นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ ชี้แจงในสภา ระหว่างการแถลงผลงาน 1 ปีของรัฐบาลถึงการทำสัญญาซื้อขายข้าวกับรัฐวิสาหกิจชื่อ บริษัท เป่ยต้าฮวง กรุ๊ป ของจีน จำนวน 1.2 ล้านตัน ว่า ขณะนี้ยังไม่ได้ลงนาม แต่จะมีการลงนามร่วมกับฝ่ายจีน ภายใน1-2 สัปดาห์ข้างหน้า ซึ่งการปล่อยข่าวเกี่ยวกับข้าวเน่า ที่ผ่านมามีผลกระทบการขายข้าวของไทยในต่างประเทศ และเป็นการทำลายอนาคตของข้าวไทย
"ยืนยันว่าการรับจำนำข้าว ทำให้ราคาข้าวเปลือกสูงขึ้น และสร้างประโยชน์ให้กับชาวนาจำนวนมาก โดยชาวนามีเงินออมมากขึ้น เช่น ในปี 54 มีเงินฝากเฉลี่ย 1.2 หมื่นบาทต่อบัญชี ปี 55 มีเงินฝากเฉลี่ย 1.4 -1.5 หมื่นบาทต่อบัญชี และปี 56 มีเงินฝากเฉลี่ย 1.7 หมื่นบาท จะเห็นได้ว่า มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ราคาข้าวดี รายได้ของชาวนาก็ดี ที่สำคัญช่วยให้ชาวนามีความสามารถในการชำระหนี้มากขึ้นด้วย โดยในปี 54 ชำระหนี้ได้ 94.5% ของยอดหนี้ ปี 55 ชำระได้ 96% และปี 56 จ่ายหนี้ได้ 97% ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ เป็นการรวบรวมของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร"
นายนิวัฒน์ธำรง กล่าวด้วยว่า ขณะที่สถานการณ์ข้าวโลก ที่มีความเปลี่ยนแปลงในช่วง 2ปีนี้ เพราะอินเดียสามารถผลิตข้าว และส่งออกได้เพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถส่งออกข้าวได้ถึงปีละ 9-10 ล้านตัน จากเดิมปีละ 3 ล้านตันต่อปีเท่านั้น ดังนั้นถ้าอินเดียดำเนินนโยบายแบบนี้ ยอมรับว่าจะสร้างความเหนื่อยให้กับประเทศไทย เนื่องจากไทยมีสถานะเป็นผู้ผลิตข้าวในอันดับที่ 6 จำนวน 20 ล้านตันต่อปี โดยอันดับที่ 1 คือ สาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 143 ล้านตันต่อปี อันดับที่ 2 อินเดีย 104 ล้านตันต่อปี รองลงมาเป็น อินโดนีเซีย 36 ล้านตันต่อปี และเวียดนาม 27 ล้านตันต่อปี
"มองจำนวนในเชิงปริมาณ ยอมรับว่าของเรามีน้อย แต่ถ้ามองมูลค่าของเงินที่ได้เข้ามา ประเทศไทยยังถือว่ามีมากกว่า ซึ่งมั่นใจว่าปี 56-57จะสามารถแซงหน้าเวียดนาม แต่อาจจะไม่สูงเท่ากับอินเดีย ซึ่งเป็นความจริงที่ต้องยอมรับกัน" นายนิวัฒน์ธำรง กล่าว
ส่วนสถานการณ์ส่งออกของไทย ที่มีปัญหานั้นเราทราบกันดีอยู่แล้วว่า ในปี 56 เศรษฐกิจของโลกไม่ดี ไม่ว่าจะเป็น สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา ซึ่งตอนนี้ก็ยังไม่ดีขึ้น โดยมาในปีนี้ ประเทศจีนมาเผชิญกับปัญหาการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเช่นกัน เพราะมีอัตราการเจริญเติบโตเพียง 7%-8% เท่านั้น จากเดิมมีอัตราเฉลี่ยสูงถึง10% จึงมีผลให้การส่งออกได้ผลกระทบทั้งโลก โดยในภาพของการส่งออกของโลก ในช่วงปี 55-56 พบว่าสิงคโปร์ ติดลบ 3% อินเดีย เพิ่มขึ้น 3% บราซิล ติดลบ 4.7% มาเลเซีย ติดลบ 3% อินโดนีเซีย ติดลบ 7%ส่วนไทยอยู่ที่ 1%
"ยืนยันว่า รัฐบาลได้ดำเนินการกระตุ้นการส่งออกอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการเดินทางสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพื่อสร้างตลาดในการค้าและการลงทุน" นายนิวัฒน์ธำรง กล่าว
