ทักษิณโกงประเทศ = ปล้นบ้าน
นิรโทษทักษิณโกงประเทศ = เผาบ้าน
โจรปล้นบ้าน 10 ครั้งไม่เท่ากับไฟไหม้บ้านเพียงครั้งเดียว ยังคงเป็นคติสอนใจที่ใช้ได้ดี
ที่ผ่านมาการปล้นคดโกงชาติหรือที่เรียกว่า ทุจริตเชิงนโยบาย ของทักษิณนั้นนับได้ว่าเป็นนวัตกรรมของการทุจริตแบบใหม่ในสังคมไทย
จากเดิมที่อาศัยการกินสินบาทคาดสินบนโดยนักการเมืองเรียกส่วนแบ่งจากโครงการการใช้จ่ายเงินของรัฐบาล จากร้อยละ 5 เป็น 10 เป็น 20 ซึ่งเสี่ยงต่อคุกตะรางหากถูกจับได้
ทุจริตเชิงนโยบาย จึงเป็นแนวทางใหม่ เปลี่ยนจากการขอส่วนแบ่งมาเป็นการกินรวบโดยนักการเมืองทำโครงการเองกินเองไม่ต้องขอส่วนแบ่งจากใครโดยอาศัยตำแหน่งหน้าที่ทางการเมืองออกกฎหมาย/ระเบียบเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อโครงการที่ตนเองทำ
การเข้าสู่อำนาจรัฐเพื่อเป็นผู้ออกกฎหมาย/ระเบียบเสียเองจึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อการทุจริตเชิงนโยบาย ที่สำคัญคือต้องปิดบังมิให้ใครรู้ว่าโครงการที่ว่านั้นเป็นของใคร
การยึดทรัพย์ของทักษิณและเครือญาติกว่า 4.6 หมื่นล้านบาทจึงเป็นการเปิดโปงข้อเท็จจริงที่สำคัญให้สังคมรู้ว่าในระหว่างที่อยู่ในตำแหน่งทางการเมือง ตัวเขาและวงศ์วานว่านเครือนั้นเอาเปรียบคนอื่นและทุจริตอย่างไร
การซุกหุ้นก็คือการปกปิดความเป็นเจ้าของเพื่อมิให้บุคคลภายนอกรู้ว่าใครคือเจ้าของที่แท้จริง กรณีหุ้นบริษัทชินคอร์ปที่เดิมเป็นเจ้าของบริษัทที่เป็นคู่สัญญาสัมปทานกับรัฐ 2 บริษัทคือ เอไอเอส และ ไทยคม ทักษิณและเมียทำทีเป็นโอนหุ้นให้กับลูก พี่เมีย และน้องสาวที่เป็นนายกฯ ในปัจจุบันจึงเป็นความพยายามที่จะปกปิดความเป็นเจ้าของที่แท้จริงเนื่องจากเป็นการขัดกันของผลประโยชน์ที่กฎหมายห้ามเอาไว้
เหตุที่ศาลไม่เชื่อว่าได้มีการโอนหุ้นเปลี่ยนมือจริงก็เพราะไม่ว่าจะเป็น ลูก พี่เมีย และน้องสาว ต่างยืมเงินทักษิณและเมียโดยไม่มีดอกเบี้ยมาซื้อหุ้นในราคาแสนถูก (1 บาทจากราคาขายให้ผู้ซื้อสิงคโปร์ 49 บาท/หุ้น) ไม่ได้ใช้เงินตนเองซื้อแต่อย่างใด แปลกไหม?
