วานนี้ (15 ต.ค.) เวลา 11.30 น. ที่ห้องรับรองอาคาร 2 รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมการสรรหา ผู้สมควรได้รับการเสนอชื่อ เป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ซึ่งคณะกรรมการสรรหามีจำนวน 4 คน ประกอบด้วย นายดิเรก อิงคนินันท์ ประธานศาลฎีกา นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ประธานศาลปกครองสูงสุด นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีผู้สมัครเป็น กรรมการ ป.ป.ช.จำนวน 10 คน
ภายหลังการประชุม ได้ใช้เวลาลงคะแนนเพียงรอบเดียว ปรากฎว่าผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งกรรมการ ป.ป.ช.คือ นายณรงค์ รัฐอมฤต อดีตเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.ปี 2555 ที่เพิ่งพ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 30 ก.ย. แทนนายกล้าณรงค์ จันทิก ที่พ้นวาระ
สำหรับการลงคะแนนใช้เวลาประมาณ 30 นาที โดยผู้ที่ได้รับเลือกจะต้องได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนกรรมการสรรหาทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ปรากฎว่าในรอบแรกมีผู้ได้รับคะแนน 2 คน คือนายณรงค์ ได้ 3 คะแนน และ น.ส.สุภา ปิยจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง ได้ 1 คะแนน จึงส่งผลให้นายณรงค์ เป็นผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งจากนี้จะมีการส่งรายชื่อนายณรงค์ ให้วุฒิสภา ซึ่งมีการตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมาตรวจสอบประวัติ ก่อนที่จะนำเข้าสู่ที่ประชุมใหญ่วุฒิสภา เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป หากที่ประชุมใหญ่วุฒิสภาเห็นชอบก็จะนำขึ้นทูลเกล้าฯต่อไป
สำหรับประวัตินายณรงค์ เกิดเมื่อวันที่ 26 ธ.ค.2495 อายุ 60 ปี คู่สมรสคือนางคมคาย รัฐอมฤต จบการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปี 2518 อาชีพปัจจุบัน ข้าราชการบำนาญสังกัดสำนักงาน ป.ป.ช. ประสบการณ์การทำงาน ปี 2543 ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบทรัพย์สิน 4 สำนักงานป.ป.ช. ปี 2546 ผู้อำนวยการสำนักคดี สำนักงานป.ป.ช. ปี 2550 ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการป.ป.ช. สำนักงานป.ป.ช. ปี 2552 รองเลขาธิการคณะกรรมการป.ป.ช. สำนักงานป.ป.ช. และปี 2555 เลขาธิการคณะกรรมการป.ป.ช. ซึ่งเพิ่งพ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2556 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ คนที่ได้รับเลือกเป็น ป.ป.ช.จะได้อยู่ในตำแหน่งนานถึง 9 ปี.
ส่วนการประชุมกรรมการสรรหา คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ที่ห้องรับรองอาคาร 2 รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมการสรรหา กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)ซึ่งมีผู้สมัครทั้งสิ้น 42 คน โดยจะทำการคัดเลือกให้เหลือ 3 คน
โดยคณะกรรมการสรรหาทั้ง 6 คนประกอบด้วย นายดิเรก อิงคนินันท์ ประธานศาลฎีกา นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ประธานศาลปกครองสูงสุด นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร บุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาคัดเลือก (นายกู้เกียรติ์ สุนทรบุระ) และบุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดคัดเลือก (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
การสรรหาได้ลงคะแนนเลือก กกต.แบบเปิดเผย ผู้ได้รับเลือกต้องได้รับคะแนนไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนกรรมการสรรหาทั้งหมด ผลปรากฏว่า คณะกรรมการสรรหาฯ เลือกนายสมชัย ศรีสุทธิยากร ข้าราชการบำนาญ สังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เลขาธิการมูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย (พีเน็ต) นายบุญส่ง น้อยโสภณ ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลอุทธรณ์ ภาค 7 และนายประวิช รัตนเพียร ที่ลาออกจากผู้ตรวจการแผ่นดินมาลงสมัคร กกต. โดยเคยเป็นอดีต รมต.ในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ซึ่งคณะกรรมการสรรหาต้องเลือกถึง 12 รอบ นายสมชัย ได้รับเลือกจากรอบที่ 4 นายบุญส่ง ได้รับเลือกในรอบที่ 5 ส่วนนายประวิช ได้รับเลือกในรอบที่ 12 หลังจากผลคะแนนของนายประวิช ได้เท่ากับนายคมสันต์ โพธิ์คง อดีต สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญถึง 5 รอบ