** ผู้ส่งออกชี้จำนำข้าวส่งผลเสียต่อประเทศ
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย เปิดเผยผลการสำรวจทัศนะต่อนโยบายการรับจำนำข้าวของรัฐบาล จากชาวนา 1,228 ตัวอย่าง พบว่า ชาวนาส่วนใหญ่ 63.7% เห็นว่า ภาพรวมโครงการรับจำนำข้าวส่งผลให้ชีวิตของครอบครัวดีขึ้น เนื่องจากช่วยลดภาระหนี้สินเดิมของชาวนา มีเงินใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมีเงินออมมากขึ้น
ขณะเดียวกัน การดำเนินโครงการรับจำนำ ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นตามราคารับจำนำที่ได้รับ โดยเฉพาะจากการปรับขึ้นค่าเช่า จึงเห็นด้วยในระดับปานกลางเท่านั้น ที่จะปรับลดราคารับจำนำลงเหลือ 13,000 บาทต่อตัน และยังยืนยันให้รัฐบาลดำเนินนโยบายไป เพราะช่วยชาวนาได้ หากกระทบการส่งออกรัฐบาลควรจะหามาตรการช่วยเหลือผู้ส่งออกแทน
ชาวนา 35.2% เห็นว่า ไม่ควรยกเลิกโครงการรับจำนำ รองลงมา 22.8% เห็นว่าจะยกเลิกได้ ต่อเมื่อราคาข้าวในตลาดสูงขึ้น ซึ่งหากรัฐบาลยกเลิกการจำนำแล้วปล่อยให้เป็นไปตามกลไก
"ชาวนา 40.9% จะประท้วงให้มีการขยายโครงการต่อทันที พร้อมกับขอให้ช่วยลดต้นทุน การพักชำระหนี้ ออกดอกเบี้ยต้นทุนต่ำ และประกันราคาไม่ให้ต่ำจนเกินไป"
ขณะที่ผู้ส่งออกเห็นว่า แม้เกษตรกรจะได้รับประโยชน์โดยตรง แต่ 70.6 % เห็นว่า มีผลเสียต่อประเทศมากกว่า เพราะรัฐบาลตั้งราคารับจำนำสูงเกินไป ทำให้ไม่สามารถแข่งขันด้านราคาได้ ทำให้การส่งออกข้าวไทยลดลงถึง 82 % โดยคู่แข่งสำคัญยังคงเป็นเวียดนาม อินเดีย และกัมพูชา ขณะเดียวกันยังมองว่าคุณภาพข้าวแย่ลงด้วย หลังมีโครงการรับจำนำ ดังนั้น ควรยกเลิกโครงการรับจำนำทันที และต้องใช้เวลา 3-4 ปี ที่ไทยจะกลับมาเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับ 1 ของโลกได้
**สั่งผู้ว่าฯปรับปรุงระบบจำนำข้าวป้องกันทุจริต
ในวันเดียวกันนี้ นายวิสาร เตชะธีราวัฒน์ รมช.มหาดไทย เป็นประธานการประชุมกระทรวงมหาดไทย โดยมีผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงเข้าร่วมโดยพร้อมเพรียง และมีการถ่ายทอดผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอเรนซ์ไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ
ทั้งนี้ นายวิสาร กล่าวถึงโครงการรับจำนำข้าวว่า กระทรวงพาณิชย์ได้ขอความร่วมมือกระทรวงมหาดไทย ให้มอบหมายผู้ว่าราชการจังหวัด ให้ปรับระบบงานในส่วนการรับจำนำข้าวเปลือก ซึ่งกรมการปกครอง ได้แจ้งให้จังหวัดดำเนินการ ดังนี้
1. จัดประชุมคณะอนุกรรมการติดตามดูแลและรับจำนำ ระดับจังหวัด เพื่อทบทวนระบบจำนำในทุกขั้นตอน 2. ปรับปรุงระบบการจำนำข้าวเปลือกเพื่อป้องกันการทุจริต และวางระบบตรวจสอบการรับจำนำทุกขั้นตอน โดยสร้างกระบวนการที่มีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วน
3. กำชับเจ้าหน้าที่ให้ปฏิบัติตามระเบียบหลักเกณฑ์การรับจำนำข้าว หากพบปัญหาอุปสรรค ให้รายงานกระทรวงมหาดไทยโดยด่วน 4. จัดระบบงานเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการบริการโครงการให้เกิดความคุ้มค่า ทั้งนี้ ขอให้เชิญเกษตรจังหวัด พาณิชย์จังหวัด เข้าร่วมการหารือทุกขั้นตอน หากมีค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงระบบ ให้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอสนับสนุนงบประมาณ และรายงานต่อคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ(กขช.)ทราบด้วย
