เสี่ยชาเขียว “ตัน อิชิตัน” ค้านหยุดงาน อ้างต้องกินต้องใช้ เชื่อม็อบเป็นเพียงคนกลุ่มน้อย ด้านสรส.เรียกระชุมสมาชิกทุกรสก.เตรียมยกระดับ ตัดน้ำตัดไฟหน่วยงานราชการค้างจ่าย ขสมก. ยืดเวลาปล่อยรถออกจากอู่ ยันประท้วงไม่ใช่ขับไล่รบ.แต่ต้องการปฎิรูปประเทศ
วานนี้ (12 พ.ย.) นายตัน ภาสกรนที กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท อิชิตัน จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตชาเขียวอิชิตัน กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยที่ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีต ส.ส.สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ ประกาศยกระดับการชุมนุม ให้ภาคประชาชนหยุดงานในช่วงวันที่ 13-15 พ.ย. 2556 เนื่องจากวุฒิสภาได้คว่ำร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ทั้งนี้ ประชาชนต้องกินต้องใช้ ทุกคนต้องทำงาน ทำมาหากิน หาเงินหารายได้ และต้องกินต้องใช้ ส่วนกรณีที่ให้ภาคเอกชนชะลอการจ่ายภาษี ไม่สมควรอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้รัฐสูญเสียรายได้ และยังเป็นการทำผิดกฎหมาย และหากเอกชนมีการชะลอการจ่ายภาษีจริงแล้วใครจะเป็นผู้มารับผิดชอบ
อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวเชื่อว่า การชุมนุมจะไม่ยืดเยื้อออกไป เพราะผู้ที่ออกมาทั้งกลุ่มภาคเอกชนและสถาบันการศึกษาต่างๆ เป็นเพียงกลุ่มน้อย ขณะที่ได้ข้อเรียกร้องก็ได้ไปทุกอย่างแล้ว เชื่อว่าการชุมนุมจะไม่บานปลายและไม่ลากยาวออกไป
แต่หากมีการชุมนุมที่ยืดเยื้อเชื่อว่าจะเกิดการสูญเสียหลายๆ ด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจและภาคการลงทุนของไทย เนื่องจากนักลงทุนขาดความเชื่อมั่นที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย และหันไปลงทุนในประเทศอื่นๆ เช่น พม่า ลาว และอินโดนีเซีย นอกจากนี้ยังจะกระทบกับภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยอีกด้วย
อย่างไรก็ตามล่าสุด"ตัน" ออกมาปฏิเสธข่าวผ่าน Facebook แล้ว ... "ผมขอยืนยันว่าไม่ได้พูดประโยคนี้"หยันม็อบต้านนิรโทษฯ แค่ชนกลุ่มน้อย" พร้อมทั้งอ้างว่าเป็นความเข้าใจผิด และส่วนตัวก็ไม่เห็นด้วยกับ พรบ. นิรโทษกรรม เนื่องจากการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จึงเข้าใจผิดคลาดเคลื่อน และวันที่ 13-15 พ.ย.ก็เป็นวันทำงานปรกติไม่ได้ประกาศให้เป็นวันหยุด
**สรส.ยกระดับร่วมต่อสู้
นายคมสัน ทองศิริ เลขาธิการ สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสหกิจ หรือ สรส. เปิดเผยภายหลังการประชุมตัวแทนสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ 44 แห่งว่า มติขอสรส. ให้แต่ละรัฐวิสาหกิจไปประชุมวิสามัญของหน่วยงาน เพื่อกำหนดท่าที ยกระดับการต่อสู้ร่วมกับประชาชน และแจ้งกับมาให้ สรส. รับทราบ ซึ่งหน่วยงานใดจะเริ่มดำเนินการวันไหนก็สามารถดำเนินการได้เลย
โดยยืนยันว่าทุกหน่วยงานจะไม่นำประชาชนมาเป็นเงื่อนไข เช่น การตัดน้ำ ตัดไฟ หรือแม้แต่การนัดหยุดงาน เพระเป็นการทำผิดกฎหมาย แต่สิ่งที่จะดำเนินการนั้นจะให้มีผลกระทบกับนักการเมืองมากกว่า
ทั้งนี้หน่วยงานที่มีการประชุมวิสามัญแล้ว ขณะนี้ สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ การไฟฟ้านครหลวง หรือ สร.กฟน. โดยสรุปว่า รัฐบาลจะต้องตอบคำถามว่าจะแต่งตั้งกรรมการบริหาร หรือบอร์ด กฟน.ได้เมื่อใด ภายในวัน 15 พฤศจิกายนนี้ ถ้าไม่เช่นนั้นจะมีการตัดไฟในหน่วยงานราชการ ที่ค้างค่าไฟอยู่
