขี้ข้าของตระกูลเลว
ความขัดแย้งจึงอยู่ที่การไม่เห็นด้วยกับการกระทำของรัฐบาลที่มุ่งกระทำทุกอย่างไปเพื่อประโยชน์ของคนบางคนของประชาชนที่ทนไม่ได้อีกต่อไป
การปฏิรูปประเทศในขณะนี้จึงมิใช่เป็นเรื่องของข้อขัดแย้งทางการเมืองระหว่างพรรคการเมืองที่เคยครองอำนาจเป็นรัฐบาลกับพรรคการเมืองฝ่ายค้านที่เมื่อตัดสินเรื่องใดไม่ได้อย่างเด็ดขาดในสภาฯ จึงยุบสภาคืนอำนาจให้ประชาชนตัดสินโดยผลของการเลือกตั้ง หากเป็นสิ่งที่ประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตยต้องการทำ นักการเมืองไม่เกี่ยว
การปฏิรูปประเทศในยามนี้จึงมิใช่ประเด็นทางการเมืองที่พรรคการเมืองจะนำมาหาเสียงชูเป็นประเด็นใช้หาเสียงสนับสนุนว่าหากเลือกพรรคตนจะเข้าไปแก้ไขปฏิรูปอะไรบ้าง
เหตุก็เพราะการปฏิรูปนี้ส่งผลกระทบต่อนักการเมืองและพรรคการเมืองที่เป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง ดังนั้นหากปล่อยให้นักการเมืองและพรรคการเมืองทำย่อมไม่มีทางสำเร็จตรงตามที่ประชาชนเจ้าของอำนาจต้องการอย่างแน่นอน ไม่มีพรรคหรือนักการเมืองใดยินดีทำให้ตัวเองเสียประโยชน์จริงไหม?
ในทำนองเดียวกัน ข้าราชการทั้งพลเรือน ตำรวจ และทหาร ก็อยู่ในข่ายที่จะถูกประชาชนปฏิรูปด้วยเช่นกัน การออกมาทำทีเป็นสนับสนุนแต่เลือกอยู่ข้าง “ประเทศไทย” ที่ไม่มีตัวตน ไม่เป็นรูปธรรมแทนที่จะเลือกอยู่ข้าง “ความถูกต้อง” ปฏิบัติตามหน้าที่ที่ตนเองมีอยู่จึงเป็นข้อเท็จจริงที่เห็นเป็นประจักษ์ เพราะ “ความเป็นกลาง” ระหว่างความถูก-ผิดนั้นไม่มี
ข้าราชการทั้งพลเรือน ตำรวจและทหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วน “หัวแถว” เหล่านั้นที่เป็นส่วนน้อยของพลเมืองไทยจึงมีส่วนได้เสียจากการปฏิรูปของประชาชนโดยตรง
นี่จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่อธิบายได้ว่าทำไมพวกเขาเหล่านั้นจึงประพฤติตนเป็น “กลางกลวง” ต่อการแข็งข้อของพลเมืองที่มีต่ออำนาจผู้ปกครองที่ใช้อย่างมิชอบอยู่ในขณะนี้ นอกจากไม่รู้ดีรู้ชั่วแล้วยังมาแอบอ้างอาศัยสิทธิความเป็นประชาชน ไม่ทำหน้าที่ของตนเองที่มีโดยอ้างความเป็นกลางเสียหนึ่งเด้งแล้วยังมาอาศัยความเป็นประชาชนพลเมืองขอใช้สิทธิเสรีภาพเหมือนเช่นคนอื่นๆ เสียอีกหนึ่งเด้ง
หนังสือบริคณห์สนธิหรือข้อบังคับขององค์กร หากจะปฏิรูปร่างใหม่หรือแก้ไขก็เป็นเรื่องของผู้ถือหุ้นที่เป็นเจ้าของผู้มีอำนาจจะพิจารณาดำเนินการเอง หาใช่ตัวแทนหรือลูกจ้างที่มีส่วนได้เสียโดยตรงมาริเริ่มแก้แต่อย่างใดไม่ พรรคหรือนักการเมืองที่เป็นเพียง “ตัวแทน” ประชาชนจึงไม่มีสิทธิที่จะมาปฏิรูปเพราะมีผลประโยชน์ทับซ้อน
