ASTVผู้จัดการรายวัน- "ปู"จีบปากจ้อที่กรุงเจนีวา บอกประชาธิปไตยไม่ใช่เพียงการชนะการเลือกตั้งด้วยเสียงข้างมาก "มาร์ค"ชี้หากรัฐบาลจะปฏิรูปประเทศ ไม่จำเป็นต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่ เพราะมีผลการศึกษาอยู่แล้ว ชี้สำเร็จได้ต้อง ไม่แก้รธน.-ไม่ล้างผิดแม้ว ปฏิรูปสำเร็จ บรรหาร" พบ "สนธิ" ถกแนวทางปฏิรูปฯ วันนี้
เมื่อวันที่ 9 ก.ย. เวลา 11.45 น. ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งช้ากว่าประเทศไทย 5 ชั่วโมง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เข้าหารือกับ นายคาสซิม โจมาร์ท โตกาเยฟ เลขาธิการสำนักงานสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยกล่าวถึงความร่วมมือระหว่างไทย กับสหประชาชาติ ความร่วมมือระหว่างอาเซียน กับสหประชาชาติ จากนั้นได้เข้าพบหารือกับนาง นาวาเนเธ็ม ฟิลเล ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
จากนั้นเวลา 12.40 น. นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวต่อที่ประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ 24 ว่า สิทธิมนุษยชน เป็นหัวใจของประชาธิปไตย และเป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องยึดหลักประชาธิปไตย ไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่ขัดต่อหลักประชาธิปไตย รัฐบาลต้องคงไว้ซึ่งการสนับสนุนคุณค่าประชาธิปไตย ด้วยการคุ้มครองสิทธิ และเสรีภาพของประชาชนด้วย ประชาธิปไตยไม่ใช่เพียงการชนะการเลือกตั้งด้วยเสียงข้างมาก แต่เป็นการใช้อำนาจในวิถีทางที่เคารพต่อเสียงส่วนน้อย ซึ่งหมายถึงผู้ที่อยู่ในอำนาจต้องไม่ยึดติดกับอำนาจ และไม่นำความต้องการของใครคนใดคนหนึ่งยัดเยียดให้กับผู้อื่น
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตลอดเวลาที่เข้ามาบริหารประเทศ รัฐบาลสนับสนุนนโยบายและการปฏิบัติตามมาตรฐานสากล โดยมุ่งเน้นการพัฒนาอย่างเท่าเทียม โดยเฉพาะการส่งเสริมให้ สตรี เด็ก และคนพิการ ได้รับสิทธิจากบริการขอรัฐอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อลดอุปสรรคทางกายภาพ
"ประเทศไทยได้ผ่านความท้าทายในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมาหลายทศวรรษ การเดินทางยังไม่ราบรื่น แม้แต่ขณะนี้ดิฉันยังต้องปกป้องประชาธิปไตยจากผู้มีจิตใจที่ไม่เป็นประชาธิปไตยแท้จริง ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน ความยุติธรรม และนิติรัฐ นิติธรรม เป็นคุณค่าสากลที่เชื่อมประชาชนและประเทศต่างๆ เข้าด้วยกัน ประเทศไทยตระหนักถึงความทุ่มเททั้งหลายในการกำหนดให้มนุษย์เป็นศูนย์กลางการพัฒนา เราสนับสนุนหลักคิดที่สะท้อนประเด็นเหล่านี้ ภายใต้วาระการพัฒนาภายหลังปี 2015 อย่างต่อเนื่อง" นายกรัฐมนตรี กล่าว
**ครม.เว้นวีซ่า "ไทย-มอนเตเนโกร" 90วัน
นายภักดีหาญส์ หิมะทองคำ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมครม. เมื่อวานนี้ว่า ในการประชุมครม.ที่มีนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ เป็นประธาน โดยทางกระทรวงการต่างประเทศ ได้เสนอการจัดทำความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทย และมอนเตรเนโกร ว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางฑูต และราชการไทยและมอนเตรเนโกร เข้าที่ประชุม ครม.
