วานนี้ ( 19 พ.ย.) ศาลปกครองกลางได้อ่านคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดเขตอำนาจศาล ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ผู้ถูกฟ้องคดี ได้ยื่นคำโต้แย้งต่อศาลปกครองกลางว่า การที่ศาลปกครองกลางรับวินิจฉัยคดีที่ พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม ฟ้อง รมว.กลาโหม กระทรวงกลาโหม เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1 และ 2 กรณีมีคำสั่งให้ พล.อ.เสถียร ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม ไปช่วยปฎิบัติราชการ ที่สำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมว่า เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ไม่ถูกต้อง เนื่องจากคำสั่งดังกล่าว เป็นเรื่องของวินัยทหาร ที่อยู่ในอำนาจ พิจารณาของศาลทหาร ไม่ใช่ศาลปกครอง
ทั้งนี้ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการชี้ขาดเขตอำนาจศาลกลับเห็นว่า การส่งเรื่องดังกล่าวให้คณะกรรมการวินิจฉัยฯ พิจารณาของศาลปกครองกลางนั้น ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.2542 มาตรา 10 วรรค 1 (3) และให้จำหน่ายเรื่องดังกล่าวออกจากสารบบความ เนื่องจากแม้ศาลปกครองกลาง และศาลทหารกรุงเทพ จะมีความเห็นไม่ตรงกันในเรื่องว่า กรณีดังกล่าวควรอยู่อำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลใด โดยศาลปกครองกลางเห็นว่า อยู่ในเขตอำนาจของศาลตน ศาลทหารกรุงเทพเห็นว่า ไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง แต่เมื่อศาลทหารกรุงเทพ มีความเห็นว่า คดีอยู่ในเขตอำนาจศาลยุติธรรม ซึ่งไม่ใช่ศาลที่รมว.กลาโหม ที่เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ในศาลปกครองกลาง ใช้สิทธิ์เริ่มกระบวนการโต้แย้งเขตอำนาจศาล ยื่นคำร้องว่า เป็นศาลที่มีเขตอำนาจเหนือคดี และศาลยุติธรรม ก็ไม่ใช่ศาลที่เกี่ยวข้อง หรือมีส่วนร่วมในการจัดทำความเห็นในคดีนี้ จึงถือได้ว่าทั้งศาลปกครองกลาง และศาลทหารกรุงเทพ ไม่ได้มีความเห็นแตกต่างกันว่า คดีไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลทหาร กรณีจึงไม่ได้เป็นการขัดแย้งกันเกี่ยวกับอำนาจศาล
ด้านพล.ท. พินิจ ฉัตรเสถียรพงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้รับมอบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เข้าฟังคำวินิจฉัย เปิดเผยว่า เมื่อคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจศาลได้พิจารณา ให้จำหน่วยคำร้องโต้แย้งดังกล่าวออกสาระบบความ จึงให้คดีดังกล่าว อยู่ในกระบวนการพิจารณาของศาลปกครองต่อไป
ทั้งนี้ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการชี้ขาดเขตอำนาจศาลกลับเห็นว่า การส่งเรื่องดังกล่าวให้คณะกรรมการวินิจฉัยฯ พิจารณาของศาลปกครองกลางนั้น ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.2542 มาตรา 10 วรรค 1 (3) และให้จำหน่ายเรื่องดังกล่าวออกจากสารบบความ เนื่องจากแม้ศาลปกครองกลาง และศาลทหารกรุงเทพ จะมีความเห็นไม่ตรงกันในเรื่องว่า กรณีดังกล่าวควรอยู่อำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลใด โดยศาลปกครองกลางเห็นว่า อยู่ในเขตอำนาจของศาลตน ศาลทหารกรุงเทพเห็นว่า ไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง แต่เมื่อศาลทหารกรุงเทพ มีความเห็นว่า คดีอยู่ในเขตอำนาจศาลยุติธรรม ซึ่งไม่ใช่ศาลที่รมว.กลาโหม ที่เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ในศาลปกครองกลาง ใช้สิทธิ์เริ่มกระบวนการโต้แย้งเขตอำนาจศาล ยื่นคำร้องว่า เป็นศาลที่มีเขตอำนาจเหนือคดี และศาลยุติธรรม ก็ไม่ใช่ศาลที่เกี่ยวข้อง หรือมีส่วนร่วมในการจัดทำความเห็นในคดีนี้ จึงถือได้ว่าทั้งศาลปกครองกลาง และศาลทหารกรุงเทพ ไม่ได้มีความเห็นแตกต่างกันว่า คดีไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลทหาร กรณีจึงไม่ได้เป็นการขัดแย้งกันเกี่ยวกับอำนาจศาล
ด้านพล.ท. พินิจ ฉัตรเสถียรพงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้รับมอบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เข้าฟังคำวินิจฉัย เปิดเผยว่า เมื่อคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจศาลได้พิจารณา ให้จำหน่วยคำร้องโต้แย้งดังกล่าวออกสาระบบความ จึงให้คดีดังกล่าว อยู่ในกระบวนการพิจารณาของศาลปกครองต่อไป