การเลือกตั้งจึงมิใช่คำตอบของการปฏิรูปเพราะเป็นกระบวนการในการเข้าสู่อำนาจเท่านั้นจะมีการปฏิรูปติดไปด้วยหรือไม่ก็ไม่มีสภาพบังคับแต่ประการใด
สัญญาประชาคมนั้นใช้ได้เฉพาะคนหน้าบางหรือที่มีจริยธรรมเท่านั้น หากหวังจะใช้กับพรรคหรือนักการเมืองที่แม้แต่รัฐธรรมนูญที่ตนเองเคยให้คำสัตย์สาบานเอาไว้ว่าจะเคารพและรักษาแต่ก็ยังตระบัดสัตย์จนกลายเป็นกบฏต่อรัฐธรรมนูญในขณะนี้นั้นคงยาก
ปวงชนชาวไทยจึงมีอำนาจอธิปไตยโดยธรรมด้วยตัวเองเป็น “ดาวฤกษ์” ที่เปล่งแสงด้วยตัวเอง ต่างกับ “ตัวแทน” ที่เป็นเช่น “ดาวเคราะห์” ที่จำเป็นต้องมีกฎหมายบัญญัติให้มีอำนาจที่จะกระทำได้อย่างจำกัดเท่าที่เจ้าของจะให้ไว้
หากยังสงสัยอำนาจปวงชนชาวไทยก็ดูตัวอย่างการถอนร่างกฎหมายนิรโทษกรรมออกมาจากวุฒิสภาของยิ่งลักษณ์ก็ได้ว่า อ้อยจะเข้าปากช้างอยู่รอมร่อแล้วยังถูกบังคับให้ต้องคายออกมา เหตุก็เพราะอำนาจของปวงชนชาวไทยบังคับให้ทำ หาใช่ด้วยอำนาจของคนอยู่แดนไกลต้องการให้ทำแต่อย่างใดไม่เพราะตัวเขาต้องการกฎหมายนี้มิใช่หรือ เห็นหรือยังว่าใครมีอำนาจมากกว่ากัน
สภาประชาชนหรือการเลื่อนการเลือกตั้งออกไปจึงเป็นประสงค์ของเจ้าของอำนาจอธิปไตยเพื่อนำมาซึ่งการปฏิรูปก่อนที่จะมอบอำนาจให้ตัวแทนไปบริหารต่อไป การจะมาอ้างข้ออ้างในเชิงเทคนิคทั้งหลายจึงเป็นเพียงความพยายามในการเบี่ยงเบนกระแสการปฏิรูปหาใช่หลักการและเหตุผลแต่อย่างใดไม่
การลุกฮือขึ้นแข็งข้อของพลเมืองเป็นเสมือนการลอกคราบปอกเปลือกเปิดเผยตัวตนที่แท้จริงทุกภาคส่วนของสังคมไทยได้อย่างหมดจด ที่น่าสมเพชคือบรรดาผู้ที่เรียกตนว่านักวิชาการบางส่วนที่ยังทำตัวปฏิเสธความจริงเรื่องอำนาจของปวงชนชาวไทย เรื่องนี้มิใช่ความเห็นแต่เป็นความจริง หากประชาชนไม่ให้อำนาจ “ตัวแทน” ที่มาทำหน้าที่ผู้ปกครองแล้วรัฐบาลจะเอาอำนาจใดมาอ้าง
หากจะประพฤติตนเหมือนเช่นนักวิชาการที่ไปออกรายการโทรทัศน์ช่องหนึ่งอวดอ้างกฎหมายเลือกตั้งว่าเมื่อมีพระราชกฤษฎีกาฯ ออกมาแล้วทุกอย่างต้องจบ แก้ไขหรือเป็นอื่นอย่างใดไม่ได้นั้น แม้แต่บัญญัติ 10 ประการที่อ้างว่าเป็นพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าก็ยังมีคนฝ่าฝืน
กฎของธรรมชาติที่เป็นความจริงตลอดกาลก็คือ กฎหมายก็เป็นดังเช่นกลไกตลาดที่ต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ที่สอดรับต่อความต้องการที่แท้จริงของประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจ หาไม่แล้วก็คงอยู่ได้ยาก ในฐานะที่อวดอ้างตนเองว่าเป็นนักวิชาการ แต่ไม่เปิดรับความเห็นต่างมุ่งเอาความคิดตนเป็นใหญ่ให้อยู่เหนือคนอื่นแล้วนักวิชาการท่านนั้นจะไม่เป็นเผด็จการไปได้อย่างไร
จะมีอะไรให้ถกเถียงอีกหรือไม่ว่าทำไมจึงต้องปฏิรูป จบป่าว!
