ASTVผู้จัดการรายวัน-ศาลไต่สวนการตาย ชี้ “อากง” อดีตผู้ต้องขังคดีหมิ่นเบื้องสูง เสียชีวิตจากอาการระบบไหลเวียนโลหิต และระบบหายใจล้มเหลว สืบเนื่องจากโรคมะเร็งตับระยะสุดท้าย ไม่ได้เกิดจากความประมาทของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์
วานนี้ (30 ต.ค.) ที่ห้องพิจารณา 712 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลอ่านคำสั่งไต่สวนคำร้องชันสูตรพลิกศพเพื่อหาสาเหตุการเสียชีวิต คดีหมายเลขดำ อช.10/2555 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 4 ยื่นคำร้องขอให้ไต่สวนการเสียชีวิตของนายอำพล ตั้งนพกุล หรืออากง อายุ 61 ปี เพื่อทำคำสั่งแสดงว่าผู้ตายเป็นใคร ตายที่ไหน เมื่อใด และถึงเหตุและพฤติการณ์ที่ตาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150
ทั้งนี้ นายอำพลเสียชีวิตเมื่อวันที่ 8 พ.ค. 2555 ระหว่างถูกคุมขังในเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ในคดีหมิ่นเบื้องสูง ที่ศาลอาญามีคำพิพากษาให้จำคุกเป็นเวลา 20 ปี ในความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานทั้งหมดแล้ว เห็นว่า ที่พยานฝ่ายญาติผู้ตายเบิกความทำนองว่า ระหว่างถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำแดน 8 เจ้าหน้าที่ได้มอบหมายงานให้ นช.อำพลในปริมาณมาก และไม่ได้รับยาและอาหารที่เหมาะสม นอกจากนี้ ยังมีการพูดจาเสียดสีเกี่ยวกับคดีที่ นช.อำพลถูกดำเนินคดี แต่ไม่ได้ปรากฏข้อเท็จจริงว่า นช.อำพลได้ถูกทำร้ายร่างกายแต่อย่างใด รวมทั้งการมอบหมายงานก็มีนักโทษคนอื่นได้ช่วยเหลือการทำงานของ นช.อำพล ขณะที่การควบคุมมีการกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ใช้กับนักโทษทุกคนเพื่อควบคุมในสถานคุมขังที่จะมีคนอยู่จำนวนมาก และเมื่อพบว่าผู้ตายมีอาการป่วยก็ได้เข้ารับการรักษาที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ตามที่ญาติผู้ตายร้องขอ ซึ่งอาการท้องโตของ นช.อำพลในช่วงที่ทำการรักษา แพทย์เจ้าของไข้ก็ได้สั่งยาขับปัสสาวะเพื่อเอาน้ำออกจากช่องท้องโดยวิธีธรรมชาติ ซึ่งการวินิจฉัยเอาน้ำออกแพทย์มีดุลพินิจแตกต่างกันได้ จนกระทั่ง นช.อำพลเสียชีวิต และได้ผ่าพิสูจน์ศพจึงพบว่าเป็นโรคมะเร็งตับ ส่วนที่แพทย์พยานญาติผู้ตายเบิกความถึงสาเหตุว่าผู้ตายมีน้ำออกในช่องท้อง ซึ่งจะมีผลต่อการบีบเต้นของหัวใจที่อาจทำให้เสียชีวิตฉับพลันได้มากกว่าการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งที่ตายอย่างช้าๆ ก็เป็นการเบิกความตามผลการชันสูตรของแพทย์
โดยแพทย์เจ้าของไข้ได้วางแผนการรักษาโดยมีการเอกซ์เรย์และเจาะเลือดตรวจ เนื่องจากยังไม่ทราบแน่ชัดว่าป่วยด้วยโรคอะไร ซึ่งระหว่างการรักษาก็ได้เข้าไปตรวจเยี่ยมคนไข้และนาย นช.อำพลตลอดเวลา แม้กระทั่งช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ทั้งที่ไม่ได้เป็นการบังคับ แสดงถึงความสนใจมีเจตนาที่จะรักษา นช.อำพล เช่นเดียวกับการตรวจพบการเต้นหัวใจที่เร็วผิดปกติก็ไม่ได้ละเลยในการสั่งยาลดการบีบตัวของหัวใจให้
