วานนี้ (3ต.ค.) พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กล่าวถึงกรณีที่กลุ่มบีอาร์เอ็น จะมีการปรับทีมเจรจาชุดใหม่ ว่า มีข่าวแบบนี้ปรากฏขึ้นจริง ในหลักการถ้าจะมีการเปลี่ยนแปลง ต้องผ่านผู้อำนวยความสะดวกฝ่ายมาเลเซียก่อน ซึ่งขณะนี้ยืนยันว่า ไม่มีการเปลี่ยนแปลงประการใด และหากมีการเปลี่ยนแปลงจริง คงไม่ส่งผลต่อการพูดคุย แต่อาจจะเสียบรรยากาศความคุ้นเคยในการพูดคุย แต่หลักการ เราถือในกรอบ 15 คน จะจัดบุคคลใดมายังเป็นตามหลักการที่ตกลงกันไว้ อย่างไรก็ตาม คาดว่าสัปดาห์หน้า จะมีความชัดเจนเรื่องวัน เวลา และหัวหน้าคณะที่จะพูดคุยกัน
เมื่อถามว่า มีกระแสข่าวว่า กลุ่มบีอาร์เอ็น มีความไม่พอใจกัน จนส่งผลทำให้เกิดความวุ่นวายในพื้นที่ภาคใต้มากยิ่งขึ้น จริงหรือไม่ พล.ท.ภราดร กล่าวว่า แสดงว่าในขบวนการเขาเองยังไม่เรียบร้อยลงตัวกัน ตามที่เขายืนยันกับเราว่า เสียงส่วนใหญ่ยังต้องการบรรยากาศการพูดคุย แต่เสียงส่วนน้อย ยังมีปัญหา เขาก็เร่งทำความเข้าใจกันอยู่
เมื่อถามว่า สะแปอิง บาซอ เป็นต้นเหตุที่ทำให้การพูดคุยไม่ประสบความสำเร็จหรือไม่ พล.ท.ภราดร กล่าวว่า เขาเป็นแกนนำหลักในองค์กร เท่าที่สืบสภาพคงจะยังไม่ราบเรียบ สภาพปัญหายังมีอยู่ เมื่อถามว่าแสดงว่าเป็นเรื่องจริงที่ สะแปอิง ไม่พอใจบทบาทของมาเลเซีย ที่ทำตัวเป็นผู้ประสานงาน พล.ท.ภราดร กล่าวว่า บทบาทมาเลเซียที่เขาไม่พอใจ ยังไม่ชัดเจน แต่ในแง่คิดของขบวนการในองค์กรนำส่วนใหญ่ แสดงว่า ยังไม่ราบรื่น ยังมีปัญหากันอยู่
เมื่อถามว่า จริงเท็จอย่างไรที่ว่า ข้อเสนอ 5 ข้อ เป็นของมาเลเซีย ไม่ใช่ของบีอาร์เอ็น พล.ท.ภราดร กล่าว่า คงไม่ใช่ คงเป็นของบีอาร์เอ็น เนื่องจากต้องผ่านมาเลเซีย แต่ภาษาที่เขาพูดคุยกัน เป็นภาษายาวี มาเลเซียจึงเป็นกลไกกลางที่จะแปลเป็นภาษาอังกฤษ จึงไปเกี่ยวข้องตรงนั้น
เมื่อถามย้ำว่า สะแปอิง บอกไม่ใช่ข้อเสนอของเขา เป็นข้อเสนอมาเลเซีย พล.ท.ภราดร กล่าวว่า คงสะท้อนความเป็นเอกภาพว่า ในกลุ่มขบวนการมีปัญหาระดับหนึ่ง เมื่อถามว่า สะแปอิง บอกว่าไม่ได้ต้องการพูดคุย แต่ถูกบีบจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ และนายกฯ มาเลเซีย พล.ท.ภราดร กล่าวว่า ข้อเท็จจริงไม่ทราบชัด แต่เมื่อมีตัวแทนมาพูดคุย เราก็พร้อมคุย
เมื่อถามว่า การพูดคุยที่เขาไม่เต็มใจ จะมีปัญหาหรือไม่ เลขาฯสมช. กล่าวว่า อาจจะได้ข้อมูลไม่ครบถ้วน แต่เชื่อมั่นว่าบรรยากาศการพูดคุย เขาจะเริ่มเห็นว่า จะนำไปสู่การแก้ปัญหา จูงใจให้เข้ามาร่วม เมื่อถามว่า มีกระแสข่าวว่ามีการพูดคุยกับกลุ่มก่อความไม่สงบที่ สวีเดน เลขาฯสมช. กล่าวว่า ในอดีตเรามีการสื่อสารกับกลุ่มเหล่านั้นอยู่ ก็คือกลุ่มพูโล แต่ปัจจุบันถือว่าให้บีอาร์เอ็น เป็นหลักในการพูดคุย
เมื่อถามว่า การเจรจาครั้งหน้า จะมีการเพิ่มผู้เจรจา หรือเปลี่ยนแปลงอย่างไร นอกเหนือจากที่จะเปลี่ยนตัวนายฮัสซัน ตอยิบ หรือไม่ พล.ท.ภราดร กล่าวว่า จะมีการเพิ่มผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ เช่น ด้านศาสนา ประวัติศาสตร์ วิชาการ เป็นต้น และบีอาร์เอ็น ก็พยายามประสานกับกลุ่มอื่นๆ ให้เข้ามาร่วมพูดคุยด้วย ที่หมายปลายทาง ต้องคุยกับทุกกลุ่ม
**นายกฯมอบนโยบายตำรวจแก้ไฟใต้
เมื่อเวลา 11.00 น. วานนี้ (3ต.ค.) ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เป็นประธานพิธีเปิดการสัมมนามอบนโยบายการบริหารราชการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2557 ให้กับข้าราชการระดับผู้บังคับการขึ้นไป จำนวน 250 นาย