สำหรับประวัติของผู้ได้รับการเสนอชื่อ รองศาสตราจารย์สมชัย ศรีสุทธิยากร อายุ 55 ปี วุฒิการศึกษา รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปี 2523 พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ปี 2527 ปัจจุบันดำรงตำแหน่งข้าราชการบำนาญ สังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประสบการณ์ เคยดำรงตำแหน่ง ผอ.สำนักเสริมศึกษาและบริการสังคม ,ผอ.สถาบันทรัพยากรมนุษย์ และรองอธิการบดีฝ่ายวางแผนแลพัฒนา ม.ธรรมศาสตร์ รวมถึง ผอ.หลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก ทางรัฐประศาสนศาสตร์ ม.ศรีปทุม
ด้านนายบุญส่ง น้อยโสภณ อายุ 65 ปี วุฒิการศึกษา นิติศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2517 เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายเนติบัณฑิตยสภา ปี 2518 ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลอุทธรณ์ภาค 7 ประสบการณ์ทำงาน เคยดำรงตำแหน่งรองอธิบดีผู้พิพากษาภาค 7 อธิบดีผู้พิพากษาภาค 3 รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค 7 ผู้พิพากษาศาลฎีกา และประธานศาลอุทธรณ์ภาค 7
ขณะที่นายประวิช รัตนเพียร อายุ 57 ปี วุฒิการศึกษา รัฐศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2519 Master of Public Administration, The Pennsylvania State University, สหรัฐอเมริกาปี 2522 และ Doctor of Education (Major – Higher EducationX, The Pennsylvania State University, สหรัฐอเมริกา ปี 2526) ประสบการณ์ทำงาน เคยดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาสมทบในศาลแรงงานกลาง สส.กทม. สส.นครราชสีมา รองเลขาธิการนายก รัฐมนตรีฝ่ายการเมือง รมช.พาณิชย์ รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI และผู้ตรวจการแผ่นดิน
สำหรับขั้นตอนต่อไป คณะกรรมการสรรหา จะนำรายชื่อทั้งหมด ส่งให้ประธานวุฒิสภา เพื่อ ดำเนินตามขั้นตอนต่อไป ซึ่งจะบรรจุระเบียบวาระเข้าสู่ที่ประชุมใหญ่วุฒิสภา เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯต่อไป
อีกด้านนายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช. กล่าวภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ 8 เสียง เห็นชอบให้ นายสรรเสริญ พลเจียก เป็นเลขาธิการ ป.ป.ช.คนใหม่ โดยมีผู้เข้ารับการสรรหา 2 คน คือ นายสรรเสริญ พลเจียก รองเลขาธิการ ป.ป.ช. และนายวรวิทย์ สุขบุญ รองเลขาธิการ ป.ป.ช. ทั้งนี้ที่ประชุมมีมติเห็นว่า นายสรรเสริญมีประสบการณ์การทำงานมากกว่า เคยทำงานเกือบทุกตำแหน่ง และสามารถตอบคำถามของ นายนรนิติ เศรษฐบุตร นายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า และนายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นคณะอนุกรรมการภายนอกได้อย่างชัดเจน
นายสรรเสริญยังมีความชำนาญ ด้านการรับผิดชอบ ป.ป.ช.จังหวัด ซึ่งถือเป็นภาระที่หนัก และเป็นรูปแบบการบริหารงานที่ใหม่สำหรับ ป.ป.ช. จึงเป็นผู้ที่เหมาะสมกับการทำงานในยุคปัจจุบัน ส่วน นายวรวิทย์ อาจจะต้องรอเวลาอีกระยะหนึ่ง อย่างไรก็ตามที่ประชุมเห็นว่าควรจะมีการประเมินการทำงานของ นายสรรเสริญทุกปี เพราะต้องการปรับปรุงรูปแบบการทำงานของ ป.ป.ช.ให้สอดคล้องกับรูปแบบของรัฐวิสาหกิจและราชการในปัจจุบัน แต่ทั้งนี้การประเมินผลงานทุกปีดังกล่าวจะทำได้นั้น สมาชิกวุฒิสภาต้องเห็นชอบก่อน
ทั้งนี้หาก นายสรรเสริญไม่สามารถทำงานได้ตามเป้าหมายในระยะเวลา 5 ปีของการดำรงตำแหน่ง จะมีการพิจารณาปรับเปลี่ยนหรือไม่ นายวิชา กล่าวว่า ต้องขึ้นอยู่กับการประเมิน เพราะทุกหน่วยงานใช้วิธีนี้ รวมถึงต้องคอยดูสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งนายสรรเสริญก็ต้องเข้าใจในเรื่องดังกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายวิชายังได้แสดงความยินดีต่อ นายณรงค์ รัฐอมฤต เลขาธิการ ป.ป.ช. ที่ได้ขึ้นเป็นคณะกรรมการ ป.ป.ช. และเชื่อว่าจะสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง เพราะเคยทำงานด้วยกันมาก่อน อย่างไรก็ตามคนที่ได้เข้ามาเป็นกรรมการ ป.ป.ช.จะสามารถดำรงตำแหน่งได้ 9 ปี หรือเมื่ออายุครบ 70 ปี ก็จะหมดวาระลง
