“สูอย่ามาทำเหลียม” เป็นภาษาสำเนียงปักษ์ใต้ ถ้าแปลเป็นภาษาไทยกลางก็น่าจะตรงกับ “คุณอย่ามาตลบตะแลง” ซึ่งพจนานุกรมฉบับหนึ่งให้ความหมายคำ “ตลบตะแลง” ว่า “อย่างพลิกแพลงด้วยเล่ห์เหลี่ยมให้หลงเชื่อ” นั่นเอง
ผมมั่นใจว่า หากท่านได้อ่านบทความสั้นๆ นี้อย่างพิถีพิถันแล้ว ท่านคงจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่ากระทรวงพลังงานได้ใช้เล่ห์เหลี่ยมอย่างพลิกแพลงกับคนไทยซึ่งเป็นเจ้าของทรัพยากรธรรมชาติดังที่รัฐธรรมนูญกำหนดอย่างไร ไม่เพียงแต่เพื่อการขอขึ้นราคาเท่านั้น แต่ยังเป็นการทำให้คนหลงเชื่อเพื่อปล้นทรัพยากรธรรมชาติที่คนไทยควรจะได้ใช้ร่วมกันให้ได้ประโยชน์สูงสุดอีกด้วย
ครับ นี่เป็นข้อกล่าวหาของผม โดยมีเหตุผลเป็นลำดับ ดังต่อไปนี้
หนึ่ง เมื่อรัฐมนตรีพลังงานตอบจดหมายผู้บริโภค
ผมขอเริ่มต้นด้วยเอกสารส่วนหนึ่ง (โครงสร้างราคาก๊าซ LPG) ซึ่งรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานได้ตอบถึงประธานองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน ที่ พน 0100/348 ลงวันที่ 30 สิงหาคม 2556 (หมายเหตุ สีและหมายเลขของกล่องข้อความผมเขียนขึ้นเองครับ)
กระทรวงพลังงานได้อธิบาย “โครงสร้างราคาก๊าซ LPG” ในจดหมายดังกล่าวว่า ก๊าซแอลพีจีที่ใช้อยู่ในประเทศไทยมาจาก 3 แหล่งแต่มีราคาต่อกิโลกรัมต่างกัน คือ (1) โรงแยกก๊าซโดยมีต้นทุน 16.96 บาท (2) โรงกลั่นน้ำมันซึ่งมีต้นทุน 23.55 บาท และ (3) มีการนำเข้า 29.60 บาท
เอกสารดังกล่าวชี้แจงว่า ก่อนจะกระจายสินค้าออกไป กระทรวงได้กำหนดราคาใหม่ที่เรียกว่า “ราคา ณ โรงกลั่น” เพื่อขายส่ง (ยังไม่รวมภาษีและกองทุน) ในราคา 10.2609 บาทต่อกิโลกรัม โดยที่โรงกลั่นน้ำมันและการนำเข้าได้รับเงินชดเชยในอัตรากิโลกรัมละ 13.2891 และ 19.3391บาท ตามลำดับ ในขณะที่โรงแยกก๊าซไม่ได้รับการชดเชยเลย ทั้งๆ ที่ขาดทุนถึงกิโลกรัมละ 6.6991 บาท
กระทรวงชี้แจงว่า ภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี (ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ ปตท.) ได้ซื้อก๊าซจาก 2 แหล่ง คือจากโรงแยกก๊าซและโรงกลั่นน้ำมันในราคา “อ้างอิงตามกลไกตลาด” คือ 22.3000 บาทต่อกิโลกรัม โดยได้รับการยกเว้นการเก็บภาษีสรรพสามิตและภาษีเทศบาล (ซึ่งภาคส่วนอื่นต้องจ่าย) รวมกิโลกรัมละ 2.38 บาท ทั้งนี้เพราะประกาศของกระทรวงการคลัง (2532) เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเพื่อ “ประโยชน์แก่การเศรษฐกิจของประเทศ” เข้าใจไหม?
