ASTV ผู้จัดการรายวัน – แบรนด์รถสัญชาติอังกฤษ “เอ็มจี” ภายใต้อุ้งมือ SAIC ของจีน เพิ่งแถลงข่าวลงทุนและทำตลาดในไทย ล่าสุดวงแตกเสียแล้ว! เมื่อทีมผู้บริหารฝ่ายการตลาด และวิศวกรระดับสูงคนไทยทยอยลาออกสิ้นเดือนนี้ เหตุมีปัญหากับตัวแทนฝ่ายจีน แฉยังจ้องเล่นตุกติกตั้งบริษัทลูก HASCO-CP นำเข้าชิ้นส่วนประกอบ หาโอกาสเลี่ยงใช้ชิ้นส่วนในภูมิภาคตามกฎหมาย
รายงานข่าวจากบริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์-ซีพี จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายรถยนต์ยี่ห้อ “เอ็มจี” (MG) ในไทย เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างเซี่ยงไฮ้ ออโตโมทีฟ อินดัสทรี คอร์ปอเรชัน (SAIC) จากประเทศจีน กับกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) ของไทย ซึ่งเมื่อวันที่ 21 พ.ย.ที่ผ่านมา เพิ่งแถลงข่าวเปิดตัวในไทยอย่างเป็นทางการไป ได้ระบุว่าการนำรถยนต์เอ็มจีแบรนด์ระดับนำจากอังกฤษ ซึ่งปัจจุบัน SAIC ซื้อกิจการไป และกำลังนำเข้ามาทำตลาดในไทย โดยจะมีการเปิดตัวสร้างการรับรู้แบรนด์สู่สาธารณชนครั้งแรก ในงานมอเตอร์ เอ็กซ์โป 2013 ที่จะมีขึ้นปลายเดือนพ.ย.นี้ แต่ปัจจุบันกลับมีปัญหาในการบริหารงานหลายอย่าง และมีผู้บริหารคนไทยเริ่มทยอยลาออกไปหลายคนแล้ว
“ในสิ้นเดือนพ.ย.นี้ในส่วนของผู้บริหารคนไทย ซึ่งเป็นตัวแทนจากฝ่ายเครือเจริญโภคภัณฑ์ และเข้ามาวางแผนงานการทำตลาดรถยนต์เอ็มจีตั้งแต่ต้น ในบริษัทร่วมทุน เอ็มจี เซลส์ ประเทศไทย ที่ดูแลด้านการทำตลาดและขายของรถยนต์เอ็มจี จะลาออกอย่างน้อย 2 คน เนื่องจากไม่สามารถทำงานร่วมกับฝ่ายบริหารของ SAIC ได้ เพราะทางจีนไม่ยอมรับฟังคำชี้แนะต่างๆ โดยถืออำนาจว่ามีสัดส่วนหุ้น 51% มากกว่าฝ่ายไทย เช่นเดียวกับวิศวกรระดับสูงที่โรงงานในนิคมฯ เหมราช ซึ่งส่วนใหญ่ดึงมาจากเจนเนอรัล มอเตอร์ส หรือจีเอ็ม เริ่มมีทยอยลาออกหลายคนเช่นกัน”
ทั้งนี้ไม่เพียงเรื่องแนวคิดในการดำเนินงาน ยังมีเรื่องเอาเปรียบของทาง SAIC ที่ฝ่ายผู้บริหารไทยพยายามจะรักษาผลประโยชน์ให้กับทางซีพี เช่นเรื่องของการพัฒนาเทคโนโลยีการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85 ที่ฝ่ายไทยเครือซีพีถูกให้ยื่นเงื่อนไขต้องลงทุนด้วย ซึ่งในความเป็นจริงการพัฒนาต้องดำเนินการโดยทางจีน เพราะหากในอนาคต SAIC จะนำไปใช้ยังประเทศอื่นๆ แล้วทางซีพีจะได้รับประโยชน์อะไร และทางจีนก็ไม่สามารถตอบได้ชัดเจน
รายงานข่าวระบุว่าในเรื่องของการดำเนินงานการประกอบรถยนต์อาจจะมีปัญหาเช่นกัน โดยได้มีการตั้งบริษัทร่วมทุนขึ้นมาใหม่ในไทย ภายใต้ชื่อ HASCO-CP เพื่อเป็นบริษัทนำเข้าชิ้นส่วน สำนักงานตั้งอยู่ในนิคมฯ เหมราช บริเวณพื้นที่เดียวกับโรงงาน ซึ่งจากแนวคิดของ SAIC ต้องการใช้บริษัทลูกนี้นำเข้าชิ้นส่วนจากจีน แล้วมาอ้างเป็นชิ้นส่วนที่มาจากในภูมิภาค เพราะเป็นบริษัทที่ตั้งอยู่ในไทย เพื่อให้เป็นไปตามกำหนดการใช้ชิ้นส่วนภายในภูมิภาค 40% ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ของรถผลิตในประเทศ หรือภูมิภาคอาเซียน นี่ถือเป็นการหลีกเลี่ยงกฎหมายที่ชัดเจน
