ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการรับนักศึกษาเข้าอบรมหลักสูตร “หลักนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย”หรือ นธป. ของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เป็นรุ่นที่ 2 ซึ่งจะเริ่มต้นอบรมตั้งแต่วันที่ 19 ธ.ค.นี้ เป็นต้นไปนั้น ปรากฏว่าในจำนวน 52 คนของรุ่นนี้ นักศึกษาที่จะเข้ารับการอบรมหลายคนเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง และดำรงตำแหน่งระดับสูงในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน รวมทั้งยังพบว่า มีนักการเมือง สมาชิกวุฒิสภา เข้าร่วมอบรมด้วย ซึ่งแตกต่างจากการเปิดอบรม นธป.รุ่นที่ 1 ที่ไม่มีฝ่ายการเมืองเข้าร่วมเลย อาทิ นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายประกอบ จิรกิติ ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ นายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.พรรคเพื่อไทย นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา นายอนันต์ อริยะชัยพานิชย์ รองประธานวุฒิสภา
นายเอกชัย ชิณณพงศ์ ประธานศาลอุทธรณ์ นายจิรนิติ หะวานนท์ ผู้พิพากษาศาลฎีกา นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม นายวรวิทย์ กังศศิเทียม ตุลาการศาลปกครองสูงสุด นายเรวัตร จันทร์ประเสริฐ รองอัยการสูงสุด นายธนา เวสโกสิทธิ์ อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ นายศรีราชา เจริญพานิช ผู้ตรวจการแผ่นดิน พล.ต.อ.วันชัย ศรีนวลนัด กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ นายสุรชัย ศรีสารคาม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ น.ส.สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายวรากรณ์ สามโกเศศ อธิการบดีมหาวิทยาธุรกิจบัณฑิตย์ นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ ผู้อำนวยการบริหาร สถาบันอิศรา นายพงศ์ศักติฐ์ เสมสันต์ ประธานกรรมการบริหารบริษัทท่าอากาศยานไทย นายโอกาส เตพละกุล ประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พล.ต.ท.อุดม ชัยมงคลรัตน์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พล.ต.หญิงบุญญารัศมิ์ พัฒนะมหินทร์ ตุลาการพระธรรมนูญหัวหน้าคณะฝ่ายทหาร กรมพระธรรมนูญ
ด้านนายปัญญา อุดชาชน ที่ปรึกษาสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า หลักสูตรดังกล่าวเป็นรุ่นที่ 2 โดยหลักสูตรมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักนิติธรรมให้ไปสู่ประชาธิปไตย เนื้อหาการอบรมจะเน้นทั้งกฏหมาย และการบริหารงานที่ดีที่จะมุ่งไปสู่การเป็นประชาธิปไตยได้อย่างไร
ทั้งนี้นายปัญญา ยังกล่าวชี้แจงกรณีการเปิดอบรม นธป.รุ่นที่ 2 มีการนักการเมืองเข้าร่วมอบรมด้วย ทั้งที่เมื่อครั้งเปิดหลักสูตรมีการระบุว่า หลักสูตรดังกล่าวจะไม่รับนักการเมืองเข้าอบรมว่า ตอนเปิดหลักสูตร ทางคณะตุลาการฯ มีเจตนาเช่นนั้น แต่เมื่อมีการอบรม ทางนักศึกษา นธป.รุ่นที่ 1 ก็เสนอความเห็นว่า ตามหลักสูตรเป็นเรื่องหลักนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งเสาหลักของประชาธิปไตยมี 3 ส่วน คือ บริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ ดังนั้นการอบรมจึงน่าที่จะมีผู้แทนของฝ่ายบริหาร และนิติบัญญัติ ซึ่งคือฝ่ายการเมืองเข้ามาร่วมด้วย ซึ่งคณะกรรมการที่ปรึกษาของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ก็ได้มีการพิจารณาและเห็นชอบกับข้อเสนอของ นธป.รุ่นที่ 1 จึงทำให้การเปิดอบรม นธป.รุ่นที่ 2 มีผู้แทนของฝ่ายการเมืองเข้าร่วมด้วย แต่ก็ในสัดส่วนที่น้อยมากคือ ตัวแทน ส.ว.สรรหา ส.ว. เลือกตั้ง รัฐบาล ฝ่ายค้าน อย่างละ 1 คน
