ระบุกำลังซื้อลดไม่กระทบตลาดอาหารกล่องเพราะไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคยุคใหม่เปลี่ยนไปใช้ชีวิตเร่งรีบและนิยมพักอาศัยตามคอนโดฯ ทำให้ต้องการความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น เผยปี 56 ทำรายได้รวมถึง 1.15 หมื่นล้านบาท เตรียมลงทุน 4 พันล้านบาทขยายโรงงานและศูนย์กระจายสินค้าเพิ่มที่ชลบุรี ขอนแก่น ลำพูน และสุราษฎร์ธานี พร้อมเจาะตลาดอาเซียนเพิ่มขึ้น
นายวิเศษ วิศิษฎ์วิญญู รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท ซีพีแรม จำกัด ผู้ผลิตอาหารพร้อมรับประทาน ในกลุ่มซีพี ออลล์ เปิดเผยว่า ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2556 จนถึงปัจจุบันแม้ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศถือว่าค่อนข้างซบเซาและส่งผลให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง แต่ธุรกิจอาหารกล่องพร้อมรับประทาน (Ready to eat) ยังคงมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยปีละ 15-20% เพราะวิถีการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภคยุคใหม่ที่ใช้ชีวิตเร่งรีบมากขึ้น อีกทั้งยังมีครอบครัวขนาดเล็กลง และนิยมพักอาศัยตามคอนโดมิเนียมมากขึ้น ทำให้มีโอกาสทำอาหารเองน้อยลง รวมไปถึงการขยายตัวของธุรกิจร้านสะดวกซื้อที่มีผลให้ผู้บริโภคได้รับความสะดวกในการซื้อสินค้ามากขึ้น
“ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2556 ซีพีแรมต้องพบกับราคาวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้นประมาณ 3% แต่ก็สามารถลดต้นทุนในส่วนอื่นๆ ได้ เช่น ลดอัตราการสูญเสียในระหว่างการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำจนปลายน้ำ รวมถึงลดต้นทุนด้านการขนส่ง และอื่นๆ จึงยังคงยืนยันที่จะคงราคาสินค้าให้เท่าเดิมตามปรกติ”
ปัจจุบันซีพีแรมมีการผลิตและจัดจำหน่ายอาหารพร้อมรับประทาน 2 ส่วนคือข้าวกล่องพร้อมรับประทานตราเดลี่ไทย จำนวน 4 แสนแพ็คต่อวัน และติ่มซำตราเจด ดราก้อน จำนวน 18 ล้านชิ้นต่อวัน นอกจากนี้ยังมีการผลิตและจัดจำหน่ายเบเกอรี่ตราเลอแปง, เบเกอร์แลนด์ และมิสแมรี่ จำนวน 1.4 ล้านชิ้นต่อวัน โดยในปี 2556 คาดว่าจะมีมียอดขายประมาณ 1.15 หมื่นล้านบาท หรือเติบโตขึ้นประมาณ 15% แบ่งเป็นเบเกอรี่ 4.5 พันล้านบาท ข้าวกล่องพร้อมรับประทาน 3 พันล้านบาท ติ่มซำ 2 พันล้านบาท ข้าวเหนียวเบอร์เกอร์ 1 พันล้านบาท และอื่นๆ ประมาณ 1 พันล้านบาท
“ในปี 2556 คาดว่าซีพีแรมจะมีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 45% จากมูลค่าตลาดรวมของอาหารกล่องพร้อมรับประทานประมาณ 7.5 พันล้านบาท จากการจำหน่ายในร้านเซเว่นอีเลฟเว่นด้วยสัดส่วน 55% ส่วนในปี 2557 คาดว่าจะสามารถทำยอดขายเพิ่มขึ้นประมาณ 25% ขณะที่ตั้งเป้ายอดขายรวมเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 15% โดยจะดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาดเชิงรุกด้วยการพัฒนาสินค้าใหม่ๆ รวมถึงจัดกิจกรรมทางการตลาดร่วมกับร้านค้าเพื่อกระตุ้นยอดขาย ตลอดจนขยายช่องทางจัดจำหน่ายใหม่จากเดิมที่จัดจำหน่ายผ่านร้านเซเว่นอีเลฟเว่น 85% และคอนวีเนียนสโตร์อื่นๆ 15%”
