วานนี้ ( 12 ธ.ค.) อนุกรรมการด้านสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมืองในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่ น.พ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิฯ เป็นประธาน ได้มีการประชุมเพื่อหาข้อเท็จจริง กรณีเหตุความรุนแรงที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อวันที่ 29-30 พ.ย.ที่ผ่านมา โดยมีการเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าให้ข้อมูล อาทิ พล.ต.อ.จรัมพร สุระมณี ที่ปรึกษา (สบ 10) ในฐานะหัวหน้าทีมตรวจพิสูจน์หลักฐานคดีดังกล่าว ผู้บังคับการ สน.หัวหมาก นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง นายวุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์. อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง
โดยภายหลังการประชุม น.พ.นิรันดร์ กล่าวว่า ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ให้ข้อมูลถึงเรื่องการตรวจพิสูจน์หลักฐานในที่เกิดเหตุ จำนวนผู้เสียชีวิต การเผารถบัส และการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่ส่วนนี้ยังไม่ชัดเจน จึงจะต้องมีการเชิญ ผบก.น.4 มาให้ข้อมูลเพิ่มเติม โดยเฉพาะในประเด็นการเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่จะเข้าไปดูแลความปลอดภัย และเหตุความรุนแรงจากเดิมที่มี 5 กองร้อย เพิ่มเป็น 10 กองร้อย แต่กลับไม่สามารถเข้าไปช่วยเหลือนักศึกษารามคำแหงให้ออกมาได้ โดยทางตำรวจยืนยันว่า ขณะที่เกิดเหตุนั้น มีความรุนแรงจนไม่อำนาจนำกำลังเข้าไปช่วยเหลือนักศึกษาได้
ขณะที่ในส่วนของอธิการบดี ม.รามคำแหง ก็ได้ให้ข้อมูลรายละเอียดในเหตุการณ์และยืนยันว่า การชุมนุมของนักศึกษาเกิดขึ้นตามธรรมชาติ เป็นไปโดยสันติวิธี ต้องการที่จะลุกขึ้นแสดงความเห็นที่แตกต่างในทางการเมือง และยืนยันว่า ในมหาวิทยาลัยรามคำแหง ไม่มีการใช้อาวุธแต่อย่างใด รวมถึงการระบุว่า นอกจากนักศึกษารามฯ ที่ถูกยิงเสียชีวิตจำนวน 1 รายแล้ว ยังมีอีก 10 ราย ที่บาดเจ็บจากกระสุนปืน และบาดเจ็บอื่นๆ อีก 30ราย รวมถึงอธิการบดี ม.ราม ยังยืนยันว่านับแต่เริ่มมีการเหตุการณ์ชุมนุมของนักศึกษารามก็ได้ประสานไปยัง พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รองนายกรัฐมนตรี ขอให้ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาดูแลความาปลอดภัยให้กับนักศึกษา และประสานอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเกิดเหตุความรุนแรง แต่ก็ไม่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาดูแล จนต้องประสานขอความช่วยเหลือไปยัง ทหาร ทำให้สามารถช่วยเหลือนักศึกษารามออกมาได้
“ที่มีการเผยแพร่ข้อมูลว่า กระสุนปืนที่ยิงนักศึกษารามฯนั้น มาจากฝั่งที่ตำรวจยืนอยู่นั้น ตรงนี้อนุกรรมการได้ มีการซักถามเพราะต้องการข้อเท็จจริง เพราะอธิการบดี ม.ราม ก็ให้ข้อมูลว่า กระสุนปืนถูกระดมยิงมาจากทุกทิศทางรอบมหาวิทยาลัย แต่ท่านจรัมพร ระบุว่า ผบก.น 4 จะให้ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ได้ รวมถึงเหตุที่ทำไมตำรวจไม่สามารถเข้าไปช่วยเหลือนักศึกษาได้ แต่ทหารเข้าได้ ทำให้อนุกรรมการฯ เห็นว่า จำเป็นต้องมีการเชิญ ผบก.น.4 มาให้ข้อมูล รวมถึงฝ่าย นปช. ด้วย ก่อนที่อนุกรรมการจะมีการสรุปว่าการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการดูแลความปลอดภัยของประชาชนเป็นอย่างไร มีการละเมิดสิทธิเกิดขึ้นหรือไม่อย่างไร”
ทั้งนี้ น.พ.นิรันดร์ ยังกล่าวถึงกรณีที่ นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการ องค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญธรรมไทย ยื่นขอให้กรรมการสิทธิเสนอเรื่องพร้อมความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การทวงคืนอำนาจของปวงชนตามรัฐธรรมนูญมาตรา 3 เพื่อใช้มาตรา 7 ดำเนินจัดตั้งสภาประชาชนชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ว่า เดิมอนุกรรมการฯ มีแผนที่จะเชิญนักวิชาการ และผู้เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลในเช้าพรุ่งนี้ ( 13 ธ.ค. ) แต่เนื่องจากบางคนติดภารกิจ จึงต้องเลื่อนไปประชุมในวันจันทร์ที่ 16 ธ.ค. แทน ซึ่งเมื่อมีการประชุมแล้ว ก็จะเร่งดำเนินการสรุปเสนอต่อที่ประชุมกรรมการสิทธิฯเพื่อมีมติเห็นชอบยื่น เรื่องพร้อมความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ
โดยภายหลังการประชุม น.พ.นิรันดร์ กล่าวว่า ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ให้ข้อมูลถึงเรื่องการตรวจพิสูจน์หลักฐานในที่เกิดเหตุ จำนวนผู้เสียชีวิต การเผารถบัส และการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่ส่วนนี้ยังไม่ชัดเจน จึงจะต้องมีการเชิญ ผบก.น.4 มาให้ข้อมูลเพิ่มเติม โดยเฉพาะในประเด็นการเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่จะเข้าไปดูแลความปลอดภัย และเหตุความรุนแรงจากเดิมที่มี 5 กองร้อย เพิ่มเป็น 10 กองร้อย แต่กลับไม่สามารถเข้าไปช่วยเหลือนักศึกษารามคำแหงให้ออกมาได้ โดยทางตำรวจยืนยันว่า ขณะที่เกิดเหตุนั้น มีความรุนแรงจนไม่อำนาจนำกำลังเข้าไปช่วยเหลือนักศึกษาได้
ขณะที่ในส่วนของอธิการบดี ม.รามคำแหง ก็ได้ให้ข้อมูลรายละเอียดในเหตุการณ์และยืนยันว่า การชุมนุมของนักศึกษาเกิดขึ้นตามธรรมชาติ เป็นไปโดยสันติวิธี ต้องการที่จะลุกขึ้นแสดงความเห็นที่แตกต่างในทางการเมือง และยืนยันว่า ในมหาวิทยาลัยรามคำแหง ไม่มีการใช้อาวุธแต่อย่างใด รวมถึงการระบุว่า นอกจากนักศึกษารามฯ ที่ถูกยิงเสียชีวิตจำนวน 1 รายแล้ว ยังมีอีก 10 ราย ที่บาดเจ็บจากกระสุนปืน และบาดเจ็บอื่นๆ อีก 30ราย รวมถึงอธิการบดี ม.ราม ยังยืนยันว่านับแต่เริ่มมีการเหตุการณ์ชุมนุมของนักศึกษารามก็ได้ประสานไปยัง พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รองนายกรัฐมนตรี ขอให้ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาดูแลความาปลอดภัยให้กับนักศึกษา และประสานอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเกิดเหตุความรุนแรง แต่ก็ไม่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาดูแล จนต้องประสานขอความช่วยเหลือไปยัง ทหาร ทำให้สามารถช่วยเหลือนักศึกษารามออกมาได้
“ที่มีการเผยแพร่ข้อมูลว่า กระสุนปืนที่ยิงนักศึกษารามฯนั้น มาจากฝั่งที่ตำรวจยืนอยู่นั้น ตรงนี้อนุกรรมการได้ มีการซักถามเพราะต้องการข้อเท็จจริง เพราะอธิการบดี ม.ราม ก็ให้ข้อมูลว่า กระสุนปืนถูกระดมยิงมาจากทุกทิศทางรอบมหาวิทยาลัย แต่ท่านจรัมพร ระบุว่า ผบก.น 4 จะให้ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ได้ รวมถึงเหตุที่ทำไมตำรวจไม่สามารถเข้าไปช่วยเหลือนักศึกษาได้ แต่ทหารเข้าได้ ทำให้อนุกรรมการฯ เห็นว่า จำเป็นต้องมีการเชิญ ผบก.น.4 มาให้ข้อมูล รวมถึงฝ่าย นปช. ด้วย ก่อนที่อนุกรรมการจะมีการสรุปว่าการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการดูแลความปลอดภัยของประชาชนเป็นอย่างไร มีการละเมิดสิทธิเกิดขึ้นหรือไม่อย่างไร”
ทั้งนี้ น.พ.นิรันดร์ ยังกล่าวถึงกรณีที่ นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการ องค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญธรรมไทย ยื่นขอให้กรรมการสิทธิเสนอเรื่องพร้อมความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การทวงคืนอำนาจของปวงชนตามรัฐธรรมนูญมาตรา 3 เพื่อใช้มาตรา 7 ดำเนินจัดตั้งสภาประชาชนชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ว่า เดิมอนุกรรมการฯ มีแผนที่จะเชิญนักวิชาการ และผู้เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลในเช้าพรุ่งนี้ ( 13 ธ.ค. ) แต่เนื่องจากบางคนติดภารกิจ จึงต้องเลื่อนไปประชุมในวันจันทร์ที่ 16 ธ.ค. แทน ซึ่งเมื่อมีการประชุมแล้ว ก็จะเร่งดำเนินการสรุปเสนอต่อที่ประชุมกรรมการสิทธิฯเพื่อมีมติเห็นชอบยื่น เรื่องพร้อมความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