ที่แปลกกว่าก็คือการคืนเงินที่ยืมมาซื้อหุ้นที่ได้มาอย่างแสนถูกกลับใช้การรับเงินปันผลจากหุ้นที่ตนเองซื้อมาจ่ายเป็นงวดๆ ที่น่าสมเพชก็คือ ยิ่งลักษณ์ยังคืนเงินยืมมากกว่าที่ยืมไปกว่า 2 ล้านบาท ทำให้ต้องแก้ตัวให้การต่อศาลอย่างเป็นเท็จว่าเงินส่วนเกินจำนวนนี้เป็นค่านาฬิกาที่ฝากหลานซื้อ หรือเครื่องประดับ อย่าว่าแต่ศาลเลยคนธรรมดายังไม่เชื่อ
พฤติกรรมของบุคคลเหล่านี้จึงมิได้แสดงออกถึงความเป็นเจ้าของหุ้นที่ได้ซื้อมาแต่อย่างใด หลักฐานที่ทำขึ้นมาล้วนแต่เป็นการทำขึ้นเองมาภายหลังและเป็นการทำแต่ฝ่ายเดียวเพื่อปกปิดร่องรอยความเป็นเจ้าของที่แท้จริงของทักษิณและเมียที่ยังคงถือหุ้นใหญ่ในชินคอร์ป
การปกปิดความเป็นเจ้าของหรือซุกหุ้นนั้นก็เพื่อหลอกลวงผู้คนว่าตนเองไม่ได้เป็นเจ้าของกิจการที่เป็นคู่สัญญากับรัฐและเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกกล่าวหาว่าออกนโยบายเอื้อประโยชน์ให้กับกิจการตนเอง
การแก้ระเบียบเพื่อคงค่าสัมปทานไว้ที่ร้อยละ 20 จากที่ต้องจ่ายถึงร้อยละ 35 ของรายรับตลอดช่วงอายุสัมปทานน่าจะทำให้รัฐเสียผลประโยชน์จากเงินค่าสัมปทานไม่น้อยกว่า 7 หมื่นล้านบาท หรือการแก้กฎหมายให้ต่างชาติถือหุ้นเพิ่มในกิจการโทรคมนาคมได้ถึงร้อยละ 49 จากเดิมร้อยละ 25 ก็ทำไปเพื่อให้สามารถขายหุ้นจำนวนมากคิดเป็นมูลค่ากว่า 7 หมื่นล้านบาทที่ตนเองถืออยู่ให้กับผู้ซื้อจากสิงคโปร์ และได้มีการขายในวันถัดไปจากการประกาศใช้เป็นกฎหมาย
ตัวอย่างข้างต้นล้วนเป็นการกระทำเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับชินคอร์ปที่ตนเองเป็นเจ้าของและดำรงตำแหน่งทางการเมืองอยู่ในเวลาเดียวกันซึ่งสร้างความเสียหายให้กับประเทศทั้งสิ้น
แต่ความเสียหายจากการทุจริตเชิงนโยบายที่ผ่านมาเปรียบเทียบไม่ได้เลยกับการออกกฎหมายนิรโทษกรรมที่ทำอยู่ในขณะนี้ เหตุก็เพราะการคดโกงเปรียบได้กับการปล้นบ้านแต่การแก้กฎหมายเพื่อยกโทษให้กับคนโกงนั้นทำลายหลักนิติรัฐนิติธรรมที่เปรียบเสมือนกับการเผาบ้านให้ขื่อแปของบ้านเมืองให้ย่อยยับ
หากประเทศไทยโดยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่มีส่วนได้เสียโดยตรงกับกฎหมายนี้สามารถนิรโทษกรรมความผิดจากการคดโกงได้ ต่อจากนี้ไปประเทศไทยจะอยู่ได้ด้วยระบบใด?
การก้าวล่วงอำนาจของศาลโดยการออกกฎหมายให้ความผิดที่ศาลตัดสินไปแล้วว่าผิดเป็นไม่ผิดเป็นตัวอย่างที่ดีของการก้าวล่วงอำนาจจากฝ่ายนิติบัญญัติที่เป็นพวกเดียวกับฝ่ายบริหารในระบบการเมืองแบบรัฐสภา เป็นการรวบอำนาจจากที่ควรจะแบ่งแยกเพื่อเป็นหลักประกันการถ่วงดุลอำนาจ ความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน
หากประสงค์จะช่วยเหลือทักษิณและสังคมยินยอม การออกกฎหมายอภัยโทษจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าเพื่อรักษาขื่อแปบ้านเมืองเอาไว้ไม่ไปละเมิดล่วงล้ำอำนาจศาล แต่ที่ไม่ทำเพราะจะไม่ได้เงินที่ถูกยึดไว้คืน
กฎหมายการเงินไม่จำเป็นต้องเขียนให้มีคำว่า “เงิน” ปรากฏในตัวกฎหมายแต่อย่างใด แต่ผลของกฎหมายที่ไปกำหนดลบล้างความผิดต่างหากที่จะทำให้ทักษิณรวมถึงยิ่งลักษณ์ได้เงินที่คดโกงมาที่ถูกยึดไว้คืน
การไม่มีนิติรัฐทำให้นักลงทุนนักธุรกิจต้องวิ่งเข้าหาฝ่ายการเมืองผู้มีอำนาจโดยไม่สนใจกติกาบ้านเมืองเพื่อเอาใจเสนอผลประโยชน์ แน่นอนว่าต้นทุนในการทำธุรกิจจะสูงขึ้นและจะผลักภาระนี้มาสู่ผู้ซื้อที่เป็นประชาชน ทำไมเราต้องจ่ายแพง?
