คำว่า คน เป็นชื่อเรียกสัตว์ที่มีคุณลักษณะดีกว่าสัตว์เดรัจฉาน
ดังนั้นจึงมีคำพูดที่มาคู่กันว่าคนกับสัตว์ และคนในที่นี้หมายถึงผู้มีคุณสมบัติเหนือสัตว์ อันหมายถึงมนุษย์ และสัตว์ในที่นี้หมายถึงสัตว์เดรัจฉานดังที่ปรากฏในคำสอนทางพุทธศาสนาเมื่อพูดถึงคนกับสัตว์
อีกประการหนึ่ง ในจริยศาสตร์หรือศาสตร์ว่าด้วยความประพฤติหรือการแสดงออกในทางพฤติกรรมได้แสดงถึงความแตกต่างระหว่างคนกับสัตว์ดังต่อไปนี้
1. ด้านโครงสร้างทางร่างกาย คนสูงขึ้นทำแนวดิ่งกับพื้นโลก สัตว์ยาวไปตามแนวขนานกับพื้นโลก จึงเรียกว่าติรัจฉาน หรือเดรัจฉาน แปลว่า ไปทางขวาง
ด้วยนัยดังกล่าวข้างต้น ถ้าใครสักคนถูกสังคมกล่าวหาว่าเป็นคนขวางโลก ก็โปรดเข้าใจว่าหมายถึงเป็นสัตว์เดรัจฉานนั่นเอง
2. ทางด้านจิตใจ คนแสดงพฤติกรรมไม่ว่าจะเป็นการพูดหรือการทำภายใต้การคิดอย่างมีเหตุมีผล แต่สัตว์แสดงพฤติกรรมภายใต้การบงการของสัญชาตญาณ หรือที่เรียกว่าสันดานเดิมนั่นเอง
ถึงแม้ว่าคนจะมีลักษณะสูงส่งทางด้านจิตใจกว่าสัตว์เดรัจฉาน แต่เมื่อคนมาอยู่รวมกันเป็นสังคม ก็มีสถานะเป็นสัตว์สังคมเหมือนๆ กันทุกคน
ดังนั้น ในสังคมมนุษย์จึงจำเป็นต้องมีกติกาสังคมในหลายรูปแบบเพื่อเป็นเครื่องช่วยให้มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และกติกาที่ว่านี้เริ่มตั้งแต่การมีลัทธิทรงเจ้าเข้าผี ศาสนา กฎหมาย และวัฒนธรรมประเพณี วิถีประชา ทั้งนี้ก็เพื่อให้มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
แต่จากวันที่มนุษย์รู้จักนำกติกาทางสังคมมาใช้จนถึงวันนี้ มนุษย์ก็ยังคงความเป็นคนที่ควบคู่กับสัตว์เป็นจำนวนมากกว่าความเป็นมนุษย์ที่ฝึกฝนทางด้านจิตใจ และนี่เองคือจุดเกิดความวุ่นวาย และการก่อให้เกิดการแก่งแย่งเกิดขึ้นในสังคมดังที่เป็นอยู่ในวันนี้ และหากคนในสังคมยังมีพฤติกรรมเยี่ยงนี้ การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้นคงจะทำได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิรูปประเทศภายใต้การคิด และการทำของคนที่ยังมีภาวะจิตไม่เหนือไปกว่าความเป็นคนที่ยังมีสัญชาตญาณในการแสวงหาประโยชน์ให้แก่ตนเองและพรรคพวก โดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมว่าจะเสียหายมากน้อยเท่าใดจากการได้มาซึ่งผลประโยชน์ของตนเองและพรรคพวก
จะทำอย่างไรให้ภาวะแห่งความเป็นคนซึ่งมากด้วยกิเลสเปลี่ยนมาเป็นมนุษย์ซึ่งมีภาวะทางด้านจิตใจสูงขึ้นกว่าความเป็นคน และมีคุณค่าควรแก่การนำมาเป็นผู้นำในการปฏิรูปประเทศ
ไม่ว่าจะมองในแง่ของศาสนาหรือในแง่ของจริยศาสตร์ การเปลี่ยนคนให้เป็นมนุษย์คงหนีไม่พ้นการศึกษา และฝึกอบรมปลูกฝังคุณธรรม ส่วนว่าจะใช้วิธีการไหน และอย่างไรนั้น ในทางศาสนาแต่ละศาสนาอาจแตกต่างกันบ้าง แต่โดยวัตถุประสงค์ของศาสนาแต่ละศาสนาแล้วก็เป็นอันเดียวกัน คือต้องการให้เป็นคนดีมีศีลธรรม และมีความเสียสละเพื่อส่วนรวมเหมือนๆ กัน