ส่วนรัฐวิสาหกิจอื่น เช่น สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ การประปาส่วนภูมิภาค หรือ สร.กปภ. จะประชุมวิสามัญก่อน โดยมีแนวทางจะตัดน้ำในหน่วยงานราชการเช่นกัน ส่วนสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (สร. ขสมก.) จะประชุมในวันที่ 13 พฤศจิกายน โดยแนวทางคือ การทำงานให้ช้าลง หรือ Slow down เช่น ปล่อยขบวนรถจากอู่ให้ช้าลง จากเดิมปล่อยทุก 5 นาที เป็น 15 นาที เป็นต้น
นายคมสัน กล่าวว่า ที่ผ่านมารัฐบาลไม่ได้มีการแสงความรับผิดชอบ ต่อพ.ร.บ.นิรโทษกรรมแม้ว่า วุฒิสภาจะคว่ำร่างไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อผ่านวาระ 3 ของสภาผู้แทนราษฎร อีก 180 วันก็สามารถนำร่างขึ้นมาพิจารณาใหม่ได้ ดังนั้นการที่ประชาชนเดินหน้าชุมนุมต่อก็เพราะไม่ไว้ใจรัฐบาล ไม่มีการตอบคำถามว่าจะยกเลิกไม่เอาพ.ร.บ.นิรโทษกรรมหรือไม่ ดังนั้นสิ่งที่เรียกร้องในตอนนี้
คือการปฏิรูปประเทศ ไม่ใช่การขับไล่รัฐบาล ต้องการนักการเมืองที่มือสะอาด ไม่คอร์รัปชั่น
****หอการค้าไทยจี้ม็อบยุติ
นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย มีจุดยืนชัดเจนว่าไม่เห็นด้วยกับการคอร์รัปชั่น รวมทั้งคัดค้านพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ซึ่งขณะนี้การคัดค้านพ.ร.บ.นิรโทษกรรมก็บรรลุวัตถุประสงค์แล้ว จึงเห็นว่าทุกเวที ทุกฝ่ายควรจะยุติการชุมนุมได้แล้ว แต่หากยังมีความเห็นบางเรื่องที่ไม่ตรงกันก็ควรหาเวทีอื่นคุยกันและขอให้ทุกฝ่ายลดการเผชิญหน้าและการท้าทายซึ่งกันและกัน
นายอิสระกล่าวว่า กรณีที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประกาศใช้มาตรการอารายะขัดขืน ที่เรียกร้องให้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจหยุดงานตั้งแต่ 13-15 พ.ย. และให้ทุกคนชะลอการจ่ายภาษีนั้น ขณะนี้บริษัทเอกชนยังไม่มีการประกาศให้พนักงานหยุดงาน เพื่อไปร่วมชุมนุมแต่อย่างใด และการไม่ชำระภาษี ก็ไม่เห็นด้วย เพราะเป็นเรื่องผิดกฎหมายซึ่งจุดยืนของหอการค้าไทยชัดเจนอยู่แล้วว่าจะไม่สนับสนุนให้ทำในสิ่งที่ผิดกฎหมาย
นายธนวรรธน์ พลวิชัย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า หากมีการนัดหยุดงานจริง ก็ต้องดูว่ามากน้อยแค่ไหน เพราะหากหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการให้บริการขนส่ง ทั้งทางบกทางเรือและทางอากาศ หยุดทำงานทั้งหมด ก็จะทำให้เกิดความเสียหายสูงถึงเดือนละ 5 หมื่นล้านบาทถึง 1 แสนล้านบาท
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงกรณีแกนนำผู้ชุมนุมต่อต้านพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ประกาศ 4 มาตรการอารยะขัดขืน เพื่อยกระดับการชุมนุมต่อต้านการออกพ.ร.บ.นิรโทษกรรมว่า ได้มีการหารืออย่างไม่เป็นทางการกับสมาชิกส.อ.ท. มีความเห็นตรงกันว่า กรณีการนัดหยุดงานระหว่างวันที่ 13 - 15 พ.ย. เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม แม้เป็นเรื่องสิทธิของแต่ละบุคคล เพราะจะกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิต และที่สำคัญจะส่งผลกระทบความเชื่อมั่นของประเทศไทยต่อสายตาชาวโลกได้ สำหรับกรณีให้เอกชน ชะลอการชำระภาษี กรณีนี้ไม่เห็นด้วยเช่นกัน เนื่องจากเส.อ.ท. เป็นองค์กรที่มีหน้าที่ส่งเสริมการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่น เพราะฉะนั้นการชำระภาษีเป็นหน้าที่ของพลเมืองดี ทุกคนจึงต้องเสียภาษี หากไม่เสียภาษี จะเป็นการคอรัปชั่นประเภทหนึ่ง
