วานนี้ (15ต.ค.56) ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ หรือ ส.ศิวรักษ์ นักวิชาการ นักคิดนักเขียนอิสระ กล่าวปาฐกถาตอนหนึ่งในเวที“ทุนไทย ไฟฟ้าพม่า : จริยธรรมกับความรับผิชอบ”ว่า รัฐบาลไทยในยุคปัจจุบัน ประกอบด้วยคนที่ไร้ยางอาย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไร้คนดี และไม่มีใครยืนอยู่ข้างราษฏรเลย หาคนที่ยืนอยู่ข้างคนจนนั้นแทบไม่มีด้วยซ้ำไป จะมีมาก็แค่คนที่ยืนอย่างเข้าข้างทุนใหญ่ ทุนข้ามชาติ เช่น จีน สหรัฐอเมริกาเท่านั้น ในด้านสื่อสารมวลชนก็ยิ่งเข้าใกล้ความเป็นทุนนิยมทุกระยะ
หากมองลงมาถึงการลงทุนในประเทศพม่าโดยประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นโรงไฟฟ้า หรือเขื่อน หรือทุนนิยมอย่างอื่น พบว่าขณะนี้ไทยพยามยามร่วมมือกับจีนเพื่อลงทุนในพม่า ทั้งๆที่ พม่าก็ป้องตัวเองจากจีนมานานมาก ทั้งนี้เพราะที่ผ่านมาจีนพยายามเข้าหาหลายประเทศลุ่มน้ำโขงเพื่อแย่งชิงทรัพยากรทุกอย่าง ทั้งในไทย เวียดนาม ลาว และขณะนี้จ้องเข้าไปในพม่า จนน่ากลัวโดยไม่มีความเป็นมิตร
ทั้งที่สตรีหมายเลขหนึ่งอย่างเจ้านางร่วมขาวในพม่า เคยกล่าวไว้ว่า การลงทุนที่ดีต้องเริ่มจากการเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันเสียก่อนไว้ใจกันเมื่อใดค่อยมองหาจุดร่วมลงทุน แต่การลงทุนตามลัทธิทุนนิยมไม่มีประเด็นเรื่องความเป็นมิตรเข้ามา ปล่อยให้คนทุกข์ยากเผชิญกับภาวะลำบากทั้งที่อยู่อาศัย ขาดสิทธิมนุษยชนหลายอย่าง
“ซึ่งจีนไม่มีเจตนานั้น สังเกตได้จากการมุ่งเอาประโยชน์ส่วนตนเป็นหลัก เชื่อว่าทุกคนรู้ว่า จีนเป็นที่เลื่องชื่อในกลุ่มสมาทานลัทธิทุนนิยมอย่างมาก ตอนนี้มีสิงคโปร์เป็นสุนัขรับใช้ เน้นผลิตสัตว์เศรษฐกิจ มีการเอาผลประโยชน์มาใช้ โดยเชื่อมความสัมพันธ์ทางการเมือง ผู้นำ ผู้มีอำนาจ ทำลายระบบเกื้อกูลกันแบบญาติ แบบปู่ย่าตายาย เช่น กรณีการลงทุนในทวายที่พม่า พวกลัทธิทุนนิยมจะอ้างว่า เป็นการลงทุนแบบโลกาภิวัฒน์ แต่แนวทางกลับใช้ระบบเบียดเบียนอย่างถึงที่สุด
ส.ศิวรักษ์ กล่าวต่อว่าโดยเฉพาะนายทักษิณ ชินวัตร ผู้ที่มีอำนาจใหญ่เท่าบริษัทข้ามชาติ มีอำนาจเหนือรัฐบาล เอาเงินแผ่นดินไปปู้ยี่ ปู้ยำ ในพม่าโดยเงินเหล่านั้นมาจากภาษีประชาชนให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ไปลงทุน สังเกตกรณีที่รัฐมนตรีจีนเข้าพบยิ่งลักษณ์ เมื่อเร็วๆ นี้ รัฐบาลก็ เออ ออ ห่อ หมก อย่างมากต่อการลงทุนดังกล่าว