ก่อนที่จะกล่าวถึง “เล่ห์เหลี่ยม” ตามที่ตั้งใจไว้ ผมขอตั้งข้อสังเกตถึงการให้ข้อมูลดังกล่าวสักเล็กน้อยก่อน กล่าวคือ
(1) ไม่อธิบายถึงที่มาที่ไปของราคาจากทุกแหล่ง รวมทั้งการคิดราคาที่อ้างว่า “กลไกตลาด”
(2) ทำไมราคาจากโรงแยกก๊าซที่กระทรวงอ้างจึงเท่ากับ 16.96 บาท แต่ราคาจากแหล่งสิริกิติ์ที่มีการผลิตแอลพีจีได้เดือนละ 9 พันตัน (ซึ่งก็เป็นตัวเลขของกระทรวงเช่นกันและเป็นราคารวมกำไรแล้ว) จึงเท่ากับ 9.43 บาทเท่านั้น (ราคาเดือนกรกฎาคม 56) ไม่เคยมีคำอธิบายในส่วนนี้
สอง ข้อสงสัยที่สำคัญหลัก
จากคำชี้แจงตามที่ได้กล่าวแล้วในข้อหนึ่ง ดังกล่าว ทำให้เราสงสัยได้ว่า
(1) เป็นไปได้หรือที่โรงแยกก๊าซซึ่งทั้งหมดเป็นของบริษัท ปตท.จะยอมขาดทุนถึงกิโลกรัมละ 6.6991 บาท โดยไม่ได้รับการชดเชยจากกองทุนน้ำมันเลย
(2) จริงหรือที่กระทรวงอ้างว่า ภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีซื้อก๊าซทั้งจาก 2 แหล่ง และถ้าซื้อจากทั้งสองแหล่งจริงแล้ว เขาซื้อจากแหล่งใดในสัดส่วนเท่าใด เป็นไปได้หรือที่ภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีซึ่งเป็นบริษัทลูกของ ปตท. จะยอมซื้อจากแหล่งโรงกลั่นน้ำมัน (ซึ่ง ปตท.เป็นเจ้าของประมาณ 80%) ที่มีราคาแพงกว่าถึงกิโลกรัมละกว่า 6 บาท
นี่คือข้อสงสัยที่ผมเชื่อว่า แม้แต่เด็กชั้นประถมปีที่หนึ่งก็สามารถตอบได้ว่า บริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีต้องซื้อจากแหล่งที่มีราคาถูกกว่าอย่างแน่นอน ผมเข้าใจว่าข้อสงสัยดังกล่าวจะไม่เป็นความจริง ก็ต่อเมื่อเจ้าของภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเป็นพระอรหันต์ที่มีความเสียสละหมดจดจากความโลภทั้งปวงแล้วเท่านั้น
จากเหตุผลดังกล่าว ผมค่อนข้างเชื่อว่า การซื้อขายระหว่างอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกับโรงแยกก๊าซมีลักษณะ “ออกกระเป๋าซ้ายเข้ากระเป๋าขวา” ในราคาเท่าใดก็ได้ แต่ต้องมีการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยเท่านั้นเอง
ตัวเลขราคา 22.3000 บาท ที่อ้างว่า อุตสาหกรรมปิโตรเคมีซื้อนั้น จึงน่าจะเป็นตัวเลขที่ยกขึ้นมาหลอกๆ เท่านั้นเอง
สาม ข้อมูลปริมาณการผลิตภายในประเทศและการใช้
ย้อนหลังไปประมาณ 15 ปี ประเทศไทยเคยส่งออกก๊าซแอลพีจีมาตลอด บางปีสามารถส่งออกมากกว่า 1 ล้านตัน แต่ในช่วงประมาณ 5- 6 ปีหลังสุด แม้ว่าปริมาณการผลิตภายในประเทศได้เพิ่มขึ้นทุกปี แต่ปริมาณก๊าซดังกล่าวกลับไม่พอใช้จนต้องมีการนำเข้าจากต่างประเทศ
ในอดีต ปริมาณการใช้ในภาคครัวเรือนมีมากกว่าทุกภาคส่วน (ได้แก่ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ขนส่ง และ อุตสาหกรรม) แต่ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2556 การใช้ในภาคปิโตรเคมีกลับมากกว่าทุกภาคส่วน
