วานนี้ (5ก.ย.) นายไพบูลย์ นิติตะวัน สมาชิกวุฒิสภา และนายวิรัตน์ กัลยาศิริ สมาชิกผู้แทนราษฎร พร้อมคณะ รวม 114 คน ได้ยื่นเรื่องต่อ นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นตัวแทนรับเรื่อง เพื่อขอให้ส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 154 วรรค 1 ว่าร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2557 มีข้อความขัด หรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
เนื่องจากเห็นว่า ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณดังกล่าว ในมาตรา 27 สำนักงานศาลยุติธรรม และสำนักงานศาลปกครอง และ มาตรา 28 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา 168 วรรค 8 และ วรรค 9 ซึ่งบัญญัติว่า “รัฐต้องจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอกับการบริหารงานโดยอิสระของรัฐสภา ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และองค์กรตามรัฐธรรมนูญ”
นายไพบูลย์ กล่าวว่ารัฐบาลมิได้ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ เพราะไม่จัดสรรงบประมาณให้เพียงพอโดยอิสระ ของหน่วยงานศาล และองค์กรตามรัฐธรรมนูญ สำนักงานศาลยุติธรรม ศาลปกครอง เพราะตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ต้องมีความเห็นร่วมกันกับกรรมาธิการฯ กับสำนักงานศาลปกครอง ศาลยุติธรรม ศาลรัฐธรรมนูญ ต้องเห็นพ้องต้องกันว่า “เพียงพอ”โดยทางสำนักงานศาลยุติธรรม ได้ขอแปรญัตติ ทำให้กรรมาธิการฯ มีการใช้ดุลพินิจเพียงฝ่ายเดียว ตัดงบประมาณของสำนักงานศาลยุติธรรม และป.ป.ช. เป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 168 วรรค 8 วรรค จึงยื่นศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยเป็นบรรทัดฐานต่อไป และเห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญได้รับการจัดสรรงบประมาณเพียงพอแล้ว จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสีย สามารถวินิจฉัยในเรื่องดังกล่าวได้
ทั้งนี้โดยปกติ ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายฯ จะต้องมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ต.ค.56 ถ้าประธานรัฐสภารีบส่งไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ก็คงพิจารณาโดยเร็ว ไม่น่าจะเกิดความล่าช้า แต่จะทำให้เกิดการตรวจสอบตามหลักนิติธรรม และหากศาลรัฐธรรมนูญ เห็นพ้องตามคำร้องของสมาชิกรัฐสภา ก็จะไม่ถึงขนาดทำให้ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ ทั้งร่างตกไป แต่ต้องแก้ไข มาตรา 27 และ 28 ให้ถูกต้อง และขอตั้งข้อสังเกตว่า ในการพิจารณาของกรรมาธิการฯ จัดงบประมาณกับกระทรวงมหาดไทยถึง 12,000 ล้าน กระทรวงการท่องเที่ยว 4,500 ล้าน แต่กลับไม่ให้งบกับองค์กรอิสระ อย่างเพียงพอ
ด้านนายวิรัตน์ กัลยาศิริ คณะทำงานกฎหมาย พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การจัดงบอย่างไม่เพียงพอให้กับองค์กรอิสระ เป็นการขัดรัฐธรรมนูญ เพราะเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ที่บัญญัติเรื่องนี้ไว้ ก็เพื่อป้องกันไม่ให้ฝ่ายบริหารเข้ามาครอบงำองค์กรอิสระ จึงทำให้ ส.ส.และส.ว. เห็นว่า สุ่มเสี่ยงต่อการขัดรัฐธรรมนูญ เช่น สำนักงานศาลยุติธรรม ได้เสนอของบประมาณจำนวน 26,249,877,036 บาท แต่ครม.ปรับลดจำนวน 11,659,058,836 บาท คงเหลืองบประมาณเข้าสู่การพิจารณาของสภาเพียงแค่ 14,590,818,200 บาท โดยสำนักงานศาลยุติธรรม ได้ขอแปรญัตติในชั้่นกรรมาธิการเพื่อขอเพิ่มงบประมาณให้เพียงพอต่อการบริหารงานในวงเงิน 4,133,837,515 บาท แต่กรรมาธิการฯ กลับไม่เชิญหน่วยงานดังกล่าวมาร่วมหารือ และใช้ดุลพินิจเพยงฝ่ายเดียวโดยไม่ได้จัดสรรงบประมาณอย่างเพียงพอให้กับสำนักงานศาลยุติธรรม เช่น เดียวกับสำนักงานศาลปกครอง ที่เสนอของบประมาณ 2,937,639,600 บาท แต่ ครม.ปรับลดจำนวน 890,723,900 บาท คงเหลืองบประมาณที่เข้าสู่การพิจารณาของสภา ในชั้นกรรมาธิการฯ เพียง 2,046,915,700 บาท โดยสำนักงานศาลปกครองได้ขอแปรญัตติเพื่อขอเพิ่มงบประมาณให้เพียงพอต่อการการบริหารงาน แต่ก็ไม่ได้รับการพิจารณา ไม่ต่างจากกรณีสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ที่เสนอของบประมาณ 2,320,561,400 บาท แต่ถูกปรับลดทำให้ไม่มีงบเพียงพอต่อการบริหารองค์กร จึงขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้มีการปรับปรุง ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ มาตรา 27 และ 28 ต่อไป
