ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ "เสี่ยขาว" ผู้บริหารซานติก้าผับ ไม่เป็นการกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียชีวิต โดยก่อนหน้านี้ศาลชั้นต้นสั่งจำคุก 3 ปี แต่ให้คงจำคุก เจ้าของบ.ทำเอฟเฟ็กต์ 3 ปี ด้านญาติเหยื่อผู้เสียชีวิตยันฎีกาสู้
วานนี้ (22 ต.ค.) ที่ห้องพิจารณา 602 ศาลอาญา กรุงเทพใต้ ศาลนัดอ่านคำพิพากษาอุทธรณ์ คดีเผาซานติก้าผับ ที่อัยการฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 1 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายวิสุข เสร็จสวัสดิ์ หรือเสี่ยขาว กรรมการผู้จัดการบริษัท ไวท์ แอนด์ บราเธอร์ส (2003) จำกัด ผู้บริหารซานติก้าผับ นายธวัชชัย ศรีทุมมา ผอ.ฝ่ายปฏิบัติการ นายพงษ์เทพ จินดา ผจก.ฝ่ายบันเทิง นายวุฒิพงศ์ ไวลย์ลิกรี ผจก. ฝ่ายการตลาด นายสราวุธ อะริยะ นักร้องวงเบิร์น ผู้จุดพลุไฟ บริษัท โพกัสไลท์ ซาวน์ซิสเต็ม จำกัด ซึ่งรับจ้างติดตั้งการทำเอฟ เฟ็กต์ ซานติก้าผับ และนายบุญชู เหล่าสีนาท กรรม การผู้มีอำนาจบริษัท โพกัสไลท์ฯ
เป็นจำเลยที่ 1-7 ในความผิดฐานผู้ใดทำให้เกิดเพลิงไหม้เป็นเหตุให้ผู้อื่นทรัพย์สินผู้อื่นเสียหายและเป็นอันตรายกับชีวิตผู้อื่น ผู้ใดกระทำ การประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ผู้ใดกระทำการให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส และผู้ใดกระทำการให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายและจิตใจ ตามประมวลกฎหมาย มาตรา 225, 291, 300, 390 และกระทำผิดพ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ.2509 มาตรา 16/1, 16/3.27 และ 28/1 ฐานเป็นผู้รับอนุญาตตั้งสถานบริการปล่อยปละละเลยให้บุคคลซึ่งอายุต่ำกว่า 20 ปีเข้าไปในสถานบริการ และปล่อยปละละเลยให้มีการกระ ทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานบริการมาตรา 291
โดยโจทก์ฟ้องสรุปว่า เมื่อคืนวันที่ 31 ธ.ค. 2551 ต่อเนื่องวันที่ 1 ม.ค. 2552 จำเลยได้กระทำการโดยประมาทปราศจากความระมัดระวัง จัดให้มีงานรื่นเริงให้บริการจำหน่ายอาหารสุรา เครื่องดื่ม การแสดงดนตรีรวมทั้งการแสดง แสง สี เสียง ในโอกาสฉลองเทศกาล วันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ภายในตัวอาคารซานติก้าผับ ย่านเอกมัย ซึ่งภายในตัวอาคารไม่มีแบบแปลนแผนผังอาคารติดตั้งแสดงไว้ ไม่มีป้ายบอกทางหนีไฟ และไม่ได้ติดตั้งไฟฉุกเฉินให้มีจำนวนเพียงพอที่จะสามารถเปิดส่องสว่างแก่ลูกค้าเพื่อการหลบหนีออกจากตัวอาคารได้สะดวกและปลอดภัย
อีกทั้งอาคารมีพื้นที่ให้บริการลูกค้าที่ สามารถจุคนได้ไม่เกินจำนวน 500 คน แต่ขณะเกิดเหตุมีลูกค้าเข้าไปใช้บริการเป็นจำนวนมากกว่า 1,000 คน โดยจำเลยที่ 5 ได้จุดพลุไฟที่บริเวณหน้าเวทีซึ่งมีความสูงประมาณ 5 เมตร จนเกิดลูกไฟขึ้นไปชนเพดานเวที ทำให้เกิดเพลิงลุกไหม้ขึ้นที่บริเวณเพดานเวทีและภายในตัวอาคารเป็นเหตุให้ลูกค้าผู้เข้าไปใช้บริการ ในอาคารถึงแก่ความตาย 67 คน บาดเจ็บสาหัส 32 คน บาดเจ็บอีก 71 คน
