ประจวบคีรีขันธ์ - ม็อบยางพาราและปาล์มน้ำมัน ยกเต็นท์ขวางถนนเพชรเกษมออก แต่ยังปักหลักชุมนุมต่อ ขณะตำรวจระดมกำลังกว่า 1,500 นายเตรียมสลาย "ประชา" อ้างไม่มีอำนาจตัดสินใจ 5 ข้อเรียกร้องชาวสวนยาง เหตุหลายเรื่องมีมติไปแล้ว ลั่นรอคำตอบม็อบร่วมตั้ง กก.ไตรภาคีหรือไม่ถึง 6 โมงเย็นหากไร้วี่แววดำเนินการตาม พ.ร.บ.ปภ.
เมื่อเวลา 10.00 น.วานนี้ (28 ต.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง เปิดเผยถึงการลงพื้นที่ไปการเจรจากับแกนนำภาคีเครือข่ายชาวสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน 16 จังหวัดภาคใต้ ที่ปักหลักชุมนุมอยู่ที่บริเวณหมู่ 7 บ้านศรีนคร อ.บางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อคืนวันที่ 27 ต.ค.ที่ผ่านมาว่า จากการเจรจากับตัวแทนชาวสวนยาง ในส่วน 5 ข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมเราได้พิจารณาแล้วว่าไม่ใช่ข้อที่เราจะตัดสินได้โดยทันที เนื่องจากบางเรื่องเคยมีมติไปแล้ว อย่างเรื่องราคายางพารา เมื่อวันที่ 6 ก.ย. ตนและคณะกรรมการแก้ไขปัญหาราคายางพารา เคยเดินทางไปพูดคุยกับตัวแทนชาวสวนยางที่โรงแรมทวินโลตัส จ.นครศรีธรรมราช จำนวน 35 คนมาแล้ว โดย 33 คนเห็นด้วยและรับได้ในราคากิโลกรัมละ 90 บาทและอีก 2 คนที่ไม่เห็นด้วยก็เชื่อมโยงกับการกลุ่มชุมนุมในครั้งนี้
ส่วนเรื่องที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิได้มอบให้นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.เกษตรและสหกรณ์ ดูแลรับผิดชอบ มีเกษตรกรมาขึ้นทะเบียนแล้วประมาณ 98 เปอร์เซ็นต์อยู่ระหว่างเร่งตรวจสอบอยู่ อีกเรื่องที่ไม่สามารถรับปากได้คือ การขอให้ย้ายผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพราะตนและรัฐบาลไม่มีอำนาจย้าย ต้องให้คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) มีมติและนำความขึ้นกราบบังคมทูล ส่วนเรื่องคดีความนั้น ในคดีแพ่งผู้ได้รับผลกระทบมีสิทธิที่จะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้ เราจะสั่งและห้ามได้อย่างไร หรือบางคดีอยู่ที่อัยการ เราจะไปก้าวก่ายกันได้อย่างไร ถือว่าไม่ถูกต้อง
"ดังนั้น เมื่อข้อเรียกร้องไม่สามารถหาข้อยุติภายในวันที่ 27 ต.ค.ที่ผ่านมา จึงเสนอให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการไตรภาคีขึ้นมา ประกอบด้วย ภาคเกษตรกร ภาครัฐ และฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาแก้ปัญหาในทุกเรื่อง แต่การจะพูดคุยกันได้จะต้องมีการเปิดถนนก่อน ทางตัวแทนจึงนำไปหารือกับเกษตรกรที่ชุมนุมอยู่ว่าตกลงจะตั้งคณะกรรมการไตรภาคีและส่งตัวแทนมาหรือไม่ แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่ได้คำตอบ โดยเราจะรอคำตอบจนถึงเวลา 18.00 น.ของวันนี้ (28 ต.ค.) หากยังไม่ได้รับคำตอบจะดำเนินการตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550” พล.ต.อ.ประชา กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากมีข่าวว่า พล.ต.ต.หาญพล นิตย์วิบูลย์ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 ได้สั่งกำลังเจ้าหน้าที่ชุดปราบจลาจลในภาค 7 รวมกำลังกว่า 1,500 นายเดินทางไปที่ สภ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อเตรียมสลายการชุมนุมของเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน 16 จังหวัดภาคใต้ที่ปิดถนนเพชรเกษมบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 415 บ้านศรีนคร ต.ช้างแรก อ.บางสะพานน้อย ในช่วงเย็นวันที่ 28 ต.ค.