“เรื่องนี้ฝ่ายผู้บริหารไทยแจ้งเตือนควรทำให้ถูกต้อง แต่ดูเหมือนผู้มีอำนาจจะไม่รับฟัง แน่นอนปัจจุบันปัญหาคงยังไม่เกิด เพราะไม่มีการประกอบรถยนต์ออกมาทำตลาด จนกว่าถึงกลางปีหน้าที่จะขายรถเป็นทางการ ซึ่งหากคิดจะหลีกเลี่ยงกฎระเบียบเช่นนั้นอยู่ เชื่อว่าทางเจ้าหน้ารัฐของไทยคงไม่นิ่งอยู่เฉยๆ แน่ เหมือนกับรถยุโรปบางยี่ห้อเคยเจอมาแล้ว และนอกจากนี้ยังมีเรื่องมาตรฐานการประกอบ จากรถที่ลองนำเข้ามาประกอบ ปรากฎว่าต้องมีการเจาะตัวถังใหม่ เพื่อให้สามารถประกอบรถได้ ซึ่งในความเป็นจริงต้องลงตัวพอดี และสามารถประกอบได้เลย ปัญหาตรงนี้จึงมีส่วนทำให้วิศวกรพากันทยอยลาออกหลายคน”
สำหรับบริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์-ซีพี จำกัด เป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัท เซี่ยงไฮ้ ออโตโมทีฟ อินดัสทรี คอร์ปอเรชัน (SAIC) จากประเทศจีน กับกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) ของไทย เพื่อดำเนินธุรกิจผลิตรถยนต์เอ็มจีในไทย โดยมีบริษัทลูก เอ็มจี เซลส์ ประเทศไทย ทำหน้าที่ด้านการขาย ตลาด และบริการหลังการขาย รวมถึงบริษัท HASCO-CP ที่เป็นบริษัทนำเข้าชิ้นส่วนมาประกอบ ทั้งหมดใช้เงินลงทุนมูลค่าประมาณ 9,000 ล้านบาท โดยโรงงานตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมเหมราช จังหวัดระยอง มีกำลังการผลิตเต็มที่ 50,000 คัน/ปี เบื้องต้นมีแผนทำตลาดรถยนต์รุ่นแรก MG6 และพร้อมส่งมอบให้ลูกค้าได้ไตรมาส 3 ปีหน้า
รายงานข่าวจากบริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์-ซีพี จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายรถยนต์ยี่ห้อ “เอ็มจี” (MG) ในไทย เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างเซี่ยงไฮ้ ออโตโมทีฟ อินดัสทรี คอร์ปอเรชัน (SAIC) จากประเทศจีน กับกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) ของไทย ซึ่งเมื่อวันที่ 21 พ.ย.ที่ผ่านมา เพิ่งแถลงข่าวเปิดตัวในไทยอย่างเป็นทางการไป ได้ระบุว่าการนำรถยนต์เอ็มจีแบรนด์ระดับนำจากอังกฤษ ซึ่งปัจจุบัน SAIC ซื้อกิจการไป และกำลังนำเข้ามาทำตลาดในไทย โดยจะมีการเปิดตัวสร้างการรับรู้แบรนด์สู่สาธารณชนครั้งแรก ในงานมอเตอร์ เอ็กซ์โป 2013 ที่จะมีขึ้นปลายเดือนพ.ย.นี้ แต่ปัจจุบันกลับมีปัญหาในการบริหารงานหลายอย่าง และมีผู้บริหารคนไทยเริ่มทยอยลาออกไปหลายคนแล้ว
“ในสิ้นเดือนพ.ย.นี้ในส่วนของผู้บริหารคนไทย ซึ่งเป็นตัวแทนจากฝ่ายเครือเจริญโภคภัณฑ์ และเข้ามาวางแผนงานการทำตลาดรถยนต์เอ็มจีตั้งแต่ต้น ในบริษัทร่วมทุน เอ็มจี เซลส์ ประเทศไทย ที่ดูแลด้านการทำตลาดและขายของรถยนต์เอ็มจี จะลาออกอย่างน้อย 2 คน เนื่องจากไม่สามารถทำงานร่วมกับฝ่ายบริหารของ SAIC ได้ เพราะทางจีนไม่ยอมรับฟังคำชี้แนะต่างๆ โดยถืออำนาจว่ามีสัดส่วนหุ้น 51% มากกว่าฝ่ายไทย เช่นเดียวกับวิศวกรระดับสูงที่โรงงานในนิคมฯ เหมราช ซึ่งส่วนใหญ่ดึงมาจากเจนเนอรัล มอเตอร์ส หรือจีเอ็ม เริ่มมีทยอยลาออกหลายคนเช่นกัน”