ส.ศิวรักษ์ กล่าวอีกว่า ไทยพัฒนาอย่างบ้าคลั่ง นักสิทธิมนุษยชน ถือเป็นกำลังที่ดี ที่ช่วยเหลือได้ การท้าทายอำนาจรัฐ กรณีทวายเป็นสิ่งที่ควรเอาเป็นตัวอย่าง พบความร่วมมืออย่างเป็นปึกแผ่น แต่สิ่งหนึ่งที่นักสิทธิมนุษยชนต้องพยายามทำความเข้าใจและรู้ทัน คือ การลงทุนจากบริษัทข้ามชาติในปัจจุบัน เป็นสิ่งที่ซับซ้อน เป็นทุกขลาภ บางหน่วยงานมีเบื้องหน้า เบื้องหลัง มีวิธีขูดรีด ข่มขู่สูง มีท่าที่เป็นเรื่องโกหก เพื่อให้คนยอมมองว่าระบบทุนเป็นเรื่องสำคัญ เหมือนต่างชาติจะยื่นมือมาช่วย แต่จริงๆ แล้วน่ากลัวกว่าสิ่งอื่น พึงรู้ไว้เลยว่า การลงทุนนั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นการขอความร่วมมือจากบริษัทข้ามชาติ อยากให้พม่ามองไทยเป็นตัวอย่างว่าไทยก็เผชิญความซับซ้อนนั้นมาแล้ว
“ไทยเองมีเครือข่าย ทุนสังคม มีความเข้มแข็ง และมีชื่อเสียงทั้งยุโรป ทั้งเอเซีย ระบบนี้เรียกว่า การลงทุนเพื่อสังคม โดยไม่ได้มุ่งกำไรและไม่เอารัดเอาเปรียบ ไม่ใช้โฆษณาชวนเชื่อ ไม่มุ่งทำลายคนยากจน ถือเป็นการลงทุนที่เดินไปด้วยกัลยาณมิตร ซึ่งพม่าเองในฐานะประเทศที่พึ่งเปิดตัวต่อสังคมกว้าง พยายามหนีจากอำนาจทหาร แต่ภัยเงียบก็ยังมีจากทุนนิยมอยู่มาก ดังนั้น พม่าจะต้องระวังนักลงทุนตัวโตและควรมองหานักลงทุนเพื่อสังคมที่มีจริยธรรม ส่วนไทยเองการเร่งลงทุนไม่ใช่เรื่องดี อยากให้มองสิงคโปร์เป็นหลัก แล้วจะพบว่าการเป็นสัตว์เศรษฐกิจไม่ดีอย่างยิ่ง”
หากมองลงมาถึงการลงทุนในประเทศพม่าโดยประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นโรงไฟฟ้า หรือเขื่อน หรือทุนนิยมอย่างอื่น พบว่าขณะนี้ไทยพยามยามร่วมมือกับจีนเพื่อลงทุนในพม่า ทั้งๆที่ พม่าก็ป้องตัวเองจากจีนมานานมาก ทั้งนี้เพราะที่ผ่านมาจีนพยายามเข้าหาหลายประเทศลุ่มน้ำโขงเพื่อแย่งชิงทรัพยากรทุกอย่าง ทั้งในไทย เวียดนาม ลาว และขณะนี้จ้องเข้าไปในพม่า จนน่ากลัวโดยไม่มีความเป็นมิตร
ทั้งที่สตรีหมายเลขหนึ่งอย่างเจ้านางร่วมขาวในพม่า เคยกล่าวไว้ว่า การลงทุนที่ดีต้องเริ่มจากการเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันเสียก่อนไว้ใจกันเมื่อใดค่อยมองหาจุดร่วมลงทุน แต่การลงทุนตามลัทธิทุนนิยมไม่มีประเด็นเรื่องความเป็นมิตรเข้ามา ปล่อยให้คนทุกข์ยากเผชิญกับภาวะลำบากทั้งที่อยู่อาศัย ขาดสิทธิมนุษยชนหลายอย่าง