ต่างชาติจะค้าขายลงทุนกับประเทศไทยด้วยความระมัดระวังเพราะประเทศไร้ซึ่งขื่อแปที่สามารถพึ่งพาเป็นหลักยึดได้ ในอดีตเราต้องยอมเสียอะไรบ้างเพื่อให้ต่างชาติยกเลิกกฎหมายสภาพนอกอาณาเขตอันเนื่องมาจากความไม่ไว้วางใจต่อหลักกฎหมายไทยที่เป็นอยู่ในขณะนั้น
ด้วยการพึ่งพาระบบบุคคลผู้มีอำนาจ วันนี้อาจคุยกับผู้มีอำนาจรู้เรื่องแต่พรุ่งนี้อาจคุยไม่รู้เรื่องเพราะมีคู่แข่งรายใหม่ด้วยข้อเสนอที่ดีกว่า หรือในทางกลับกันจะรู้ได้อย่างไรว่าผู้มีอำนาจวันนี้จะมีอำนาจต่อถึงพรุ่งนี้เพราะสังคมจะเรียนรู้ในไม่ช้าว่า อำนาจคือธรรมแทนที่ธรรมคืออำนาจ ผู้ที่มีกำปั้นใหญ่กว่าคือผู้ชนะกินรวบทุกอย่าง ตัวอย่างมีให้เห็นอยู่ดาษดื่นในประเทศด้อยพัฒนาทั้งหลายทั่วโลก
สิ่งที่เป็นความผิดตามกฎหมายนั้นเป็นความผิดขั้นต่ำสุดที่สังคมกำหนดไว้ ขณะที่การผิดจริยธรรมเป็นความผิดที่แม้ไม่ผิดตามกฎหมายแต่อยู่สูงกว่า เมื่อคนบางคนจะกลายเป็นอภิสิทธิชนที่ไม่สามารถเอาผิดได้ นิติธรรมจะมีได้อย่างไร
ประเทศไทยจะอยู่ในสังคมโลกอย่างเจริญก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศอื่นๆ ได้ก็ต่อเมื่อมีนิติรัฐและนิติธรรม การลงมติของวุฒิสภาที่จะรับหรือไม่รับกฎหมายนิรโทษกรรมในขณะที่สังคมแสดงการปฏิเสธจะเป็นบทพิสูจน์ระบบกลไกที่มีอยู่ขณะนี้ว่ายังสามารถใช้เพื่อประโยชน์ของประชาชนได้หรือไม่
แม้จะเป็นเพียงการยับยั้งมิใช่ทำให้กฎหมายนี้ตกไป แต่ก็เป็นการให้สติกับส.ส.อีกครั้งก่อนจะพาตนเองเข้าสู่ความวิบัติ จะเป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทยหรือจะวิบัติตามทักษิณไป
การออกกฎหมายนิรโทษกรรมแบบเหมาเข่งในครั้งนี้ จึงร้ายแรงยิ่งเสียกว่าการคดโกงที่ผ่านมาที่แม้จะทำร้ายบ้านเมืองสร้างความเสียหายได้ระดับหนึ่งแต่ก็น้อยกว่าการทำลายระบบที่มีอยู่อย่างเลือดเย็นอย่างแน่นอน และจะเป็นความเสียหายที่ไม่อาจเยียวยาได้โดยง่ายหากเกิดขึ้นมา
อนาคตบ้านเมืองและของวุฒิสมาชิกอยู่ในมือท่านวุฒิสภาทั้งหลายแล้ว ประชาชนจะจดจำการลงมติไว้ไม่ลืมแน่