ประโยชน์นักการเมืองจะขัดกับประโยชน์ประชาชน
ประเด็นที่เผ็ดร้อนที่สุดในขณะนี้คงหนีไม่พ้นเรื่องของการปฏิรูปประเทศไทยว่าจะทำก่อนเลือกหรือหลังการเลือกตั้ง
ที่มาของข้อเสนอให้มีการปฏิรูปประเทศเกิดจากการลุกฮือแข็งข้อของพลเมืองที่เลือกข้างความถูกต้อง ออกมาชุมนุมเป็นประชาสังคมที่มิใช่ “ม็อบ” เพื่อปลดแอกประเทศไทยให้พ้นจากการปกครองของตระกูลชั่วเพื่อมิให้ลูกหลานต้องเป็นขี้ข้าของตระกูลเลว
ความขัดแย้งจึงอยู่ที่การไม่เห็นด้วยกับการกระทำของรัฐบาลที่มุ่งกระทำทุกอย่างไปเพื่อประโยชน์ของคนบางคนของประชาชนที่ทนไม่ได้อีกต่อไป
การปฏิรูปประเทศในขณะนี้จึงมิใช่เป็นเรื่องของข้อขัดแย้งทางการเมืองระหว่างพรรคการเมืองที่เคยครองอำนาจเป็นรัฐบาลกับพรรคการเมืองฝ่ายค้านที่เมื่อตัดสินเรื่องใดไม่ได้อย่างเด็ดขาดในสภาฯ จึงยุบสภาคืนอำนาจให้ประชาชนตัดสินโดยผลของการเลือกตั้ง หากเป็นสิ่งที่ประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตยต้องการทำ นักการเมืองไม่เกี่ยว
การปฏิรูปประเทศในยามนี้จึงมิใช่ประเด็นทางการเมืองที่พรรคการเมืองจะนำมาหาเสียงชูเป็นประเด็นใช้หาเสียงสนับสนุนว่าหากเลือกพรรคตนจะเข้าไปแก้ไขปฏิรูปอะไรบ้าง
เหตุก็เพราะการปฏิรูปนี้ส่งผลกระทบต่อนักการเมืองและพรรคการเมืองที่เป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง ดังนั้นหากปล่อยให้นักการเมืองและพรรคการเมืองทำย่อมไม่มีทางสำเร็จตรงตามที่ประชาชนเจ้าของอำนาจต้องการอย่างแน่นอน ไม่มีพรรคหรือนักการเมืองใดยินดีทำให้ตัวเองเสียประโยชน์จริงไหม?
ในทำนองเดียวกัน ข้าราชการทั้งพลเรือน ตำรวจ และทหาร ก็อยู่ในข่ายที่จะถูกประชาชนปฏิรูปด้วยเช่นกัน การออกมาทำทีเป็นสนับสนุนแต่เลือกอยู่ข้าง “ประเทศไทย” ที่ไม่มีตัวตน ไม่เป็นรูปธรรมแทนที่จะเลือกอยู่ข้าง “ความถูกต้อง” ปฏิบัติตามหน้าที่ที่ตนเองมีอยู่จึงเป็นข้อเท็จจริงที่เห็นเป็นประจักษ์ เพราะ “ความเป็นกลาง” ระหว่างความถูก-ผิดนั้นไม่มี
ข้าราชการทั้งพลเรือน ตำรวจและทหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วน “หัวแถว” เหล่านั้นที่เป็นส่วนน้อยของพลเมืองไทยจึงมีส่วนได้เสียจากการปฏิรูปของประชาชนโดยตรง
นี่จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่อธิบายได้ว่าทำไมพวกเขาเหล่านั้นจึงประพฤติตนเป็น “กลางกลวง” ต่อการแข็งข้อของพลเมืองที่มีต่ออำนาจผู้ปกครองที่ใช้อย่างมิชอบอยู่ในขณะนี้ นอกจากไม่รู้ดีรู้ชั่วแล้วยังมาแอบอ้างอาศัยสิทธิความเป็นประชาชน ไม่ทำหน้าที่ของตนเองที่มีโดยอ้างความเป็นกลางเสียหนึ่งเด้งแล้วยังมาอาศัยความเป็นประชาชนพลเมืองขอใช้สิทธิเสรีภาพเหมือนเช่นคนอื่นๆ เสียอีกหนึ่งเด้ง
หนังสือบริคณห์สนธิหรือข้อบังคับขององค์กร หากจะปฏิรูปร่างใหม่หรือแก้ไขก็เป็นเรื่องของผู้ถือหุ้นที่เป็นเจ้าของผู้มีอำนาจจะพิจารณาดำเนินการเอง หาใช่ตัวแทนหรือลูกจ้างที่มีส่วนได้เสียโดยตรงมาริเริ่มแก้แต่อย่างใดไม่ พรรคหรือนักการเมืองที่เป็นเพียง “ตัวแทน” ประชาชนจึงไม่มีสิทธิที่จะมาปฏิรูปเพราะมีผลประโยชน์ทับซ้อน
