วานนี้(2 ก.ย.56) นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภาในฐานะรองประธานรัฐสภา กล่าวว่า เชื่อว่าการประชุมรัฐสภาในววันที่ 4-5 ก.ย.จะไม่สามารถพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนที่มาของสว.ได้เสร็จตามกำหนด เพราะในร่างแก้ไขมาตรา 5 ที่ว่าด้วยคุณสมบัติของสว.มีสมาชิกรัฐสภาที่ขอใช้สิทธิ์อภิปรายจำนวนมาก
ทั้งนี้เท่าที่ติดตามกระแสสังคมแล้วคิดว่ามีความเป็นไปได้สูงที่จะมีการแก้ไขเพื่อทบทวนให้มีบทบัญญัติห้ามไม่ให้เครือญาติของสส.และรัฐมนตรีลงสมัครสว.จากเดิมที่คณะกรรมาธิการได้กำหนดให้เครือญาตินักการเมืองลงสมัครเลือกตั้งสว.ได้
"อาจจะมีการทบทวน และแก้ไข เพราะไม่อยากถูกกล่าวหาว่า เป็นสภาผัว-เมีย น่าจะเป็นไปในทางทีดีขึ้น รอมชอม ปรองดอง ไม่ทราบว่าจะแก้อย่างไร แต่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งขึ้นอยู่กับที่ประชุมรัฐสภาจะว่าอย่างไร คงไม่มีใครหักกัน หรือแข็งเกินไป เหมือนข้อบังคับการประชุมถ้าแข็งเกินไปก็มีปัญหา เพราะฉะนั้นก็ต้องแข็งบ้าง อ่อนบ้าง"นายนิคมกล่าว
เมื่อถามว่า ได้ประเด็นดังกล่าวคณะกรรมาธิการได้หารือกันเรียบร้อยแล้วหรือไม่ นายนิคม กล่าวว่า ยังไม่ได้ตกลง แต่เท่าที่ฟังดูแล้วเมื่อมีเสียงคัดค้านเยอะ กระแสสังคมไม่ตอบรับก็ต้องหันกลับมาทบทวน ถ้าถอยหลังและหันมาทบทวนปัญหาต่างๆของประเทศก็จะลดน้อยลง
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอำนวย คลังผา ส.ส.ลพบุรี พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) กล่าวภายหลังการประชุมวิปรัฐบาลว่า สำหรับการประชุมสภาสัปดาห์นี้ ในวันที่ 2 - 3ก.ย. จะมีการประชุมวุฒิสภาเพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2557 ต่อจากนั้นวันที่ 4 ก.ย. จะมีการประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มาของส.ว. ในมาตรา 5 ที่ค้างอยู่ ซึ่งแม้มีผู้ขอสงวนคำแปรญัตติเป็นจำนวนมากแต่ถือเป็นเอกสิทธิ์ที่ต้องให้อภิปราย เราไม่ได้รีบร้อนอะไร เพียงอยากให้อภิปรายอย่างกระชับ เพราะมีบางประเด็นที่มีผู้อภิปรายซ้ำกันถึง 20 - 30 คน ทั้งนี้ สำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญสัปดาห์นี้จะพิจารณาแค่วันเดียว เนื่องจากจะมีการประชุมอีกครั้งในวันที่ 10 และ 11 ก.ย. ขณะที่วันที่ 5 ก.ย. จะเป็นการพิจารณาเกี่ยวกับกระทู้ถามสด 3 เรื่อง และกระทู้ทั่วไป 5 เรื่อง และในวันที่6 ก.ย. จะเป็นการประชุมของวุฒิสภา
ประธานวิปรัฐบาล กล่าวว่า ในส่วนของมาตรา 5 ของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มาส.ว. สุดท้ายยึดจะเอาตามความเห็นของคณะกรรมาธิการหรือยึดตามรัฐธรรมนูญปี 50นั้น ต้องให้ผู้อภิปรายได้แสดงความเห็นเสียก่อน และต้องฟังคำตอบของประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วย ก่อนจะมีการลงมติกัน