ซึ่งจำเลยทั้งหมดให้การปฏิเสธ โดยจำเลยที่ 1 ให้การปฏิเสธอ้างว่า ขณะเกิดเหตุไม่ได้เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทไวท์ แอนด์บราเธอร์ส (2003) จำกัด ซึ่งบริหารร้านซานติก้าผับ ส่วนจำเลยที่ 6 และ 7 ต่อสู้คดีว่าเพลิงที่ลุกไหม้ไม่ได้เกิดจากเอฟเฟ็กต์
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ 20 ก.ย.2554 เห็นว่า การกระทำของจำเลยที่ 1, 6 และ 7 เป็นการกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก เป็นความผิดกรรมเดียว ผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291 อันเป็นบทหนักสุดให้จำคุกนายวิสุข หรือ เสี่ยขาว กรรมการผู้จัดการบริษัท ไวท์ แอนด์ บราเธอร์ส (2003) จำกัด จำเลยที่ 1 และ นายบุญชู เหล่าสีนาท กรรม การผู้มีอำนาจบริษัท โพกัสไลท์ฯ จำเลยที่ 7 คนละ 3 ปี และปรับเงิน บริษัท โพกัสไลท์ฯ ซึ่งรับจ้างติดตั้งการทำเอฟ เฟ็กต์ ซานติก้าผับ จำเลยที่ 6 จำนวน 20,000 บาท
แม้ว่าจำเลยที่ 1 จะให้เงินช่วยเหลือทายาทผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บแล้วเป็นเงิน 3,394,800 บาท แต่การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะ ผู้บริหารสถานบริการซึ่งเป็นอาคารสาธารณะที่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้อาคารเป็นสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานบริการจะต้องมีระบบความปลอดภัยเกี่ยวกับอัคคีภัย เพื่อให้เป็นไปตามหลักมาตรฐานความปลอดภัยขั้นพื้นฐานตามกฎหมาย แต่จำเลยที่ 1 กลับไม่ยอมปฏิบัติตามกฎหมายเป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ ทำให้มี ผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บจำนวนมาก และให้จำเลยที่ 6-7 ร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ร่วมที่ 4-6 เป็นเงินรายละ 1,540,000 บาท พร้อมทั้งให้โจทก์ร่วมที่ 7-8 เป็นเงินรายละ 2,040,000 บาท รวม ทั้งสิ้น 8,700,000 บาท ส่วนจำเลยที่ 2-5 ให้ยกฟ้อง
ต่อมาจำเลยที่ 1, 6-7 ยื่นอุทธรณ์ขอให้ศาลยกฟ้อง และโจทก์ยื่นอุทธรณ์ให้ลงโทษจำเลยที่ 5
ศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือกันแล้วเห็นว่า โจทก์ยื่นฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กระทำประมาท แต่เมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 แล้วเห็นว่าไม่ใช่ผู้ที่กระทำประมาทโดยตรงที่จะทำให้เหตุเพลิงไหม้ ลำพังที่จะฟังว่าให้กลุ่มนักท่องเที่ยวเข้าไปในสถานบันเทิงเกิน 500 คนก็ฟังไม่ได้ ซึ่งหากจำเลยที่ 1 จะมีพฤติการณ์ดังกล่าวก็เป็นเรื่องของการไม่ได้ติดแบบแปลนแผนผังของอาคาร ป้ายบอกทางหนีไฟ และติดไฟฉุกเฉินให้เพียงพอที่เป็นข้อปฏิบัติตามพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งเหตุเพลิงไหม้ที่เกิดนั้นสืบเนื่องจากการจุดเอฟเฟ็กต์ด้วยไฟฟ้าที่หน้าเวทีที่จำเลยที่ 6-7 ดูแล โดยในชั้นนำสืบมีผู้เชี่ยวชาญด้านพลุและดอกไม้เพลิง เบิกความประกอบว่าพลุและดอกไม้เพลิงเป็นวัสดุต่างชนิดกัน ซึ่งดอกไม้เพลิงจะมีความร้อนสูงถึง 300 องศาเซลเซียล และต้องจุดในที่โล่งแจ้ง แต่ข้อเท็จจริงปรากฎว่าเมื่อมีการจุดเอฟเฟ็กต์แล้วประกายได้พุ่งขึ้นสู่เพดานจนเกิดเพลิงไหม้ โดยเริ่มตั้งแต่ด้านขวามือของเวที พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมานั้นรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 6-7 กระทำประมาท ส่วนนักร้องนำวงเบิร์น จำเลยที่ 5 ในชั้นนำสืบมีหลักฐานเป็นแผ่นดีวีดีบันทึกภาพที่ได้จากกล้องวีดีโอของพนักงานบริษัทที่ได้บันทึกการแสดงโชว์บนเวทีก่อนที่จะเกิดเพลิงไหม้ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญระบุว่าไม่ได้มีการตัดต่อภาพ และไม่ปรากฏภาพว่าจำเลยที่ 5 ได้ถือกระบอกพลุและจุดตามคำเบิกความของพยานโจทก์บางปาก นอกจากนี้ ยังปรากฏว่าภายในอาคารมีแสงไฟสลัว ค่อนข้างมืด ประกอบกับมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากยืนเบียดเสียดกัน จึงเป็นไปได้ที่พยานจะเห็นภาพในมุมที่ต่างกัน และอาจจะเข้าใจผิดได้ ซึ่งภาพที่ปรากฎในแผ่นดีวีดี พบเพียงแค่ จำเลยที่ 5 ยืนถือไมค์เพียงมือเดียว ไม่ได้ก้มๆ เงยๆ ตามคำเบิกความของพยาน ซึ่งหากจะถือกระบอกพลุด้วยก็ต้องถือ 2 มือ พยานหลักฐานโจทก์ยังมีความขัดแย้งกัน
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ยกฟ้องจำเลยที่ 1 ทุกข้อหา และพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องจำเลยที่ 5 โดยให้จำคุกจำเลยที่ 7 เป็นเวลา 3 ปี พร้อมให้จำเลยที่ 6-7 ชำระค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ร่วม 4-8 เป็นจำนวนเงิน 8.7 ล้านบาท
ภายหลังทนายความของนายบุญชู จำเลยที่ 7 ได้เตรียมยื่นหลักทรัพย์ 5 แสนบาทเพื่อขอปล่อยชั่วคราวระหว่างฎีกา ขณะที่นายวิสุข หรือเสี่ยขาว ได้เดินทางกลับทันทีโดยไม่ให้สัมภาษณ์ใดๆ
ด้านน.ส.มาลี ถนอมปัญญารักษ์ ญาติผู้เสียหาย ให้สัมภาษณ์หลังศาลยกฟ้องนายวิสุขว่า ยืนยันจะยื่นฎีกาต่อ เพราะต้องการให้ผู้บริหารซานติกาผับร่วมรับผิดชอบกับบริษัทที่ติดตั้งเอฟเฟ็กซ์ด้วย
วานนี้ (22 ต.ค.) ที่ห้องพิจารณา 602 ศาลอาญา กรุงเทพใต้ ศาลนัดอ่านคำพิพากษาอุทธรณ์ คดีเผาซานติก้าผับ ที่อัยการฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 1 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายวิสุข เสร็จสวัสดิ์ หรือเสี่ยขาว กรรมการผู้จัดการบริษัท ไวท์ แอนด์ บราเธอร์ส (2003) จำกัด ผู้บริหารซานติก้าผับ นายธวัชชัย ศรีทุมมา ผอ.ฝ่ายปฏิบัติการ นายพงษ์เทพ จินดา ผจก.ฝ่ายบันเทิง นายวุฒิพงศ์ ไวลย์ลิกรี ผจก. ฝ่ายการตลาด นายสราวุธ อะริยะ นักร้องวงเบิร์น ผู้จุดพลุไฟ บริษัท โพกัสไลท์ ซาวน์ซิสเต็ม จำกัด ซึ่งรับจ้างติดตั้งการทำเอฟ เฟ็กต์ ซานติก้าผับ และนายบุญชู เหล่าสีนาท กรรม การผู้มีอำนาจบริษัท โพกัสไลท์ฯ
เป็นจำเลยที่ 1-7 ในความผิดฐานผู้ใดทำให้เกิดเพลิงไหม้เป็นเหตุให้ผู้อื่นทรัพย์สินผู้อื่นเสียหายและเป็นอันตรายกับชีวิตผู้อื่น ผู้ใดกระทำ การประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ผู้ใดกระทำการให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส และผู้ใดกระทำการให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายและจิตใจ ตามประมวลกฎหมาย มาตรา 225, 291, 300, 390 และกระทำผิดพ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ.2509 มาตรา 16/1, 16/3.27 และ 28/1 ฐานเป็นผู้รับอนุญาตตั้งสถานบริการปล่อยปละละเลยให้บุคคลซึ่งอายุต่ำกว่า 20 ปีเข้าไปในสถานบริการ และปล่อยปละละเลยให้มีการกระ ทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานบริการมาตรา 291