แถวล่างสุดของตารางข้างล่างนี้ ได้แสดงให้เห็นว่า การใช้ในภาคปิโตรเคมีและภาคครัวเรือนรวมกันแล้วมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 75.2 ในปี 2550 เป็นร้อยละ 88.0 ของปริมาณที่ผลิตได้ในประเทศ (ในปี 2553 การใช้ในสองภาคส่วนนี้สูงกว่ากำลังการผลิตภายในประเทศ)
สี่ การแก้ปัญหา LPG ขาดแคลนของรัฐบาลน่าจะขัดต่อรัฐธรรมนูญ
เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนก๊าซแอลพีจี คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) ในการประชุมครั้งที่3/2551 ได้มีมติเกี่ยวกับแนวทางแก้ปัญหา LPG ว่า (ผมขอคัดลอกมาทั้งหมดดังนี้)
“หลักการการจัดสรรปริมาณก๊าซ LPG ที่ผลิตได้ในประเทศ ให้กับปริมาณความต้องการในภาคครัวเรือนและปิโตรเคมีเป็นลำดับแรก ส่วนปริมาณการผลิตก๊าซ LPG ที่เหลือจากการจัดสรรข้างต้นจะถูกนำไปจัดสรรให้กับภาคขนส่งและอุตสาหกรรมเป็นลำดับต่อไป ทั้งนี้ หากปริมาณการผลิตก๊าซ LPG ที่เหลือจากการจัดสรรในลำดับแรกไม่เพียงพอกับปริมาณความต้องการใช้ในภาคขนส่งและอุตสาหกรรม ให้มีการนำเข้าก๊าซ LPG จากต่างประเทศมารองรับในส่วนที่ขาด”
สรุปว่า กระทรวงพลังงานได้วางกติกาเตรียมไว้ล่วงหน้าตั้งแต่ปี 2551 ว่า ให้ภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีได้มีโอกาสใช้ก๊าซ LPG ที่ผลิตได้จากภายในประเทศเป็นอันดับแรก
ข้อสงสัยของผมก็คือการมีมติของ กพช. ดังกล่าวขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ 2550 หรือไม่ ซึ่งจะกล่าวถึงในหัวข้อต่อไป
จริงอยู่ แม้ตาม พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2514 ได้ระบุว่า “ปิโตรเลียมที่อยู่ใต้ดินเป็นของรัฐ” แต่เมื่อขุดขึ้นมาแล้วกลายเป็นของผู้รับสัมปทาน และผู้รับสัมปทานจะนำไปขายให้ใครก็ได้หรือขายให้ลูกของตัวเองก็ได้ แต่ถามว่า พ.ร.บ. ดังกล่าวขัดต่อกฏหมายแม่บทคือรัฐธรรมนูญหรือไม่
ห้า เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญต่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
ผมขอเริ่มต้นด้วยการยกเอารัฐธรรมนูญไทย 2550 กับของประเทศอินโดนีเซีย(ซึ่งเป็นประเทศที่ได้รับการกล่าวถึงว่ามีการจัดการเรื่องทรัพยากรธรรมชาติปิโตรเลียมได้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนได้มากกว่าประเทศไทยเยอะ) ขึ้นมาเปรียบเทียบให้เห็นกรอบแนวคิดกันก่อนครับ
เอาของประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซียก่อนนะ (ฉบับ 1945 แก้ไขเพิ่มเติม 4 ครั้ง ไม่มีรัฐประหารเหมือนบ้านเรา) มาตรา 33 ระบุว่า “แผ่นดิน ผืนน้ำและทรัพยากรธรรมชาติอยู่ภายใต้อำนาจของรัฐและต้องใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดของประชาชน” (The land, the waters and the natural resources within shall be under the powers of the state and shall be used to the greatest benefit of the people.)