นิรโทษทักษิณโกงประเทศ = เผาบ้าน
โจรปล้นบ้าน 10 ครั้งไม่เท่ากับไฟไหม้บ้านเพียงครั้งเดียว ยังคงเป็นคติสอนใจที่ใช้ได้ดี
ที่ผ่านมาการปล้นคดโกงชาติหรือที่เรียกว่า ทุจริตเชิงนโยบาย ของทักษิณนั้นนับได้ว่าเป็นนวัตกรรมของการทุจริตแบบใหม่ในสังคมไทย
จากเดิมที่อาศัยการกินสินบาทคาดสินบนโดยนักการเมืองเรียกส่วนแบ่งจากโครงการการใช้จ่ายเงินของรัฐบาล จากร้อยละ 5 เป็น 10 เป็น 20 ซึ่งเสี่ยงต่อคุกตะรางหากถูกจับได้
ทุจริตเชิงนโยบาย จึงเป็นแนวทางใหม่ เปลี่ยนจากการขอส่วนแบ่งมาเป็นการกินรวบโดยนักการเมืองทำโครงการเองกินเองไม่ต้องขอส่วนแบ่งจากใครโดยอาศัยตำแหน่งหน้าที่ทางการเมืองออกกฎหมาย/ระเบียบเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อโครงการที่ตนเองทำ
การเข้าสู่อำนาจรัฐเพื่อเป็นผู้ออกกฎหมาย/ระเบียบเสียเองจึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อการทุจริตเชิงนโยบาย ที่สำคัญคือต้องปิดบังมิให้ใครรู้ว่าโครงการที่ว่านั้นเป็นของใคร
การยึดทรัพย์ของทักษิณและเครือญาติกว่า 4.6 หมื่นล้านบาทจึงเป็นการเปิดโปงข้อเท็จจริงที่สำคัญให้สังคมรู้ว่าในระหว่างที่อยู่ในตำแหน่งทางการเมือง ตัวเขาและวงศ์วานว่านเครือนั้นเอาเปรียบคนอื่นและทุจริตอย่างไร
การซุกหุ้นก็คือการปกปิดความเป็นเจ้าของเพื่อมิให้บุคคลภายนอกรู้ว่าใครคือเจ้าของที่แท้จริง กรณีหุ้นบริษัทชินคอร์ปที่เดิมเป็นเจ้าของบริษัทที่เป็นคู่สัญญาสัมปทานกับรัฐ 2 บริษัทคือ เอไอเอส และ ไทยคม ทักษิณและเมียทำทีเป็นโอนหุ้นให้กับลูก พี่เมีย และน้องสาวที่เป็นนายกฯ ในปัจจุบันจึงเป็นความพยายามที่จะปกปิดความเป็นเจ้าของที่แท้จริงเนื่องจากเป็นการขัดกันของผลประโยชน์ที่กฎหมายห้ามเอาไว้
เหตุที่ศาลไม่เชื่อว่าได้มีการโอนหุ้นเปลี่ยนมือจริงก็เพราะไม่ว่าจะเป็น ลูก พี่เมีย และน้องสาว ต่างยืมเงินทักษิณและเมียโดยไม่มีดอกเบี้ยมาซื้อหุ้นในราคาแสนถูก (1 บาทจากราคาขายให้ผู้ซื้อสิงคโปร์ 49 บาท/หุ้น) ไม่ได้ใช้เงินตนเองซื้อแต่อย่างใด แปลกไหม?
