ปี57ทีวีดิจิตอลแจ้งเกิดเต็มตัว นายกสมาคมโทรทัศน์ดาวเทียมมองไม่น่ากลัว ชี้ทีวีดาวเทียมต้องปรับตัวรับมือให้ดี ส่วนเม็ดเงินโฆษณาจะเลือกใช้สื่อทีวีดาวเทียมแบบเจาะลึกกลุ่มเป้าตรงมากขึ้น คาดส่งเม็ดเงินโฆษณารวมโตเพิ่ม25%
นายนที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(กสท.)กล่าวว่า แผนการเปลี่ยนผ่านจากอะนาล็อกสู่ทีวีดิจิตอลคาดว่าจะครอบคลุม 95%ของจำนวนประชากรทั้งประเทศในระยะเวลา4 ปีนับตั้งแต่ปี2557เป็นต้นไปซึ่งแผนการพัฒนาสู่ทีวีดิจิตอลครั้งนี้ถือว่าไทยกำลังนำหน้ามาเลเซียและอินโดนีเซียอยู่โดยของไทยจะใช้เทคโนโลยีT2 ถือว่าดีที่สุดณ ตอนนี้ โดยมองว่าภายหลังการเปลี่ยนผ่านแล้ว กว่า 60%ของเพย์ทีวีจะสามารถรับชมช่องทีวีดิจิตอลได้ครบทั้งหมด
นายนิพนธ์ นาคสมภพ นายกสมาคมโทรทัศน์ดาวเทียม(ประเทศไทย)กล่าวว่า ปัจจุบันการรับชมช่องรายการต่างๆผ่านทีวีดาวเทียมหรือ แซทเทิลไลท์ทีวีถือว่าเป็นแพลทฟอร์มที่เข้าถึงประชากรไทยได้ทั้งประเทศขณะที่ทีวีดิจิตอลยังต้องพัฒนาอยู่เพราะอยู่ในช่วงเริ่มต้นซึ่งมองว่าภายใน3-4ปีที่จะครอบคลุมประชากรเกือบทั่วประเทศนั้นอาจจะเป็นไปยากจากที่ผ่านมาพบว่าประเทศอังกฤษต้องใช้เวลากับโครงการนี้กว่า13 ปีเพื่อเข้าสู่กระบวนการเปลี่ยนผ่านจากอานาล็อกสู่ทีวีดิจิตอลจริงๆถึง4ปี ส่วนสหรัฐอเมริกาใช้เวลาถึง3 ปีอีกทั้งรัศมีการรับชมของทีวีดาวเทียมอยู่ที่20 กม.เท่านั้นการลงทุนจึงค่อนข้างสูง
ขณะเดียวกันการลงทุนของทีวีดิจิตอลแต่ละช่องค่อนข้างสูงด้วยเช่นกันจากเม็ดเงินการประมูลที่เกิดขึ้นเมื่อเทียบกับช่องทีวีดาวเทียมถือว่าสูงมากและหลายเท่าตัวจึงมองว่าช่องดิจิตอลทีวีที่จะเกิดขึ้นใหม่กว่า24 ช่องนั้นไม่ได้น่ากลัวหรือส่งผลกระทบต่อกลุ่มช่องทีวีดาวเทียมนักแต่ถ้ามีลูกเล่นหรือวิธีการนำเสนอหรือการสื่อสารที่น่าสนใจก็น่าจะส่งผลกระทบต่อทีวีดาวเทียมบ้าง อีกทั้งมองว่ารูปแบบการจัดเรียงช่องที่จะเกิดขึ้นตามมานั้นทำให้ช่องทีวีดิจิตอลได้เปรียบเพราะถูกจัดเรียงขึ้นก่อนแล้วค่อยตามด้วยช่องทีวีดาวเทียม
“หลังเกิดช่องทีวีดิจิตอลขึ้นแล้วเบื้องต้นมองว่ากลุ่มช่องทีวีดาวเทียมกว่า300 ช่องจะเหลืออยู่ราว 200ช่อง และจะปรับตัวสู่ช่องที่มีคุณภาพมากขึ้นด้วยเนื้อหาคอนเท้นท์ที่ต้องแข่งขันกับดิจิตอลทีวีหรือเป็นช่องที่มีความเป็นยูนีคมากขึ้นขณะที่กลุ่มลูกค้าสปอนเซอร์ที่ต้องการลงโฆษณาจะมีตัวเลือกมากขึ้นโดยเฉพาะช่องทีวีดาวเทียมที่มีราคาโฆษณาค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับฟรีทีวีและยังสามารถเลือกลงโฆษณาได้ตรงกลุ่มเป้าหมายตามกลุ่มเป้าหมายของแต่ละช่องได้ดีกว่า”
นายวศิน บูรณะเหตุรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการผลิตและออกอากาศบริษัท จีทีเอช จำกัด (มหาชน) กล่าวเสริมว่าการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิตอลทีวีมองว่าจะส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคมากขึ้นรีโมทจะเป็นตัวแปรสำคัญในการกำหนดให้มีการเปลี่ยนช่องอย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้นดังนั้นคอนเท้นท์จึงถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ผู้ชมอยู่ติดหน้าจอของแต่ละช่องได้นานที่สุด