ชัดเจนนะครับว่า ทรัพยากรธรรมชาติเป็นของรัฐ รัฐบาลจึงมีหน้าที่ต้องจัดการให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน
รัฐธรรมนูญของประเทศเราก็ทำนองเดียวกันครับ แม้จะเขียนไว้ไม่ชัดเจนเท่าของอินโดนีเซียแต่ก็มีสาระไปในทำนองเดียวกัน ดังปรากฏในมาตรา 85 (4) ที่ว่า
“รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ดังต่อไปนี้ (4) ต้องให้มีแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและทรัพยากรธรรมชาติอื่นอย่างเป็นระบบและเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม ทั้งต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสงวน บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุล”
ประเด็นที่ผมกำลังกล่าวหากระทรวงพลังงานก็คือว่า ทั้งๆ ที่รัฐธรรมนูญไทยได้บัญญัติว่า “ทรัพยากรปิโตรเลียมเป็นของรัฐและต้องใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม” แต่กระทรวงพลังงานได้จัดการให้คนกลุ่มหนึ่ง (ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนและเป็นบริษัทลูกของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)) ได้ใช้ประโยชน์ก่อน ทำให้คนอีกกลุ่มหนึ่ง (ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่) ไม่ได้ใช้ประโยชน์ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
หก สรุป
ขณะนี้ภาคประชาชนได้ยื่นฟ้องร้องต่อศาลปกครองต่อกรณีการขึ้นราคาก๊าซแอลพีจีไม่เป็นธรรม ประเด็นการฟ้องร้องมีหลายประเด็น ทั้งกระบวนการรับฟังความคิดเห็น การไม่เปิดเผยข้อมูลที่เป็นความจริง การเก็บเงินเข้ากองทุน เป็นต้น
ด้วยความเคารพต่อกระบวนการยุติธรรมของประเทศเรา แต่ผมก็มีความกังวลอยู่ลึกๆ ว่า ศาลเองจะสามารถติดตามและวิเคราะห์ข้อมูลที่เต็มไปด้วยเล่ห์เหลี่ยมหลายขั้นตอนของกระทรวงพลังงานได้มากน้อยแค่ไหน
ก็ได้แต่หวังว่าประโยค “สูอย่ามาทำเหลียม” จะหลุดออกมาจากปากของประชาชนผู้ตื่นรู้ในไม่ช้าก็เร็วนะครับ
ผมมั่นใจว่า หากท่านได้อ่านบทความสั้นๆ นี้อย่างพิถีพิถันแล้ว ท่านคงจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่ากระทรวงพลังงานได้ใช้เล่ห์เหลี่ยมอย่างพลิกแพลงกับคนไทยซึ่งเป็นเจ้าของทรัพยากรธรรมชาติดังที่รัฐธรรมนูญกำหนดอย่างไร ไม่เพียงแต่เพื่อการขอขึ้นราคาเท่านั้น แต่ยังเป็นการทำให้คนหลงเชื่อเพื่อปล้นทรัพยากรธรรมชาติที่คนไทยควรจะได้ใช้ร่วมกันให้ได้ประโยชน์สูงสุดอีกด้วย
ครับ นี่เป็นข้อกล่าวหาของผม โดยมีเหตุผลเป็นลำดับ ดังต่อไปนี้
หนึ่ง เมื่อรัฐมนตรีพลังงานตอบจดหมายผู้บริโภค
ผมขอเริ่มต้นด้วยเอกสารส่วนหนึ่ง (โครงสร้างราคาก๊าซ LPG) ซึ่งรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานได้ตอบถึงประธานองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน ที่ พน 0100/348 ลงวันที่ 30 สิงหาคม 2556 (หมายเหตุ สีและหมายเลขของกล่องข้อความผมเขียนขึ้นเองครับ)