ที่แปลกกว่าก็คือการคืนเงินที่ยืมมาซื้อหุ้นที่ได้มาอย่างแสนถูกกลับใช้การรับเงินปันผลจากหุ้นที่ตนเองซื้อมาจ่ายเป็นงวดๆ ที่น่าสมเพชก็คือ ยิ่งลักษณ์ยังคืนเงินยืมมากกว่าที่ยืมไปกว่า 2 ล้านบาท ทำให้ต้องแก้ตัวให้การต่อศาลอย่างเป็นเท็จว่าเงินส่วนเกินจำนวนนี้เป็นค่านาฬิกาที่ฝากหลานซื้อ หรือเครื่องประดับ อย่าว่าแต่ศาลเลยคนธรรมดายังไม่เชื่อ
พฤติกรรมของบุคคลเหล่านี้จึงมิได้แสดงออกถึงความเป็นเจ้าของหุ้นที่ได้ซื้อมาแต่อย่างใด หลักฐานที่ทำขึ้นมาล้วนแต่เป็นการทำขึ้นเองมาภายหลังและเป็นการทำแต่ฝ่ายเดียวเพื่อปกปิดร่องรอยความเป็นเจ้าของที่แท้จริงของทักษิณและเมียที่ยังคงถือหุ้นใหญ่ในชินคอร์ป
การปกปิดความเป็นเจ้าของหรือซุกหุ้นนั้นก็เพื่อหลอกลวงผู้คนว่าตนเองไม่ได้เป็นเจ้าของกิจการที่เป็นคู่สัญญากับรัฐและเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกกล่าวหาว่าออกนโยบายเอื้อประโยชน์ให้กับกิจการตนเอง
การแก้ระเบียบเพื่อคงค่าสัมปทานไว้ที่ร้อยละ 20 จากที่ต้องจ่ายถึงร้อยละ 35 ของรายรับตลอดช่วงอายุสัมปทานน่าจะทำให้รัฐเสียผลประโยชน์จากเงินค่าสัมปทานไม่น้อยกว่า 7 หมื่นล้านบาท หรือการแก้กฎหมายให้ต่างชาติถือหุ้นเพิ่มในกิจการโทรคมนาคมได้ถึงร้อยละ 49 จากเดิมร้อยละ 25 ก็ทำไปเพื่อให้สามารถขายหุ้นจำนวนมากคิดเป็นมูลค่ากว่า 7 หมื่นล้านบาทที่ตนเองถืออยู่ให้กับผู้ซื้อจากสิงคโปร์ และได้มีการขายในวันถัดไปจากการประกาศใช้เป็นกฎหมาย
ตัวอย่างข้างต้นล้วนเป็นการกระทำเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับชินคอร์ปที่ตนเองเป็นเจ้าของและดำรงตำแหน่งทางการเมืองอยู่ในเวลาเดียวกันซึ่งสร้างความเสียหายให้กับประเทศทั้งสิ้น
แต่ความเสียหายจากการทุจริตเชิงนโยบายที่ผ่านมาเปรียบเทียบไม่ได้เลยกับการออกกฎหมายนิรโทษกรรมที่ทำอยู่ในขณะนี้ เหตุก็เพราะการคดโกงเปรียบได้กับการปล้นบ้านแต่การแก้กฎหมายเพื่อยกโทษให้กับคนโกงนั้นทำลายหลักนิติรัฐนิติธรรมที่เปรียบเสมือนกับการเผาบ้านให้ขื่อแปของบ้านเมืองให้ย่อยยับ
หากประเทศไทยโดยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่มีส่วนได้เสียโดยตรงกับกฎหมายนี้สามารถนิรโทษกรรมความผิดจากการคดโกงได้ ต่อจากนี้ไปประเทศไทยจะอยู่ได้ด้วยระบบใด?
การก้าวล่วงอำนาจของศาลโดยการออกกฎหมายให้ความผิดที่ศาลตัดสินไปแล้วว่าผิดเป็นไม่ผิดเป็นตัวอย่างที่ดีของการก้าวล่วงอำนาจจากฝ่ายนิติบัญญัติที่เป็นพวกเดียวกับฝ่ายบริหารในระบบการเมืองแบบรัฐสภา เป็นการรวบอำนาจจากที่ควรจะแบ่งแยกเพื่อเป็นหลักประกันการถ่วงดุลอำนาจ ความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน
หากประสงค์จะช่วยเหลือทักษิณและสังคมยินยอม การออกกฎหมายอภัยโทษจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าเพื่อรักษาขื่อแปบ้านเมืองเอาไว้ไม่ไปละเมิดล่วงล้ำอำนาจศาล แต่ที่ไม่ทำเพราะจะไม่ได้เงินที่ถูกยึดไว้คืน
กฎหมายการเงินไม่จำเป็นต้องเขียนให้มีคำว่า “เงิน” ปรากฏในตัวกฎหมายแต่อย่างใด แต่ผลของกฎหมายที่ไปกำหนดลบล้างความผิดต่างหากที่จะทำให้ทักษิณรวมถึงยิ่งลักษณ์ได้เงินที่คดโกงมาที่ถูกยึดไว้คืน
การไม่มีนิติรัฐทำให้นักลงทุนนักธุรกิจต้องวิ่งเข้าหาฝ่ายการเมืองผู้มีอำนาจโดยไม่สนใจกติกาบ้านเมืองเพื่อเอาใจเสนอผลประโยชน์ แน่นอนว่าต้นทุนในการทำธุรกิจจะสูงขึ้นและจะผลักภาระนี้มาสู่ผู้ซื้อที่เป็นประชาชน ทำไมเราต้องจ่ายแพง?