วานนี้ (12 พ.ย.) นายตัน ภาสกรนที กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท อิชิตัน จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตชาเขียวอิชิตัน กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยที่ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีต ส.ส.สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ ประกาศยกระดับการชุมนุม ให้ภาคประชาชนหยุดงานในช่วงวันที่ 13-15 พ.ย. 2556 เนื่องจากวุฒิสภาได้คว่ำร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ทั้งนี้ ประชาชนต้องกินต้องใช้ ทุกคนต้องทำงาน ทำมาหากิน หาเงินหารายได้ และต้องกินต้องใช้ ส่วนกรณีที่ให้ภาคเอกชนชะลอการจ่ายภาษี ไม่สมควรอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้รัฐสูญเสียรายได้ และยังเป็นการทำผิดกฎหมาย และหากเอกชนมีการชะลอการจ่ายภาษีจริงแล้วใครจะเป็นผู้มารับผิดชอบ
อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวเชื่อว่า การชุมนุมจะไม่ยืดเยื้อออกไป เพราะผู้ที่ออกมาทั้งกลุ่มภาคเอกชนและสถาบันการศึกษาต่างๆ เป็นเพียงกลุ่มน้อย ขณะที่ได้ข้อเรียกร้องก็ได้ไปทุกอย่างแล้ว เชื่อว่าการชุมนุมจะไม่บานปลายและไม่ลากยาวออกไป
แต่หากมีการชุมนุมที่ยืดเยื้อเชื่อว่าจะเกิดการสูญเสียหลายๆ ด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจและภาคการลงทุนของไทย เนื่องจากนักลงทุนขาดความเชื่อมั่นที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย และหันไปลงทุนในประเทศอื่นๆ เช่น พม่า ลาว และอินโดนีเซีย นอกจากนี้ยังจะกระทบกับภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยอีกด้วย
อย่างไรก็ตามล่าสุด"ตัน" ออกมาปฏิเสธข่าวผ่าน Facebook แล้ว ... "ผมขอยืนยันว่าไม่ได้พูดประโยคนี้"หยันม็อบต้านนิรโทษฯ แค่ชนกลุ่มน้อย" พร้อมทั้งอ้างว่าเป็นความเข้าใจผิด และส่วนตัวก็ไม่เห็นด้วยกับ พรบ. นิรโทษกรรม เนื่องจากการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จึงเข้าใจผิดคลาดเคลื่อน และวันที่ 13-15 พ.ย.ก็เป็นวันทำงานปรกติไม่ได้ประกาศให้เป็นวันหยุด
**สรส.ยกระดับร่วมต่อสู้
นายคมสัน ทองศิริ เลขาธิการ สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสหกิจ หรือ สรส. เปิดเผยภายหลังการประชุมตัวแทนสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ 44 แห่งว่า มติขอสรส. ให้แต่ละรัฐวิสาหกิจไปประชุมวิสามัญของหน่วยงาน เพื่อกำหนดท่าที ยกระดับการต่อสู้ร่วมกับประชาชน และแจ้งกับมาให้ สรส. รับทราบ ซึ่งหน่วยงานใดจะเริ่มดำเนินการวันไหนก็สามารถดำเนินการได้เลย
โดยยืนยันว่าทุกหน่วยงานจะไม่นำประชาชนมาเป็นเงื่อนไข เช่น การตัดน้ำ ตัดไฟ หรือแม้แต่การนัดหยุดงาน เพระเป็นการทำผิดกฎหมาย แต่สิ่งที่จะดำเนินการนั้นจะให้มีผลกระทบกับนักการเมืองมากกว่า
ทั้งนี้หน่วยงานที่มีการประชุมวิสามัญแล้ว ขณะนี้ สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ การไฟฟ้านครหลวง หรือ สร.กฟน. โดยสรุปว่า รัฐบาลจะต้องตอบคำถามว่าจะแต่งตั้งกรรมการบริหาร หรือบอร์ด กฟน.ได้เมื่อใด ภายในวัน 15 พฤศจิกายนนี้ ถ้าไม่เช่นนั้นจะมีการตัดไฟในหน่วยงานราชการ ที่ค้างค่าไฟอยู่
