ASTVผู้จัดการรายวัน – ปตท.ยอมรับ“เนเชอร์เวิร์ค”เลื่อนตั้งโรงงานผลิตพลาสติกชีวภาพชนิด PLA แห่งที่ 2 ในไทยออกไปอย่างน้อย 1-2 ปี หลังเศรษฐกิจโลกไม่พื้นตัว ทำให้ความต้องการใช้ไบโอพลาสติกเติบโตไม่เข้าเป้า ปตท.ยันไม่กระทบแผนรายได้ปตท. 5ปีมาจากธุรกิจไบโอพลาสติกที่ตั้งเป้าไว้ 3-4%ของรายได้รวม พร้อมเปิดตัวน้ำมันดีเซลเกรดพิเศษ “ PTT HyForce “ วันที่ 9 ต.ค.นี้
ราคาแพงกว่าดีเซลปกติ 3 บาท/ลิตร เริ่มต้นจำหน่าย 60ปั๊ม
นายณัฐชาติ จารุจินดา ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้นและก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยความคืบหน้าการตัดสินใจตั้งโรงงานผลิตพลาสติกชีวภาพชนิดPLA แห่งที่ 2 ในไทยของบริษัท เนเชอร์เวิร์ค จากสหรัฐฯว่า โครงการผลิตพลาสติกชีวภาพPLA (Polylactic acid) แห่งที่ 2 ในเอเชียคงต้องชะลอโครงการออกไปอย่างน้อย 1-2
ปีนี้จากเดิมที่จะต้องได้ข้อสรุปเลือกประเทศที่จะลงทุนในปลายปีนี้ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจทั้งสหรัฐฯและยุโรปยังไม่ฟื้นตัว ทำให้ความต้องการใช้ไบโอพลาสติกเติบโตไม่เป็นอย่างที่คาดไว้
อีกทั้งโรงงานผลิตพลาสติกชีวภาพPLA ที่สหรัฐฯเองก็ยังเดินเครื่องจักรเพียง 50-60%ของกำลังการผลิต 1.4 แสนตันต่อปี อย่างไรก็ตาม หากภาวะเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวดีขึ้นเชื่อว่าความต้องการใช้ไบโอพลาสติกก็จะเติบโตขึ้น ขณะเดียวกัน ทางเนเชอร์เวิร์คฯยังคงศึกษาความเป็นไปได้ในการตั้งโรงงานผลิต PLA แห่งที่ 2 อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดยอยู่ระหว่างการตัดสินใจเลือกลงทุนในไทยหรือมาเลเซีย
“ภาวะเศรษฐกิจโลกไม่ดี ทำให้ความสนใจธุรกิจGreen ลดลง จะเห็นได้ว่าเศรษฐกิจอียูไม่ดี ก็หันมาใช้ถ่านหินมากขึ้น อีกทั้งต้นทุนการผลิตไบโอพลาสติกสูงเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์พลาสติกจากปิโตรเลียม ดังนั้นจำเป็นต้องสร้างความตระหนักรับรู้ว่าการใช้ไบโอพลาสติกดีต่อโลก แม้ว่าจะแพงกว่าเล็กน้อย ซึ่งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจไบโอพลาสติกได้รับความสนใจมาก
แต่ช่วงนี้ซบเซาไปเพราะเศรษฐกิจโลกไม่ดี อีกทั้งการค้นพบเชลล์แก๊ส ทำให้มีการคาดการณ์ว่าผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียมจะยิ่งถูกลงอีก”
โครงการผลิตพลาสติกชีวภาพ PLA แห่งที่ 2 จะมีกำลังการผลิตรวม 1.4 แสนตันต่อปี ใช้เงินลงทุน 2.4 หมื่นล้านบาท ซึ่งบมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล (PTTGC) ในฐานะผู้ถือหุ้น 50 %ในเนเชอร์เวิร์ค ได้สนับสนุนให้โครงการดังกล่าวตั้งอยู่ในประเทศไทย อีกทั้งรัฐบาลไทยให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมไบโอพลาสติกเป็นวาระแห่งชาติ โดยมอบหมายให้กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างหามาตรการช่วยเหลือทั้งด้านภาษีและเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เป็นต้น เชื่อว่ารัฐบาลจะออกมาตรการสนับสนุนได้ทันการตัดสินใจการลงทุนโครงการผลิตพลาสติกชีวภาพ PLA แห่งที่ 2 แม้ว่าโครงการดังกล่าวจะเลื่อนการลงทุนออกไป ก็ไม่กระทบแผนรายได้ธุรกิจไบโอพลาสติกของปตท.ใน 5ปีนี้ที่ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะมีรายได้คิดเป็น 3-4%ของรายได้รวม
นายณัฐชาติ กล่าวต่อไปว่า โครงการร่วมลงทุนกับมิตซูบิชิ เคมิคอล คอร์ปอเรชั่น จากญี่ปุ่นตั้งโรงงานผลิตพลาสติกชีวภาพชนิดPBS (Polybutylene Succinate) กำลังผลิต 2 หมื่นตัน/ปีนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้างคาดว่าจะแล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2558