สอดคล้องกับความคิดเห็นของทางนายวรวิทย์ ศรีอนันต์ รักษาการบรรณาธิการหน้า1หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ที่กล่าวว่า เดิมมีเดียจะถูกจำกัดด้วยเทคโนโลยีสื่อหลักจึงมีอิทธิพลมากต่อมาเทคโนโลยีมีมากขึ้นสื่อหลากหลายขึ้นความสำคัญของสื่อหลักลดลงมองในแง่บวก วิชาชีพสื่อไม่ได้หายไปแต่ที่สำคัญมากขึ้นแทน คือเป็นยุคของคอนเท้นท์และต้องเป็นตอนเท้นท์ที่มีคุณภาพมากขึ้นเพราะปัจจุบันสื่อมีอิทธิพลกับความคิดและเปลี่ยนทัศนคติของคนได้
ทั้งนี้นายวิทวัส ชัยปาณี นายกกิตติมศักดิ์สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย กล่าวว่าจากความสำคัญของคอนเท้นท์บวกกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปจะพบว่าช่วงเวลาไพร์มไทม์ของการรับชมช่องรายการต่างๆจะหายไปเป็นการแข่งขันที่เท่าเทียมกันและแข่งขันกันเรื่องของคอนเท้นท์อย่างแท้จริงโดยจะไม่มีรายการใดที่จะมีเรตติ้งสูงอย่างที่ผ่านมาอีกแล้วสูงสุดหลังการเกิดดิจิตอลทีวีเชื่อว่าจะมีเรตติ้งไม่เกิน2
แน่นอนว่าเป็นผลดีต่อวงการโฆษณาจากเดิมที่ถูกจำกัดทั้งในเรื่องของเวลาลงโฆษณาช่องรายการที่จำกัดอยู่แค่ฟรีทีวีรวมถึงเรตติ้งของรายการที่เป็นตัวเลือกหลักให้ต้องลงโฆษณาในรายการนั้นๆจะหายไปด้วยเช่นกันและมีทางเลือกในการโฆษณาได้มากขึ้นจากเดิมลูกค้าอาจจะลงโฆษณาแค่รายการเดียวช่องเดียวก็จะกระจายการใช้เม็ดเงินโฆษณาให้หลากหลายครอบคลุมการใช้สื่อมกขึ้นโดยมองว่าในภาพรวมจะส่งผลให้ภาพรวมอุตสาหกรรมโฆษณาในปี2557 เติบโตขึ้นถึง 25%
นายนที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(กสท.)กล่าวว่า แผนการเปลี่ยนผ่านจากอะนาล็อกสู่ทีวีดิจิตอลคาดว่าจะครอบคลุม 95%ของจำนวนประชากรทั้งประเทศในระยะเวลา4 ปีนับตั้งแต่ปี2557เป็นต้นไปซึ่งแผนการพัฒนาสู่ทีวีดิจิตอลครั้งนี้ถือว่าไทยกำลังนำหน้ามาเลเซียและอินโดนีเซียอยู่โดยของไทยจะใช้เทคโนโลยีT2 ถือว่าดีที่สุดณ ตอนนี้ โดยมองว่าภายหลังการเปลี่ยนผ่านแล้ว กว่า 60%ของเพย์ทีวีจะสามารถรับชมช่องทีวีดิจิตอลได้ครบทั้งหมด
นายนิพนธ์ นาคสมภพ นายกสมาคมโทรทัศน์ดาวเทียม(ประเทศไทย)กล่าวว่า ปัจจุบันการรับชมช่องรายการต่างๆผ่านทีวีดาวเทียมหรือ แซทเทิลไลท์ทีวีถือว่าเป็นแพลทฟอร์มที่เข้าถึงประชากรไทยได้ทั้งประเทศขณะที่ทีวีดิจิตอลยังต้องพัฒนาอยู่เพราะอยู่ในช่วงเริ่มต้นซึ่งมองว่าภายใน3-4ปีที่จะครอบคลุมประชากรเกือบทั่วประเทศนั้นอาจจะเป็นไปยากจากที่ผ่านมาพบว่าประเทศอังกฤษต้องใช้เวลากับโครงการนี้กว่า13 ปีเพื่อเข้าสู่กระบวนการเปลี่ยนผ่านจากอานาล็อกสู่ทีวีดิจิตอลจริงๆถึง4ปี ส่วนสหรัฐอเมริกาใช้เวลาถึง3 ปีอีกทั้งรัศมีการรับชมของทีวีดาวเทียมอยู่ที่20 กม.เท่านั้นการลงทุนจึงค่อนข้างสูง