"ยืนยันว่าการรับจำนำข้าว ทำให้ราคาข้าวเปลือกสูงขึ้น และสร้างประโยชน์ให้กับชาวนาจำนวนมาก โดยชาวนามีเงินออมมากขึ้น เช่น ในปี 54 มีเงินฝากเฉลี่ย 1.2 หมื่นบาทต่อบัญชี ปี 55 มีเงินฝากเฉลี่ย 1.4 -1.5 หมื่นบาทต่อบัญชี และปี 56 มีเงินฝากเฉลี่ย 1.7 หมื่นบาท จะเห็นได้ว่า มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ราคาข้าวดี รายได้ของชาวนาก็ดี ที่สำคัญช่วยให้ชาวนามีความสามารถในการชำระหนี้มากขึ้นด้วย โดยในปี 54 ชำระหนี้ได้ 94.5% ของยอดหนี้ ปี 55 ชำระได้ 96% และปี 56 จ่ายหนี้ได้ 97% ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ เป็นการรวบรวมของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร"
นายนิวัฒน์ธำรง กล่าวด้วยว่า ขณะที่สถานการณ์ข้าวโลก ที่มีความเปลี่ยนแปลงในช่วง 2ปีนี้ เพราะอินเดียสามารถผลิตข้าว และส่งออกได้เพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถส่งออกข้าวได้ถึงปีละ 9-10 ล้านตัน จากเดิมปีละ 3 ล้านตันต่อปีเท่านั้น ดังนั้นถ้าอินเดียดำเนินนโยบายแบบนี้ ยอมรับว่าจะสร้างความเหนื่อยให้กับประเทศไทย เนื่องจากไทยมีสถานะเป็นผู้ผลิตข้าวในอันดับที่ 6 จำนวน 20 ล้านตันต่อปี โดยอันดับที่ 1 คือ สาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 143 ล้านตันต่อปี อันดับที่ 2 อินเดีย 104 ล้านตันต่อปี รองลงมาเป็น อินโดนีเซีย 36 ล้านตันต่อปี และเวียดนาม 27 ล้านตันต่อปี
"มองจำนวนในเชิงปริมาณ ยอมรับว่าของเรามีน้อย แต่ถ้ามองมูลค่าของเงินที่ได้เข้ามา ประเทศไทยยังถือว่ามีมากกว่า ซึ่งมั่นใจว่าปี 56-57จะสามารถแซงหน้าเวียดนาม แต่อาจจะไม่สูงเท่ากับอินเดีย ซึ่งเป็นความจริงที่ต้องยอมรับกัน" นายนิวัฒน์ธำรง กล่าว
ส่วนสถานการณ์ส่งออกของไทย ที่มีปัญหานั้นเราทราบกันดีอยู่แล้วว่า ในปี 56 เศรษฐกิจของโลกไม่ดี ไม่ว่าจะเป็น สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา ซึ่งตอนนี้ก็ยังไม่ดีขึ้น โดยมาในปีนี้ ประเทศจีนมาเผชิญกับปัญหาการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเช่นกัน เพราะมีอัตราการเจริญเติบโตเพียง 7%-8% เท่านั้น จากเดิมมีอัตราเฉลี่ยสูงถึง10% จึงมีผลให้การส่งออกได้ผลกระทบทั้งโลก โดยในภาพของการส่งออกของโลก ในช่วงปี 55-56 พบว่าสิงคโปร์ ติดลบ 3% อินเดีย เพิ่มขึ้น 3% บราซิล ติดลบ 4.7% มาเลเซีย ติดลบ 3% อินโดนีเซีย ติดลบ 7%ส่วนไทยอยู่ที่ 1%
"ยืนยันว่า รัฐบาลได้ดำเนินการกระตุ้นการส่งออกอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการเดินทางสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพื่อสร้างตลาดในการค้าและการลงทุน" นายนิวัฒน์ธำรง กล่าว
** ผู้ส่งออกชี้จำนำข้าวส่งผลเสียต่อประเทศ
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย เปิดเผยผลการสำรวจทัศนะต่อนโยบายการรับจำนำข้าวของรัฐบาล จากชาวนา 1,228 ตัวอย่าง พบว่า ชาวนาส่วนใหญ่ 63.7% เห็นว่า ภาพรวมโครงการรับจำนำข้าวส่งผลให้ชีวิตของครอบครัวดีขึ้น เนื่องจากช่วยลดภาระหนี้สินเดิมของชาวนา มีเงินใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมีเงินออมมากขึ้น