ต่อมาเวลาประมาณ 16.00 น.กลุ่มผู้ชุมนุมได้ช่วยกันย้ายเต็นท์ที่นำไปตั้งขวางถนนเพชรเกษมอยู่ออกแล้วนำไปตั้งที่ริมถนนเพชรเกษมแล้ว แต่ยังคงมีการชุมนุมอยู่บนถนนเพชรเกษมอยู่ตามปกติ และแกนนำแต่ละจังหวัดที่เดินทางมาร่วมชุมนุมได้ผลัดเปลี่ยนกันขึ้นเวทีปราศรัยอยู่ตลอดเวลา โดยนายจำลอง ดีทองอ่อน ผู้ประสานงานเครือข่ายชาวสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน จ.ประจวบคีรีขันธ์ กล่าวว่า สาเหตุที่ต้องย้ายเต็นท์บนถนนออกมาเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายกับเต็นท์หรือเก้าอี้ ที่เกษตรกรได้เช่ามาจากการสลายการชุมนุม
นายจำลอง เปิดเผยด้วยว่า จากการที่แกนนำได้ไปประชุมกับ พล.ต.อ.ประชา พร้อมด้วยนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย เมื่อคืนวันที่ 27 ต.ค.ได้รับข้อตกลงจากรัฐบาลในการเตรียมจัดตั้งไตรภาคีเพื่อร่วมกันแก้ปัญหา โดยได้กลับมาปรึกษาเกษตรกรที่ชุมนุมแล้ว และเชื่อว่าทางออกที่ดี คงไม่มีการสลายการชุมนุม เพราะยิ่งจะทำให้เกิดความรุนแรงเพิ่มขึ้น เพราะการที่จะจบปัญหาลงได้ต้องมาจากการพูดคุยกันไม่ใช้ความรุนแรง
"ส่วนกรณี พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รองนายกรัฐมนตรี ได้ขีดเส้นไว้ให้กลุ่มผู้ชุมนุมเปิดถนนเพชรเกษมภายในเวลา 18.00 น.ของวันนี้ (28 ต.ค.) เครือข่ายเกษตรกรก็จะยังคงยืนยันว่าจะชุมนุมกันต่อไปจนกว่าการแก้ไขปัญหาจะบรรลุวัตถุประสงค์ความต้องการของเกษตรกร"
ด้านนายวัชพล ควรเพิ่ม ตัวแทนเครือข่ายภาคีชาวสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน 16 จังหวัดภาคใต้ กล่าวว่า วันนี้ทางแกนนำได้ประชุมและเรียกร้องไปยังรัฐบาลให้ย้าย พล.ต.ต.ธเนษฐ สุนทรสุข ผบก.ภ.จว.ประจวบคีรีขันธ์ ออกจากพื้นที่ภายในเวลา 18.00 น.ของเย็นวันนี้เหมือนกับที่รัฐบาลขีดเส้นให้วันนี้จะต้องเปิดการจราจรในช่วงเย็นให้ได้
เมื่อเวลา 10.00 น.วานนี้ (28 ต.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง เปิดเผยถึงการลงพื้นที่ไปการเจรจากับแกนนำภาคีเครือข่ายชาวสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน 16 จังหวัดภาคใต้ ที่ปักหลักชุมนุมอยู่ที่บริเวณหมู่ 7 บ้านศรีนคร อ.บางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อคืนวันที่ 27 ต.ค.ที่ผ่านมาว่า จากการเจรจากับตัวแทนชาวสวนยาง ในส่วน 5 ข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมเราได้พิจารณาแล้วว่าไม่ใช่ข้อที่เราจะตัดสินได้โดยทันที เนื่องจากบางเรื่องเคยมีมติไปแล้ว อย่างเรื่องราคายางพารา เมื่อวันที่ 6 ก.ย. ตนและคณะกรรมการแก้ไขปัญหาราคายางพารา เคยเดินทางไปพูดคุยกับตัวแทนชาวสวนยางที่โรงแรมทวินโลตัส จ.นครศรีธรรมราช จำนวน 35 คนมาแล้ว โดย 33 คนเห็นด้วยและรับได้ในราคากิโลกรัมละ 90 บาทและอีก 2 คนที่ไม่เห็นด้วยก็เชื่อมโยงกับการกลุ่มชุมนุมในครั้งนี้
ส่วนเรื่องที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิได้มอบให้นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.เกษตรและสหกรณ์ ดูแลรับผิดชอบ มีเกษตรกรมาขึ้นทะเบียนแล้วประมาณ 98 เปอร์เซ็นต์อยู่ระหว่างเร่งตรวจสอบอยู่ อีกเรื่องที่ไม่สามารถรับปากได้คือ การขอให้ย้ายผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพราะตนและรัฐบาลไม่มีอำนาจย้าย ต้องให้คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) มีมติและนำความขึ้นกราบบังคมทูล ส่วนเรื่องคดีความนั้น ในคดีแพ่งผู้ได้รับผลกระทบมีสิทธิที่จะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้ เราจะสั่งและห้ามได้อย่างไร หรือบางคดีอยู่ที่อัยการ เราจะไปก้าวก่ายกันได้อย่างไร ถือว่าไม่ถูกต้อง