โดยมีพล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รองนายกรัฐมนตรี พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงห์แก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) และผูับังคับบัญชาระดับสูงของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้การต้อนรับ
นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวมอบนโยบายตอนหนึ่ง ถึงการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่า ต้องมีความพร้อมในด้านบุคคลากร และอุปกรณ์ต้องเพียงพอต่อการปฎิบัติภารกิจ เพื่อเสริมสร้างขวัญกำลังใจ และเป็นภูมิคุ้มกันให้กับประชาชน เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา
ขณะเดียวกัน อยากเห็นการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยใช้วิธีการป้องกัน และปราบปราม แก้ไขปัญหาสังคม เพราะการเร่งรัดคดี เป็นเรื่องปลายทาง ส่วนปัญหายาเสพติดที่ก่อให้เกิดปัญหาอาชญกรรม และเศรษฐกิจ ต้องเสริมภูมิคุ้มกันให้กับประชาชน ป้องกันตั้งแต่ต้นทาง เร่งแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ มาเฟีย "อยากให้ปัญหาเก่าหมดไป และอย่าให้มีปัญหาใหม่เกิดขึ้นในพื้นที่ หรือแม้แต่การค้ามนุษย์ การลักลอบเข้าเมืองอย่างผิดกฏหมาย การขนของหนีภาษี การตัดไม้ทำลายป่า การบุกรุก อยากเห็นการบูรณาการในพื้นที่ร่วมกัน ส่วนปัญหาอาชญกรรมข้ามชาติ ที่ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ประเทศ ควรนำเทคโนโลยีมาแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน ถ้าแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ ก็จะลดปัญหาสังคม และรัฐบาลยังได้ตั้งศูนย์ OSCC หรือศูนย์สังคม โดยกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นเจ้าภาพ รวมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ" นายกรัฐมนตรี กล่าว
เมื่อถามว่า มีกระแสข่าวว่า กลุ่มบีอาร์เอ็น มีความไม่พอใจกัน จนส่งผลทำให้เกิดความวุ่นวายในพื้นที่ภาคใต้มากยิ่งขึ้น จริงหรือไม่ พล.ท.ภราดร กล่าวว่า แสดงว่าในขบวนการเขาเองยังไม่เรียบร้อยลงตัวกัน ตามที่เขายืนยันกับเราว่า เสียงส่วนใหญ่ยังต้องการบรรยากาศการพูดคุย แต่เสียงส่วนน้อย ยังมีปัญหา เขาก็เร่งทำความเข้าใจกันอยู่
เมื่อถามว่า สะแปอิง บาซอ เป็นต้นเหตุที่ทำให้การพูดคุยไม่ประสบความสำเร็จหรือไม่ พล.ท.ภราดร กล่าวว่า เขาเป็นแกนนำหลักในองค์กร เท่าที่สืบสภาพคงจะยังไม่ราบเรียบ สภาพปัญหายังมีอยู่ เมื่อถามว่าแสดงว่าเป็นเรื่องจริงที่ สะแปอิง ไม่พอใจบทบาทของมาเลเซีย ที่ทำตัวเป็นผู้ประสานงาน พล.ท.ภราดร กล่าวว่า บทบาทมาเลเซียที่เขาไม่พอใจ ยังไม่ชัดเจน แต่ในแง่คิดของขบวนการในองค์กรนำส่วนใหญ่ แสดงว่า ยังไม่ราบรื่น ยังมีปัญหากันอยู่
เมื่อถามว่า จริงเท็จอย่างไรที่ว่า ข้อเสนอ 5 ข้อ เป็นของมาเลเซีย ไม่ใช่ของบีอาร์เอ็น พล.ท.ภราดร กล่าว่า คงไม่ใช่ คงเป็นของบีอาร์เอ็น เนื่องจากต้องผ่านมาเลเซีย แต่ภาษาที่เขาพูดคุยกัน เป็นภาษายาวี มาเลเซียจึงเป็นกลไกกลางที่จะแปลเป็นภาษาอังกฤษ จึงไปเกี่ยวข้องตรงนั้น