นายภักดีหาญส์ กล่าวด้วยว่า การทำความตกลงนี้ไม่ได้มีอะไรที่ผิดปกติ และไม่เกี่ยวกับกรณีที่มอนเตเนโกรให้หนังสือเดินทาง(พาสปอร์ต) และสิทธิความเป็นพลเมืองพิเศษแก่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ มีกำหนดการเดินทางเยือน สาธารณรัฐมอนเตเนโกร อย่างเป็นทางการ ในวันที่ 13-14 ก.ย.นี้ มีกำหนดการเข้าเยี่ยมคารวะประธานาธิบดีแห่งมอนเตเนโกร และพบหารือกับนายกรัฐมนตรีมอนเตเนโกร หลังจากเสร็จสิ้นการร่วมประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 24 ที่สมาพันธรัฐสวิส รวมถึงการเยือนสาธารณรัฐอิตาลี และนครรัฐวาติกัน อย่างเป็นทางการ
**ไม่แก้รธน.-ไม่ล้างผิดแม้ว ปฏิรูปสำเร็จ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ขณะนี้เรามักได้ยินอยู่ 2 คำ คือคำว่า ปฏิรูป กับ ปรองดอง ซึ่งมีความหมายแตกต่างกันแต่มีความเชื่อมโยงกัน โดยคำว่าปฏิรูปนั้นคือ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยให้ดีขึ้น ส่วนคำว่าปรองดอง คือการคลี่คลายความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคม หากสังคมขาดความปรองดอง ก็ไม่สามารถเดินหน้าปฏิรูป คำถามคือ การตั้งสภาปฏิรูปการเมืองของรัฐบาล จะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมได้มากน้อยแค่ไหน จะสร้างความปรองดองคลี่คลายความขัดแย้งแค่ไหน ส่วนตัวเห็นว่าประเทศต้องได้รับการปฏิรูป เพราะยังมีปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน คนไม่มีจริยธรรม แต่การปฏิรูปไม่ใช่เรื่องใหม่ หากผู้มีอำนาจนำข้อเสนอแนะของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ที่มีนายอานันท์ ปัญยารชุน เป็นประธาน หรือข้อเสนอแนะของนพ.ประเวศ วสี ราษฎรอาวุโส และคณะกรรมการชุดอื่นๆ ไปปฏิบัติการปฏิรูป ก็ไม่ต้องตั้งต้นนับหนึ่งใหม่ แต่นี่รัฐบาลกลับไปใช้นักการเมือง ไม่ใช้องค์ความรู้ที่มีอยู่แล้ว
นายอุทัย พิมพ์ใจชน อดีตประธานัฐสภา กล่าวว่า การปฏิรูปการเมืองจะไม่สำเร็จ การคิดจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยิ่งแก้ก็ยิ่งยาว แก้จนเป็นกฎหมายอาญานักการเมือง คนโกงคนเก่ง ถ้าไม่เก่ง ก็คงโกงไม่เป็น ดังนั้นคงไม่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ เพราะฉะนั้นถ้าจะแก้ควรที่จะเริ่มแก้ที่ตัวราษฎร โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ปลูกฝังให้มีทัศนะทางการเมืองที่ดี
**ปชป.เข้าพบ“หมอประเวศ”17ก.ย.นี้
นายภูมิสรรค์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา ผู้ช่วยเลขาธิการ พรรคประชาธิปัตย์ฝ่ายการเมืองมวลชน ในฐานะผู้ประสานงาน ทีมคณะประสานงานมวลชนพรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยว่า ในวันนี้ ( 11 ก.ย. ) ทีมคณะประสานมวลชนพรรคโดย นายกษิต ภิรมย์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ และคณะจะมีการประชุมสรุปร่างปฏิรูปของนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี นายคณิต ณ นคร ประธานกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ ( คอป.) และนพ.ประเวศ วะสี ราฏรอาวุโส ในกรอบวาระแรก เพื่อเตรียมนำเสนอพรรค และสังคมต่อไป และในวันที่ 17 ก.ย. เวลา13.00 น. คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช และคณะ จะเข้าคาราวะหารือการปฏิรูปประเทศไทยกับนพ.ประเวศ ต่อไป
**"บรรหาร" เข้าพบ"สนธิ" วันนี้
ส่วนกรณีที่ นายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา ในฐานะผู้ประสานงานคณะทำงานเวทีปฏิรูปประเทศของรัฐบาล เข้าพบนายอานันท์นั้น ก่อนหน้านี้คุณหญิงกัลยา ก็ได้เข้าคารวะและปรึกษาหารือกับนายอานันท์ มาแล้ว โดยเห็นว่ามีประเด็นที่น่าเป็นห่วง และกังวลอย่างยิ่งคือ
1. รัฐบาลต้องทำให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจกับทุกกลุ่ม ทุกสี ทุกองคาพยพของสังคม ซึ่งตรงกับสิ่งที่นายอานันท์ พูดเอาไว้
2. รัฐบาลควรจัดทำกรอบการปฏิรูปให้เป็นรูปเป็นร่างก่อนที่จะเชิญผู้ใหญ่ของบ้านเมืองเข้าร่วม
3. อยากเสนอให้รัฐบาลทำตามที่คณะทำงานปฏิรูปชุด นายอานันท์ นายคณิต และนพ.ประเวศ จัดทำไว้ก่อนหน้านี้
ทั้งนี้ นายบรรหาร ศิลปอาชา ในฐานะผู้ประสานงานคณะทำงานเวทีปฏิรูปประเทศของรัฐบาล จะเข้าพบนายสนธิ ลิ้มทองกุล อดีตแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เพื่อหารือแผนปฏิรูปประเทศ ที่บ้านพระอาทิตย์ เวลา 11.00น. วันนี้ (11ก.ย.)