นายวิเศษ กล่าวด้วยว่า ในปี 2556 ถือเป็นปีที่ 25 ของการดำเนินงานของซีพีแรมซึ่งถือเป็นยุคครบเครื่องด้วยนวัตกรรม จึงได้มีการกำหนดแผน 5 ปี (2556-2560) ด้วยการเพิ่มธุรกิจใหม่ 5 ด้านด้วยกันคือ 1.Central Kitchen ด้วยการดำเนินงานในลักษณะจัดตั้งศูนย์กลางการผลิตสินค้าจับคู่ เช่น น้ำเต้าหู้-ปาท่องโก๋ เพื่อส่างให้สาขาใกล้เคียง 2.Food Service เพื่อให้บริการด้านต่างๆ เกี่ยวกับอาหารแก่ลูกค้าทุกเพศทุกวัย 3.Food Van จัดตั้งรถจำหน่ายสินค้าเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้บริโภคตามแหล่งชุมชน หรือตามโอกาสและเทศกาลต่างๆ เช่นการแข่งขันกีฬารายการใหญ่ๆ 4.Food Logistics เน้นพัฒนาระบบการขนส่งสินค้าให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และ 5.R&D Network เพื่อใช้เป็นพื้นฐานการพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ในการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง
ส่วนการลงทุนด้านการขยายโรงงานล่าสุดได้ใช้งบประมาณ 400-500 ล้านบาทในการรีโนเวทโรงงานที่ อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี เพื่อรองรับการผลิตอาหารเจโดยเฉพาะ นอกจากนี้ยังมีแผนจัดตั้งโรงงานและศูนย์กระจายสินค้าในต่างจังหวัดเพิ่มขึ้นโดยใช้งบลงทุนแห่งละ 1 พันล้านบาท คิดเป็นจำนวนเงินประมาณ 4 พันล้านบาท เริ่มจากการลงทุน 900 ล้านบาทใน จ.ชลบุรี ซึ่งคาดว่าจะสามารถผลิตข้าวกล่องพร้อมรับประทานได้ประมาณ 1 แสนกล่องต่อวัน ในช่วงต้นปี 2557
“การจัดตั้งโรงงานและศูนย์กระจายสินค้าในพื้นที่ต่างๆ จะพิจารณาจากการขยายตัวของอาคารสูงและคอนโดมิเนียมที่เริ่มกระจายตัวไปยังภูมิภาคมากขึ้น โดยในส่วนของ จ.ชลบุรี จะใช้เป็นฐานในการผลิตเพื่อรองรับกับความต้องการในภาคตะวันออก จากนั้นจะใช้ จ.ขอนแก่น เป็นฐานสำหรับขยายตลาดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้ จ.ลำพูน เป็นฐานตลาดภาคเหนือ และ จ.สุราษฎร์ธานี เป็นฐานสำหรับภาคใต้”
ซีพีแรมยังมีแผนขยายตลาดส่งออกเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่มีมูลค่าการส่งออกประมาณ 1 พันล้านบาท โดยตลาดส่วนใหญ่คืออังกฤษและยุโรป ประมาณ 80% ส่วนที่เหลือเป็นญี่ปุ่น ออสเตรเลีย แคนาดา สหรัฐอเมริกา และอื่นๆ โดยล่าสุดมีแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับตลาดอาเซียนเพิ่มขึ้นจากเดิมที่เริ่มส่งออกไปยังประเทศลาวและกัมพูชาแล้ว โดยคาดว่าจะเริ่มทำตลาดเวียดนาม พม่า และสิงคโปร์ในช่วงต้นปี 2557 พร้อมกับเตรียมแผนตั้งโรงงานอาหารฮาลาลเพื่อขยายตลาดประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียในอนาคตอันใกล้
-