ทั้งนี้ไม่เพียงเรื่องแนวคิดในการดำเนินงาน ยังมีเรื่องเอาเปรียบของทาง SAIC ที่ฝ่ายผู้บริหารไทยพยายามจะรักษาผลประโยชน์ให้กับทางซีพี เช่นเรื่องของการพัฒนาเทคโนโลยีการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85 ที่ฝ่ายไทยเครือซีพีถูกให้ยื่นเงื่อนไขต้องลงทุนด้วย ซึ่งในความเป็นจริงการพัฒนาต้องดำเนินการโดยทางจีน เพราะหากในอนาคต SAIC จะนำไปใช้ยังประเทศอื่นๆ แล้วทางซีพีจะได้รับประโยชน์อะไร และทางจีนก็ไม่สามารถตอบได้ชัดเจน
รายงานข่าวระบุว่าในเรื่องของการดำเนินงานการประกอบรถยนต์อาจจะมีปัญหาเช่นกัน โดยได้มีการตั้งบริษัทร่วมทุนขึ้นมาใหม่ในไทย ภายใต้ชื่อ HASCO-CP เพื่อเป็นบริษัทนำเข้าชิ้นส่วน สำนักงานตั้งอยู่ในนิคมฯ เหมราช บริเวณพื้นที่เดียวกับโรงงาน ซึ่งจากแนวคิดของ SAIC ต้องการใช้บริษัทลูกนี้นำเข้าชิ้นส่วนจากจีน แล้วมาอ้างเป็นชิ้นส่วนที่มาจากในภูมิภาค เพราะเป็นบริษัทที่ตั้งอยู่ในไทย เพื่อให้เป็นไปตามกำหนดการใช้ชิ้นส่วนภายในภูมิภาค 40% ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ของรถผลิตในประเทศ หรือภูมิภาคอาเซียน นี่ถือเป็นการหลีกเลี่ยงกฎหมายที่ชัดเจน
“เรื่องนี้ฝ่ายผู้บริหารไทยแจ้งเตือนควรทำให้ถูกต้อง แต่ดูเหมือนผู้มีอำนาจจะไม่รับฟัง แน่นอนปัจจุบันปัญหาคงยังไม่เกิด เพราะไม่มีการประกอบรถยนต์ออกมาทำตลาด จนกว่าถึงกลางปีหน้าที่จะขายรถเป็นทางการ ซึ่งหากคิดจะหลีกเลี่ยงกฎระเบียบเช่นนั้นอยู่ เชื่อว่าทางเจ้าหน้ารัฐของไทยคงไม่นิ่งอยู่เฉยๆ แน่ เหมือนกับรถยุโรปบางยี่ห้อเคยเจอมาแล้ว และนอกจากนี้ยังมีเรื่องมาตรฐานการประกอบ จากรถที่ลองนำเข้ามาประกอบ ปรากฎว่าต้องมีการเจาะตัวถังใหม่ เพื่อให้สามารถประกอบรถได้ ซึ่งในความเป็นจริงต้องลงตัวพอดี และสามารถประกอบได้เลย ปัญหาตรงนี้จึงมีส่วนทำให้วิศวกรพากันทยอยลาออกหลายคน”
สำหรับบริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์-ซีพี จำกัด เป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัท เซี่ยงไฮ้ ออโตโมทีฟ อินดัสทรี คอร์ปอเรชัน (SAIC) จากประเทศจีน กับกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) ของไทย เพื่อดำเนินธุรกิจผลิตรถยนต์เอ็มจีในไทย โดยมีบริษัทลูก เอ็มจี เซลส์ ประเทศไทย ทำหน้าที่ด้านการขาย ตลาด และบริการหลังการขาย รวมถึงบริษัท HASCO-CP ที่เป็นบริษัทนำเข้าชิ้นส่วนมาประกอบ ทั้งหมดใช้เงินลงทุนมูลค่าประมาณ 9,000 ล้านบาท โดยโรงงานตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมเหมราช จังหวัดระยอง มีกำลังการผลิตเต็มที่ 50,000 คัน/ปี เบื้องต้นมีแผนทำตลาดรถยนต์รุ่นแรก MG6 และพร้อมส่งมอบให้ลูกค้าได้ไตรมาส 3 ปีหน้า