โดยโจทก์ฟ้องสรุปว่า เมื่อคืนวันที่ 31 ธ.ค. 2551 ต่อเนื่องวันที่ 1 ม.ค. 2552 จำเลยได้กระทำการโดยประมาทปราศจากความระมัดระวัง จัดให้มีงานรื่นเริงให้บริการจำหน่ายอาหารสุรา เครื่องดื่ม การแสดงดนตรีรวมทั้งการแสดง แสง สี เสียง ในโอกาสฉลองเทศกาล วันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ภายในตัวอาคารซานติก้าผับ ย่านเอกมัย ซึ่งภายในตัวอาคารไม่มีแบบแปลนแผนผังอาคารติดตั้งแสดงไว้ ไม่มีป้ายบอกทางหนีไฟ และไม่ได้ติดตั้งไฟฉุกเฉินให้มีจำนวนเพียงพอที่จะสามารถเปิดส่องสว่างแก่ลูกค้าเพื่อการหลบหนีออกจากตัวอาคารได้สะดวกและปลอดภัย
อีกทั้งอาคารมีพื้นที่ให้บริการลูกค้าที่ สามารถจุคนได้ไม่เกินจำนวน 500 คน แต่ขณะเกิดเหตุมีลูกค้าเข้าไปใช้บริการเป็นจำนวนมากกว่า 1,000 คน โดยจำเลยที่ 5 ได้จุดพลุไฟที่บริเวณหน้าเวทีซึ่งมีความสูงประมาณ 5 เมตร จนเกิดลูกไฟขึ้นไปชนเพดานเวที ทำให้เกิดเพลิงลุกไหม้ขึ้นที่บริเวณเพดานเวทีและภายในตัวอาคารเป็นเหตุให้ลูกค้าผู้เข้าไปใช้บริการ ในอาคารถึงแก่ความตาย 67 คน บาดเจ็บสาหัส 32 คน บาดเจ็บอีก 71 คน
ซึ่งจำเลยทั้งหมดให้การปฏิเสธ โดยจำเลยที่ 1 ให้การปฏิเสธอ้างว่า ขณะเกิดเหตุไม่ได้เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทไวท์ แอนด์บราเธอร์ส (2003) จำกัด ซึ่งบริหารร้านซานติก้าผับ ส่วนจำเลยที่ 6 และ 7 ต่อสู้คดีว่าเพลิงที่ลุกไหม้ไม่ได้เกิดจากเอฟเฟ็กต์
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ 20 ก.ย.2554 เห็นว่า การกระทำของจำเลยที่ 1, 6 และ 7 เป็นการกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก เป็นความผิดกรรมเดียว ผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291 อันเป็นบทหนักสุดให้จำคุกนายวิสุข หรือ เสี่ยขาว กรรมการผู้จัดการบริษัท ไวท์ แอนด์ บราเธอร์ส (2003) จำกัด จำเลยที่ 1 และ นายบุญชู เหล่าสีนาท กรรม การผู้มีอำนาจบริษัท โพกัสไลท์ฯ จำเลยที่ 7 คนละ 3 ปี และปรับเงิน บริษัท โพกัสไลท์ฯ ซึ่งรับจ้างติดตั้งการทำเอฟ เฟ็กต์ ซานติก้าผับ จำเลยที่ 6 จำนวน 20,000 บาท
แม้ว่าจำเลยที่ 1 จะให้เงินช่วยเหลือทายาทผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บแล้วเป็นเงิน 3,394,800 บาท แต่การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะ ผู้บริหารสถานบริการซึ่งเป็นอาคารสาธารณะที่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้อาคารเป็นสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานบริการจะต้องมีระบบความปลอดภัยเกี่ยวกับอัคคีภัย เพื่อให้เป็นไปตามหลักมาตรฐานความปลอดภัยขั้นพื้นฐานตามกฎหมาย แต่จำเลยที่ 1 กลับไม่ยอมปฏิบัติตามกฎหมายเป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ ทำให้มี ผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บจำนวนมาก และให้จำเลยที่ 6-7 ร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ร่วมที่ 4-6 เป็นเงินรายละ 1,540,000 บาท พร้อมทั้งให้โจทก์ร่วมที่ 7-8 เป็นเงินรายละ 2,040,000 บาท รวม ทั้งสิ้น 8,700,000 บาท ส่วนจำเลยที่ 2-5 ให้ยกฟ้อง