เมื่อถามถึงกรณีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จะยื่นถอดถอนส.ว.หากผ่านร่างรัฐธรรมนูญนี้ เพราะขัดกันแห่งผลประโยชน์ นายอำนวย กล่าวว่า ถือเป็นสิทธิ์ เราไปจำกัดสิทธิ์ของเขาไม่ได้ ยืนยันว่าไม่กังวลในเรื่องนี้ เป็นเรื่องธรรมชาติที่ฝ่ายค้านก็ทำหน้าที่ ส่วนจะพิจารณาร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านได้เมื่อใดนั้นต้องรอดูอีกนิด
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวถึงกรณีที่มีข่าวว่าคณะกรรมาธิการวิสามัญแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ในมาตรา 5 เรื่องคุณสมบัติผู้มีสิทธิ์ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาโดยแก้กลับไปเหมือนร่างเดิมตอนรับหลักการ ว่าอย่าพึ่งหลงประเด็น เพราะแม้จะมีการแก้ไขให้กลับไปเหมือนร่างรับหลักการก็ยังไม่พอ เพราะยังเปิดโอกาสให้สมาชิกวุฒิสภาปัจจุบันลงสมัครได้ ขณะที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญปัจจุบันกำหนดให้ต้องเว้นวรรคเพื่อป้องกันผูกโยงการเมือง และต้องการให้สมาชิกวุฒิสภาปฏิบัติหน้าที่เป็นกลางไม่ต้องพะวงการเลือกตั้งครั้งถัดไป แต่การกลับไปใช้ร่างเดิมเท่ากับแก้แค่ครึ่งเดียว เรื่องต่างตอบแทนแลกเปลี่ยนระหว่างแก้ไขรัฐธรรมนูญให้การเมืองกินรวบประเทศกับ สมาชิกวุฒิสภา ลงสมัครได้อีกรอบยังคงอยู่ จึงเป็นเรื่องที่สังคมต้องติดตามใกล้ชิดไม่ปล่อยปละละเลยให้เกิดการสมคบฮั้วกันทางการเมือง ส่วนกรณีที่โพลระบุว่า ประชาชนร้อยละ 80 เชื่อว่าการปฏิรูปการเมืองของรัฐบาลไม่สำเร็จ เพราะสร้างภาพเบนประเด็น กลบปัญหาเศรษฐกิจปากท้องค่าครองชีพนั้น แสดงว่าคนไทยรู้ทันรัฐบาลมากขึ้นว่าสภาปฏิรูปการเมืองแค่การใช้งบประมาณฟุ่มเฟือยเพื่อสร้างภาพรักปกปิดความล้มเหลวของรัฐบาล
นายชื่นชอบ คงอุดม ส.ส.กทม. และรองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวหานายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำพรรคฝ่ายค้าน และพรรคประชาธิปัตย์กรณีการคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะเรื่องที่มาของ ส.ว.ว่า นายพร้อมพงศ์ อาจอ่านร่างแก้ไขแล้วไม่เข้าใจ เนื่องจากชัดเจนว่าสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์คัดค้าน เพราะต้องการนำเสนอสิ่งที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ไม่ใช่ต้องการมีผลประโยชน์ร่วมกันในการเสนอแก้ไขที่มาของส.ว.เพื่อให้ลงสมัคร ส.ว.ได้อีก เพราะตามรัฐธรรมนูญ 50 มีเจตนาที่ต้องการให้ ส.ว.มีความเป็นกลาง จึงต้องไม่สร้างโอกาสให้ ส.ว. เข้ามาหาผลประโยชน์ส่วนตนได้
"การที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จึงไม่ได้หมายความว่าพรรคไม่เห็นด้วยกับการเลือกตั้ง เพราะพรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคที่เป็นประชาธิปไตย และอยู่ร่วมกับระบบประชาธิปไตยมานาน พรรคมองว่าสมาชิกวุฒิสภาควรมาจากการสรรหามากกว่า เพื่อจะได้บุคคลากรที่จากหลากหลาย กลุ่ม สาขา อาชีพ จะได้บุคคลที่มีความรู้ความสามารถจริงๆ"