เมื่อถามว่า ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ การให้นักการเมืองเข้าร่วมอบรมในหลักสูตรฯ อาจทำให้ถูกมองว่าเป็นการมาสร้างคอนเนกชั่นกับศาล นายปัญญา กล่าวว่า ไม่ใช่ เพราะข้อเท็จจริงสำนักงานมองในแง่วิชาการ และปรัญชาของการเปิดหลักสูตรนี้ ก็ไม่ใช่เรื่องของการสร้างคอนเนกชั่น ซึ่งนธป.รุ่นที่ 1 ก็ยังมีข้อเสนอให้สำนักงานปรับปรุงหลักสูตรนี้อีกหลายประเด็น ซึ่งก็ล้วนแต่เป็นประเด็นวิชาการทั้งสิ้น
นายเอกชัย ชิณณพงศ์ ประธานศาลอุทธรณ์ นายจิรนิติ หะวานนท์ ผู้พิพากษาศาลฎีกา นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม นายวรวิทย์ กังศศิเทียม ตุลาการศาลปกครองสูงสุด นายเรวัตร จันทร์ประเสริฐ รองอัยการสูงสุด นายธนา เวสโกสิทธิ์ อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ นายศรีราชา เจริญพานิช ผู้ตรวจการแผ่นดิน พล.ต.อ.วันชัย ศรีนวลนัด กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ นายสุรชัย ศรีสารคาม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ น.ส.สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายวรากรณ์ สามโกเศศ อธิการบดีมหาวิทยาธุรกิจบัณฑิตย์ นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ ผู้อำนวยการบริหาร สถาบันอิศรา นายพงศ์ศักติฐ์ เสมสันต์ ประธานกรรมการบริหารบริษัทท่าอากาศยานไทย นายโอกาส เตพละกุล ประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พล.ต.ท.อุดม ชัยมงคลรัตน์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พล.ต.หญิงบุญญารัศมิ์ พัฒนะมหินทร์ ตุลาการพระธรรมนูญหัวหน้าคณะฝ่ายทหาร กรมพระธรรมนูญ
ด้านนายปัญญา อุดชาชน ที่ปรึกษาสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า หลักสูตรดังกล่าวเป็นรุ่นที่ 2 โดยหลักสูตรมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักนิติธรรมให้ไปสู่ประชาธิปไตย เนื้อหาการอบรมจะเน้นทั้งกฏหมาย และการบริหารงานที่ดีที่จะมุ่งไปสู่การเป็นประชาธิปไตยได้อย่างไร
ทั้งนี้นายปัญญา ยังกล่าวชี้แจงกรณีการเปิดอบรม นธป.รุ่นที่ 2 มีการนักการเมืองเข้าร่วมอบรมด้วย ทั้งที่เมื่อครั้งเปิดหลักสูตรมีการระบุว่า หลักสูตรดังกล่าวจะไม่รับนักการเมืองเข้าอบรมว่า ตอนเปิดหลักสูตร ทางคณะตุลาการฯ มีเจตนาเช่นนั้น แต่เมื่อมีการอบรม ทางนักศึกษา นธป.รุ่นที่ 1 ก็เสนอความเห็นว่า ตามหลักสูตรเป็นเรื่องหลักนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งเสาหลักของประชาธิปไตยมี 3 ส่วน คือ บริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ ดังนั้นการอบรมจึงน่าที่จะมีผู้แทนของฝ่ายบริหาร และนิติบัญญัติ ซึ่งคือฝ่ายการเมืองเข้ามาร่วมด้วย ซึ่งคณะกรรมการที่ปรึกษาของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ก็ได้มีการพิจารณาและเห็นชอบกับข้อเสนอของ นธป.รุ่นที่ 1 จึงทำให้การเปิดอบรม นธป.รุ่นที่ 2 มีผู้แทนของฝ่ายการเมืองเข้าร่วมด้วย แต่ก็ในสัดส่วนที่น้อยมากคือ ตัวแทน ส.ว.สรรหา ส.ว. เลือกตั้ง รัฐบาล ฝ่ายค้าน อย่างละ 1 คน
เมื่อถามว่า ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ การให้นักการเมืองเข้าร่วมอบรมในหลักสูตรฯ อาจทำให้ถูกมองว่าเป็นการมาสร้างคอนเนกชั่นกับศาล นายปัญญา กล่าวว่า ไม่ใช่ เพราะข้อเท็จจริงสำนักงานมองในแง่วิชาการ และปรัญชาของการเปิดหลักสูตรนี้ ก็ไม่ใช่เรื่องของการสร้างคอนเนกชั่น ซึ่งนธป.รุ่นที่ 1 ก็ยังมีข้อเสนอให้สำนักงานปรับปรุงหลักสูตรนี้อีกหลายประเด็น ซึ่งก็ล้วนแต่เป็นประเด็นวิชาการทั้งสิ้น