"ดังนั้น เมื่อข้อเรียกร้องไม่สามารถหาข้อยุติภายในวันที่ 27 ต.ค.ที่ผ่านมา จึงเสนอให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการไตรภาคีขึ้นมา ประกอบด้วย ภาคเกษตรกร ภาครัฐ และฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาแก้ปัญหาในทุกเรื่อง แต่การจะพูดคุยกันได้จะต้องมีการเปิดถนนก่อน ทางตัวแทนจึงนำไปหารือกับเกษตรกรที่ชุมนุมอยู่ว่าตกลงจะตั้งคณะกรรมการไตรภาคีและส่งตัวแทนมาหรือไม่ แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่ได้คำตอบ โดยเราจะรอคำตอบจนถึงเวลา 18.00 น.ของวันนี้ (28 ต.ค.) หากยังไม่ได้รับคำตอบจะดำเนินการตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550” พล.ต.อ.ประชา กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากมีข่าวว่า พล.ต.ต.หาญพล นิตย์วิบูลย์ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 ได้สั่งกำลังเจ้าหน้าที่ชุดปราบจลาจลในภาค 7 รวมกำลังกว่า 1,500 นายเดินทางไปที่ สภ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อเตรียมสลายการชุมนุมของเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน 16 จังหวัดภาคใต้ที่ปิดถนนเพชรเกษมบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 415 บ้านศรีนคร ต.ช้างแรก อ.บางสะพานน้อย ในช่วงเย็นวันที่ 28 ต.ค.
ต่อมาเวลาประมาณ 16.00 น.กลุ่มผู้ชุมนุมได้ช่วยกันย้ายเต็นท์ที่นำไปตั้งขวางถนนเพชรเกษมอยู่ออกแล้วนำไปตั้งที่ริมถนนเพชรเกษมแล้ว แต่ยังคงมีการชุมนุมอยู่บนถนนเพชรเกษมอยู่ตามปกติ และแกนนำแต่ละจังหวัดที่เดินทางมาร่วมชุมนุมได้ผลัดเปลี่ยนกันขึ้นเวทีปราศรัยอยู่ตลอดเวลา โดยนายจำลอง ดีทองอ่อน ผู้ประสานงานเครือข่ายชาวสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน จ.ประจวบคีรีขันธ์ กล่าวว่า สาเหตุที่ต้องย้ายเต็นท์บนถนนออกมาเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายกับเต็นท์หรือเก้าอี้ ที่เกษตรกรได้เช่ามาจากการสลายการชุมนุม
นายจำลอง เปิดเผยด้วยว่า จากการที่แกนนำได้ไปประชุมกับ พล.ต.อ.ประชา พร้อมด้วยนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย เมื่อคืนวันที่ 27 ต.ค.ได้รับข้อตกลงจากรัฐบาลในการเตรียมจัดตั้งไตรภาคีเพื่อร่วมกันแก้ปัญหา โดยได้กลับมาปรึกษาเกษตรกรที่ชุมนุมแล้ว และเชื่อว่าทางออกที่ดี คงไม่มีการสลายการชุมนุม เพราะยิ่งจะทำให้เกิดความรุนแรงเพิ่มขึ้น เพราะการที่จะจบปัญหาลงได้ต้องมาจากการพูดคุยกันไม่ใช้ความรุนแรง
"ส่วนกรณี พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รองนายกรัฐมนตรี ได้ขีดเส้นไว้ให้กลุ่มผู้ชุมนุมเปิดถนนเพชรเกษมภายในเวลา 18.00 น.ของวันนี้ (28 ต.ค.) เครือข่ายเกษตรกรก็จะยังคงยืนยันว่าจะชุมนุมกันต่อไปจนกว่าการแก้ไขปัญหาจะบรรลุวัตถุประสงค์ความต้องการของเกษตรกร"
ด้านนายวัชพล ควรเพิ่ม ตัวแทนเครือข่ายภาคีชาวสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน 16 จังหวัดภาคใต้ กล่าวว่า วันนี้ทางแกนนำได้ประชุมและเรียกร้องไปยังรัฐบาลให้ย้าย พล.ต.ต.ธเนษฐ สุนทรสุข ผบก.ภ.จว.ประจวบคีรีขันธ์ ออกจากพื้นที่ภายในเวลา 18.00 น.ของเย็นวันนี้เหมือนกับที่รัฐบาลขีดเส้นให้วันนี้จะต้องเปิดการจราจรในช่วงเย็นให้ได้