ทั้งนี้เท่าที่ติดตามกระแสสังคมแล้วคิดว่ามีความเป็นไปได้สูงที่จะมีการแก้ไขเพื่อทบทวนให้มีบทบัญญัติห้ามไม่ให้เครือญาติของสส.และรัฐมนตรีลงสมัครสว.จากเดิมที่คณะกรรมาธิการได้กำหนดให้เครือญาตินักการเมืองลงสมัครเลือกตั้งสว.ได้
"อาจจะมีการทบทวน และแก้ไข เพราะไม่อยากถูกกล่าวหาว่า เป็นสภาผัว-เมีย น่าจะเป็นไปในทางทีดีขึ้น รอมชอม ปรองดอง ไม่ทราบว่าจะแก้อย่างไร แต่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งขึ้นอยู่กับที่ประชุมรัฐสภาจะว่าอย่างไร คงไม่มีใครหักกัน หรือแข็งเกินไป เหมือนข้อบังคับการประชุมถ้าแข็งเกินไปก็มีปัญหา เพราะฉะนั้นก็ต้องแข็งบ้าง อ่อนบ้าง"นายนิคมกล่าว
เมื่อถามว่า ได้ประเด็นดังกล่าวคณะกรรมาธิการได้หารือกันเรียบร้อยแล้วหรือไม่ นายนิคม กล่าวว่า ยังไม่ได้ตกลง แต่เท่าที่ฟังดูแล้วเมื่อมีเสียงคัดค้านเยอะ กระแสสังคมไม่ตอบรับก็ต้องหันกลับมาทบทวน ถ้าถอยหลังและหันมาทบทวนปัญหาต่างๆของประเทศก็จะลดน้อยลง
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอำนวย คลังผา ส.ส.ลพบุรี พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) กล่าวภายหลังการประชุมวิปรัฐบาลว่า สำหรับการประชุมสภาสัปดาห์นี้ ในวันที่ 2 - 3ก.ย. จะมีการประชุมวุฒิสภาเพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2557 ต่อจากนั้นวันที่ 4 ก.ย. จะมีการประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มาของส.ว. ในมาตรา 5 ที่ค้างอยู่ ซึ่งแม้มีผู้ขอสงวนคำแปรญัตติเป็นจำนวนมากแต่ถือเป็นเอกสิทธิ์ที่ต้องให้อภิปราย เราไม่ได้รีบร้อนอะไร เพียงอยากให้อภิปรายอย่างกระชับ เพราะมีบางประเด็นที่มีผู้อภิปรายซ้ำกันถึง 20 - 30 คน ทั้งนี้ สำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญสัปดาห์นี้จะพิจารณาแค่วันเดียว เนื่องจากจะมีการประชุมอีกครั้งในวันที่ 10 และ 11 ก.ย. ขณะที่วันที่ 5 ก.ย. จะเป็นการพิจารณาเกี่ยวกับกระทู้ถามสด 3 เรื่อง และกระทู้ทั่วไป 5 เรื่อง และในวันที่6 ก.ย. จะเป็นการประชุมของวุฒิสภา
ประธานวิปรัฐบาล กล่าวว่า ในส่วนของมาตรา 5 ของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มาส.ว. สุดท้ายยึดจะเอาตามความเห็นของคณะกรรมาธิการหรือยึดตามรัฐธรรมนูญปี 50นั้น ต้องให้ผู้อภิปรายได้แสดงความเห็นเสียก่อน และต้องฟังคำตอบของประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วย ก่อนจะมีการลงมติกัน
