ASTVผู้จัดการรายวัน-สหรัฐฯ แบนผลไม้และอาหารไทย 12 รายการจากผู้ผลิต 9 ราย เหตุพบสิ่งสกปรก สารเคมีปนเปื้อน กระป๋องบวม ขั้นตอนการผลิตไม่ถูกสุขอนามัย เตรียมทำลายทิ้งหรือส่งกลับใน 90 วัน พร้อมยกร่างระเบียบคุมอาหารนำเข้าใหม่อีก แนะผู้ผลิตไทยศึกษาให้รอบคอบ
นายทิฆัมพร นาทวรทัต รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ (USFDA) ได้เผยแพร่รายงาน Import Refusal Report เกี่ยวกับการตรวจสอบและห้ามนำเข้าสินค้าจากไทยประจำเดือนก.ย.2556 โดยประกาศห้ามนำเข้าสินค้าที่ส่งออกจากไทยรวม 9 ราย ซึ่งเป็นสินค้าผลไม้และผลิตภัณฑ์อาหาร 12 รายการ เพราะตรวจพบสิ่งสกปรกเน่าเสีย หรือยาปราบศัตรูพืชเจือปน หรือพบการว่าผู้ประกอบการไทยไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับ FDA
สินค้าทั้ง 12 รายการ ได้แก่ มะขามหวาน มะขาม เส้นก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็ก น้ำปลา ชนิด Mud Fish Sauce และ Gouramy Fish Sauce เพราะพบสิ่งสกปรก เน่าเสียเจือปน, ลิ้นจี่กระป๋องในน้ำเชื่อม พบการบวกของภาชนะบรรจุ หรือมีการรั่วซึม, เครื่องแกงเขียวหวาน และเครื่องแกงแดง พบว่าผู้ประกอบการไม่ได้จดทะเบียนการเป็นผู้ผลิตอาหารกระป๋องที่มีความเป็นกรดต่ำ หรือทะเบียนผู้ผลิตอาหารที่ใช้กรดเป็นส่วนประกอบ, มะม่วงหั่นเป็นชิ้นในน้ำเชื่อม พบสารเคมีจำพวกยาปราบศัตรูพืชเจือปน, กล้วยอบแห้ง พบสารซัลไฟต์ ซึ่งไม่ได้ระบุไว้บนฉลากสินค้า, ปลาแมกเคอเรลทอดรสเผ็ด และปลาแมกเคอเรลทอด ในซอสพริก พบว่าสินค้าถูกผลิต บรรจุ หรือเก็บอยู่ในสภาพที่ไม่ถูกต้องตามสุขอนามัย
ทั้งนี้ ก่อนที่สหรัฐฯ จะออกประกาศห้ามนำเข้าสินค้าของผู้ประกอบการดังกล่าว ได้แจ้งไปยังผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องถึงสิ่งที่ตรวจพบ ข้อสงสัย หรือความไม่ชัดเจนในการไม่ปฏิบัติตามมาตรฐาน กฎระเบียบ และเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการจัดส่งข้อมูลยืนยันเพื่อแก้ข้อกล่าวหา แต่ปรากฏว่าผู้ประกอบการดังกล่าวไม่สามารถชี้แจง หรือจัดทำข้อมูลได้เพียงพอ จึงต้องประกาศห้ามนำเข้าและจะทำลายสินค้าดังกล่าวหรือส่งกลับภายใน 90 วัน
“ผู้ประกอบการไทยควรศึกษาระเบียบปฏิบัติในการตรวจสอบสินค้านำเข้าของ USFDA ให้ดี โดยให้ความสำคัญกับการส่งออกสินค้าที่ได้มาตรฐาน และปฏิบัติตามกฎข้อบังคับการนำเข้าสินค้าของสหรัฐฯ อย่างเคร่งครัด เพื่อจะได้ไม่ถูกห้ามนำเข้า ซึ่งจะเป็นการทำลายภาพพจน์สินค้าไทยโดยรวม และอาจเสียตลาดในอนาคต”
นายทิฆัมพรกล่าวว่า USFDA ยังได้ประกาศร่างระเบียบใหม่เกี่ยวกับการรับรองการผลิตอาหารของประเทศผู้ผลิต (Foreign Supplier Verification Program (FSVP) และการจัดตั้งโครงการในการรับรองหน่วยงานที่สาม (Accreditation of Third Party Auditors) เพื่อตรวจสอบและออกหนังสือรับรองความปลอดภัยของอาหารที่นำเข้าสหรัฐฯ โดยประกาศดังกล่าวจะมีความเข้มงวดในการตรวจสอบมากขึ้น เช่น กำหนดให้มีระบบการตรวจสอบเพื่อควบคุมอันตราย การทบทวนหลักฐานด้านความปลอดภัยอาหาร เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่า อาหารที่นำเข้าสหรัฐฯ ได้ผลิตอย่างถูกต้องตามหลักสาธารณสุขในระดับเดียวกันกับสินค้าที่ผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศผู้ส่งออก