ภายหลังการประชุม ได้ใช้เวลาลงคะแนนเพียงรอบเดียว ปรากฎว่าผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งกรรมการ ป.ป.ช.คือ นายณรงค์ รัฐอมฤต อดีตเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.ปี 2555 ที่เพิ่งพ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 30 ก.ย. แทนนายกล้าณรงค์ จันทิก ที่พ้นวาระ
สำหรับการลงคะแนนใช้เวลาประมาณ 30 นาที โดยผู้ที่ได้รับเลือกจะต้องได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนกรรมการสรรหาทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ปรากฎว่าในรอบแรกมีผู้ได้รับคะแนน 2 คน คือนายณรงค์ ได้ 3 คะแนน และ น.ส.สุภา ปิยจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง ได้ 1 คะแนน จึงส่งผลให้นายณรงค์ เป็นผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งจากนี้จะมีการส่งรายชื่อนายณรงค์ ให้วุฒิสภา ซึ่งมีการตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมาตรวจสอบประวัติ ก่อนที่จะนำเข้าสู่ที่ประชุมใหญ่วุฒิสภา เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป หากที่ประชุมใหญ่วุฒิสภาเห็นชอบก็จะนำขึ้นทูลเกล้าฯต่อไป
สำหรับประวัตินายณรงค์ เกิดเมื่อวันที่ 26 ธ.ค.2495 อายุ 60 ปี คู่สมรสคือนางคมคาย รัฐอมฤต จบการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปี 2518 อาชีพปัจจุบัน ข้าราชการบำนาญสังกัดสำนักงาน ป.ป.ช. ประสบการณ์การทำงาน ปี 2543 ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบทรัพย์สิน 4 สำนักงานป.ป.ช. ปี 2546 ผู้อำนวยการสำนักคดี สำนักงานป.ป.ช. ปี 2550 ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการป.ป.ช. สำนักงานป.ป.ช. ปี 2552 รองเลขาธิการคณะกรรมการป.ป.ช. สำนักงานป.ป.ช. และปี 2555 เลขาธิการคณะกรรมการป.ป.ช. ซึ่งเพิ่งพ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2556 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ คนที่ได้รับเลือกเป็น ป.ป.ช.จะได้อยู่ในตำแหน่งนานถึง 9 ปี.
ส่วนการประชุมกรรมการสรรหา คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ที่ห้องรับรองอาคาร 2 รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมการสรรหา กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)ซึ่งมีผู้สมัครทั้งสิ้น 42 คน โดยจะทำการคัดเลือกให้เหลือ 3 คน
โดยคณะกรรมการสรรหาทั้ง 6 คนประกอบด้วย นายดิเรก อิงคนินันท์ ประธานศาลฎีกา นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ประธานศาลปกครองสูงสุด นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร บุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาคัดเลือก (นายกู้เกียรติ์ สุนทรบุระ) และบุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดคัดเลือก (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
การสรรหาได้ลงคะแนนเลือก กกต.แบบเปิดเผย ผู้ได้รับเลือกต้องได้รับคะแนนไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนกรรมการสรรหาทั้งหมด ผลปรากฏว่า คณะกรรมการสรรหาฯ เลือกนายสมชัย ศรีสุทธิยากร ข้าราชการบำนาญ สังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เลขาธิการมูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย (พีเน็ต) นายบุญส่ง น้อยโสภณ ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลอุทธรณ์ ภาค 7 และนายประวิช รัตนเพียร ที่ลาออกจากผู้ตรวจการแผ่นดินมาลงสมัคร กกต. โดยเคยเป็นอดีต รมต.ในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ซึ่งคณะกรรมการสรรหาต้องเลือกถึง 12 รอบ นายสมชัย ได้รับเลือกจากรอบที่ 4 นายบุญส่ง ได้รับเลือกในรอบที่ 5 ส่วนนายประวิช ได้รับเลือกในรอบที่ 12 หลังจากผลคะแนนของนายประวิช ได้เท่ากับนายคมสันต์ โพธิ์คง อดีต สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญถึง 5 รอบ
