ยินดี วัชรพงศ์ ต่อสุวรรณ
อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
การขอออกหมายจับแกนนำผู้ชุมนุม นายสุเทพ เทือกสุบรรณและพวก เนื่องจากมีเหตุการณ์ปรากฏขึ้นในบ้านเมือง โดยมีแกนนำซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายค้านจำนวนหนึ่งได้ลาออกจากการเป็นสส. แล้วมาดำเนินการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ เพราะเห็นว่าไม่สามารถดำเนินการทางรัฐสภาเพื่อยุติการกระทำอันไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญของรัฐบาลซึ่งมีเสียงข้างมากในรัฐสภา ในการออกพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับเหมาเข่งสุดซอย เพื่อช่วยเหลือผู้กระทำความผิดกฎหมายที่มีโทษทางอาญาและทุจริตคอร์รัปชั่น เมื่อมีการชุมนุมเกิดขึ้นรัฐบาลและรัฐสภาได้ยอมถอยโดยถอนร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมที่เสนอไว้ออกทั้งหมด 6 ฉบับ เหลือแต่ฉบับเหมาเข่งสุดซอยที่ถอนไม่ได้ เพราะขัดข้องด้วยบทบัญญัติรัฐธรรมนูญซึ่งต้องรอให้พ้น 180 วัน ซึ่งเมื่อครบ 180 วัน ก็มีช่องทางตามรัฐธรรมนูญที่จะประกาศใช้เป็นกฎหมายได้
ก่อนที่จะเกิดการชุมนุม รัฐสภาได้เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าด้วยที่มาของสมาชิกวุฒิสภาซึ่งมีข้อขัดแย้งกันว่า รัฐสภาจะแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นดังกล่าวได้หรือไม่ ซึ่งอยู่ในระหว่างการดำเนินการทางศาลรัฐธรรมนูญ และเมื่อศาลรัฐธรรมนูญได้รับเรื่องไว้พิจารณา สมาชิกรัฐสภาเสียงข้างมากที่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาลได้ประกาศไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญที่จะพิจารณาวินิจฉัยคำร้องที่มีผู้ร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ และเมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยแล้ว พรรคการเมืองเสียงข้างมากที่เป็นรัฐบาลก็ประกาศไม่ยอมรับผลของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีการแสดงออกถึงการไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ และคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ได้วินิจฉัยเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าด้วยที่มาของสมาชิกวุฒิสภา
เมื่อการชุมนุมของผู้ชุมนุมได้เกิดขึ้นจากการที่รัฐสภาโดยเสียงข้างมากที่เป็นพรรครัฐบาลได้ดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาและคุณสมบัติของสมาชิกวุฒิสภา และพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฉบับเหมาเข่งสุดซอย ซึ่งผู้ชุมนุมกล่าวอ้างเหตุแห่งการชุมนุมว่ารัฐบาลและสมาชิกรัฐสภาที่เป็นพรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาลนั้น ใช้สิทธิและเสรีภาพทางรัฐสภาเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 โดยผู้ชุมนุมใช้สิทธิต่อต้านโดยสันติวิธีตามรัฐธรรมนูญมาตรา 69 ได้ประกาศโดยเปิดเผยที่จะปฏิบัติการอารยะขัดขืน และเมื่อศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาและคุณสมบัติของสมาชิกวุฒิสภาเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 เป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 วรรคแรก ซึ่งมีความหมายว่า รัฐบาลและรัฐสภาเสียงข้างมากได้ทำผิดรัฐธรรมนูญมาตรา 68
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว จึงคุ้มครองสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญของผู้ชุมนุมโดยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในทันที ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 27 และมาตรา 216 เมื่อสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญมาตรา 69 ได้บัญญัติไว้ในหมวด “ สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย” จึงผูกพันการใช้อำนาจรัฐโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ไม่ว่าจะเป็นรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐในการที่จะ “ใช้บังคับกฎหมาย” นั้นจะใช้บังคับโดยไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพที่ได้รับความคุ้มครองโดยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญและรัฐธรรมนูญมาตรา 69 ไม่ได้ รัฐธรรมนูญมาตรา 27 เป็นบทกำจัดสิทธิในการ “ใช้บังคับกฎหมาย” ของหน่วยงานของรัฐ รวมทั้งศาลที่จะ“ใช้บังคับกฎหมาย” กับบุคคลซึ่งได้รับความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไว้