เนื่องจากเห็นว่า ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณดังกล่าว ในมาตรา 27 สำนักงานศาลยุติธรรม และสำนักงานศาลปกครอง และ มาตรา 28 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา 168 วรรค 8 และ วรรค 9 ซึ่งบัญญัติว่า “รัฐต้องจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอกับการบริหารงานโดยอิสระของรัฐสภา ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และองค์กรตามรัฐธรรมนูญ”
นายไพบูลย์ กล่าวว่ารัฐบาลมิได้ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ เพราะไม่จัดสรรงบประมาณให้เพียงพอโดยอิสระ ของหน่วยงานศาล และองค์กรตามรัฐธรรมนูญ สำนักงานศาลยุติธรรม ศาลปกครอง เพราะตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ต้องมีความเห็นร่วมกันกับกรรมาธิการฯ กับสำนักงานศาลปกครอง ศาลยุติธรรม ศาลรัฐธรรมนูญ ต้องเห็นพ้องต้องกันว่า “เพียงพอ”โดยทางสำนักงานศาลยุติธรรม ได้ขอแปรญัตติ ทำให้กรรมาธิการฯ มีการใช้ดุลพินิจเพียงฝ่ายเดียว ตัดงบประมาณของสำนักงานศาลยุติธรรม และป.ป.ช. เป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 168 วรรค 8 วรรค จึงยื่นศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยเป็นบรรทัดฐานต่อไป และเห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญได้รับการจัดสรรงบประมาณเพียงพอแล้ว จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสีย สามารถวินิจฉัยในเรื่องดังกล่าวได้
ทั้งนี้โดยปกติ ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายฯ จะต้องมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ต.ค.56 ถ้าประธานรัฐสภารีบส่งไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ก็คงพิจารณาโดยเร็ว ไม่น่าจะเกิดความล่าช้า แต่จะทำให้เกิดการตรวจสอบตามหลักนิติธรรม และหากศาลรัฐธรรมนูญ เห็นพ้องตามคำร้องของสมาชิกรัฐสภา ก็จะไม่ถึงขนาดทำให้ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ ทั้งร่างตกไป แต่ต้องแก้ไข มาตรา 27 และ 28 ให้ถูกต้อง และขอตั้งข้อสังเกตว่า ในการพิจารณาของกรรมาธิการฯ จัดงบประมาณกับกระทรวงมหาดไทยถึง 12,000 ล้าน กระทรวงการท่องเที่ยว 4,500 ล้าน แต่กลับไม่ให้งบกับองค์กรอิสระ อย่างเพียงพอ
ด้านนายวิรัตน์ กัลยาศิริ คณะทำงานกฎหมาย พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การจัดงบอย่างไม่เพียงพอให้กับองค์กรอิสระ เป็นการขัดรัฐธรรมนูญ เพราะเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ที่บัญญัติเรื่องนี้ไว้ ก็เพื่อป้องกันไม่ให้ฝ่ายบริหารเข้ามาครอบงำองค์กรอิสระ จึงทำให้ ส.ส.และส.ว. เห็นว่า สุ่มเสี่ยงต่อการขัดรัฐธรรมนูญ เช่น สำนักงานศาลยุติธรรม ได้เสนอของบประมาณจำนวน 26,249,877,036 บาท แต่ครม.ปรับลดจำนวน 11,659,058,836 บาท คงเหลืองบประมาณเข้าสู่การพิจารณาของสภาเพียงแค่ 14,590,818,200 บาท โดยสำนักงานศาลยุติธรรม ได้ขอแปรญัตติในชั้่นกรรมาธิการเพื่อขอเพิ่มงบประมาณให้เพียงพอต่อการบริหารงานในวงเงิน 4,133,837,515 บาท แต่กรรมาธิการฯ กลับไม่เชิญหน่วยงานดังกล่าวมาร่วมหารือ และใช้ดุลพินิจเพยงฝ่ายเดียวโดยไม่ได้จัดสรรงบประมาณอย่างเพียงพอให้กับสำนักงานศาลยุติธรรม เช่น เดียวกับสำนักงานศาลปกครอง ที่เสนอของบประมาณ 2,937,639,600 บาท แต่ ครม.ปรับลดจำนวน 890,723,900 บาท คงเหลืองบประมาณที่เข้าสู่การพิจารณาของสภา ในชั้นกรรมาธิการฯ เพียง 2,046,915,700 บาท โดยสำนักงานศาลปกครองได้ขอแปรญัตติเพื่อขอเพิ่มงบประมาณให้เพียงพอต่อการการบริหารงาน แต่ก็ไม่ได้รับการพิจารณา ไม่ต่างจากกรณีสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ที่เสนอของบประมาณ 2,320,561,400 บาท แต่ถูกปรับลดทำให้ไม่มีงบเพียงพอต่อการบริหารองค์กร จึงขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้มีการปรับปรุง ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ มาตรา 27 และ 28 ต่อไป