สำหรับการกู้ชีพนั้น พยานซึ่งเป็นพยาบาลจากทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์เบิกความว่า ขณะที่ นช.อำพลหยุดหายใจได้ช่วยกันปั้มหัวใจโดยใช้มือและเครื่องช่วยหายใจเป็นระยะเวลา 20 นาที แต่นช.อำพลก็ไม่ฟื้น แม้ว่าขณะปั้มหัวใจจะไม่มีแพทย์เข้าไปดูอาการ แต่ก็ได้รับรายงานให้แพทย์ทราบเป็นระยะ ซึ่งการใช้เครื่องปั้มหัวใจไฟฟ้าทางแพทย์ไม่ยืนยันว่าจะช่วยชีวิตได้ทุกครั้ง การกู้ชีพ นช.อำพลจึงไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้เสียชีวิต แต่เป็นขั้นตอนการช่วยชีวิต พยานหลักฐานจึงไม่พอฟังว่าสาเหตุการเสียชีวิตของ นช.อำพลเกิดจากการละเลยและประมาทของเจ้าหน้าที่ตามที่ญาติผู้ตายได้กล่าวอ้าง ซึ่งยังห่างไกลจากการเชื่อมโยงสู่สาเหตุการตายอย่างมาก
ศาลจึงมีคำสั่งว่านายอำพลเสียชีวิตที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์เมื่อวันที่ 8 พ.ค.2555 เนื่องจากระบบไหลเวียนโลหิตและหัวใจล้มเหลวจากโรคมะเร็งตับลุกลาม ระหว่างการควบคุมตัวของเจ้าพนักงาน
ภายหลัง น.ส.พูนสุข พูนสุขเจริญ ทนายความจากสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า คดีนี้ญาติผู้ตายได้มาร้องขอให้สมาคมยื่นไต่สวนหาสาเหตุการตาย ซึ่งหวังที่จะให้มีการพัฒนามาตรฐานการรักษาในเรือนจำ ขณะที่ผลของการไต่สวนการตาย ศาลได้วินิจฉัยว่า อากงไม่ได้เสียชีวิตจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ แต่เสียชีวิตจากอาการของโรคประจำตัวคือมะเร็งตับระยะสุดท้าย ซึ่งต่างจากมุมมองที่เราได้นำพยานเข้าสืบว่าส่วนหนึ่งเกิดจากความประมาทในการรักษาและการดูแลของเจ้าหน้าที่ เพราะอากงมีอาการเจ็บป่วยตั้งแต่วันที่ 4 พ.ค.2555 ตรงกับช่วงวันหยุดต่อเนื่องเสาร์-อาทิตย์ มีเพียงเจ้าหน้าที่พยาบาลมาทำการปั๊มหัวใจโดยมือ เพื่อประคองการช่วยชีวิตเท่านั้น แต่ไม่ได้มีแพทย์มาช่วยเหลือใช้เครื่องปั๊มหัวใจไฟฟ้า ให้ยาลดการบีบของหัวใจ หรือทำการตรวจรักษาอาการอย่างทันท่วงที
อย่างไรก็ตาม คำสั่งศาลวันนี้ถือเป็นที่สุดแล้ว แต่ก่อนหน้านี้ญาติผู้ตายก็ได้ยื่นฟ้องคดีละเมิดเรียกค่าเสียหายมูลค่ากว่า 1 ล้านบาท จากกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม ต่อศาลปกครองไว้ เมื่อวันที่ 7 พ.ค.2556 ขณะนี้คดียังไม่ได้เริ่มไต่สวน แต่อยู่ระหว่างร้องขอให้ศาลปกครองพิจารณายกเว้นค่าธรรมศาลที่ผู้ฟ้องจะต้องวางในคดีที่เรียกค่าเสียหาย ขณะที่คำสั่งของศาลอาญาที่วินิจฉัยสาเหตุการตาย แม้จะถือเป็นที่สุดว่าการเสียชีวิตไม่ได้เกิดจากความประมาทของเจ้าหน้าที่ แต่ก็จะไม่เกี่ยวข้องกับคดีของศาลปกครอง เพราะเป็นคนละกรณี การไต่สวนของศาลปกครองจะพิจารณาจากพยานเอกสารหลักฐานที่จะเรียกจากคู่ความซึ่งเราก็ได้นำส่งเอกสารเกี่ยวกับการรักษาดูแลให้พิจารณา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับนายอำพล ตั้งนพกุล หรืออากง เป็นแนวร่วมกลุ่ม นปช. ที่ถูกตำรวจจับกุมได้ที่บ้านพักภายในซอยวัดด่าน อ.เมือง จ.สมุทรปราการ เมื่อวันที่ 3 ส.ค.2553 หลังตำรวจพบว่าหมายเลขโทรศัพท์มือถือของนายอำพลได้ส่งข้อความลักษณะเป็นการจาบจ้วง ดูหมิ่นเบื้องสูง ไปยังโทรศัพท์มือถือของนายสมเกียรติ ทองวัฒนสุข เลขานุการส่วนตัวนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตนายกรัฐมนตรี
วานนี้ (30 ต.ค.) ที่ห้องพิจารณา 712 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลอ่านคำสั่งไต่สวนคำร้องชันสูตรพลิกศพเพื่อหาสาเหตุการเสียชีวิต คดีหมายเลขดำ อช.10/2555 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 4 ยื่นคำร้องขอให้ไต่สวนการเสียชีวิตของนายอำพล ตั้งนพกุล หรืออากง อายุ 61 ปี เพื่อทำคำสั่งแสดงว่าผู้ตายเป็นใคร ตายที่ไหน เมื่อใด และถึงเหตุและพฤติการณ์ที่ตาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150
ทั้งนี้ นายอำพลเสียชีวิตเมื่อวันที่ 8 พ.ค. 2555 ระหว่างถูกคุมขังในเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ในคดีหมิ่นเบื้องสูง ที่ศาลอาญามีคำพิพากษาให้จำคุกเป็นเวลา 20 ปี ในความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานทั้งหมดแล้ว เห็นว่า ที่พยานฝ่ายญาติผู้ตายเบิกความทำนองว่า ระหว่างถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำแดน 8 เจ้าหน้าที่ได้มอบหมายงานให้ นช.อำพลในปริมาณมาก และไม่ได้รับยาและอาหารที่เหมาะสม นอกจากนี้ ยังมีการพูดจาเสียดสีเกี่ยวกับคดีที่ นช.อำพลถูกดำเนินคดี แต่ไม่ได้ปรากฏข้อเท็จจริงว่า นช.อำพลได้ถูกทำร้ายร่างกายแต่อย่างใด รวมทั้งการมอบหมายงานก็มีนักโทษคนอื่นได้ช่วยเหลือการทำงานของ นช.อำพล ขณะที่การควบคุมมีการกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ใช้กับนักโทษทุกคนเพื่อควบคุมในสถานคุมขังที่จะมีคนอยู่จำนวนมาก และเมื่อพบว่าผู้ตายมีอาการป่วยก็ได้เข้ารับการรักษาที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ตามที่ญาติผู้ตายร้องขอ ซึ่งอาการท้องโตของ นช.อำพลในช่วงที่ทำการรักษา แพทย์เจ้าของไข้ก็ได้สั่งยาขับปัสสาวะเพื่อเอาน้ำออกจากช่องท้องโดยวิธีธรรมชาติ ซึ่งการวินิจฉัยเอาน้ำออกแพทย์มีดุลพินิจแตกต่างกันได้ จนกระทั่ง นช.อำพลเสียชีวิต และได้ผ่าพิสูจน์ศพจึงพบว่าเป็นโรคมะเร็งตับ ส่วนที่แพทย์พยานญาติผู้ตายเบิกความถึงสาเหตุว่าผู้ตายมีน้ำออกในช่องท้อง ซึ่งจะมีผลต่อการบีบเต้นของหัวใจที่อาจทำให้เสียชีวิตฉับพลันได้มากกว่าการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งที่ตายอย่างช้าๆ ก็เป็นการเบิกความตามผลการชันสูตรของแพทย์
โดยแพทย์เจ้าของไข้ได้วางแผนการรักษาโดยมีการเอกซ์เรย์และเจาะเลือดตรวจ เนื่องจากยังไม่ทราบแน่ชัดว่าป่วยด้วยโรคอะไร ซึ่งระหว่างการรักษาก็ได้เข้าไปตรวจเยี่ยมคนไข้และนาย นช.อำพลตลอดเวลา แม้กระทั่งช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ทั้งที่ไม่ได้เป็นการบังคับ แสดงถึงความสนใจมีเจตนาที่จะรักษา นช.อำพล เช่นเดียวกับการตรวจพบการเต้นหัวใจที่เร็วผิดปกติก็ไม่ได้ละเลยในการสั่งยาลดการบีบตัวของหัวใจให้
