เอเจนซีส์/ASTVผู้จัดการรายวัน -สื่อต่างประเทศชี้ การชุมนุมประท้วงทางการเมืองครั้งใหญ่ได้หวนคืนสู่ท้องถนนของไทยอีกครั้ง เนื่องจากบรรดาประชาชนผู้รักชาติต้องออกโรงเคลื่อนไหวทำหน้าที่ปกป้องประเทศชาติของตัวเอง หลังระบบการเมืองของไทยล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงในการทำหน้าที่ของตัวเองอย่างที่ควรจะเป็น
ไซมอน มอนต์เลค คอลัมนิสต์ชื่อดังแห่งกองบรรณาธิการนิตยสาร “ฟอร์บส์” ในมหานครนิวยอร์กของสหรัฐฯ เผยแพร่บทความชิ้นล่าสุดโดยระบุว่า ผู้ประท้วงชาวไทยได้กลับคืนสู่ท้องถนนอีกครั้ง เพื่อลุกขึ้นทำหน้าที่ในการปกป้อง “ความถูกต้องชอบธรรม” หลังจากเป็นที่แน่ชัดแล้วว่า ไม่สามารถพึ่งพาบรรดานักการเมืองในรัฐสภา ที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยได้อีกต่อไป จากกรณีที่บรรดาส.ส.ในสภาผู้แทนราษฎรของไทยที่มีพรรคการเมืองของ น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหญิง กุมเสียงข้างมาก ดันทุรังลงมติผ่านความเห็นชอบกฎหมายนิรโทษกรรมด้วยกลไกรัฐสภา แม้จะถูกรุมต่อต้านจากทุกภาคส่วนในสังคมไทย
มอนต์เลควิเคราะห์ว่า เมื่อระบบรัฐสภาและสถาบันประชาธิปไตยในไทยอ่อนแอ จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่ประชาชนชาวไทยต้องกลับออกมาต่อสู้ตามท้องถนนอีกครั้งอย่างในขณะนี้ ซึ่งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่การประท้วงครั้งใหญ่เมื่อปี 2010 ที่จบลงด้วยเหตุนองเลือดจากการปราบปรามของกองทัพ
ในครั้งนี้ ที่มาของการชุมนุมประท้วงของประชาชนมาจากการที่รัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ และสมาชิกรัฐสภาในสังกัด เดินหน้าผลักดันกฎหมายแห่งความขัดแย้งเพื่อล้างความผิดให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จากความขัดแย้งทางการเมืองของไทย ซึ่งหนึ่งในบุคคลที่ถูกมองว่าจะได้รับประโยชน์เต็มๆจากการออกกฏหมายนิรโทษกรรมครั้งนี้ คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีที่เป็นพี่ชายของเธอ ซึ่งถูกกองทัพโค่นอำนาจไปเมื่อปี 2006 และถูกตัดสินว่าทุจริต-ใช้อำนาจโดยมิชอบเมื่อปี 2008 ซึ่งความมุ่งมั่นในการล้างความผิดให้กับทักษิณนี้เอง ที่กลายเป็นการจุดชนวนให้ประชาชนเรือนหมื่นออกมารวมตัวกันกลางกรุงเทพฯเมื่อวันจันทร์ (4)
บทวิเคราะห์ของมอนต์เลคระบุว่าสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับรัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตรบ่งชี้ถึงความเปราะบางในระบบรัฐสภาของไทย ที่เริ่มถูกตั้งคำถามมากขึ้น โดยเฉพาะในประเด็นที่ว่า การได้ครองเสียงข้างมากจากการเลือกตั้งครั้งแล้วครั้งเล่าของพรรคการเมืองฝ่ายของทักษิณ-ยิ่งลักษณ์ อาจเป็นเพียงผลพวงจากความอ่อนแอของประชาธิปไตยในไทยที่ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่มีความเข้าใจที่ถ่องแท้ และถูกใช้เป็นเพียงเครื่องมือในการหย่อนบัตรเลือกตั้งเท่านั้น
ด้านสำนักข่าวบีบีซีของอังกฤษรายงานว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ นายกรัฐมนตรีหญิงของไทย พยายามร้องขอความเข้าใจจากสาธารณชนต่อการเดินหน้าผลักดันกฏหมายนิรโทษกรรม ที่จุดชนวนให้เกิดการประท้วงตามท้องถนนของประชาชนนับหมื่นคน โดยเธอยืนกรานจะเคารพการตัดสินใจของวุฒิสภาที่คาดว่าจะมีการอภิปรายถึงร่างกฏหมายอื้อฉาวนี้ในสัปดาห์หน้า