การที่เจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐได้ขอออกหมายจับผู้นำชุมนุม นายสุเทพ เทือกสุบรรณ และพวก ในขณะที่กำลังใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญในการชุมนุม ซึ่งหากจะเห็นว่ามีการกระทำความผิดอาญาอื่นเกิดขึ้นในขณะชุมนุม ก็อาจกล่าวได้ว่าเป็นการกระทำความผิดซึ่งหน้า ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถดำเนินการจับกุมได้ทันที แต่ก็มิได้ดำเนินการจับกุมใดๆ แต่ได้ขอให้ศาลออกหมายจับให้ การขอให้ศาลออกหมายจับจึงเป็นการขอให้ออกหมายจับบุคคล ซึ่งได้รับความคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ โดยรู้ว่าหมายศาลดังกล่าวไม่อาจมีผลในการใช้บังคับและไม่มีผลในทางปฏิบัติได้ เพราะการกระทำในการชุมนุมเป็นการกระทำต่อเนื่องเพื่อต่อต้านการกระทำของฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติที่ได้กระทำการอันผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 68 วรรคแรก ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว การนำหมายศาลเพื่อไปใช้ในการปฏิบัติเพื่อที่จะจับบุคคลซึ่งได้รับความคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนั้น จึงสุ่มเสี่ยงต่อการกระทำความผิดกฎหมายอาญา หลายบท หลายมาตรา และเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 26 , 27 ทั้งจะมีปัญหาว่าหมายศาลที่ออกใช้บังคับนั้นจะขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 26 , 27 หรือไม่
3 ธ.ค. 56
อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
การขอออกหมายจับแกนนำผู้ชุมนุม นายสุเทพ เทือกสุบรรณและพวก เนื่องจากมีเหตุการณ์ปรากฏขึ้นในบ้านเมือง โดยมีแกนนำซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายค้านจำนวนหนึ่งได้ลาออกจากการเป็นสส. แล้วมาดำเนินการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ เพราะเห็นว่าไม่สามารถดำเนินการทางรัฐสภาเพื่อยุติการกระทำอันไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญของรัฐบาลซึ่งมีเสียงข้างมากในรัฐสภา ในการออกพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับเหมาเข่งสุดซอย เพื่อช่วยเหลือผู้กระทำความผิดกฎหมายที่มีโทษทางอาญาและทุจริตคอร์รัปชั่น เมื่อมีการชุมนุมเกิดขึ้นรัฐบาลและรัฐสภาได้ยอมถอยโดยถอนร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมที่เสนอไว้ออกทั้งหมด 6 ฉบับ เหลือแต่ฉบับเหมาเข่งสุดซอยที่ถอนไม่ได้ เพราะขัดข้องด้วยบทบัญญัติรัฐธรรมนูญซึ่งต้องรอให้พ้น 180 วัน ซึ่งเมื่อครบ 180 วัน ก็มีช่องทางตามรัฐธรรมนูญที่จะประกาศใช้เป็นกฎหมายได้
ก่อนที่จะเกิดการชุมนุม รัฐสภาได้เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าด้วยที่มาของสมาชิกวุฒิสภาซึ่งมีข้อขัดแย้งกันว่า รัฐสภาจะแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นดังกล่าวได้หรือไม่ ซึ่งอยู่ในระหว่างการดำเนินการทางศาลรัฐธรรมนูญ และเมื่อศาลรัฐธรรมนูญได้รับเรื่องไว้พิจารณา สมาชิกรัฐสภาเสียงข้างมากที่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาลได้ประกาศไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญที่จะพิจารณาวินิจฉัยคำร้องที่มีผู้ร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ และเมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยแล้ว พรรคการเมืองเสียงข้างมากที่เป็นรัฐบาลก็ประกาศไม่ยอมรับผลของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีการแสดงออกถึงการไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ และคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ได้วินิจฉัยเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าด้วยที่มาของสมาชิกวุฒิสภา
