วานนี้ (24 ก.ย.56) ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่นายยรรยง พวงราช รมช.พานิชย์ เสนอความคิดจะใช้ข้าวในโกดัง จ่ายเป็นค่าเช่าโกดังขององค์การคลังสินค้า (อคส.) ว่า เป็นไอเดียที่แปลกมาก ที่อยู่ดีๆโครงการรับจำนำข้าวที่สร้างความเสียหายปีละ 1.5 แสนล้านบาทเป็นอย่างน้อย และมีข้าวอยู่สต็อกถึง 19 ล้านตัน ไม่สามารถระบายข้าวได้ จึงส่งผลให้รัฐบาลไม่มีเงินจ่ายค่าเช่าโกดังหรือโรงสี แต่แนวคิดของนายยรรยง ที่เอาข้าวที่รับซื้อจากชาวนาในราคา 1.5 หมื่นบาทต่อตัน ไปขายให้โรงสีในราคาตลาด ซึ่งเชื่อว่าราคาที่ขายกันจะกดลงมาต่ำกว่าราคาตลาดและโรงสีเหล่านี้จำนำข้าวไปขายในราคาที่สูงกว่า ได้กำไร 2 ต่อ เพราะได้ทั้งค่าเช่าโกดังและกำไรจากการขายข้าว ถือเป็นการเผยตัวตนที่ชัดเจนของรัฐบาลชุดนี้
นายชวนนท์ กล่าวจ่อไปว่า ถ้ารัฐบาลทำอย่างนี้ต่อไปวิธีการทุจริตคอร์รัปชั่น จะกลายเป็นวิธีปกติ สุดท้ายข้าวดีๆก็จะถูกถ่ายออกจากโรงสีหมด เพราะโรงสีจะรู้ว่าข้าวตรงไหนมีคุณภาพหรือด้อยคุณภาพ แล้วไปตกลงราคากับเจ้าหน้าที่รัฐ แล้วซื้อในราคาถูกไปขายในราคาแพง ที่น่าแปลกคือนายยรรยงบอกว่า ขณะนี้มีออเดอร์จากต่างประเทศเข้ามามาก แต่เอกชนไม่มีข้าวไปขาย จึงต้องใช้วิธีนี้เอาข้าวของรัฐบาลไปขาย หากมีออเดอร์จากต่างประเทศจริงทำไมรัฐบาลไม่ขายเอง ทำไมต้องผ่านเอกชนให้เสีย 2 ต่อ วิธีการคิดของนายยรรยงก็เปิดเผยอยู่แล้วว่า จงใจที่จะทำแบบนี้ให้เกิดความผิดปกติ เกิดช่องทาหรือช่องโหว่ให้คนเข้าไปหาประโยชน์จากกระบวนการค้าข้าวตรงนี้ได้.
นายสมพร อิศวิลานนท์ นักวิชาการสถาบันคลังสมองของชาติ กล่าวในงานสัมมนา "ข้าวไทยกับอำนาจเหนือตลาดโลก" ว่า แม้โครงการรับจำนำข้าวช่วยทำให้ราคาข้าวส่งออกสูงช่วงแรก เพราะราคารับซื้อข้าวสูงกว่าตลาดร้อยละ 40 แต่ขณะนี้ราคาข้าวส่งออกปรับตัวลดลงตามปริมาณและความต้องการของตลาดโลก โดยราคาข้าวขาว 5 เปอร์เซ็นต์ของไทย อยู่ที่ตันละ 420 ดอลลาร์สหรัฐ จากเดิมมีราคาตันละ 600 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสะท้อนว่า แม้ไทยจะส่งออกข้าวเป็นอันดับต้นของโลก แต่ไม่สามารถเป็นผู้กำหนดราคาข้าวในตลาดโลกได้
ทั้งนี้ ผลการศึกษาการมีอำนาจเหนือตลาดของข้าวไทย จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระบุว่า ไทยไม่มีอำนาจเหนือตลาดในการกำหนดราคาข้าว เพราะต้องแข่งขันการส่งออกกับประเทศเวียดนาม และอินเดีย ที่มีข้าวชนิดเดียวกับไทย ทำให้ไทยไม่สามารถเพิ่มราคาข้าวได้ตามต้องการ รัฐบาลจึงเสี่ยงขาดทุนจากการระบายสต๊อกข้าว เพราะต้องการขายในราคาต่ำกว่าราคารับจำนำ
นายชวนนท์ กล่าวจ่อไปว่า ถ้ารัฐบาลทำอย่างนี้ต่อไปวิธีการทุจริตคอร์รัปชั่น จะกลายเป็นวิธีปกติ สุดท้ายข้าวดีๆก็จะถูกถ่ายออกจากโรงสีหมด เพราะโรงสีจะรู้ว่าข้าวตรงไหนมีคุณภาพหรือด้อยคุณภาพ แล้วไปตกลงราคากับเจ้าหน้าที่รัฐ แล้วซื้อในราคาถูกไปขายในราคาแพง ที่น่าแปลกคือนายยรรยงบอกว่า ขณะนี้มีออเดอร์จากต่างประเทศเข้ามามาก แต่เอกชนไม่มีข้าวไปขาย จึงต้องใช้วิธีนี้เอาข้าวของรัฐบาลไปขาย หากมีออเดอร์จากต่างประเทศจริงทำไมรัฐบาลไม่ขายเอง ทำไมต้องผ่านเอกชนให้เสีย 2 ต่อ วิธีการคิดของนายยรรยงก็เปิดเผยอยู่แล้วว่า จงใจที่จะทำแบบนี้ให้เกิดความผิดปกติ เกิดช่องทาหรือช่องโหว่ให้คนเข้าไปหาประโยชน์จากกระบวนการค้าข้าวตรงนี้ได้.
นายสมพร อิศวิลานนท์ นักวิชาการสถาบันคลังสมองของชาติ กล่าวในงานสัมมนา "ข้าวไทยกับอำนาจเหนือตลาดโลก" ว่า แม้โครงการรับจำนำข้าวช่วยทำให้ราคาข้าวส่งออกสูงช่วงแรก เพราะราคารับซื้อข้าวสูงกว่าตลาดร้อยละ 40 แต่ขณะนี้ราคาข้าวส่งออกปรับตัวลดลงตามปริมาณและความต้องการของตลาดโลก โดยราคาข้าวขาว 5 เปอร์เซ็นต์ของไทย อยู่ที่ตันละ 420 ดอลลาร์สหรัฐ จากเดิมมีราคาตันละ 600 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสะท้อนว่า แม้ไทยจะส่งออกข้าวเป็นอันดับต้นของโลก แต่ไม่สามารถเป็นผู้กำหนดราคาข้าวในตลาดโลกได้
ทั้งนี้ ผลการศึกษาการมีอำนาจเหนือตลาดของข้าวไทย จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระบุว่า ไทยไม่มีอำนาจเหนือตลาดในการกำหนดราคาข้าว เพราะต้องแข่งขันการส่งออกกับประเทศเวียดนาม และอินเดีย ที่มีข้าวชนิดเดียวกับไทย ทำให้ไทยไม่สามารถเพิ่มราคาข้าวได้ตามต้องการ รัฐบาลจึงเสี่ยงขาดทุนจากการระบายสต๊อกข้าว เพราะต้องการขายในราคาต่ำกว่าราคารับจำนำ