แต่ในฐานะที่เมืองไทยเป็นเมืองพุทธ และประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และศาสนาพุทธก็มีคำสอนในระดับสมมติสัจจะหรือในระดับขั้นพื้นฐานครอบคลุมคำสอนของทุกศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของศีล 5 อันถือได้ว่าเป็นศีลที่คนดีของทุกสังคมยึดถือเป็นแนวทางอยู่แล้ว จึงน่าจะนำมาใช้ในการปลูกฝังให้ประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่เข้ามาทำหน้าที่รับใช้ประชาชน เช่น ข้าราชการการเมือง และข้าราชการประจำ เพื่อให้เป็นบุคลากรที่มีคุณธรรมเป็นเครื่องกำกับในการใช้ความรู้ ความสามารถ มิให้นำไปเป็นเครื่องมือในการแสวงหาประโยชน์ในทางมิชอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในข้อที่ 2 คือ อทินนาทาน คือลักขโมย และคดโกง และข้อที่ 4 คือมุสาวาท คือโกหกหลอกลวง
ส่วนแนวทางการปลูกฝังความรู้ ความสามารถในการบริหารจัดการหน้าที่การงานของรัฐเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศ อันเป็นส่วนรวมนั้น น่าจะนำหลักของอริยสัจจะมาเป็นแนวทางแก้ปัญหาได้โดยประยุกต์ใช้ได้ดังนี้
1. ทุกข์ ได้แก่ การค้นหาปัญหาอันก่อให้เกิดความเดือดร้อนในแต่ละด้าน และเรียงลำดับความสำคัญในการแก้ไขก่อนหลัง
2. สมุทัย คือการค้นหาเหตุแห่งปัญหาว่าปัญหาได้เกิดจากเหตุใด เพื่อจะได้แก้ปัญหาให้ตรงจุด ไม่ยืดเยื้อเสียเวลา และคุ้มค่าในการใช้งบประมาณ
3. นิโรธ ผลที่ได้จากการแก้ปัญหาแต่ละด้านคืออะไร และนำไปประเมินความคุ้มค่าก่อนที่จะดำเนินการต่อไปในปัญหาอื่นๆ
4. มรรค คือแนวทางของการแก้ปัญหา โดยเริ่มที่ความคิดเห็นหรือทัศนคติต่อการแก้ปัญหานั้นๆ ว่าเป็นแนวทางที่ถูกต้องหรือไม่ แล้วดำเนินการต่อไปด้วยความโปร่งใส และจิตใจที่เป็นธรรมไม่เอนเข้าไปข้างใดข้างหนึ่งด้วยมีอคติ 4 อันมีการเอนเอียงเพราะความรัก เป็นต้น
เพียงเท่าที่บอกมา เชื่อได้ว่าถ้าทำได้การปฏิรูปประเทศในทุกด้านคงทำได้ไม่ยาก แต่ถ้าตราบใดคนที่นำมาดำเนินการปฏิรูปยังคงมีภาวะที่ไม่แตกต่างไปจากคนที่ควบคู่ไปกับสัตว์คงเป็นไปได้ยาก
ยิ่งกว่านี้ ถ้าการปฏิรูปถูกหยิบยกขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องมือสร้างภาพเพื่อหวังผลทางการเมืองด้วยแล้ว ยิ่งจะไม่ต้องคาดหวังผลใดๆ จากการปฏิรูปที่ว่านี้
ดังนั้นจึงควรเริ่มต้นปฏิรูปหรือการปรับเปลี่ยนภาวะแห่งความเป็นคนให้มีภาวะแห่งความเป็นมนุษย์คือผู้มีจิตใจสูงก่อน แล้วค่อยปฏิรูปประเทศโดยอาศัยภาวะแห่งความเป็นมนุษย์ที่ว่านี้ รับรองว่าได้ผลเป็นที่ยอมรับแน่นอน
ดังนั้นจึงมีคำพูดที่มาคู่กันว่าคนกับสัตว์ และคนในที่นี้หมายถึงผู้มีคุณสมบัติเหนือสัตว์ อันหมายถึงมนุษย์ และสัตว์ในที่นี้หมายถึงสัตว์เดรัจฉานดังที่ปรากฏในคำสอนทางพุทธศาสนาเมื่อพูดถึงคนกับสัตว์
อีกประการหนึ่ง ในจริยศาสตร์หรือศาสตร์ว่าด้วยความประพฤติหรือการแสดงออกในทางพฤติกรรมได้แสดงถึงความแตกต่างระหว่างคนกับสัตว์ดังต่อไปนี้