“ซึ่งจีนไม่มีเจตนานั้น สังเกตได้จากการมุ่งเอาประโยชน์ส่วนตนเป็นหลัก เชื่อว่าทุกคนรู้ว่า จีนเป็นที่เลื่องชื่อในกลุ่มสมาทานลัทธิทุนนิยมอย่างมาก ตอนนี้มีสิงคโปร์เป็นสุนัขรับใช้ เน้นผลิตสัตว์เศรษฐกิจ มีการเอาผลประโยชน์มาใช้ โดยเชื่อมความสัมพันธ์ทางการเมือง ผู้นำ ผู้มีอำนาจ ทำลายระบบเกื้อกูลกันแบบญาติ แบบปู่ย่าตายาย เช่น กรณีการลงทุนในทวายที่พม่า พวกลัทธิทุนนิยมจะอ้างว่า เป็นการลงทุนแบบโลกาภิวัฒน์ แต่แนวทางกลับใช้ระบบเบียดเบียนอย่างถึงที่สุด
ส.ศิวรักษ์ กล่าวต่อว่าโดยเฉพาะนายทักษิณ ชินวัตร ผู้ที่มีอำนาจใหญ่เท่าบริษัทข้ามชาติ มีอำนาจเหนือรัฐบาล เอาเงินแผ่นดินไปปู้ยี่ ปู้ยำ ในพม่าโดยเงินเหล่านั้นมาจากภาษีประชาชนให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ไปลงทุน สังเกตกรณีที่รัฐมนตรีจีนเข้าพบยิ่งลักษณ์ เมื่อเร็วๆ นี้ รัฐบาลก็ เออ ออ ห่อ หมก อย่างมากต่อการลงทุนดังกล่าว
ส.ศิวรักษ์ กล่าวอีกว่า ไทยพัฒนาอย่างบ้าคลั่ง นักสิทธิมนุษยชน ถือเป็นกำลังที่ดี ที่ช่วยเหลือได้ การท้าทายอำนาจรัฐ กรณีทวายเป็นสิ่งที่ควรเอาเป็นตัวอย่าง พบความร่วมมืออย่างเป็นปึกแผ่น แต่สิ่งหนึ่งที่นักสิทธิมนุษยชนต้องพยายามทำความเข้าใจและรู้ทัน คือ การลงทุนจากบริษัทข้ามชาติในปัจจุบัน เป็นสิ่งที่ซับซ้อน เป็นทุกขลาภ บางหน่วยงานมีเบื้องหน้า เบื้องหลัง มีวิธีขูดรีด ข่มขู่สูง มีท่าที่เป็นเรื่องโกหก เพื่อให้คนยอมมองว่าระบบทุนเป็นเรื่องสำคัญ เหมือนต่างชาติจะยื่นมือมาช่วย แต่จริงๆ แล้วน่ากลัวกว่าสิ่งอื่น พึงรู้ไว้เลยว่า การลงทุนนั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นการขอความร่วมมือจากบริษัทข้ามชาติ อยากให้พม่ามองไทยเป็นตัวอย่างว่าไทยก็เผชิญความซับซ้อนนั้นมาแล้ว
“ไทยเองมีเครือข่าย ทุนสังคม มีความเข้มแข็ง และมีชื่อเสียงทั้งยุโรป ทั้งเอเซีย ระบบนี้เรียกว่า การลงทุนเพื่อสังคม โดยไม่ได้มุ่งกำไรและไม่เอารัดเอาเปรียบ ไม่ใช้โฆษณาชวนเชื่อ ไม่มุ่งทำลายคนยากจน ถือเป็นการลงทุนที่เดินไปด้วยกัลยาณมิตร ซึ่งพม่าเองในฐานะประเทศที่พึ่งเปิดตัวต่อสังคมกว้าง พยายามหนีจากอำนาจทหาร แต่ภัยเงียบก็ยังมีจากทุนนิยมอยู่มาก ดังนั้น พม่าจะต้องระวังนักลงทุนตัวโตและควรมองหานักลงทุนเพื่อสังคมที่มีจริยธรรม ส่วนไทยเองการเร่งลงทุนไม่ใช่เรื่องดี อยากให้มองสิงคโปร์เป็นหลัก แล้วจะพบว่าการเป็นสัตว์เศรษฐกิจไม่ดีอย่างยิ่ง”