*จาก “กิริยา” สู่ตันตระ (ต่อ)*
(94) “จงรู้สึกถึงแก่นสารของเธอ กระดูก เนื้อ โลหิตของเธอที่เปี่ยมไปด้วยธาตุแท้ของจักรวาล”
ขยายความ ให้ทดลองฝึกให้ตัวเองเปี่ยมไปด้วยความโศกเศร้าสัก 7 วันจากนั้น ให้ทดลองฝึกให้ตัวเองเปี่ยมไปด้วยความหรรษาอีก 7 วัน เมื่อฝึกจนกระทั่งรู้ทัน “ความเศร้า” และ “ความหรรษา” นี้ได้ แล้วจึงค่อยหันมาฝึกวิธีนี้ เพื่อสัมผัสถึงธาตุแท้อันศักดิ์สิทธิ์ในตัวเราเอง และเป็นหนึ่งเดียวกับมัน
(95) “จงรู้สึกถึงคุณสมบัติแห่งการสร้างสรรค์ที่แผ่ซ่านบริเวณทรวงอกของเธอ และทำให้มันทรงรูปอันประณีต”
ขยายความ วิธีให้กำหนดจิตไว้ที่ทรวงอกอย่างเดียวเท่านั้น วิธีนี้เหมาะสำหรับสตรีเพศมากกว่าบุรุษ
(96) “ยืนอยู่ในที่บางแห่งที่กว้างขวางอย่างไร้ขอบเขต ปราศจากต้นไม้ ขุนเขา ที่อยู่อาศัย กระทั่งมาถึงจุดที่หมดแรงกดดันของจิตใจ”
ขยายความ วิธีนี้แนะให้หัดมองเข้าไปในที่ว่างอันไร้ขอบเขตจำกัด ด้วยความตระหนักถึงความเดียวดายอย่างยิ่ง ในความเดียวดายนั้น จงเป็นอิสระจากการครอบงำความคิดของสังคม
(97) “จงพิจารณาพื้นที่อันไร้ขอบเขต เป็นกายแห่งบรมสุขของเธอ”
ขยายความ วิธีนี้ใช้ภาวนาบนยอดเขาที่มีพื้นที่อันไร้ขอบเขตอยู่เบื้องหน้า และแผ่ความรักความเมตตา บรมสุขของเราออกไปให้เต็มพื้นที่เบื้องหน้านั้น ให้ท้องฟ้าทั้งหมดนั้นเต็มเปี่ยมไปด้วยความรัก ความเมตตา บรมสุขอันไม่มีประมาณของเรา
(98) “จากท่าไหนก็ได้ ค่อยๆ แผ่พื้นที่ระหว่างรักแร้ออกไปให้กว้างขึ้น และเข้าสู่ความสงบอันยิ่ง”
ขยายความ วิธีนี้ แนะให้รู้สึกถึงความสงบรำงับในหัวใจตน โดยผ่าน การรำมวยไท่จี๋ (ไท้เก๊ก) อย่างช้าๆ อย่างผ่อนคลาย แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องร่ายรำอย่างอิสระ อย่างอ่อนโยนโดยไม่ยึดติดกับรูปแบบของท่ามวย แต่ให้ใส่ใจความรู้สึกไปที่พื้นที่ระหว่างรักแร้ ทรวงอก ตลอดเวลาที่เคลื่อนไหวอยู่
(99) “จงรู้สึกตัวเองราวกับว่าแผ่ออกไปทุกทิศทาง ทั้งไกลใกล้”
ขยายความ ความคับแคบของกายเนื้อ คืออุปสรรคที่ปิดกั้นการเติบโตของจิต หรือเป็นคุกที่คุมขังจิต เราจึงต้องภาวนาด้วยวิธีแผ่ตัวเราออกไปทั่วทุกทิศทาง
(100) “ชื่นชมวัตถุและผู้คนดุจผู้รู้แจ้งที่อยู่ร่วมกับผู้ที่ยังไม่รู้แจ้งอย่างกลมกลืน ความยิ่งใหญ่ของผู้รู้แจ้งนั้นอยู่ที่เขาดำรงอยู่ในอัตวิสัยที่ไม่หลงไปกับวัตถุใดๆ”