นายวิเศษ กล่าวด้วยว่า ช่วงเทศกาลกินเจ 10 วันของแต่ละปีซีพีแรมจะมีการพัฒนาสินค้าใหม่ๆ เพิ่มขึ้น โดยในปี 2556 มีการเพิ่มเมนูอาหารเจถึง 20 รายการ โดยคาดว่าจะสามารถทำยอดขายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 20-27% หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 105 ล้านบาทและส่งผลให้มียอดขายรวมสินค้าทุกประเภทประมาณ 1 พันล้านบาท
นายวิเศษ วิศิษฎ์วิญญู รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท ซีพีแรม จำกัด ผู้ผลิตอาหารพร้อมรับประทาน ในกลุ่มซีพี ออลล์ เปิดเผยว่า ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2556 จนถึงปัจจุบันแม้ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศถือว่าค่อนข้างซบเซาและส่งผลให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง แต่ธุรกิจอาหารกล่องพร้อมรับประทาน (Ready to eat) ยังคงมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยปีละ 15-20% เพราะวิถีการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภคยุคใหม่ที่ใช้ชีวิตเร่งรีบมากขึ้น อีกทั้งยังมีครอบครัวขนาดเล็กลง และนิยมพักอาศัยตามคอนโดมิเนียมมากขึ้น ทำให้มีโอกาสทำอาหารเองน้อยลง รวมไปถึงการขยายตัวของธุรกิจร้านสะดวกซื้อที่มีผลให้ผู้บริโภคได้รับความสะดวกในการซื้อสินค้ามากขึ้น
“ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2556 ซีพีแรมต้องพบกับราคาวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้นประมาณ 3% แต่ก็สามารถลดต้นทุนในส่วนอื่นๆ ได้ เช่น ลดอัตราการสูญเสียในระหว่างการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำจนปลายน้ำ รวมถึงลดต้นทุนด้านการขนส่ง และอื่นๆ จึงยังคงยืนยันที่จะคงราคาสินค้าให้เท่าเดิมตามปรกติ”
ปัจจุบันซีพีแรมมีการผลิตและจัดจำหน่ายอาหารพร้อมรับประทาน 2 ส่วนคือข้าวกล่องพร้อมรับประทานตราเดลี่ไทย จำนวน 4 แสนแพ็คต่อวัน และติ่มซำตราเจด ดราก้อน จำนวน 18 ล้านชิ้นต่อวัน นอกจากนี้ยังมีการผลิตและจัดจำหน่ายเบเกอรี่ตราเลอแปง, เบเกอร์แลนด์ และมิสแมรี่ จำนวน 1.4 ล้านชิ้นต่อวัน โดยในปี 2556 คาดว่าจะมีมียอดขายประมาณ 1.15 หมื่นล้านบาท หรือเติบโตขึ้นประมาณ 15% แบ่งเป็นเบเกอรี่ 4.5 พันล้านบาท ข้าวกล่องพร้อมรับประทาน 3 พันล้านบาท ติ่มซำ 2 พันล้านบาท ข้าวเหนียวเบอร์เกอร์ 1 พันล้านบาท และอื่นๆ ประมาณ 1 พันล้านบาท
“ในปี 2556 คาดว่าซีพีแรมจะมีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 45% จากมูลค่าตลาดรวมของอาหารกล่องพร้อมรับประทานประมาณ 7.5 พันล้านบาท จากการจำหน่ายในร้านเซเว่นอีเลฟเว่นด้วยสัดส่วน 55% ส่วนในปี 2557 คาดว่าจะสามารถทำยอดขายเพิ่มขึ้นประมาณ 25% ขณะที่ตั้งเป้ายอดขายรวมเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 15% โดยจะดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาดเชิงรุกด้วยการพัฒนาสินค้าใหม่ๆ รวมถึงจัดกิจกรรมทางการตลาดร่วมกับร้านค้าเพื่อกระตุ้นยอดขาย ตลอดจนขยายช่องทางจัดจำหน่ายใหม่จากเดิมที่จัดจำหน่ายผ่านร้านเซเว่นอีเลฟเว่น 85% และคอนวีเนียนสโตร์อื่นๆ 15%”