สำหรับการกู้ชีพนั้น พยานซึ่งเป็นพยาบาลจากทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์เบิกความว่า ขณะที่ นช.อำพลหยุดหายใจได้ช่วยกันปั้มหัวใจโดยใช้มือและเครื่องช่วยหายใจเป็นระยะเวลา 20 นาที แต่นช.อำพลก็ไม่ฟื้น แม้ว่าขณะปั้มหัวใจจะไม่มีแพทย์เข้าไปดูอาการ แต่ก็ได้รับรายงานให้แพทย์ทราบเป็นระยะ ซึ่งการใช้เครื่องปั้มหัวใจไฟฟ้าทางแพทย์ไม่ยืนยันว่าจะช่วยชีวิตได้ทุกครั้ง การกู้ชีพ นช.อำพลจึงไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้เสียชีวิต แต่เป็นขั้นตอนการช่วยชีวิต พยานหลักฐานจึงไม่พอฟังว่าสาเหตุการเสียชีวิตของ นช.อำพลเกิดจากการละเลยและประมาทของเจ้าหน้าที่ตามที่ญาติผู้ตายได้กล่าวอ้าง ซึ่งยังห่างไกลจากการเชื่อมโยงสู่สาเหตุการตายอย่างมาก
ศาลจึงมีคำสั่งว่านายอำพลเสียชีวิตที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์เมื่อวันที่ 8 พ.ค.2555 เนื่องจากระบบไหลเวียนโลหิตและหัวใจล้มเหลวจากโรคมะเร็งตับลุกลาม ระหว่างการควบคุมตัวของเจ้าพนักงาน
ภายหลัง น.ส.พูนสุข พูนสุขเจริญ ทนายความจากสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า คดีนี้ญาติผู้ตายได้มาร้องขอให้สมาคมยื่นไต่สวนหาสาเหตุการตาย ซึ่งหวังที่จะให้มีการพัฒนามาตรฐานการรักษาในเรือนจำ ขณะที่ผลของการไต่สวนการตาย ศาลได้วินิจฉัยว่า อากงไม่ได้เสียชีวิตจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ แต่เสียชีวิตจากอาการของโรคประจำตัวคือมะเร็งตับระยะสุดท้าย ซึ่งต่างจากมุมมองที่เราได้นำพยานเข้าสืบว่าส่วนหนึ่งเกิดจากความประมาทในการรักษาและการดูแลของเจ้าหน้าที่ เพราะอากงมีอาการเจ็บป่วยตั้งแต่วันที่ 4 พ.ค.2555 ตรงกับช่วงวันหยุดต่อเนื่องเสาร์-อาทิตย์ มีเพียงเจ้าหน้าที่พยาบาลมาทำการปั๊มหัวใจโดยมือ เพื่อประคองการช่วยชีวิตเท่านั้น แต่ไม่ได้มีแพทย์มาช่วยเหลือใช้เครื่องปั๊มหัวใจไฟฟ้า ให้ยาลดการบีบของหัวใจ หรือทำการตรวจรักษาอาการอย่างทันท่วงที
อย่างไรก็ตาม คำสั่งศาลวันนี้ถือเป็นที่สุดแล้ว แต่ก่อนหน้านี้ญาติผู้ตายก็ได้ยื่นฟ้องคดีละเมิดเรียกค่าเสียหายมูลค่ากว่า 1 ล้านบาท จากกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม ต่อศาลปกครองไว้ เมื่อวันที่ 7 พ.ค.2556 ขณะนี้คดียังไม่ได้เริ่มไต่สวน แต่อยู่ระหว่างร้องขอให้ศาลปกครองพิจารณายกเว้นค่าธรรมศาลที่ผู้ฟ้องจะต้องวางในคดีที่เรียกค่าเสียหาย ขณะที่คำสั่งของศาลอาญาที่วินิจฉัยสาเหตุการตาย แม้จะถือเป็นที่สุดว่าการเสียชีวิตไม่ได้เกิดจากความประมาทของเจ้าหน้าที่ แต่ก็จะไม่เกี่ยวข้องกับคดีของศาลปกครอง เพราะเป็นคนละกรณี การไต่สวนของศาลปกครองจะพิจารณาจากพยานเอกสารหลักฐานที่จะเรียกจากคู่ความซึ่งเราก็ได้นำส่งเอกสารเกี่ยวกับการรักษาดูแลให้พิจารณา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับนายอำพล ตั้งนพกุล หรืออากง เป็นแนวร่วมกลุ่ม นปช. ที่ถูกตำรวจจับกุมได้ที่บ้านพักภายในซอยวัดด่าน อ.เมือง จ.สมุทรปราการ เมื่อวันที่ 3 ส.ค.2553 หลังตำรวจพบว่าหมายเลขโทรศัพท์มือถือของนายอำพลได้ส่งข้อความลักษณะเป็นการจาบจ้วง ดูหมิ่นเบื้องสูง ไปยังโทรศัพท์มือถือของนายสมเกียรติ ทองวัฒนสุข เลขานุการส่วนตัวนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตนายกรัฐมนตรี