ASTVผู้จัดการรายวัน- “สศอ.”เผยค่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนก.ย.ยังคงติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 เตรียมปรับการเติบโตทั้งปีใหม่จากโต0.5-1% เป็นติดลบ จีดีพีอุตฯโตลดต่ำกว่า 3-4% จากปัจจัยเศรษฐกิจทั้งในและนอกชะลอตัว
นายสมชาย หาญหิรัญ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม(MPI) เดือนกันยายน ติดลบ 2.9% โดยเป็นดัชนีฯที่ยังคงติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 นับตั้งแต่เม.ย. 56 ขณะที่ดัชนีฯ 9 เดือน(ม.ค.-ก.ย.) ติดลบ 1.9% ดังนั้นเดือนพ.ย.จะมีการปรับประมาณการณ์ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของปี 2556 ใหม่โดยคาดว่าจะติดลบจากที่เคยประเมินไว้กลางปีว่าจะโต0.5-1% ส่วนการเติบโตผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคอุตสาหกรรมหรือจีดีพีอุตสาหกรรมจะลดลงต่ำกว่าที่เคยมองไว้ทั้งปีโต 3-4% แต่ตัวเลขจะเป็นเท่าใดขอดูทิศทางดัชนีฯเดือนต.ค.อีกครั้ง
ทั้งนี้จากสาเหตุสำคัญคือ 1. ฐานการคำควณช่วงปลายปี 2554 สูงมากจากการเร่งผลิตปลายปีเพื่อส่งมอบหลังจากประสบภาวะน้ำท่วมโดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ 2. ภาวะเศรษฐกิจโลกและการบริโภคในประเทศชะลอตัว 3. เทคโนโลยีการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะฮาร์ดิสไดร์ท(HDD) เปลี่ยนเร็วมากจากการเติบโตของสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตมีผลต่อการผลิตที่นับเป็นจำนวนชิ้นที่ลดต่ำลง
สำหรับภาวะการผลิตช่วงไตรมาสที่ 4 คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นจากคำสั่งซื้อภาพรวมจึงคาดว่าจะส่งผลต่อดัชนีฯไตรมาส 4 ดีขึ้นหากเทียบกับช่วงไตรมาสที่ 3 แต่หากเทียบกับปีที่แล้วก็คาดว่ายังคงติดลบดังนั้นภาพรวมจึงเป็นบวกค่อนข้างยาก โดยอุตสาหกรรมหลักที่คาดว่าจะปรับตัวลดลงในช่วงไตรมาส 4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วคืออุตสาหกรรมยานยนต์เนื่องจากนโยบายรถคันแรกได้สิ้นสุดลงแล้วขณะที่ปลายปีทีแล้วต่างเร่งผลิตหลังจากยอดจองรถสูงมาก ส่วนอุตฯไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ไตรมาส 4 น่าจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากเริ่มมีคำสั่งซื้อเข้ามามากในผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานระบบ Cloud Computing เป็นต้น
นายสมชาย หาญหิรัญ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม(MPI) เดือนกันยายน ติดลบ 2.9% โดยเป็นดัชนีฯที่ยังคงติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 นับตั้งแต่เม.ย. 56 ขณะที่ดัชนีฯ 9 เดือน(ม.ค.-ก.ย.) ติดลบ 1.9% ดังนั้นเดือนพ.ย.จะมีการปรับประมาณการณ์ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของปี 2556 ใหม่โดยคาดว่าจะติดลบจากที่เคยประเมินไว้กลางปีว่าจะโต0.5-1% ส่วนการเติบโตผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคอุตสาหกรรมหรือจีดีพีอุตสาหกรรมจะลดลงต่ำกว่าที่เคยมองไว้ทั้งปีโต 3-4% แต่ตัวเลขจะเป็นเท่าใดขอดูทิศทางดัชนีฯเดือนต.ค.อีกครั้ง
ทั้งนี้จากสาเหตุสำคัญคือ 1. ฐานการคำควณช่วงปลายปี 2554 สูงมากจากการเร่งผลิตปลายปีเพื่อส่งมอบหลังจากประสบภาวะน้ำท่วมโดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ 2. ภาวะเศรษฐกิจโลกและการบริโภคในประเทศชะลอตัว 3. เทคโนโลยีการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะฮาร์ดิสไดร์ท(HDD) เปลี่ยนเร็วมากจากการเติบโตของสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตมีผลต่อการผลิตที่นับเป็นจำนวนชิ้นที่ลดต่ำลง
สำหรับภาวะการผลิตช่วงไตรมาสที่ 4 คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นจากคำสั่งซื้อภาพรวมจึงคาดว่าจะส่งผลต่อดัชนีฯไตรมาส 4 ดีขึ้นหากเทียบกับช่วงไตรมาสที่ 3 แต่หากเทียบกับปีที่แล้วก็คาดว่ายังคงติดลบดังนั้นภาพรวมจึงเป็นบวกค่อนข้างยาก โดยอุตสาหกรรมหลักที่คาดว่าจะปรับตัวลดลงในช่วงไตรมาส 4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วคืออุตสาหกรรมยานยนต์เนื่องจากนโยบายรถคันแรกได้สิ้นสุดลงแล้วขณะที่ปลายปีทีแล้วต่างเร่งผลิตหลังจากยอดจองรถสูงมาก ส่วนอุตฯไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ไตรมาส 4 น่าจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากเริ่มมีคำสั่งซื้อเข้ามามากในผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานระบบ Cloud Computing เป็นต้น