ขยายความ สั้นๆ คือการอยู่อย่างไม่ยึดติดในวัตถุใดๆ เรื่องราวใด ผู้คนคนไหน และปรากฏการณ์ใด ความต่างระหว่างผู้รู้แจ้งกับผู้ที่ยังไม่รู้แจ้ง เป็นความต่างที่ภายใน
(101) “จงเชื่อในสิ่งสูงสุดที่ดำรงอยู่ในทุกที่ และมีพลานุภาพอย่างไร้ประมาณ”
ขยายความ การมีศรัทธาต่อสิ่งสูงสุดคือการมีศรัทธาต่อพลังภายใน หรือความเข้มแข็งภายในตัวเราเอง เพราะสิ่งสูงสุด ย่อมดำรงอยู่ภายในตัวเราทุกคนด้วยเช่นกัน
(102) “จินตนาการถึงจิตวิญญาณภายใน และภายนอกรอบๆ ตัวไปพร้อมๆ กัน จนกระทั่งจักรวาลทั้งหมดเป็นจิตวิญญาณ”
ขยายความ ตระหนักรู้ในจิตวิญญาณที่ดำรงอยู่ภายใน และภายนอกราวกับว่า โลกนี้จักรวาลนี้คือจิตวิญญาณโดยแท้
(103) “ในช่วงที่เริ่มมีความอยาก หรือความคิด จงรู้ด้วยจิตสำนึกทั้งหมดของเธอ”
ขยายความ จงอย่าต่อสู้กับกิเลสหรือความอยาก จงแค่รู้เท่านั้น เมื่อกิเลสหรือความอยากเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ก็ให้แค่รู้เท่านั้นทุกครั้ง โดยไม่ต้องไปทำอะไรอื่นมากกว่านี้
(104) “โอ ศักติ สิ่งที่รับรู้แต่ละอย่างล้วนมีข้อจำกัด จงสลายไปในสิ่งสูงสุดที่เปี่ยมพลานุภาพ”
ขยายความ จงอย่าจำกัดตนเอง แต่จงพยายามอยู่อย่างเหนือโลกเสมอ
(105) “ในความเป็นจริง รูปแบ่งแยกไม่ได้ การไม่แบ่งแยกคือสิ่งสูงสุด และเป็นรูปที่แท้จริงของเธอ จงตระหนักว่าแต่ละสิ่งล้วนถูกสร้างขึ้นมาจากจิตสูงสุดนี้
ขยายความ จงตระหนักถึงความเป็นหนึ่งเดียวของสรรพสิ่งผ่านคำพูด ความคิด และการกระทำของเธอในชีวิตประจำวัน และจงใช้ชีวิตด้วยจิตสำนึกแห่งความเป็นหนึ่งเดียวนี้เสมอ
(106) “รู้สึกถึงจิตสำนึกของแต่ละคนราวกับเป็นจิตสำนึกของตนเอง จากนั้นจงละวางความหมกมุ่นในตนเอง และกลายเป็นแต่ละผู้คน”
ขยายความ จงใช้ชีวิตแบบเอาใจเขามาใส่ใจเรา ราวกับเราเป็นกันและกันเสมอ
(107) “จิตสำนึกนี้ดำรงอยู่ในแต่ละคน นอกจากจิตสำนึกนี้แล้ว ไม่มีสิ่งอื่นดำรงอยู่”
ขยายความ จงใช้ชีวิตแบบตระหนักรู้ว่า มีแต่จิตสำนึกเท่านั้นที่ดำรงอยู่ วัตถุเป็นแค่เปลือกนอก เปลือกชั้นในคือพลังงาน แต่เปลือกชั้นในสุดคือ จิตเดิมแท้อันกระจ่างแจ้งอย่างไร้กาลเวลา
(108) “จิตสำนึกนี้คือ พระจิตผู้นำทางของแต่ละคน จงเป็นสิ่งนี้เถิด”