เมื่อวันที่ 9 ก.ย. เวลา 11.45 น. ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งช้ากว่าประเทศไทย 5 ชั่วโมง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เข้าหารือกับ นายคาสซิม โจมาร์ท โตกาเยฟ เลขาธิการสำนักงานสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยกล่าวถึงความร่วมมือระหว่างไทย กับสหประชาชาติ ความร่วมมือระหว่างอาเซียน กับสหประชาชาติ จากนั้นได้เข้าพบหารือกับนาง นาวาเนเธ็ม ฟิลเล ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
จากนั้นเวลา 12.40 น. นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวต่อที่ประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ 24 ว่า สิทธิมนุษยชน เป็นหัวใจของประชาธิปไตย และเป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องยึดหลักประชาธิปไตย ไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่ขัดต่อหลักประชาธิปไตย รัฐบาลต้องคงไว้ซึ่งการสนับสนุนคุณค่าประชาธิปไตย ด้วยการคุ้มครองสิทธิ และเสรีภาพของประชาชนด้วย ประชาธิปไตยไม่ใช่เพียงการชนะการเลือกตั้งด้วยเสียงข้างมาก แต่เป็นการใช้อำนาจในวิถีทางที่เคารพต่อเสียงส่วนน้อย ซึ่งหมายถึงผู้ที่อยู่ในอำนาจต้องไม่ยึดติดกับอำนาจ และไม่นำความต้องการของใครคนใดคนหนึ่งยัดเยียดให้กับผู้อื่น
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตลอดเวลาที่เข้ามาบริหารประเทศ รัฐบาลสนับสนุนนโยบายและการปฏิบัติตามมาตรฐานสากล โดยมุ่งเน้นการพัฒนาอย่างเท่าเทียม โดยเฉพาะการส่งเสริมให้ สตรี เด็ก และคนพิการ ได้รับสิทธิจากบริการขอรัฐอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อลดอุปสรรคทางกายภาพ
"ประเทศไทยได้ผ่านความท้าทายในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมาหลายทศวรรษ การเดินทางยังไม่ราบรื่น แม้แต่ขณะนี้ดิฉันยังต้องปกป้องประชาธิปไตยจากผู้มีจิตใจที่ไม่เป็นประชาธิปไตยแท้จริง ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน ความยุติธรรม และนิติรัฐ นิติธรรม เป็นคุณค่าสากลที่เชื่อมประชาชนและประเทศต่างๆ เข้าด้วยกัน ประเทศไทยตระหนักถึงความทุ่มเททั้งหลายในการกำหนดให้มนุษย์เป็นศูนย์กลางการพัฒนา เราสนับสนุนหลักคิดที่สะท้อนประเด็นเหล่านี้ ภายใต้วาระการพัฒนาภายหลังปี 2015 อย่างต่อเนื่อง" นายกรัฐมนตรี กล่าว
**ครม.เว้นวีซ่า "ไทย-มอนเตเนโกร" 90วัน
นายภักดีหาญส์ หิมะทองคำ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมครม. เมื่อวานนี้ว่า ในการประชุมครม.ที่มีนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ เป็นประธาน โดยทางกระทรวงการต่างประเทศ ได้เสนอการจัดทำความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทย และมอนเตรเนโกร ว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางฑูต และราชการไทยและมอนเตรเนโกร เข้าที่ประชุม ครม.
