วานนี้(24 ต.ค.56) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ประกอบด้วย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสายสารสนเทศ และนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายคอมพิวเตอร์ ออกแถลงการณ์คัดค้าน พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับแก้ไข เพราะเห็นว่าเนื้อหาของร่างแก้ไขกฎหมายฉบับนี้มีรายละเอียดที่จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการแสดงความคิดเห็นส่วนบุคคลและขัดต่อหลักสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญค่อนข้างมาก
ทั้งนี้ ทางกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ได้เห็นชอบฉบับแก้ไขเมื่อเดือน ก.ค. และเตรียมนำเสนอให้ ครม. อนุมัติ แต่เนื้อหาที่ทางองค์กรวิชาชีพไม่เห็นด้วย คือ ได้แก้ไขเพิ่มเติมในเรื่องการปิดบล็อคเว็บไซต์ให้ง่ายขึ้นโดยตัดส่วนของการกลั่นกรองโดย รมว.ไอซีทีออกไป และให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่มากขึ้นโดยปราศจากการตรวจสอบ ซึ่งทำให้การละเมิดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารถูกละเมิด
นอกจากนี้ ร่างกฎหมายฉบับนี้ยังขาดรายละเอียดและมาตรฐานของการจัดอบรมพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งปัจจุบันมีการอบรมพนักงานเจ้าหน้าที่เพียงแค่ 3 วัน ขัดต่อแนวปฏิบัติและกฎกระทรวงที่กำหนดอย่างน้อย 3 เดือน ทำให้การบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ก่อให้เกิดความสับสนวุ่นวายและมีการตีความในการใช้อำนาจเกินขอบเขต
รวมทั้งก่อให้เกิดความหวาดกลัวในการแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เช่น กรณีกองบังคับปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีได้เข้าแทรกแซงและควบคุมการติดต่อสื่อสารประเภทโซเชียลมีเดีย คือ การกดไลค์ กดแชร์ ผ่านเฟซบุ๊ค การใช้แอพพลิเคชั่นไลน์ จนเกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง ก่อนหน้านี้
แถลงการณ์ระบุด้วยว่า เนื้อหาที่แก้ไขของกฎหมายฉบับนี้ ยังขัดต่อหลักโครงสร้างขั้นพื้นฐานของการติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต และก่อให้เกิดความรับผิดแก่บรรดาผู้ประกอบการเว็บไซต์ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ผู้ให้บริการมือถือ เห็นได้จากร่างกฎหมายที่ระบุให้การทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์และการครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ลามกอนาจารที่ส่งผ่านผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตและมือถือผิดกฎหมายแม้ประมวลผลอัตโนมัติโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้ถ้อยคำที่กว้างและก่อให้เกิดปัญหาในการตีความในภายหลัง
ทั้งนี้ ทางกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ได้เห็นชอบฉบับแก้ไขเมื่อเดือน ก.ค. และเตรียมนำเสนอให้ ครม. อนุมัติ แต่เนื้อหาที่ทางองค์กรวิชาชีพไม่เห็นด้วย คือ ได้แก้ไขเพิ่มเติมในเรื่องการปิดบล็อคเว็บไซต์ให้ง่ายขึ้นโดยตัดส่วนของการกลั่นกรองโดย รมว.ไอซีทีออกไป และให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่มากขึ้นโดยปราศจากการตรวจสอบ ซึ่งทำให้การละเมิดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารถูกละเมิด
นอกจากนี้ ร่างกฎหมายฉบับนี้ยังขาดรายละเอียดและมาตรฐานของการจัดอบรมพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งปัจจุบันมีการอบรมพนักงานเจ้าหน้าที่เพียงแค่ 3 วัน ขัดต่อแนวปฏิบัติและกฎกระทรวงที่กำหนดอย่างน้อย 3 เดือน ทำให้การบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ก่อให้เกิดความสับสนวุ่นวายและมีการตีความในการใช้อำนาจเกินขอบเขต
รวมทั้งก่อให้เกิดความหวาดกลัวในการแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เช่น กรณีกองบังคับปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีได้เข้าแทรกแซงและควบคุมการติดต่อสื่อสารประเภทโซเชียลมีเดีย คือ การกดไลค์ กดแชร์ ผ่านเฟซบุ๊ค การใช้แอพพลิเคชั่นไลน์ จนเกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง ก่อนหน้านี้
แถลงการณ์ระบุด้วยว่า เนื้อหาที่แก้ไขของกฎหมายฉบับนี้ ยังขัดต่อหลักโครงสร้างขั้นพื้นฐานของการติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต และก่อให้เกิดความรับผิดแก่บรรดาผู้ประกอบการเว็บไซต์ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ผู้ให้บริการมือถือ เห็นได้จากร่างกฎหมายที่ระบุให้การทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์และการครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ลามกอนาจารที่ส่งผ่านผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตและมือถือผิดกฎหมายแม้ประมวลผลอัตโนมัติโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้ถ้อยคำที่กว้างและก่อให้เกิดปัญหาในการตีความในภายหลัง