**** ปตท.เปิดตัวดีเซลเกรดพรีเมียม 9ต.ค.
นายชวลิต พันธ์ทอง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ธุรกิจน้ำมัน บมจ.ปตท. กล่าวว่า วันที่ 9 ต.ค.นี้ปตท.จะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ ดีเซลเกรดพรีเมี่ยม หรือ PTT HyForce ซึ่งเป็นการนำเอาน้ำมันดีเซลชีวภาพสังเคราะห์หรือ BHD ที่ทางบมจ.ไออาร์พีซีผลิตมาผสมดีเซลจำหน่าย โดยกำหนดเป้าหมายที่จะวางจำหน่าย 60 ปั๊ม ซึ่งราคาจะสูงกว่าดีเซลปกติ 3 บาทต่อลิตรโดยปตท.มั่นใจว่าจะสามารถทำตลาดได้เนื่องจากดีเซลเกรดพรีเมี่ยมจะให้เครื่องยนต์มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
นอกจากนี้ปตท.ยังวางเป้าหมายที่จะยกระดับปั๊มน้ำมันขาดเล็กให้เป็นขนาดใหญ่ 400 แห่งในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยปี 2557 จะดำเนินการก่อน 150-200 แห่งคาดว่าจะลงทุน 1,000 ล้านบาทซึ่งปตท.ดำเนินการดังกล่าวเพื่อยกระดับปั๊มแต่ไม่ได้คิดหวังเรื่องยอดขายแต่อย่างใด
ปัจจุบันปตท.มีปั๊มจำนวนทั้งสิ้น1,350 แห่งโดยมีเป้าหมายที่จะจำหน่ายแก๊สโซฮอล์อี 85 เพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 40 แห่งเป็น 80 แห่งในสิ้นปีนี้ ส่วนอี 20 จาก 896 แห่งสิ้นปีคาดว่าจะเพิ่มเป็น 910 แห่งเนื่องจากขณะนี้ประชาชนให้การยอมรับน้ำมันแก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้นอย่างมาก
ราคาแพงกว่าดีเซลปกติ 3 บาท/ลิตร เริ่มต้นจำหน่าย 60ปั๊ม
นายณัฐชาติ จารุจินดา ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้นและก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยความคืบหน้าการตัดสินใจตั้งโรงงานผลิตพลาสติกชีวภาพชนิดPLA แห่งที่ 2 ในไทยของบริษัท เนเชอร์เวิร์ค จากสหรัฐฯว่า โครงการผลิตพลาสติกชีวภาพPLA (Polylactic acid) แห่งที่ 2 ในเอเชียคงต้องชะลอโครงการออกไปอย่างน้อย 1-2
ปีนี้จากเดิมที่จะต้องได้ข้อสรุปเลือกประเทศที่จะลงทุนในปลายปีนี้ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจทั้งสหรัฐฯและยุโรปยังไม่ฟื้นตัว ทำให้ความต้องการใช้ไบโอพลาสติกเติบโตไม่เป็นอย่างที่คาดไว้
อีกทั้งโรงงานผลิตพลาสติกชีวภาพPLA ที่สหรัฐฯเองก็ยังเดินเครื่องจักรเพียง 50-60%ของกำลังการผลิต 1.4 แสนตันต่อปี อย่างไรก็ตาม หากภาวะเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวดีขึ้นเชื่อว่าความต้องการใช้ไบโอพลาสติกก็จะเติบโตขึ้น ขณะเดียวกัน ทางเนเชอร์เวิร์คฯยังคงศึกษาความเป็นไปได้ในการตั้งโรงงานผลิต PLA แห่งที่ 2 อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดยอยู่ระหว่างการตัดสินใจเลือกลงทุนในไทยหรือมาเลเซีย
“ภาวะเศรษฐกิจโลกไม่ดี ทำให้ความสนใจธุรกิจGreen ลดลง จะเห็นได้ว่าเศรษฐกิจอียูไม่ดี ก็หันมาใช้ถ่านหินมากขึ้น อีกทั้งต้นทุนการผลิตไบโอพลาสติกสูงเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์พลาสติกจากปิโตรเลียม ดังนั้นจำเป็นต้องสร้างความตระหนักรับรู้ว่าการใช้ไบโอพลาสติกดีต่อโลก แม้ว่าจะแพงกว่าเล็กน้อย ซึ่งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจไบโอพลาสติกได้รับความสนใจมาก