ส่วนรัฐวิสาหกิจอื่น เช่น สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ การประปาส่วนภูมิภาค หรือ สร.กปภ. จะประชุมวิสามัญก่อน โดยมีแนวทางจะตัดน้ำในหน่วยงานราชการเช่นกัน ส่วนสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (สร. ขสมก.) จะประชุมในวันที่ 13 พฤศจิกายน โดยแนวทางคือ การทำงานให้ช้าลง หรือ Slow down เช่น ปล่อยขบวนรถจากอู่ให้ช้าลง จากเดิมปล่อยทุก 5 นาที เป็น 15 นาที เป็นต้น
นายคมสัน กล่าวว่า ที่ผ่านมารัฐบาลไม่ได้มีการแสงความรับผิดชอบ ต่อพ.ร.บ.นิรโทษกรรมแม้ว่า วุฒิสภาจะคว่ำร่างไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อผ่านวาระ 3 ของสภาผู้แทนราษฎร อีก 180 วันก็สามารถนำร่างขึ้นมาพิจารณาใหม่ได้ ดังนั้นการที่ประชาชนเดินหน้าชุมนุมต่อก็เพราะไม่ไว้ใจรัฐบาล ไม่มีการตอบคำถามว่าจะยกเลิกไม่เอาพ.ร.บ.นิรโทษกรรมหรือไม่ ดังนั้นสิ่งที่เรียกร้องในตอนนี้
คือการปฏิรูปประเทศ ไม่ใช่การขับไล่รัฐบาล ต้องการนักการเมืองที่มือสะอาด ไม่คอร์รัปชั่น
****หอการค้าไทยจี้ม็อบยุติ
นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย มีจุดยืนชัดเจนว่าไม่เห็นด้วยกับการคอร์รัปชั่น รวมทั้งคัดค้านพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ซึ่งขณะนี้การคัดค้านพ.ร.บ.นิรโทษกรรมก็บรรลุวัตถุประสงค์แล้ว จึงเห็นว่าทุกเวที ทุกฝ่ายควรจะยุติการชุมนุมได้แล้ว แต่หากยังมีความเห็นบางเรื่องที่ไม่ตรงกันก็ควรหาเวทีอื่นคุยกันและขอให้ทุกฝ่ายลดการเผชิญหน้าและการท้าทายซึ่งกันและกัน
นายอิสระกล่าวว่า กรณีที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประกาศใช้มาตรการอารายะขัดขืน ที่เรียกร้องให้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจหยุดงานตั้งแต่ 13-15 พ.ย. และให้ทุกคนชะลอการจ่ายภาษีนั้น ขณะนี้บริษัทเอกชนยังไม่มีการประกาศให้พนักงานหยุดงาน เพื่อไปร่วมชุมนุมแต่อย่างใด และการไม่ชำระภาษี ก็ไม่เห็นด้วย เพราะเป็นเรื่องผิดกฎหมายซึ่งจุดยืนของหอการค้าไทยชัดเจนอยู่แล้วว่าจะไม่สนับสนุนให้ทำในสิ่งที่ผิดกฎหมาย
นายธนวรรธน์ พลวิชัย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า หากมีการนัดหยุดงานจริง ก็ต้องดูว่ามากน้อยแค่ไหน เพราะหากหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการให้บริการขนส่ง ทั้งทางบกทางเรือและทางอากาศ หยุดทำงานทั้งหมด ก็จะทำให้เกิดความเสียหายสูงถึงเดือนละ 5 หมื่นล้านบาทถึง 1 แสนล้านบาท
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงกรณีแกนนำผู้ชุมนุมต่อต้านพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ประกาศ 4 มาตรการอารยะขัดขืน เพื่อยกระดับการชุมนุมต่อต้านการออกพ.ร.บ.นิรโทษกรรมว่า ได้มีการหารืออย่างไม่เป็นทางการกับสมาชิกส.อ.ท. มีความเห็นตรงกันว่า กรณีการนัดหยุดงานระหว่างวันที่ 13 - 15 พ.ย. เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม แม้เป็นเรื่องสิทธิของแต่ละบุคคล เพราะจะกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิต และที่สำคัญจะส่งผลกระทบความเชื่อมั่นของประเทศไทยต่อสายตาชาวโลกได้ สำหรับกรณีให้เอกชน ชะลอการชำระภาษี กรณีนี้ไม่เห็นด้วยเช่นกัน เนื่องจากเส.อ.ท. เป็นองค์กรที่มีหน้าที่ส่งเสริมการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่น เพราะฉะนั้นการชำระภาษีเป็นหน้าที่ของพลเมืองดี ทุกคนจึงต้องเสียภาษี หากไม่เสียภาษี จะเป็นการคอรัปชั่นประเภทหนึ่ง