เมื่อถามย้ำว่า สะแปอิง บอกไม่ใช่ข้อเสนอของเขา เป็นข้อเสนอมาเลเซีย พล.ท.ภราดร กล่าวว่า คงสะท้อนความเป็นเอกภาพว่า ในกลุ่มขบวนการมีปัญหาระดับหนึ่ง เมื่อถามว่า สะแปอิง บอกว่าไม่ได้ต้องการพูดคุย แต่ถูกบีบจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ และนายกฯ มาเลเซีย พล.ท.ภราดร กล่าวว่า ข้อเท็จจริงไม่ทราบชัด แต่เมื่อมีตัวแทนมาพูดคุย เราก็พร้อมคุย
เมื่อถามว่า การพูดคุยที่เขาไม่เต็มใจ จะมีปัญหาหรือไม่ เลขาฯสมช. กล่าวว่า อาจจะได้ข้อมูลไม่ครบถ้วน แต่เชื่อมั่นว่าบรรยากาศการพูดคุย เขาจะเริ่มเห็นว่า จะนำไปสู่การแก้ปัญหา จูงใจให้เข้ามาร่วม เมื่อถามว่า มีกระแสข่าวว่ามีการพูดคุยกับกลุ่มก่อความไม่สงบที่ สวีเดน เลขาฯสมช. กล่าวว่า ในอดีตเรามีการสื่อสารกับกลุ่มเหล่านั้นอยู่ ก็คือกลุ่มพูโล แต่ปัจจุบันถือว่าให้บีอาร์เอ็น เป็นหลักในการพูดคุย
เมื่อถามว่า การเจรจาครั้งหน้า จะมีการเพิ่มผู้เจรจา หรือเปลี่ยนแปลงอย่างไร นอกเหนือจากที่จะเปลี่ยนตัวนายฮัสซัน ตอยิบ หรือไม่ พล.ท.ภราดร กล่าวว่า จะมีการเพิ่มผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ เช่น ด้านศาสนา ประวัติศาสตร์ วิชาการ เป็นต้น และบีอาร์เอ็น ก็พยายามประสานกับกลุ่มอื่นๆ ให้เข้ามาร่วมพูดคุยด้วย ที่หมายปลายทาง ต้องคุยกับทุกกลุ่ม
**นายกฯมอบนโยบายตำรวจแก้ไฟใต้
เมื่อเวลา 11.00 น. วานนี้ (3ต.ค.) ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เป็นประธานพิธีเปิดการสัมมนามอบนโยบายการบริหารราชการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2557 ให้กับข้าราชการระดับผู้บังคับการขึ้นไป จำนวน 250 นาย
โดยมีพล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รองนายกรัฐมนตรี พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงห์แก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) และผูับังคับบัญชาระดับสูงของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้การต้อนรับ
นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวมอบนโยบายตอนหนึ่ง ถึงการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่า ต้องมีความพร้อมในด้านบุคคลากร และอุปกรณ์ต้องเพียงพอต่อการปฎิบัติภารกิจ เพื่อเสริมสร้างขวัญกำลังใจ และเป็นภูมิคุ้มกันให้กับประชาชน เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา
ขณะเดียวกัน อยากเห็นการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยใช้วิธีการป้องกัน และปราบปราม แก้ไขปัญหาสังคม เพราะการเร่งรัดคดี เป็นเรื่องปลายทาง ส่วนปัญหายาเสพติดที่ก่อให้เกิดปัญหาอาชญกรรม และเศรษฐกิจ ต้องเสริมภูมิคุ้มกันให้กับประชาชน ป้องกันตั้งแต่ต้นทาง เร่งแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ มาเฟีย "อยากให้ปัญหาเก่าหมดไป และอย่าให้มีปัญหาใหม่เกิดขึ้นในพื้นที่ หรือแม้แต่การค้ามนุษย์ การลักลอบเข้าเมืองอย่างผิดกฏหมาย การขนของหนีภาษี การตัดไม้ทำลายป่า การบุกรุก อยากเห็นการบูรณาการในพื้นที่ร่วมกัน ส่วนปัญหาอาชญกรรมข้ามชาติ ที่ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ประเทศ ควรนำเทคโนโลยีมาแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน ถ้าแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ ก็จะลดปัญหาสังคม และรัฐบาลยังได้ตั้งศูนย์ OSCC หรือศูนย์สังคม โดยกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นเจ้าภาพ รวมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ" นายกรัฐมนตรี กล่าว