นายทิฆัมพร นาทวรทัต รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ (USFDA) ได้เผยแพร่รายงาน Import Refusal Report เกี่ยวกับการตรวจสอบและห้ามนำเข้าสินค้าจากไทยประจำเดือนก.ย.2556 โดยประกาศห้ามนำเข้าสินค้าที่ส่งออกจากไทยรวม 9 ราย ซึ่งเป็นสินค้าผลไม้และผลิตภัณฑ์อาหาร 12 รายการ เพราะตรวจพบสิ่งสกปรกเน่าเสีย หรือยาปราบศัตรูพืชเจือปน หรือพบการว่าผู้ประกอบการไทยไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับ FDA
สินค้าทั้ง 12 รายการ ได้แก่ มะขามหวาน มะขาม เส้นก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็ก น้ำปลา ชนิด Mud Fish Sauce และ Gouramy Fish Sauce เพราะพบสิ่งสกปรก เน่าเสียเจือปน, ลิ้นจี่กระป๋องในน้ำเชื่อม พบการบวกของภาชนะบรรจุ หรือมีการรั่วซึม, เครื่องแกงเขียวหวาน และเครื่องแกงแดง พบว่าผู้ประกอบการไม่ได้จดทะเบียนการเป็นผู้ผลิตอาหารกระป๋องที่มีความเป็นกรดต่ำ หรือทะเบียนผู้ผลิตอาหารที่ใช้กรดเป็นส่วนประกอบ, มะม่วงหั่นเป็นชิ้นในน้ำเชื่อม พบสารเคมีจำพวกยาปราบศัตรูพืชเจือปน, กล้วยอบแห้ง พบสารซัลไฟต์ ซึ่งไม่ได้ระบุไว้บนฉลากสินค้า, ปลาแมกเคอเรลทอดรสเผ็ด และปลาแมกเคอเรลทอด ในซอสพริก พบว่าสินค้าถูกผลิต บรรจุ หรือเก็บอยู่ในสภาพที่ไม่ถูกต้องตามสุขอนามัย
ทั้งนี้ ก่อนที่สหรัฐฯ จะออกประกาศห้ามนำเข้าสินค้าของผู้ประกอบการดังกล่าว ได้แจ้งไปยังผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องถึงสิ่งที่ตรวจพบ ข้อสงสัย หรือความไม่ชัดเจนในการไม่ปฏิบัติตามมาตรฐาน กฎระเบียบ และเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการจัดส่งข้อมูลยืนยันเพื่อแก้ข้อกล่าวหา แต่ปรากฏว่าผู้ประกอบการดังกล่าวไม่สามารถชี้แจง หรือจัดทำข้อมูลได้เพียงพอ จึงต้องประกาศห้ามนำเข้าและจะทำลายสินค้าดังกล่าวหรือส่งกลับภายใน 90 วัน
“ผู้ประกอบการไทยควรศึกษาระเบียบปฏิบัติในการตรวจสอบสินค้านำเข้าของ USFDA ให้ดี โดยให้ความสำคัญกับการส่งออกสินค้าที่ได้มาตรฐาน และปฏิบัติตามกฎข้อบังคับการนำเข้าสินค้าของสหรัฐฯ อย่างเคร่งครัด เพื่อจะได้ไม่ถูกห้ามนำเข้า ซึ่งจะเป็นการทำลายภาพพจน์สินค้าไทยโดยรวม และอาจเสียตลาดในอนาคต”
นายทิฆัมพรกล่าวว่า USFDA ยังได้ประกาศร่างระเบียบใหม่เกี่ยวกับการรับรองการผลิตอาหารของประเทศผู้ผลิต (Foreign Supplier Verification Program (FSVP) และการจัดตั้งโครงการในการรับรองหน่วยงานที่สาม (Accreditation of Third Party Auditors) เพื่อตรวจสอบและออกหนังสือรับรองความปลอดภัยของอาหารที่นำเข้าสหรัฐฯ โดยประกาศดังกล่าวจะมีความเข้มงวดในการตรวจสอบมากขึ้น เช่น กำหนดให้มีระบบการตรวจสอบเพื่อควบคุมอันตราย การทบทวนหลักฐานด้านความปลอดภัยอาหาร เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่า อาหารที่นำเข้าสหรัฐฯ ได้ผลิตอย่างถูกต้องตามหลักสาธารณสุขในระดับเดียวกันกับสินค้าที่ผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศผู้ส่งออก