เมื่อถามถึงกรณีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จะยื่นถอดถอนส.ว.หากผ่านร่างรัฐธรรมนูญนี้ เพราะขัดกันแห่งผลประโยชน์ นายอำนวย กล่าวว่า ถือเป็นสิทธิ์ เราไปจำกัดสิทธิ์ของเขาไม่ได้ ยืนยันว่าไม่กังวลในเรื่องนี้ เป็นเรื่องธรรมชาติที่ฝ่ายค้านก็ทำหน้าที่ ส่วนจะพิจารณาร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านได้เมื่อใดนั้นต้องรอดูอีกนิด
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวถึงกรณีที่มีข่าวว่าคณะกรรมาธิการวิสามัญแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ในมาตรา 5 เรื่องคุณสมบัติผู้มีสิทธิ์ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาโดยแก้กลับไปเหมือนร่างเดิมตอนรับหลักการ ว่าอย่าพึ่งหลงประเด็น เพราะแม้จะมีการแก้ไขให้กลับไปเหมือนร่างรับหลักการก็ยังไม่พอ เพราะยังเปิดโอกาสให้สมาชิกวุฒิสภาปัจจุบันลงสมัครได้ ขณะที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญปัจจุบันกำหนดให้ต้องเว้นวรรคเพื่อป้องกันผูกโยงการเมือง และต้องการให้สมาชิกวุฒิสภาปฏิบัติหน้าที่เป็นกลางไม่ต้องพะวงการเลือกตั้งครั้งถัดไป แต่การกลับไปใช้ร่างเดิมเท่ากับแก้แค่ครึ่งเดียว เรื่องต่างตอบแทนแลกเปลี่ยนระหว่างแก้ไขรัฐธรรมนูญให้การเมืองกินรวบประเทศกับ สมาชิกวุฒิสภา ลงสมัครได้อีกรอบยังคงอยู่ จึงเป็นเรื่องที่สังคมต้องติดตามใกล้ชิดไม่ปล่อยปละละเลยให้เกิดการสมคบฮั้วกันทางการเมือง ส่วนกรณีที่โพลระบุว่า ประชาชนร้อยละ 80 เชื่อว่าการปฏิรูปการเมืองของรัฐบาลไม่สำเร็จ เพราะสร้างภาพเบนประเด็น กลบปัญหาเศรษฐกิจปากท้องค่าครองชีพนั้น แสดงว่าคนไทยรู้ทันรัฐบาลมากขึ้นว่าสภาปฏิรูปการเมืองแค่การใช้งบประมาณฟุ่มเฟือยเพื่อสร้างภาพรักปกปิดความล้มเหลวของรัฐบาล
นายชื่นชอบ คงอุดม ส.ส.กทม. และรองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวหานายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำพรรคฝ่ายค้าน และพรรคประชาธิปัตย์กรณีการคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะเรื่องที่มาของ ส.ว.ว่า นายพร้อมพงศ์ อาจอ่านร่างแก้ไขแล้วไม่เข้าใจ เนื่องจากชัดเจนว่าสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์คัดค้าน เพราะต้องการนำเสนอสิ่งที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ไม่ใช่ต้องการมีผลประโยชน์ร่วมกันในการเสนอแก้ไขที่มาของส.ว.เพื่อให้ลงสมัคร ส.ว.ได้อีก เพราะตามรัฐธรรมนูญ 50 มีเจตนาที่ต้องการให้ ส.ว.มีความเป็นกลาง จึงต้องไม่สร้างโอกาสให้ ส.ว. เข้ามาหาผลประโยชน์ส่วนตนได้
"การที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จึงไม่ได้หมายความว่าพรรคไม่เห็นด้วยกับการเลือกตั้ง เพราะพรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคที่เป็นประชาธิปไตย และอยู่ร่วมกับระบบประชาธิปไตยมานาน พรรคมองว่าสมาชิกวุฒิสภาควรมาจากการสรรหามากกว่า เพื่อจะได้บุคคลากรที่จากหลากหลาย กลุ่ม สาขา อาชีพ จะได้บุคคลที่มีความรู้ความสามารถจริงๆ"