สำหรับประวัติของผู้ได้รับการเสนอชื่อ รองศาสตราจารย์สมชัย ศรีสุทธิยากร อายุ 55 ปี วุฒิการศึกษา รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปี 2523 พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ปี 2527 ปัจจุบันดำรงตำแหน่งข้าราชการบำนาญ สังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประสบการณ์ เคยดำรงตำแหน่ง ผอ.สำนักเสริมศึกษาและบริการสังคม ,ผอ.สถาบันทรัพยากรมนุษย์ และรองอธิการบดีฝ่ายวางแผนแลพัฒนา ม.ธรรมศาสตร์ รวมถึง ผอ.หลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก ทางรัฐประศาสนศาสตร์ ม.ศรีปทุม
ด้านนายบุญส่ง น้อยโสภณ อายุ 65 ปี วุฒิการศึกษา นิติศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2517 เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายเนติบัณฑิตยสภา ปี 2518 ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลอุทธรณ์ภาค 7 ประสบการณ์ทำงาน เคยดำรงตำแหน่งรองอธิบดีผู้พิพากษาภาค 7 อธิบดีผู้พิพากษาภาค 3 รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค 7 ผู้พิพากษาศาลฎีกา และประธานศาลอุทธรณ์ภาค 7
ขณะที่นายประวิช รัตนเพียร อายุ 57 ปี วุฒิการศึกษา รัฐศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2519 Master of Public Administration, The Pennsylvania State University, สหรัฐอเมริกาปี 2522 และ Doctor of Education (Major – Higher EducationX, The Pennsylvania State University, สหรัฐอเมริกา ปี 2526) ประสบการณ์ทำงาน เคยดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาสมทบในศาลแรงงานกลาง สส.กทม. สส.นครราชสีมา รองเลขาธิการนายก รัฐมนตรีฝ่ายการเมือง รมช.พาณิชย์ รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI และผู้ตรวจการแผ่นดิน
สำหรับขั้นตอนต่อไป คณะกรรมการสรรหา จะนำรายชื่อทั้งหมด ส่งให้ประธานวุฒิสภา เพื่อ ดำเนินตามขั้นตอนต่อไป ซึ่งจะบรรจุระเบียบวาระเข้าสู่ที่ประชุมใหญ่วุฒิสภา เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯต่อไป
อีกด้านนายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช. กล่าวภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ 8 เสียง เห็นชอบให้ นายสรรเสริญ พลเจียก เป็นเลขาธิการ ป.ป.ช.คนใหม่ โดยมีผู้เข้ารับการสรรหา 2 คน คือ นายสรรเสริญ พลเจียก รองเลขาธิการ ป.ป.ช. และนายวรวิทย์ สุขบุญ รองเลขาธิการ ป.ป.ช. ทั้งนี้ที่ประชุมมีมติเห็นว่า นายสรรเสริญมีประสบการณ์การทำงานมากกว่า เคยทำงานเกือบทุกตำแหน่ง และสามารถตอบคำถามของ นายนรนิติ เศรษฐบุตร นายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า และนายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นคณะอนุกรรมการภายนอกได้อย่างชัดเจน
นายสรรเสริญยังมีความชำนาญ ด้านการรับผิดชอบ ป.ป.ช.จังหวัด ซึ่งถือเป็นภาระที่หนัก และเป็นรูปแบบการบริหารงานที่ใหม่สำหรับ ป.ป.ช. จึงเป็นผู้ที่เหมาะสมกับการทำงานในยุคปัจจุบัน ส่วน นายวรวิทย์ อาจจะต้องรอเวลาอีกระยะหนึ่ง อย่างไรก็ตามที่ประชุมเห็นว่าควรจะมีการประเมินการทำงานของ นายสรรเสริญทุกปี เพราะต้องการปรับปรุงรูปแบบการทำงานของ ป.ป.ช.ให้สอดคล้องกับรูปแบบของรัฐวิสาหกิจและราชการในปัจจุบัน แต่ทั้งนี้การประเมินผลงานทุกปีดังกล่าวจะทำได้นั้น สมาชิกวุฒิสภาต้องเห็นชอบก่อน
ทั้งนี้หาก นายสรรเสริญไม่สามารถทำงานได้ตามเป้าหมายในระยะเวลา 5 ปีของการดำรงตำแหน่ง จะมีการพิจารณาปรับเปลี่ยนหรือไม่ นายวิชา กล่าวว่า ต้องขึ้นอยู่กับการประเมิน เพราะทุกหน่วยงานใช้วิธีนี้ รวมถึงต้องคอยดูสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งนายสรรเสริญก็ต้องเข้าใจในเรื่องดังกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายวิชายังได้แสดงความยินดีต่อ นายณรงค์ รัฐอมฤต เลขาธิการ ป.ป.ช. ที่ได้ขึ้นเป็นคณะกรรมการ ป.ป.ช. และเชื่อว่าจะสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง เพราะเคยทำงานด้วยกันมาก่อน อย่างไรก็ตามคนที่ได้เข้ามาเป็นกรรมการ ป.ป.ช.จะสามารถดำรงตำแหน่งได้ 9 ปี หรือเมื่ออายุครบ 70 ปี ก็จะหมดวาระลง