นายวิเศษ กล่าวด้วยว่า ในปี 2556 ถือเป็นปีที่ 25 ของการดำเนินงานของซีพีแรมซึ่งถือเป็นยุคครบเครื่องด้วยนวัตกรรม จึงได้มีการกำหนดแผน 5 ปี (2556-2560) ด้วยการเพิ่มธุรกิจใหม่ 5 ด้านด้วยกันคือ 1.Central Kitchen ด้วยการดำเนินงานในลักษณะจัดตั้งศูนย์กลางการผลิตสินค้าจับคู่ เช่น น้ำเต้าหู้-ปาท่องโก๋ เพื่อส่างให้สาขาใกล้เคียง 2.Food Service เพื่อให้บริการด้านต่างๆ เกี่ยวกับอาหารแก่ลูกค้าทุกเพศทุกวัย 3.Food Van จัดตั้งรถจำหน่ายสินค้าเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้บริโภคตามแหล่งชุมชน หรือตามโอกาสและเทศกาลต่างๆ เช่นการแข่งขันกีฬารายการใหญ่ๆ 4.Food Logistics เน้นพัฒนาระบบการขนส่งสินค้าให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และ 5.R&D Network เพื่อใช้เป็นพื้นฐานการพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ในการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง
ส่วนการลงทุนด้านการขยายโรงงานล่าสุดได้ใช้งบประมาณ 400-500 ล้านบาทในการรีโนเวทโรงงานที่ อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี เพื่อรองรับการผลิตอาหารเจโดยเฉพาะ นอกจากนี้ยังมีแผนจัดตั้งโรงงานและศูนย์กระจายสินค้าในต่างจังหวัดเพิ่มขึ้นโดยใช้งบลงทุนแห่งละ 1 พันล้านบาท คิดเป็นจำนวนเงินประมาณ 4 พันล้านบาท เริ่มจากการลงทุน 900 ล้านบาทใน จ.ชลบุรี ซึ่งคาดว่าจะสามารถผลิตข้าวกล่องพร้อมรับประทานได้ประมาณ 1 แสนกล่องต่อวัน ในช่วงต้นปี 2557
“การจัดตั้งโรงงานและศูนย์กระจายสินค้าในพื้นที่ต่างๆ จะพิจารณาจากการขยายตัวของอาคารสูงและคอนโดมิเนียมที่เริ่มกระจายตัวไปยังภูมิภาคมากขึ้น โดยในส่วนของ จ.ชลบุรี จะใช้เป็นฐานในการผลิตเพื่อรองรับกับความต้องการในภาคตะวันออก จากนั้นจะใช้ จ.ขอนแก่น เป็นฐานสำหรับขยายตลาดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้ จ.ลำพูน เป็นฐานตลาดภาคเหนือ และ จ.สุราษฎร์ธานี เป็นฐานสำหรับภาคใต้”
ซีพีแรมยังมีแผนขยายตลาดส่งออกเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่มีมูลค่าการส่งออกประมาณ 1 พันล้านบาท โดยตลาดส่วนใหญ่คืออังกฤษและยุโรป ประมาณ 80% ส่วนที่เหลือเป็นญี่ปุ่น ออสเตรเลีย แคนาดา สหรัฐอเมริกา และอื่นๆ โดยล่าสุดมีแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับตลาดอาเซียนเพิ่มขึ้นจากเดิมที่เริ่มส่งออกไปยังประเทศลาวและกัมพูชาแล้ว โดยคาดว่าจะเริ่มทำตลาดเวียดนาม พม่า และสิงคโปร์ในช่วงต้นปี 2557 พร้อมกับเตรียมแผนตั้งโรงงานอาหารฮาลาลเพื่อขยายตลาดประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียในอนาคตอันใกล้
-
นายวิเศษ กล่าวด้วยว่า ช่วงเทศกาลกินเจ 10 วันของแต่ละปีซีพีแรมจะมีการพัฒนาสินค้าใหม่ๆ เพิ่มขึ้น โดยในปี 2556 มีการเพิ่มเมนูอาหารเจถึง 20 รายการ โดยคาดว่าจะสามารถทำยอดขายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 20-27% หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 105 ล้านบาทและส่งผลให้มียอดขายรวมสินค้าทุกประเภทประมาณ 1 พันล้านบาท