แต่ช่วงนี้ซบเซาไปเพราะเศรษฐกิจโลกไม่ดี อีกทั้งการค้นพบเชลล์แก๊ส ทำให้มีการคาดการณ์ว่าผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียมจะยิ่งถูกลงอีก”
โครงการผลิตพลาสติกชีวภาพ PLA แห่งที่ 2 จะมีกำลังการผลิตรวม 1.4 แสนตันต่อปี ใช้เงินลงทุน 2.4 หมื่นล้านบาท ซึ่งบมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล (PTTGC) ในฐานะผู้ถือหุ้น 50 %ในเนเชอร์เวิร์ค ได้สนับสนุนให้โครงการดังกล่าวตั้งอยู่ในประเทศไทย อีกทั้งรัฐบาลไทยให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมไบโอพลาสติกเป็นวาระแห่งชาติ โดยมอบหมายให้กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างหามาตรการช่วยเหลือทั้งด้านภาษีและเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เป็นต้น เชื่อว่ารัฐบาลจะออกมาตรการสนับสนุนได้ทันการตัดสินใจการลงทุนโครงการผลิตพลาสติกชีวภาพ PLA แห่งที่ 2 แม้ว่าโครงการดังกล่าวจะเลื่อนการลงทุนออกไป ก็ไม่กระทบแผนรายได้ธุรกิจไบโอพลาสติกของปตท.ใน 5ปีนี้ที่ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะมีรายได้คิดเป็น 3-4%ของรายได้รวม
นายณัฐชาติ กล่าวต่อไปว่า โครงการร่วมลงทุนกับมิตซูบิชิ เคมิคอล คอร์ปอเรชั่น จากญี่ปุ่นตั้งโรงงานผลิตพลาสติกชีวภาพชนิดPBS (Polybutylene Succinate) กำลังผลิต 2 หมื่นตัน/ปีนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้างคาดว่าจะแล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2558
**** ปตท.เปิดตัวดีเซลเกรดพรีเมียม 9ต.ค.
นายชวลิต พันธ์ทอง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ธุรกิจน้ำมัน บมจ.ปตท. กล่าวว่า วันที่ 9 ต.ค.นี้ปตท.จะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ ดีเซลเกรดพรีเมี่ยม หรือ PTT HyForce ซึ่งเป็นการนำเอาน้ำมันดีเซลชีวภาพสังเคราะห์หรือ BHD ที่ทางบมจ.ไออาร์พีซีผลิตมาผสมดีเซลจำหน่าย โดยกำหนดเป้าหมายที่จะวางจำหน่าย 60 ปั๊ม ซึ่งราคาจะสูงกว่าดีเซลปกติ 3 บาทต่อลิตรโดยปตท.มั่นใจว่าจะสามารถทำตลาดได้เนื่องจากดีเซลเกรดพรีเมี่ยมจะให้เครื่องยนต์มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
นอกจากนี้ปตท.ยังวางเป้าหมายที่จะยกระดับปั๊มน้ำมันขาดเล็กให้เป็นขนาดใหญ่ 400 แห่งในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยปี 2557 จะดำเนินการก่อน 150-200 แห่งคาดว่าจะลงทุน 1,000 ล้านบาทซึ่งปตท.ดำเนินการดังกล่าวเพื่อยกระดับปั๊มแต่ไม่ได้คิดหวังเรื่องยอดขายแต่อย่างใด
ปัจจุบันปตท.มีปั๊มจำนวนทั้งสิ้น1,350 แห่งโดยมีเป้าหมายที่จะจำหน่ายแก๊สโซฮอล์อี 85 เพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 40 แห่งเป็น 80 แห่งในสิ้นปีนี้ ส่วนอี 20 จาก 896 แห่งสิ้นปีคาดว่าจะเพิ่มเป็น 910 แห่งเนื่องจากขณะนี้ประชาชนให้การยอมรับน้ำมันแก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้นอย่างมาก