ต่อมาจำเลยที่ 1, 6-7 ยื่นอุทธรณ์ขอให้ศาลยกฟ้อง และโจทก์ยื่นอุทธรณ์ให้ลงโทษจำเลยที่ 5
ศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือกันแล้วเห็นว่า โจทก์ยื่นฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กระทำประมาท แต่เมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 แล้วเห็นว่าไม่ใช่ผู้ที่กระทำประมาทโดยตรงที่จะทำให้เหตุเพลิงไหม้ ลำพังที่จะฟังว่าให้กลุ่มนักท่องเที่ยวเข้าไปในสถานบันเทิงเกิน 500 คนก็ฟังไม่ได้ ซึ่งหากจำเลยที่ 1 จะมีพฤติการณ์ดังกล่าวก็เป็นเรื่องของการไม่ได้ติดแบบแปลนแผนผังของอาคาร ป้ายบอกทางหนีไฟ และติดไฟฉุกเฉินให้เพียงพอที่เป็นข้อปฏิบัติตามพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งเหตุเพลิงไหม้ที่เกิดนั้นสืบเนื่องจากการจุดเอฟเฟ็กต์ด้วยไฟฟ้าที่หน้าเวทีที่จำเลยที่ 6-7 ดูแล โดยในชั้นนำสืบมีผู้เชี่ยวชาญด้านพลุและดอกไม้เพลิง เบิกความประกอบว่าพลุและดอกไม้เพลิงเป็นวัสดุต่างชนิดกัน ซึ่งดอกไม้เพลิงจะมีความร้อนสูงถึง 300 องศาเซลเซียล และต้องจุดในที่โล่งแจ้ง แต่ข้อเท็จจริงปรากฎว่าเมื่อมีการจุดเอฟเฟ็กต์แล้วประกายได้พุ่งขึ้นสู่เพดานจนเกิดเพลิงไหม้ โดยเริ่มตั้งแต่ด้านขวามือของเวที พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมานั้นรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 6-7 กระทำประมาท ส่วนนักร้องนำวงเบิร์น จำเลยที่ 5 ในชั้นนำสืบมีหลักฐานเป็นแผ่นดีวีดีบันทึกภาพที่ได้จากกล้องวีดีโอของพนักงานบริษัทที่ได้บันทึกการแสดงโชว์บนเวทีก่อนที่จะเกิดเพลิงไหม้ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญระบุว่าไม่ได้มีการตัดต่อภาพ และไม่ปรากฏภาพว่าจำเลยที่ 5 ได้ถือกระบอกพลุและจุดตามคำเบิกความของพยานโจทก์บางปาก นอกจากนี้ ยังปรากฏว่าภายในอาคารมีแสงไฟสลัว ค่อนข้างมืด ประกอบกับมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากยืนเบียดเสียดกัน จึงเป็นไปได้ที่พยานจะเห็นภาพในมุมที่ต่างกัน และอาจจะเข้าใจผิดได้ ซึ่งภาพที่ปรากฎในแผ่นดีวีดี พบเพียงแค่ จำเลยที่ 5 ยืนถือไมค์เพียงมือเดียว ไม่ได้ก้มๆ เงยๆ ตามคำเบิกความของพยาน ซึ่งหากจะถือกระบอกพลุด้วยก็ต้องถือ 2 มือ พยานหลักฐานโจทก์ยังมีความขัดแย้งกัน
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ยกฟ้องจำเลยที่ 1 ทุกข้อหา และพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องจำเลยที่ 5 โดยให้จำคุกจำเลยที่ 7 เป็นเวลา 3 ปี พร้อมให้จำเลยที่ 6-7 ชำระค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ร่วม 4-8 เป็นจำนวนเงิน 8.7 ล้านบาท
ภายหลังทนายความของนายบุญชู จำเลยที่ 7 ได้เตรียมยื่นหลักทรัพย์ 5 แสนบาทเพื่อขอปล่อยชั่วคราวระหว่างฎีกา ขณะที่นายวิสุข หรือเสี่ยขาว ได้เดินทางกลับทันทีโดยไม่ให้สัมภาษณ์ใดๆ
ด้านน.ส.มาลี ถนอมปัญญารักษ์ ญาติผู้เสียหาย ให้สัมภาษณ์หลังศาลยกฟ้องนายวิสุขว่า ยืนยันจะยื่นฎีกาต่อ เพราะต้องการให้ผู้บริหารซานติกาผับร่วมรับผิดชอบกับบริษัทที่ติดตั้งเอฟเฟ็กซ์ด้วย