ต่างชาติจะค้าขายลงทุนกับประเทศไทยด้วยความระมัดระวังเพราะประเทศไร้ซึ่งขื่อแปที่สามารถพึ่งพาเป็นหลักยึดได้ ในอดีตเราต้องยอมเสียอะไรบ้างเพื่อให้ต่างชาติยกเลิกกฎหมายสภาพนอกอาณาเขตอันเนื่องมาจากความไม่ไว้วางใจต่อหลักกฎหมายไทยที่เป็นอยู่ในขณะนั้น
ด้วยการพึ่งพาระบบบุคคลผู้มีอำนาจ วันนี้อาจคุยกับผู้มีอำนาจรู้เรื่องแต่พรุ่งนี้อาจคุยไม่รู้เรื่องเพราะมีคู่แข่งรายใหม่ด้วยข้อเสนอที่ดีกว่า หรือในทางกลับกันจะรู้ได้อย่างไรว่าผู้มีอำนาจวันนี้จะมีอำนาจต่อถึงพรุ่งนี้เพราะสังคมจะเรียนรู้ในไม่ช้าว่า อำนาจคือธรรมแทนที่ธรรมคืออำนาจ ผู้ที่มีกำปั้นใหญ่กว่าคือผู้ชนะกินรวบทุกอย่าง ตัวอย่างมีให้เห็นอยู่ดาษดื่นในประเทศด้อยพัฒนาทั้งหลายทั่วโลก
สิ่งที่เป็นความผิดตามกฎหมายนั้นเป็นความผิดขั้นต่ำสุดที่สังคมกำหนดไว้ ขณะที่การผิดจริยธรรมเป็นความผิดที่แม้ไม่ผิดตามกฎหมายแต่อยู่สูงกว่า เมื่อคนบางคนจะกลายเป็นอภิสิทธิชนที่ไม่สามารถเอาผิดได้ นิติธรรมจะมีได้อย่างไร
ประเทศไทยจะอยู่ในสังคมโลกอย่างเจริญก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศอื่นๆ ได้ก็ต่อเมื่อมีนิติรัฐและนิติธรรม การลงมติของวุฒิสภาที่จะรับหรือไม่รับกฎหมายนิรโทษกรรมในขณะที่สังคมแสดงการปฏิเสธจะเป็นบทพิสูจน์ระบบกลไกที่มีอยู่ขณะนี้ว่ายังสามารถใช้เพื่อประโยชน์ของประชาชนได้หรือไม่
แม้จะเป็นเพียงการยับยั้งมิใช่ทำให้กฎหมายนี้ตกไป แต่ก็เป็นการให้สติกับส.ส.อีกครั้งก่อนจะพาตนเองเข้าสู่ความวิบัติ จะเป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทยหรือจะวิบัติตามทักษิณไป
การออกกฎหมายนิรโทษกรรมแบบเหมาเข่งในครั้งนี้ จึงร้ายแรงยิ่งเสียกว่าการคดโกงที่ผ่านมาที่แม้จะทำร้ายบ้านเมืองสร้างความเสียหายได้ระดับหนึ่งแต่ก็น้อยกว่าการทำลายระบบที่มีอยู่อย่างเลือดเย็นอย่างแน่นอน และจะเป็นความเสียหายที่ไม่อาจเยียวยาได้โดยง่ายหากเกิดขึ้นมา
อนาคตบ้านเมืองและของวุฒิสมาชิกอยู่ในมือท่านวุฒิสภาทั้งหลายแล้ว ประชาชนจะจดจำการลงมติไว้ไม่ลืมแน่