ขณะเดียวกันการลงทุนของทีวีดิจิตอลแต่ละช่องค่อนข้างสูงด้วยเช่นกันจากเม็ดเงินการประมูลที่เกิดขึ้นเมื่อเทียบกับช่องทีวีดาวเทียมถือว่าสูงมากและหลายเท่าตัวจึงมองว่าช่องดิจิตอลทีวีที่จะเกิดขึ้นใหม่กว่า24 ช่องนั้นไม่ได้น่ากลัวหรือส่งผลกระทบต่อกลุ่มช่องทีวีดาวเทียมนักแต่ถ้ามีลูกเล่นหรือวิธีการนำเสนอหรือการสื่อสารที่น่าสนใจก็น่าจะส่งผลกระทบต่อทีวีดาวเทียมบ้าง อีกทั้งมองว่ารูปแบบการจัดเรียงช่องที่จะเกิดขึ้นตามมานั้นทำให้ช่องทีวีดิจิตอลได้เปรียบเพราะถูกจัดเรียงขึ้นก่อนแล้วค่อยตามด้วยช่องทีวีดาวเทียม
“หลังเกิดช่องทีวีดิจิตอลขึ้นแล้วเบื้องต้นมองว่ากลุ่มช่องทีวีดาวเทียมกว่า300 ช่องจะเหลืออยู่ราว 200ช่อง และจะปรับตัวสู่ช่องที่มีคุณภาพมากขึ้นด้วยเนื้อหาคอนเท้นท์ที่ต้องแข่งขันกับดิจิตอลทีวีหรือเป็นช่องที่มีความเป็นยูนีคมากขึ้นขณะที่กลุ่มลูกค้าสปอนเซอร์ที่ต้องการลงโฆษณาจะมีตัวเลือกมากขึ้นโดยเฉพาะช่องทีวีดาวเทียมที่มีราคาโฆษณาค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับฟรีทีวีและยังสามารถเลือกลงโฆษณาได้ตรงกลุ่มเป้าหมายตามกลุ่มเป้าหมายของแต่ละช่องได้ดีกว่า”
นายวศิน บูรณะเหตุรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการผลิตและออกอากาศบริษัท จีทีเอช จำกัด (มหาชน) กล่าวเสริมว่าการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิตอลทีวีมองว่าจะส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคมากขึ้นรีโมทจะเป็นตัวแปรสำคัญในการกำหนดให้มีการเปลี่ยนช่องอย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้นดังนั้นคอนเท้นท์จึงถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ผู้ชมอยู่ติดหน้าจอของแต่ละช่องได้นานที่สุด
สอดคล้องกับความคิดเห็นของทางนายวรวิทย์ ศรีอนันต์ รักษาการบรรณาธิการหน้า1หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ที่กล่าวว่า เดิมมีเดียจะถูกจำกัดด้วยเทคโนโลยีสื่อหลักจึงมีอิทธิพลมากต่อมาเทคโนโลยีมีมากขึ้นสื่อหลากหลายขึ้นความสำคัญของสื่อหลักลดลงมองในแง่บวก วิชาชีพสื่อไม่ได้หายไปแต่ที่สำคัญมากขึ้นแทน คือเป็นยุคของคอนเท้นท์และต้องเป็นตอนเท้นท์ที่มีคุณภาพมากขึ้นเพราะปัจจุบันสื่อมีอิทธิพลกับความคิดและเปลี่ยนทัศนคติของคนได้
ทั้งนี้นายวิทวัส ชัยปาณี นายกกิตติมศักดิ์สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย กล่าวว่าจากความสำคัญของคอนเท้นท์บวกกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปจะพบว่าช่วงเวลาไพร์มไทม์ของการรับชมช่องรายการต่างๆจะหายไปเป็นการแข่งขันที่เท่าเทียมกันและแข่งขันกันเรื่องของคอนเท้นท์อย่างแท้จริงโดยจะไม่มีรายการใดที่จะมีเรตติ้งสูงอย่างที่ผ่านมาอีกแล้วสูงสุดหลังการเกิดดิจิตอลทีวีเชื่อว่าจะมีเรตติ้งไม่เกิน2
แน่นอนว่าเป็นผลดีต่อวงการโฆษณาจากเดิมที่ถูกจำกัดทั้งในเรื่องของเวลาลงโฆษณาช่องรายการที่จำกัดอยู่แค่ฟรีทีวีรวมถึงเรตติ้งของรายการที่เป็นตัวเลือกหลักให้ต้องลงโฆษณาในรายการนั้นๆจะหายไปด้วยเช่นกันและมีทางเลือกในการโฆษณาได้มากขึ้นจากเดิมลูกค้าอาจจะลงโฆษณาแค่รายการเดียวช่องเดียวก็จะกระจายการใช้เม็ดเงินโฆษณาให้หลากหลายครอบคลุมการใช้สื่อมกขึ้นโดยมองว่าในภาพรวมจะส่งผลให้ภาพรวมอุตสาหกรรมโฆษณาในปี2557 เติบโตขึ้นถึง 25%