การเลือกตั้งจึงมิใช่คำตอบของการปฏิรูปเพราะเป็นกระบวนการในการเข้าสู่อำนาจเท่านั้นจะมีการปฏิรูปติดไปด้วยหรือไม่ก็ไม่มีสภาพบังคับแต่ประการใด
สัญญาประชาคมนั้นใช้ได้เฉพาะคนหน้าบางหรือที่มีจริยธรรมเท่านั้น หากหวังจะใช้กับพรรคหรือนักการเมืองที่แม้แต่รัฐธรรมนูญที่ตนเองเคยให้คำสัตย์สาบานเอาไว้ว่าจะเคารพและรักษาแต่ก็ยังตระบัดสัตย์จนกลายเป็นกบฏต่อรัฐธรรมนูญในขณะนี้นั้นคงยาก
ปวงชนชาวไทยจึงมีอำนาจอธิปไตยโดยธรรมด้วยตัวเองเป็น “ดาวฤกษ์” ที่เปล่งแสงด้วยตัวเอง ต่างกับ “ตัวแทน” ที่เป็นเช่น “ดาวเคราะห์” ที่จำเป็นต้องมีกฎหมายบัญญัติให้มีอำนาจที่จะกระทำได้อย่างจำกัดเท่าที่เจ้าของจะให้ไว้
หากยังสงสัยอำนาจปวงชนชาวไทยก็ดูตัวอย่างการถอนร่างกฎหมายนิรโทษกรรมออกมาจากวุฒิสภาของยิ่งลักษณ์ก็ได้ว่า อ้อยจะเข้าปากช้างอยู่รอมร่อแล้วยังถูกบังคับให้ต้องคายออกมา เหตุก็เพราะอำนาจของปวงชนชาวไทยบังคับให้ทำ หาใช่ด้วยอำนาจของคนอยู่แดนไกลต้องการให้ทำแต่อย่างใดไม่เพราะตัวเขาต้องการกฎหมายนี้มิใช่หรือ เห็นหรือยังว่าใครมีอำนาจมากกว่ากัน
สภาประชาชนหรือการเลื่อนการเลือกตั้งออกไปจึงเป็นประสงค์ของเจ้าของอำนาจอธิปไตยเพื่อนำมาซึ่งการปฏิรูปก่อนที่จะมอบอำนาจให้ตัวแทนไปบริหารต่อไป การจะมาอ้างข้ออ้างในเชิงเทคนิคทั้งหลายจึงเป็นเพียงความพยายามในการเบี่ยงเบนกระแสการปฏิรูปหาใช่หลักการและเหตุผลแต่อย่างใดไม่
การลุกฮือขึ้นแข็งข้อของพลเมืองเป็นเสมือนการลอกคราบปอกเปลือกเปิดเผยตัวตนที่แท้จริงทุกภาคส่วนของสังคมไทยได้อย่างหมดจด ที่น่าสมเพชคือบรรดาผู้ที่เรียกตนว่านักวิชาการบางส่วนที่ยังทำตัวปฏิเสธความจริงเรื่องอำนาจของปวงชนชาวไทย เรื่องนี้มิใช่ความเห็นแต่เป็นความจริง หากประชาชนไม่ให้อำนาจ “ตัวแทน” ที่มาทำหน้าที่ผู้ปกครองแล้วรัฐบาลจะเอาอำนาจใดมาอ้าง
หากจะประพฤติตนเหมือนเช่นนักวิชาการที่ไปออกรายการโทรทัศน์ช่องหนึ่งอวดอ้างกฎหมายเลือกตั้งว่าเมื่อมีพระราชกฤษฎีกาฯ ออกมาแล้วทุกอย่างต้องจบ แก้ไขหรือเป็นอื่นอย่างใดไม่ได้นั้น แม้แต่บัญญัติ 10 ประการที่อ้างว่าเป็นพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าก็ยังมีคนฝ่าฝืน
กฎของธรรมชาติที่เป็นความจริงตลอดกาลก็คือ กฎหมายก็เป็นดังเช่นกลไกตลาดที่ต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ที่สอดรับต่อความต้องการที่แท้จริงของประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจ หาไม่แล้วก็คงอยู่ได้ยาก ในฐานะที่อวดอ้างตนเองว่าเป็นนักวิชาการ แต่ไม่เปิดรับความเห็นต่างมุ่งเอาความคิดตนเป็นใหญ่ให้อยู่เหนือคนอื่นแล้วนักวิชาการท่านนั้นจะไม่เป็นเผด็จการไปได้อย่างไร
จะมีอะไรให้ถกเถียงอีกหรือไม่ว่าทำไมจึงต้องปฏิรูป จบป่าว!