กระทรวงพลังงานได้อธิบาย “โครงสร้างราคาก๊าซ LPG” ในจดหมายดังกล่าวว่า ก๊าซแอลพีจีที่ใช้อยู่ในประเทศไทยมาจาก 3 แหล่งแต่มีราคาต่อกิโลกรัมต่างกัน คือ (1) โรงแยกก๊าซโดยมีต้นทุน 16.96 บาท (2) โรงกลั่นน้ำมันซึ่งมีต้นทุน 23.55 บาท และ (3) มีการนำเข้า 29.60 บาท
เอกสารดังกล่าวชี้แจงว่า ก่อนจะกระจายสินค้าออกไป กระทรวงได้กำหนดราคาใหม่ที่เรียกว่า “ราคา ณ โรงกลั่น” เพื่อขายส่ง (ยังไม่รวมภาษีและกองทุน) ในราคา 10.2609 บาทต่อกิโลกรัม โดยที่โรงกลั่นน้ำมันและการนำเข้าได้รับเงินชดเชยในอัตรากิโลกรัมละ 13.2891 และ 19.3391บาท ตามลำดับ ในขณะที่โรงแยกก๊าซไม่ได้รับการชดเชยเลย ทั้งๆ ที่ขาดทุนถึงกิโลกรัมละ 6.6991 บาท
กระทรวงชี้แจงว่า ภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี (ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ ปตท.) ได้ซื้อก๊าซจาก 2 แหล่ง คือจากโรงแยกก๊าซและโรงกลั่นน้ำมันในราคา “อ้างอิงตามกลไกตลาด” คือ 22.3000 บาทต่อกิโลกรัม โดยได้รับการยกเว้นการเก็บภาษีสรรพสามิตและภาษีเทศบาล (ซึ่งภาคส่วนอื่นต้องจ่าย) รวมกิโลกรัมละ 2.38 บาท ทั้งนี้เพราะประกาศของกระทรวงการคลัง (2532) เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเพื่อ “ประโยชน์แก่การเศรษฐกิจของประเทศ” เข้าใจไหม?
ก่อนที่จะกล่าวถึง “เล่ห์เหลี่ยม” ตามที่ตั้งใจไว้ ผมขอตั้งข้อสังเกตถึงการให้ข้อมูลดังกล่าวสักเล็กน้อยก่อน กล่าวคือ
(1) ไม่อธิบายถึงที่มาที่ไปของราคาจากทุกแหล่ง รวมทั้งการคิดราคาที่อ้างว่า “กลไกตลาด”
(2) ทำไมราคาจากโรงแยกก๊าซที่กระทรวงอ้างจึงเท่ากับ 16.96 บาท แต่ราคาจากแหล่งสิริกิติ์ที่มีการผลิตแอลพีจีได้เดือนละ 9 พันตัน (ซึ่งก็เป็นตัวเลขของกระทรวงเช่นกันและเป็นราคารวมกำไรแล้ว) จึงเท่ากับ 9.43 บาทเท่านั้น (ราคาเดือนกรกฎาคม 56) ไม่เคยมีคำอธิบายในส่วนนี้
สอง ข้อสงสัยที่สำคัญหลัก
จากคำชี้แจงตามที่ได้กล่าวแล้วในข้อหนึ่ง ดังกล่าว ทำให้เราสงสัยได้ว่า
(1) เป็นไปได้หรือที่โรงแยกก๊าซซึ่งทั้งหมดเป็นของบริษัท ปตท.จะยอมขาดทุนถึงกิโลกรัมละ 6.6991 บาท โดยไม่ได้รับการชดเชยจากกองทุนน้ำมันเลย
(2) จริงหรือที่กระทรวงอ้างว่า ภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีซื้อก๊าซทั้งจาก 2 แหล่ง และถ้าซื้อจากทั้งสองแหล่งจริงแล้ว เขาซื้อจากแหล่งใดในสัดส่วนเท่าใด เป็นไปได้หรือที่ภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีซึ่งเป็นบริษัทลูกของ ปตท. จะยอมซื้อจากแหล่งโรงกลั่นน้ำมัน (ซึ่ง ปตท.เป็นเจ้าของประมาณ 80%) ที่มีราคาแพงกว่าถึงกิโลกรัมละกว่า 6 บาท
นี่คือข้อสงสัยที่ผมเชื่อว่า แม้แต่เด็กชั้นประถมปีที่หนึ่งก็สามารถตอบได้ว่า บริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีต้องซื้อจากแหล่งที่มีราคาถูกกว่าอย่างแน่นอน ผมเข้าใจว่าข้อสงสัยดังกล่าวจะไม่เป็นความจริง ก็ต่อเมื่อเจ้าของภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเป็นพระอรหันต์ที่มีความเสียสละหมดจดจากความโลภทั้งปวงแล้วเท่านั้น