ขยายความ จงเป็น คุรุภายใน ของตัวเราเองที่สามารถสอนและชี้นำตัวเราเองได้ คนเราจะเป็นหนึ่งเดียวกับคุรุภายในของตนเองได้ก็ต่อเมื่อหยุดการคิด และข้ามพ้นความคิดได้เท่านั้น
(109) “สมมติให้กายเธอเป็นแค่ที่ว่างที่กำแพงเป็นผิวหนัง-สุญญตา”
ขยายความ จงรู้สึกว่ากายตัวเองคือความว่าง โดยผ่านการตามรู้กาย ตามรู้ใจ และการเจริญสุญญตสมาธิ
(110) “ผู้สง่างาม จงสำแดงลีลาออกมา จักรวาลคือพื้นที่ว่างที่จิตใจของเธอรื่นเริงอย่างไร้ที่สิ้นสุด”
ขยายความ จงใช้ชีวิตอย่างเบิกบานในทุกกิจกรรมที่ทำเสมอ จงทำให้ชีวิตทั้งชีวิตของเราเป็นดุจลีลาอันสง่างามของเรา
(111) “ยาใจ จงภาวนาถึงการรู้และไม่รู้ การอยู่และไม่อยู่ จากนั้นจงทิ้งทั้งคู่เพื่อที่จะเป็น”
ขยายความ จงก้ามข้ามความเป็นคู่ในสิ่งทั้งปวงด้วยการรู้ หรือตระหนักรู้อย่างบริสุทธิ์ อย่างไม่วิจารณ์ ไม่ประเมินคุณค่า ไม่ตัดสิน เพราะมีแต่ในสภาวะที่ “รู้ล้วนๆ” เช่นนี้เท่านั้น ที่เราจะอยู่เหนือความเป็นคู่ได้
(112) “เข้าสู่ที่ว่าง ที่ไร้การพยุง เป็นนิรันดร์ และสงบรำงับ”
ขยายความ จงเข้าสู่จักรวาลภายในด้วยสมาธิภาวนา และดำรงอยู่ในนั้น ณ ที่ซึ่งไม่มีจุดเริ่มต้นหรือจุดสิ้นสุด
จบบริบูรณ์
www.dragon-press.com
(94) “จงรู้สึกถึงแก่นสารของเธอ กระดูก เนื้อ โลหิตของเธอที่เปี่ยมไปด้วยธาตุแท้ของจักรวาล”
ขยายความ ให้ทดลองฝึกให้ตัวเองเปี่ยมไปด้วยความโศกเศร้าสัก 7 วันจากนั้น ให้ทดลองฝึกให้ตัวเองเปี่ยมไปด้วยความหรรษาอีก 7 วัน เมื่อฝึกจนกระทั่งรู้ทัน “ความเศร้า” และ “ความหรรษา” นี้ได้ แล้วจึงค่อยหันมาฝึกวิธีนี้ เพื่อสัมผัสถึงธาตุแท้อันศักดิ์สิทธิ์ในตัวเราเอง และเป็นหนึ่งเดียวกับมัน
(95) “จงรู้สึกถึงคุณสมบัติแห่งการสร้างสรรค์ที่แผ่ซ่านบริเวณทรวงอกของเธอ และทำให้มันทรงรูปอันประณีต”
ขยายความ วิธีให้กำหนดจิตไว้ที่ทรวงอกอย่างเดียวเท่านั้น วิธีนี้เหมาะสำหรับสตรีเพศมากกว่าบุรุษ
(96) “ยืนอยู่ในที่บางแห่งที่กว้างขวางอย่างไร้ขอบเขต ปราศจากต้นไม้ ขุนเขา ที่อยู่อาศัย กระทั่งมาถึงจุดที่หมดแรงกดดันของจิตใจ”
ขยายความ วิธีนี้แนะให้หัดมองเข้าไปในที่ว่างอันไร้ขอบเขตจำกัด ด้วยความตระหนักถึงความเดียวดายอย่างยิ่ง ในความเดียวดายนั้น จงเป็นอิสระจากการครอบงำความคิดของสังคม
(97) “จงพิจารณาพื้นที่อันไร้ขอบเขต เป็นกายแห่งบรมสุขของเธอ”