เมื่อการชุมนุมของผู้ชุมนุมได้เกิดขึ้นจากการที่รัฐสภาโดยเสียงข้างมากที่เป็นพรรครัฐบาลได้ดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาและคุณสมบัติของสมาชิกวุฒิสภา และพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฉบับเหมาเข่งสุดซอย ซึ่งผู้ชุมนุมกล่าวอ้างเหตุแห่งการชุมนุมว่ารัฐบาลและสมาชิกรัฐสภาที่เป็นพรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาลนั้น ใช้สิทธิและเสรีภาพทางรัฐสภาเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 โดยผู้ชุมนุมใช้สิทธิต่อต้านโดยสันติวิธีตามรัฐธรรมนูญมาตรา 69 ได้ประกาศโดยเปิดเผยที่จะปฏิบัติการอารยะขัดขืน และเมื่อศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาและคุณสมบัติของสมาชิกวุฒิสภาเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 เป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 วรรคแรก ซึ่งมีความหมายว่า รัฐบาลและรัฐสภาเสียงข้างมากได้ทำผิดรัฐธรรมนูญมาตรา 68
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว จึงคุ้มครองสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญของผู้ชุมนุมโดยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในทันที ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 27 และมาตรา 216 เมื่อสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญมาตรา 69 ได้บัญญัติไว้ในหมวด “ สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย” จึงผูกพันการใช้อำนาจรัฐโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ไม่ว่าจะเป็นรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐในการที่จะ “ใช้บังคับกฎหมาย” นั้นจะใช้บังคับโดยไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพที่ได้รับความคุ้มครองโดยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญและรัฐธรรมนูญมาตรา 69 ไม่ได้ รัฐธรรมนูญมาตรา 27 เป็นบทกำจัดสิทธิในการ “ใช้บังคับกฎหมาย” ของหน่วยงานของรัฐ รวมทั้งศาลที่จะ“ใช้บังคับกฎหมาย” กับบุคคลซึ่งได้รับความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไว้
การที่เจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐได้ขอออกหมายจับผู้นำชุมนุม นายสุเทพ เทือกสุบรรณ และพวก ในขณะที่กำลังใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญในการชุมนุม ซึ่งหากจะเห็นว่ามีการกระทำความผิดอาญาอื่นเกิดขึ้นในขณะชุมนุม ก็อาจกล่าวได้ว่าเป็นการกระทำความผิดซึ่งหน้า ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถดำเนินการจับกุมได้ทันที แต่ก็มิได้ดำเนินการจับกุมใดๆ แต่ได้ขอให้ศาลออกหมายจับให้ การขอให้ศาลออกหมายจับจึงเป็นการขอให้ออกหมายจับบุคคล ซึ่งได้รับความคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ โดยรู้ว่าหมายศาลดังกล่าวไม่อาจมีผลในการใช้บังคับและไม่มีผลในทางปฏิบัติได้ เพราะการกระทำในการชุมนุมเป็นการกระทำต่อเนื่องเพื่อต่อต้านการกระทำของฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติที่ได้กระทำการอันผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 68 วรรคแรก ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว การนำหมายศาลเพื่อไปใช้ในการปฏิบัติเพื่อที่จะจับบุคคลซึ่งได้รับความคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนั้น จึงสุ่มเสี่ยงต่อการกระทำความผิดกฎหมายอาญา หลายบท หลายมาตรา และเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 26 , 27 ทั้งจะมีปัญหาว่าหมายศาลที่ออกใช้บังคับนั้นจะขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 26 , 27 หรือไม่
3 ธ.ค. 56