จากเหตุผลดังกล่าว ผมค่อนข้างเชื่อว่า การซื้อขายระหว่างอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกับโรงแยกก๊าซมีลักษณะ “ออกกระเป๋าซ้ายเข้ากระเป๋าขวา” ในราคาเท่าใดก็ได้ แต่ต้องมีการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยเท่านั้นเอง
ตัวเลขราคา 22.3000 บาท ที่อ้างว่า อุตสาหกรรมปิโตรเคมีซื้อนั้น จึงน่าจะเป็นตัวเลขที่ยกขึ้นมาหลอกๆ เท่านั้นเอง
สาม ข้อมูลปริมาณการผลิตภายในประเทศและการใช้
ย้อนหลังไปประมาณ 15 ปี ประเทศไทยเคยส่งออกก๊าซแอลพีจีมาตลอด บางปีสามารถส่งออกมากกว่า 1 ล้านตัน แต่ในช่วงประมาณ 5- 6 ปีหลังสุด แม้ว่าปริมาณการผลิตภายในประเทศได้เพิ่มขึ้นทุกปี แต่ปริมาณก๊าซดังกล่าวกลับไม่พอใช้จนต้องมีการนำเข้าจากต่างประเทศ
ในอดีต ปริมาณการใช้ในภาคครัวเรือนมีมากกว่าทุกภาคส่วน (ได้แก่ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ขนส่ง และ อุตสาหกรรม) แต่ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2556 การใช้ในภาคปิโตรเคมีกลับมากกว่าทุกภาคส่วน
แถวล่างสุดของตารางข้างล่างนี้ ได้แสดงให้เห็นว่า การใช้ในภาคปิโตรเคมีและภาคครัวเรือนรวมกันแล้วมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 75.2 ในปี 2550 เป็นร้อยละ 88.0 ของปริมาณที่ผลิตได้ในประเทศ (ในปี 2553 การใช้ในสองภาคส่วนนี้สูงกว่ากำลังการผลิตภายในประเทศ)
สี่ การแก้ปัญหา LPG ขาดแคลนของรัฐบาลน่าจะขัดต่อรัฐธรรมนูญ
เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนก๊าซแอลพีจี คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) ในการประชุมครั้งที่3/2551 ได้มีมติเกี่ยวกับแนวทางแก้ปัญหา LPG ว่า (ผมขอคัดลอกมาทั้งหมดดังนี้)
“หลักการการจัดสรรปริมาณก๊าซ LPG ที่ผลิตได้ในประเทศ ให้กับปริมาณความต้องการในภาคครัวเรือนและปิโตรเคมีเป็นลำดับแรก ส่วนปริมาณการผลิตก๊าซ LPG ที่เหลือจากการจัดสรรข้างต้นจะถูกนำไปจัดสรรให้กับภาคขนส่งและอุตสาหกรรมเป็นลำดับต่อไป ทั้งนี้ หากปริมาณการผลิตก๊าซ LPG ที่เหลือจากการจัดสรรในลำดับแรกไม่เพียงพอกับปริมาณความต้องการใช้ในภาคขนส่งและอุตสาหกรรม ให้มีการนำเข้าก๊าซ LPG จากต่างประเทศมารองรับในส่วนที่ขาด”
สรุปว่า กระทรวงพลังงานได้วางกติกาเตรียมไว้ล่วงหน้าตั้งแต่ปี 2551 ว่า ให้ภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีได้มีโอกาสใช้ก๊าซ LPG ที่ผลิตได้จากภายในประเทศเป็นอันดับแรก
ข้อสงสัยของผมก็คือการมีมติของ กพช. ดังกล่าวขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ 2550 หรือไม่ ซึ่งจะกล่าวถึงในหัวข้อต่อไป
จริงอยู่ แม้ตาม พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2514 ได้ระบุว่า “ปิโตรเลียมที่อยู่ใต้ดินเป็นของรัฐ” แต่เมื่อขุดขึ้นมาแล้วกลายเป็นของผู้รับสัมปทาน และผู้รับสัมปทานจะนำไปขายให้ใครก็ได้หรือขายให้ลูกของตัวเองก็ได้ แต่ถามว่า พ.ร.บ. ดังกล่าวขัดต่อกฏหมายแม่บทคือรัฐธรรมนูญหรือไม่