ไซมอน มอนต์เลค คอลัมนิสต์ชื่อดังแห่งกองบรรณาธิการนิตยสาร “ฟอร์บส์” ในมหานครนิวยอร์กของสหรัฐฯ เผยแพร่บทความชิ้นล่าสุดโดยระบุว่า ผู้ประท้วงชาวไทยได้กลับคืนสู่ท้องถนนอีกครั้ง เพื่อลุกขึ้นทำหน้าที่ในการปกป้อง “ความถูกต้องชอบธรรม” หลังจากเป็นที่แน่ชัดแล้วว่า ไม่สามารถพึ่งพาบรรดานักการเมืองในรัฐสภา ที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยได้อีกต่อไป จากกรณีที่บรรดาส.ส.ในสภาผู้แทนราษฎรของไทยที่มีพรรคการเมืองของ น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหญิง กุมเสียงข้างมาก ดันทุรังลงมติผ่านความเห็นชอบกฎหมายนิรโทษกรรมด้วยกลไกรัฐสภา แม้จะถูกรุมต่อต้านจากทุกภาคส่วนในสังคมไทย
มอนต์เลควิเคราะห์ว่า เมื่อระบบรัฐสภาและสถาบันประชาธิปไตยในไทยอ่อนแอ จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่ประชาชนชาวไทยต้องกลับออกมาต่อสู้ตามท้องถนนอีกครั้งอย่างในขณะนี้ ซึ่งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่การประท้วงครั้งใหญ่เมื่อปี 2010 ที่จบลงด้วยเหตุนองเลือดจากการปราบปรามของกองทัพ
ในครั้งนี้ ที่มาของการชุมนุมประท้วงของประชาชนมาจากการที่รัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ และสมาชิกรัฐสภาในสังกัด เดินหน้าผลักดันกฎหมายแห่งความขัดแย้งเพื่อล้างความผิดให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จากความขัดแย้งทางการเมืองของไทย ซึ่งหนึ่งในบุคคลที่ถูกมองว่าจะได้รับประโยชน์เต็มๆจากการออกกฏหมายนิรโทษกรรมครั้งนี้ คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีที่เป็นพี่ชายของเธอ ซึ่งถูกกองทัพโค่นอำนาจไปเมื่อปี 2006 และถูกตัดสินว่าทุจริต-ใช้อำนาจโดยมิชอบเมื่อปี 2008 ซึ่งความมุ่งมั่นในการล้างความผิดให้กับทักษิณนี้เอง ที่กลายเป็นการจุดชนวนให้ประชาชนเรือนหมื่นออกมารวมตัวกันกลางกรุงเทพฯเมื่อวันจันทร์ (4)
บทวิเคราะห์ของมอนต์เลคระบุว่าสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับรัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตรบ่งชี้ถึงความเปราะบางในระบบรัฐสภาของไทย ที่เริ่มถูกตั้งคำถามมากขึ้น โดยเฉพาะในประเด็นที่ว่า การได้ครองเสียงข้างมากจากการเลือกตั้งครั้งแล้วครั้งเล่าของพรรคการเมืองฝ่ายของทักษิณ-ยิ่งลักษณ์ อาจเป็นเพียงผลพวงจากความอ่อนแอของประชาธิปไตยในไทยที่ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่มีความเข้าใจที่ถ่องแท้ และถูกใช้เป็นเพียงเครื่องมือในการหย่อนบัตรเลือกตั้งเท่านั้น
ด้านสำนักข่าวบีบีซีของอังกฤษรายงานว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ นายกรัฐมนตรีหญิงของไทย พยายามร้องขอความเข้าใจจากสาธารณชนต่อการเดินหน้าผลักดันกฏหมายนิรโทษกรรม ที่จุดชนวนให้เกิดการประท้วงตามท้องถนนของประชาชนนับหมื่นคน โดยเธอยืนกรานจะเคารพการตัดสินใจของวุฒิสภาที่คาดว่าจะมีการอภิปรายถึงร่างกฏหมายอื้อฉาวนี้ในสัปดาห์หน้า