หลังจากพรรคประชาธิปัตย์ เลื่อนกำหนดวันประชุมใหญ่วิสามัญประจำปี เพื่อพิจารณาข้อบังคับพรรคตามโครงสร้างการปฏิรูปพรรคใหม่ จากวันที่ 23-24 ธ.ค. มาเป็น 16-17 ธ.ค.นี้ เนื่องจากกำหนดเดิมไปตรงกับวันที่ กกต.ประกาศให้เป็นวันแรกในการส่งรายชื่อผู้สมัคร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ของแต่ละพรรค
ทั้งนี้มีรายงานข่าวความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับตัวบุคลที่จะเข้ามาสับเปลี่ยนบางตำแหน่ง เพื่อรองรับข้อบังคับพรรคใหม่ อาทิ รองหัวหน้าพรรคภาค กทม. ที่ปัจจุบัน นายกรณ์ จาติกวณิชย์ รองหัวหน้าพรรคภาค กทม. ดำรงตำแหน่งอยู่ คาดว่าจะมีการผลักดันให้ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ส.ส.บัญชีรายชื่อ รั้งตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคภาคกทม.แทน เนื่องจากพรรคเห็นว่านายอภิรักษ์ มีประสบการณ์ด้านกทม. มากกว่า ขณะที่ นายกรณ์ มีความถนัดด้านเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม ในส่วนจำนวนของตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค หลังจากแก้ข้อบังคับพรรคใหม่ จะกำหนดให้มีรองหัวหน้าพรรคทั้งหมด 10 ตำแหน่ง แบ่งเป็น รองหัวหน้าพรรคภาคทั้ง 5 ภาค และรองหัวหน้าพรรค ด้านฟังชั่นต่างๆ อีก 5 ตำแหน่ง ซึ่งแคนดิเดตรองหัวหน้าภาคทั้ง 5 ภาค ประกอบไปด้วย นายอลงกรณ์ พลบุตร เป็นรองหัวหน้าพรรคภาคกลาง นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นรองหัวหน้าพรรคภาค กทม. น.ส.ศิริวรรณ ปราศจากศัตรู เป็นรองหัวหน้าพรรคภาคเหนือ ส่วนรองหัวหน้าพรรคภาคอีสาน ยังมีความคลุมเครืออยู่ เนื่องจากนายอิสระ สมชัย อดีตรองหัวหน้าพรรคภาคอีสาน ได้ลาออกไปร่วมต่อต้านรัฐบาลกับกลุ่ม กปปส. นอกจากนี้ รองหัวหน้าพรรคด้านฟังก์ชั่น มีแคนดิเดต ที่น่าสนใจ อาทิ มีการทาบทาม นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน นั่งตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคด้านต่างประเทศ นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าฯ ธปท. เข้ามาดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคด้านเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ คนที่จะตัดสินใจเลือกสรรตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคด้านฟังก์ชัน จะให้สิทธิขาดกับหัวหน้าพรรคเป็นผู้เลือกทั้งหมด ดังนั้น ต้องจับตาว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จะได้กลับเข้ามาดำรงตำแหน่งอีกครั้งหรือไม่
นอกจากนี้ รายงานข่าวแจ้งว่าขณะนี้ ความเห็นของสมาชิกพรรคเรื่องตำแหน่งหัวหน้าพรรค และเลขาธิการพรรค และเรื่องกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ แยกออกเป็นสองฝ่าย โดยฝ่ายหนึ่งมองว่า ศึกเลือกตั้งครั้งหน้า จะเป็นการเดิมพันระหว่างพรรคประชาธิปัตย์ กับพรรคเพื่อไทย ดังนั้นควรจะยังคงให้ตำแหน่งสำคัญในพรรคชุดเดิมนั้น ไม่ควรเปลี่ยนตัวแม่ทัพกลางศึก อีกทั้งประเมิณจากมวลมหาประชาชน ที่ออกมาต่อต้านขับไล่ระบอบทักษิณในครั้งนี้ มั่นใจว่า พรรคจะได้ฐานเสียงมากขึ้น
ทั้งนี้มีรายงานข่าวความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับตัวบุคลที่จะเข้ามาสับเปลี่ยนบางตำแหน่ง เพื่อรองรับข้อบังคับพรรคใหม่ อาทิ รองหัวหน้าพรรคภาค กทม. ที่ปัจจุบัน นายกรณ์ จาติกวณิชย์ รองหัวหน้าพรรคภาค กทม. ดำรงตำแหน่งอยู่ คาดว่าจะมีการผลักดันให้ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ส.ส.บัญชีรายชื่อ รั้งตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคภาคกทม.แทน เนื่องจากพรรคเห็นว่านายอภิรักษ์ มีประสบการณ์ด้านกทม. มากกว่า ขณะที่ นายกรณ์ มีความถนัดด้านเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม ในส่วนจำนวนของตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค หลังจากแก้ข้อบังคับพรรคใหม่ จะกำหนดให้มีรองหัวหน้าพรรคทั้งหมด 10 ตำแหน่ง แบ่งเป็น รองหัวหน้าพรรคภาคทั้ง 5 ภาค และรองหัวหน้าพรรค ด้านฟังชั่นต่างๆ อีก 5 ตำแหน่ง ซึ่งแคนดิเดตรองหัวหน้าภาคทั้ง 5 ภาค ประกอบไปด้วย นายอลงกรณ์ พลบุตร เป็นรองหัวหน้าพรรคภาคกลาง นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นรองหัวหน้าพรรคภาค กทม. น.ส.ศิริวรรณ ปราศจากศัตรู เป็นรองหัวหน้าพรรคภาคเหนือ ส่วนรองหัวหน้าพรรคภาคอีสาน ยังมีความคลุมเครืออยู่ เนื่องจากนายอิสระ สมชัย อดีตรองหัวหน้าพรรคภาคอีสาน ได้ลาออกไปร่วมต่อต้านรัฐบาลกับกลุ่ม กปปส. นอกจากนี้ รองหัวหน้าพรรคด้านฟังก์ชั่น มีแคนดิเดต ที่น่าสนใจ อาทิ มีการทาบทาม นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน นั่งตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคด้านต่างประเทศ นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าฯ ธปท. เข้ามาดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคด้านเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ คนที่จะตัดสินใจเลือกสรรตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคด้านฟังก์ชัน จะให้สิทธิขาดกับหัวหน้าพรรคเป็นผู้เลือกทั้งหมด ดังนั้น ต้องจับตาว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จะได้กลับเข้ามาดำรงตำแหน่งอีกครั้งหรือไม่
นอกจากนี้ รายงานข่าวแจ้งว่าขณะนี้ ความเห็นของสมาชิกพรรคเรื่องตำแหน่งหัวหน้าพรรค และเลขาธิการพรรค และเรื่องกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ แยกออกเป็นสองฝ่าย โดยฝ่ายหนึ่งมองว่า ศึกเลือกตั้งครั้งหน้า จะเป็นการเดิมพันระหว่างพรรคประชาธิปัตย์ กับพรรคเพื่อไทย ดังนั้นควรจะยังคงให้ตำแหน่งสำคัญในพรรคชุดเดิมนั้น ไม่ควรเปลี่ยนตัวแม่ทัพกลางศึก อีกทั้งประเมิณจากมวลมหาประชาชน ที่ออกมาต่อต้านขับไล่ระบอบทักษิณในครั้งนี้ มั่นใจว่า พรรคจะได้ฐานเสียงมากขึ้น