ขณะเดียวกัน การดำเนินโครงการรับจำนำ ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นตามราคารับจำนำที่ได้รับ โดยเฉพาะจากการปรับขึ้นค่าเช่า จึงเห็นด้วยในระดับปานกลางเท่านั้น ที่จะปรับลดราคารับจำนำลงเหลือ 13,000 บาทต่อตัน และยังยืนยันให้รัฐบาลดำเนินนโยบายไป เพราะช่วยชาวนาได้ หากกระทบการส่งออกรัฐบาลควรจะหามาตรการช่วยเหลือผู้ส่งออกแทน
ชาวนา 35.2% เห็นว่า ไม่ควรยกเลิกโครงการรับจำนำ รองลงมา 22.8% เห็นว่าจะยกเลิกได้ ต่อเมื่อราคาข้าวในตลาดสูงขึ้น ซึ่งหากรัฐบาลยกเลิกการจำนำแล้วปล่อยให้เป็นไปตามกลไก
"ชาวนา 40.9% จะประท้วงให้มีการขยายโครงการต่อทันที พร้อมกับขอให้ช่วยลดต้นทุน การพักชำระหนี้ ออกดอกเบี้ยต้นทุนต่ำ และประกันราคาไม่ให้ต่ำจนเกินไป"
ขณะที่ผู้ส่งออกเห็นว่า แม้เกษตรกรจะได้รับประโยชน์โดยตรง แต่ 70.6 % เห็นว่า มีผลเสียต่อประเทศมากกว่า เพราะรัฐบาลตั้งราคารับจำนำสูงเกินไป ทำให้ไม่สามารถแข่งขันด้านราคาได้ ทำให้การส่งออกข้าวไทยลดลงถึง 82 % โดยคู่แข่งสำคัญยังคงเป็นเวียดนาม อินเดีย และกัมพูชา ขณะเดียวกันยังมองว่าคุณภาพข้าวแย่ลงด้วย หลังมีโครงการรับจำนำ ดังนั้น ควรยกเลิกโครงการรับจำนำทันที และต้องใช้เวลา 3-4 ปี ที่ไทยจะกลับมาเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับ 1 ของโลกได้
**สั่งผู้ว่าฯปรับปรุงระบบจำนำข้าวป้องกันทุจริต
ในวันเดียวกันนี้ นายวิสาร เตชะธีราวัฒน์ รมช.มหาดไทย เป็นประธานการประชุมกระทรวงมหาดไทย โดยมีผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงเข้าร่วมโดยพร้อมเพรียง และมีการถ่ายทอดผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอเรนซ์ไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ
ทั้งนี้ นายวิสาร กล่าวถึงโครงการรับจำนำข้าวว่า กระทรวงพาณิชย์ได้ขอความร่วมมือกระทรวงมหาดไทย ให้มอบหมายผู้ว่าราชการจังหวัด ให้ปรับระบบงานในส่วนการรับจำนำข้าวเปลือก ซึ่งกรมการปกครอง ได้แจ้งให้จังหวัดดำเนินการ ดังนี้
1. จัดประชุมคณะอนุกรรมการติดตามดูแลและรับจำนำ ระดับจังหวัด เพื่อทบทวนระบบจำนำในทุกขั้นตอน 2. ปรับปรุงระบบการจำนำข้าวเปลือกเพื่อป้องกันการทุจริต และวางระบบตรวจสอบการรับจำนำทุกขั้นตอน โดยสร้างกระบวนการที่มีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วน
3. กำชับเจ้าหน้าที่ให้ปฏิบัติตามระเบียบหลักเกณฑ์การรับจำนำข้าว หากพบปัญหาอุปสรรค ให้รายงานกระทรวงมหาดไทยโดยด่วน 4. จัดระบบงานเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการบริการโครงการให้เกิดความคุ้มค่า ทั้งนี้ ขอให้เชิญเกษตรจังหวัด พาณิชย์จังหวัด เข้าร่วมการหารือทุกขั้นตอน หากมีค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงระบบ ให้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอสนับสนุนงบประมาณ และรายงานต่อคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ(กขช.)ทราบด้วย