นายภักดีหาญส์ กล่าวด้วยว่า การทำความตกลงนี้ไม่ได้มีอะไรที่ผิดปกติ และไม่เกี่ยวกับกรณีที่มอนเตเนโกรให้หนังสือเดินทาง(พาสปอร์ต) และสิทธิความเป็นพลเมืองพิเศษแก่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ มีกำหนดการเดินทางเยือน สาธารณรัฐมอนเตเนโกร อย่างเป็นทางการ ในวันที่ 13-14 ก.ย.นี้ มีกำหนดการเข้าเยี่ยมคารวะประธานาธิบดีแห่งมอนเตเนโกร และพบหารือกับนายกรัฐมนตรีมอนเตเนโกร หลังจากเสร็จสิ้นการร่วมประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 24 ที่สมาพันธรัฐสวิส รวมถึงการเยือนสาธารณรัฐอิตาลี และนครรัฐวาติกัน อย่างเป็นทางการ
**ไม่แก้รธน.-ไม่ล้างผิดแม้ว ปฏิรูปสำเร็จ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ขณะนี้เรามักได้ยินอยู่ 2 คำ คือคำว่า ปฏิรูป กับ ปรองดอง ซึ่งมีความหมายแตกต่างกันแต่มีความเชื่อมโยงกัน โดยคำว่าปฏิรูปนั้นคือ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยให้ดีขึ้น ส่วนคำว่าปรองดอง คือการคลี่คลายความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคม หากสังคมขาดความปรองดอง ก็ไม่สามารถเดินหน้าปฏิรูป คำถามคือ การตั้งสภาปฏิรูปการเมืองของรัฐบาล จะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมได้มากน้อยแค่ไหน จะสร้างความปรองดองคลี่คลายความขัดแย้งแค่ไหน ส่วนตัวเห็นว่าประเทศต้องได้รับการปฏิรูป เพราะยังมีปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน คนไม่มีจริยธรรม แต่การปฏิรูปไม่ใช่เรื่องใหม่ หากผู้มีอำนาจนำข้อเสนอแนะของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ที่มีนายอานันท์ ปัญยารชุน เป็นประธาน หรือข้อเสนอแนะของนพ.ประเวศ วสี ราษฎรอาวุโส และคณะกรรมการชุดอื่นๆ ไปปฏิบัติการปฏิรูป ก็ไม่ต้องตั้งต้นนับหนึ่งใหม่ แต่นี่รัฐบาลกลับไปใช้นักการเมือง ไม่ใช้องค์ความรู้ที่มีอยู่แล้ว
นายอุทัย พิมพ์ใจชน อดีตประธานัฐสภา กล่าวว่า การปฏิรูปการเมืองจะไม่สำเร็จ การคิดจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยิ่งแก้ก็ยิ่งยาว แก้จนเป็นกฎหมายอาญานักการเมือง คนโกงคนเก่ง ถ้าไม่เก่ง ก็คงโกงไม่เป็น ดังนั้นคงไม่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ เพราะฉะนั้นถ้าจะแก้ควรที่จะเริ่มแก้ที่ตัวราษฎร โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ปลูกฝังให้มีทัศนะทางการเมืองที่ดี
**ปชป.เข้าพบ“หมอประเวศ”17ก.ย.นี้
นายภูมิสรรค์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา ผู้ช่วยเลขาธิการ พรรคประชาธิปัตย์ฝ่ายการเมืองมวลชน ในฐานะผู้ประสานงาน ทีมคณะประสานงานมวลชนพรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยว่า ในวันนี้ ( 11 ก.ย. ) ทีมคณะประสานมวลชนพรรคโดย นายกษิต ภิรมย์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ และคณะจะมีการประชุมสรุปร่างปฏิรูปของนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี นายคณิต ณ นคร ประธานกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ ( คอป.) และนพ.ประเวศ วะสี ราฏรอาวุโส ในกรอบวาระแรก เพื่อเตรียมนำเสนอพรรค และสังคมต่อไป และในวันที่ 17 ก.ย. เวลา13.00 น. คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช และคณะ จะเข้าคาราวะหารือการปฏิรูปประเทศไทยกับนพ.ประเวศ ต่อไป
**"บรรหาร" เข้าพบ"สนธิ" วันนี้
ส่วนกรณีที่ นายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา ในฐานะผู้ประสานงานคณะทำงานเวทีปฏิรูปประเทศของรัฐบาล เข้าพบนายอานันท์นั้น ก่อนหน้านี้คุณหญิงกัลยา ก็ได้เข้าคารวะและปรึกษาหารือกับนายอานันท์ มาแล้ว โดยเห็นว่ามีประเด็นที่น่าเป็นห่วง และกังวลอย่างยิ่งคือ
1. รัฐบาลต้องทำให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจกับทุกกลุ่ม ทุกสี ทุกองคาพยพของสังคม ซึ่งตรงกับสิ่งที่นายอานันท์ พูดเอาไว้
2. รัฐบาลควรจัดทำกรอบการปฏิรูปให้เป็นรูปเป็นร่างก่อนที่จะเชิญผู้ใหญ่ของบ้านเมืองเข้าร่วม
3. อยากเสนอให้รัฐบาลทำตามที่คณะทำงานปฏิรูปชุด นายอานันท์ นายคณิต และนพ.ประเวศ จัดทำไว้ก่อนหน้านี้
ทั้งนี้ นายบรรหาร ศิลปอาชา ในฐานะผู้ประสานงานคณะทำงานเวทีปฏิรูปประเทศของรัฐบาล จะเข้าพบนายสนธิ ลิ้มทองกุล อดีตแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เพื่อหารือแผนปฏิรูปประเทศ ที่บ้านพระอาทิตย์ เวลา 11.00น. วันนี้ (11ก.ย.)