ขยายความ วิธีนี้ใช้ภาวนาบนยอดเขาที่มีพื้นที่อันไร้ขอบเขตอยู่เบื้องหน้า และแผ่ความรักความเมตตา บรมสุขของเราออกไปให้เต็มพื้นที่เบื้องหน้านั้น ให้ท้องฟ้าทั้งหมดนั้นเต็มเปี่ยมไปด้วยความรัก ความเมตตา บรมสุขอันไม่มีประมาณของเรา
(98) “จากท่าไหนก็ได้ ค่อยๆ แผ่พื้นที่ระหว่างรักแร้ออกไปให้กว้างขึ้น และเข้าสู่ความสงบอันยิ่ง”
ขยายความ วิธีนี้ แนะให้รู้สึกถึงความสงบรำงับในหัวใจตน โดยผ่าน การรำมวยไท่จี๋ (ไท้เก๊ก) อย่างช้าๆ อย่างผ่อนคลาย แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องร่ายรำอย่างอิสระ อย่างอ่อนโยนโดยไม่ยึดติดกับรูปแบบของท่ามวย แต่ให้ใส่ใจความรู้สึกไปที่พื้นที่ระหว่างรักแร้ ทรวงอก ตลอดเวลาที่เคลื่อนไหวอยู่
(99) “จงรู้สึกตัวเองราวกับว่าแผ่ออกไปทุกทิศทาง ทั้งไกลใกล้”
ขยายความ ความคับแคบของกายเนื้อ คืออุปสรรคที่ปิดกั้นการเติบโตของจิต หรือเป็นคุกที่คุมขังจิต เราจึงต้องภาวนาด้วยวิธีแผ่ตัวเราออกไปทั่วทุกทิศทาง
(100) “ชื่นชมวัตถุและผู้คนดุจผู้รู้แจ้งที่อยู่ร่วมกับผู้ที่ยังไม่รู้แจ้งอย่างกลมกลืน ความยิ่งใหญ่ของผู้รู้แจ้งนั้นอยู่ที่เขาดำรงอยู่ในอัตวิสัยที่ไม่หลงไปกับวัตถุใดๆ”
ขยายความ สั้นๆ คือการอยู่อย่างไม่ยึดติดในวัตถุใดๆ เรื่องราวใด ผู้คนคนไหน และปรากฏการณ์ใด ความต่างระหว่างผู้รู้แจ้งกับผู้ที่ยังไม่รู้แจ้ง เป็นความต่างที่ภายใน
(101) “จงเชื่อในสิ่งสูงสุดที่ดำรงอยู่ในทุกที่ และมีพลานุภาพอย่างไร้ประมาณ”
ขยายความ การมีศรัทธาต่อสิ่งสูงสุดคือการมีศรัทธาต่อพลังภายใน หรือความเข้มแข็งภายในตัวเราเอง เพราะสิ่งสูงสุด ย่อมดำรงอยู่ภายในตัวเราทุกคนด้วยเช่นกัน
(102) “จินตนาการถึงจิตวิญญาณภายใน และภายนอกรอบๆ ตัวไปพร้อมๆ กัน จนกระทั่งจักรวาลทั้งหมดเป็นจิตวิญญาณ”
ขยายความ ตระหนักรู้ในจิตวิญญาณที่ดำรงอยู่ภายใน และภายนอกราวกับว่า โลกนี้จักรวาลนี้คือจิตวิญญาณโดยแท้
(103) “ในช่วงที่เริ่มมีความอยาก หรือความคิด จงรู้ด้วยจิตสำนึกทั้งหมดของเธอ”
ขยายความ จงอย่าต่อสู้กับกิเลสหรือความอยาก จงแค่รู้เท่านั้น เมื่อกิเลสหรือความอยากเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ก็ให้แค่รู้เท่านั้นทุกครั้ง โดยไม่ต้องไปทำอะไรอื่นมากกว่านี้
(104) “โอ ศักติ สิ่งที่รับรู้แต่ละอย่างล้วนมีข้อจำกัด จงสลายไปในสิ่งสูงสุดที่เปี่ยมพลานุภาพ”