ห้า เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญต่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
ผมขอเริ่มต้นด้วยการยกเอารัฐธรรมนูญไทย 2550 กับของประเทศอินโดนีเซีย(ซึ่งเป็นประเทศที่ได้รับการกล่าวถึงว่ามีการจัดการเรื่องทรัพยากรธรรมชาติปิโตรเลียมได้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนได้มากกว่าประเทศไทยเยอะ) ขึ้นมาเปรียบเทียบให้เห็นกรอบแนวคิดกันก่อนครับ
เอาของประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซียก่อนนะ (ฉบับ 1945 แก้ไขเพิ่มเติม 4 ครั้ง ไม่มีรัฐประหารเหมือนบ้านเรา) มาตรา 33 ระบุว่า “แผ่นดิน ผืนน้ำและทรัพยากรธรรมชาติอยู่ภายใต้อำนาจของรัฐและต้องใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดของประชาชน” (The land, the waters and the natural resources within shall be under the powers of the state and shall be used to the greatest benefit of the people.)
ชัดเจนนะครับว่า ทรัพยากรธรรมชาติเป็นของรัฐ รัฐบาลจึงมีหน้าที่ต้องจัดการให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน
รัฐธรรมนูญของประเทศเราก็ทำนองเดียวกันครับ แม้จะเขียนไว้ไม่ชัดเจนเท่าของอินโดนีเซียแต่ก็มีสาระไปในทำนองเดียวกัน ดังปรากฏในมาตรา 85 (4) ที่ว่า
“รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ดังต่อไปนี้ (4) ต้องให้มีแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและทรัพยากรธรรมชาติอื่นอย่างเป็นระบบและเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม ทั้งต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสงวน บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุล”
ประเด็นที่ผมกำลังกล่าวหากระทรวงพลังงานก็คือว่า ทั้งๆ ที่รัฐธรรมนูญไทยได้บัญญัติว่า “ทรัพยากรปิโตรเลียมเป็นของรัฐและต้องใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม” แต่กระทรวงพลังงานได้จัดการให้คนกลุ่มหนึ่ง (ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนและเป็นบริษัทลูกของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)) ได้ใช้ประโยชน์ก่อน ทำให้คนอีกกลุ่มหนึ่ง (ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่) ไม่ได้ใช้ประโยชน์ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
หก สรุป
ขณะนี้ภาคประชาชนได้ยื่นฟ้องร้องต่อศาลปกครองต่อกรณีการขึ้นราคาก๊าซแอลพีจีไม่เป็นธรรม ประเด็นการฟ้องร้องมีหลายประเด็น ทั้งกระบวนการรับฟังความคิดเห็น การไม่เปิดเผยข้อมูลที่เป็นความจริง การเก็บเงินเข้ากองทุน เป็นต้น
ด้วยความเคารพต่อกระบวนการยุติธรรมของประเทศเรา แต่ผมก็มีความกังวลอยู่ลึกๆ ว่า ศาลเองจะสามารถติดตามและวิเคราะห์ข้อมูลที่เต็มไปด้วยเล่ห์เหลี่ยมหลายขั้นตอนของกระทรวงพลังงานได้มากน้อยแค่ไหน
ก็ได้แต่หวังว่าประโยค “สูอย่ามาทำเหลียม” จะหลุดออกมาจากปากของประชาชนผู้ตื่นรู้ในไม่ช้าก็เร็วนะครับ