ขยายความ จงอย่าจำกัดตนเอง แต่จงพยายามอยู่อย่างเหนือโลกเสมอ
(105) “ในความเป็นจริง รูปแบ่งแยกไม่ได้ การไม่แบ่งแยกคือสิ่งสูงสุด และเป็นรูปที่แท้จริงของเธอ จงตระหนักว่าแต่ละสิ่งล้วนถูกสร้างขึ้นมาจากจิตสูงสุดนี้
ขยายความ จงตระหนักถึงความเป็นหนึ่งเดียวของสรรพสิ่งผ่านคำพูด ความคิด และการกระทำของเธอในชีวิตประจำวัน และจงใช้ชีวิตด้วยจิตสำนึกแห่งความเป็นหนึ่งเดียวนี้เสมอ
(106) “รู้สึกถึงจิตสำนึกของแต่ละคนราวกับเป็นจิตสำนึกของตนเอง จากนั้นจงละวางความหมกมุ่นในตนเอง และกลายเป็นแต่ละผู้คน”
ขยายความ จงใช้ชีวิตแบบเอาใจเขามาใส่ใจเรา ราวกับเราเป็นกันและกันเสมอ
(107) “จิตสำนึกนี้ดำรงอยู่ในแต่ละคน นอกจากจิตสำนึกนี้แล้ว ไม่มีสิ่งอื่นดำรงอยู่”
ขยายความ จงใช้ชีวิตแบบตระหนักรู้ว่า มีแต่จิตสำนึกเท่านั้นที่ดำรงอยู่ วัตถุเป็นแค่เปลือกนอก เปลือกชั้นในคือพลังงาน แต่เปลือกชั้นในสุดคือ จิตเดิมแท้อันกระจ่างแจ้งอย่างไร้กาลเวลา
(108) “จิตสำนึกนี้คือ พระจิตผู้นำทางของแต่ละคน จงเป็นสิ่งนี้เถิด”
ขยายความ จงเป็น คุรุภายใน ของตัวเราเองที่สามารถสอนและชี้นำตัวเราเองได้ คนเราจะเป็นหนึ่งเดียวกับคุรุภายในของตนเองได้ก็ต่อเมื่อหยุดการคิด และข้ามพ้นความคิดได้เท่านั้น
(109) “สมมติให้กายเธอเป็นแค่ที่ว่างที่กำแพงเป็นผิวหนัง-สุญญตา”
ขยายความ จงรู้สึกว่ากายตัวเองคือความว่าง โดยผ่านการตามรู้กาย ตามรู้ใจ และการเจริญสุญญตสมาธิ
(110) “ผู้สง่างาม จงสำแดงลีลาออกมา จักรวาลคือพื้นที่ว่างที่จิตใจของเธอรื่นเริงอย่างไร้ที่สิ้นสุด”
ขยายความ จงใช้ชีวิตอย่างเบิกบานในทุกกิจกรรมที่ทำเสมอ จงทำให้ชีวิตทั้งชีวิตของเราเป็นดุจลีลาอันสง่างามของเรา
(111) “ยาใจ จงภาวนาถึงการรู้และไม่รู้ การอยู่และไม่อยู่ จากนั้นจงทิ้งทั้งคู่เพื่อที่จะเป็น”
ขยายความ จงก้ามข้ามความเป็นคู่ในสิ่งทั้งปวงด้วยการรู้ หรือตระหนักรู้อย่างบริสุทธิ์ อย่างไม่วิจารณ์ ไม่ประเมินคุณค่า ไม่ตัดสิน เพราะมีแต่ในสภาวะที่ “รู้ล้วนๆ” เช่นนี้เท่านั้น ที่เราจะอยู่เหนือความเป็นคู่ได้
(112) “เข้าสู่ที่ว่าง ที่ไร้การพยุง เป็นนิรันดร์ และสงบรำงับ”
ขยายความ จงเข้าสู่จักรวาลภายในด้วยสมาธิภาวนา และดำรงอยู่ในนั้น ณ ที่ซึ่งไม่มีจุดเริ่มต้นหรือจุดสิ้นสุด
จบบริบูรณ์
www.dragon-press.com