1. ด้านโครงสร้างทางร่างกาย คนสูงขึ้นทำแนวดิ่งกับพื้นโลก สัตว์ยาวไปตามแนวขนานกับพื้นโลก จึงเรียกว่าติรัจฉาน หรือเดรัจฉาน แปลว่า ไปทางขวาง
ด้วยนัยดังกล่าวข้างต้น ถ้าใครสักคนถูกสังคมกล่าวหาว่าเป็นคนขวางโลก ก็โปรดเข้าใจว่าหมายถึงเป็นสัตว์เดรัจฉานนั่นเอง
2. ทางด้านจิตใจ คนแสดงพฤติกรรมไม่ว่าจะเป็นการพูดหรือการทำภายใต้การคิดอย่างมีเหตุมีผล แต่สัตว์แสดงพฤติกรรมภายใต้การบงการของสัญชาตญาณ หรือที่เรียกว่าสันดานเดิมนั่นเอง
ถึงแม้ว่าคนจะมีลักษณะสูงส่งทางด้านจิตใจกว่าสัตว์เดรัจฉาน แต่เมื่อคนมาอยู่รวมกันเป็นสังคม ก็มีสถานะเป็นสัตว์สังคมเหมือนๆ กันทุกคน
ดังนั้น ในสังคมมนุษย์จึงจำเป็นต้องมีกติกาสังคมในหลายรูปแบบเพื่อเป็นเครื่องช่วยให้มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และกติกาที่ว่านี้เริ่มตั้งแต่การมีลัทธิทรงเจ้าเข้าผี ศาสนา กฎหมาย และวัฒนธรรมประเพณี วิถีประชา ทั้งนี้ก็เพื่อให้มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
แต่จากวันที่มนุษย์รู้จักนำกติกาทางสังคมมาใช้จนถึงวันนี้ มนุษย์ก็ยังคงความเป็นคนที่ควบคู่กับสัตว์เป็นจำนวนมากกว่าความเป็นมนุษย์ที่ฝึกฝนทางด้านจิตใจ และนี่เองคือจุดเกิดความวุ่นวาย และการก่อให้เกิดการแก่งแย่งเกิดขึ้นในสังคมดังที่เป็นอยู่ในวันนี้ และหากคนในสังคมยังมีพฤติกรรมเยี่ยงนี้ การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้นคงจะทำได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิรูปประเทศภายใต้การคิด และการทำของคนที่ยังมีภาวะจิตไม่เหนือไปกว่าความเป็นคนที่ยังมีสัญชาตญาณในการแสวงหาประโยชน์ให้แก่ตนเองและพรรคพวก โดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมว่าจะเสียหายมากน้อยเท่าใดจากการได้มาซึ่งผลประโยชน์ของตนเองและพรรคพวก
จะทำอย่างไรให้ภาวะแห่งความเป็นคนซึ่งมากด้วยกิเลสเปลี่ยนมาเป็นมนุษย์ซึ่งมีภาวะทางด้านจิตใจสูงขึ้นกว่าความเป็นคน และมีคุณค่าควรแก่การนำมาเป็นผู้นำในการปฏิรูปประเทศ
ไม่ว่าจะมองในแง่ของศาสนาหรือในแง่ของจริยศาสตร์ การเปลี่ยนคนให้เป็นมนุษย์คงหนีไม่พ้นการศึกษา และฝึกอบรมปลูกฝังคุณธรรม ส่วนว่าจะใช้วิธีการไหน และอย่างไรนั้น ในทางศาสนาแต่ละศาสนาอาจแตกต่างกันบ้าง แต่โดยวัตถุประสงค์ของศาสนาแต่ละศาสนาแล้วก็เป็นอันเดียวกัน คือต้องการให้เป็นคนดีมีศีลธรรม และมีความเสียสละเพื่อส่วนรวมเหมือนๆ กัน
แต่ในฐานะที่เมืองไทยเป็นเมืองพุทธ และประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และศาสนาพุทธก็มีคำสอนในระดับสมมติสัจจะหรือในระดับขั้นพื้นฐานครอบคลุมคำสอนของทุกศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของศีล 5 อันถือได้ว่าเป็นศีลที่คนดีของทุกสังคมยึดถือเป็นแนวทางอยู่แล้ว จึงน่าจะนำมาใช้ในการปลูกฝังให้ประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่เข้ามาทำหน้าที่รับใช้ประชาชน เช่น ข้าราชการการเมือง และข้าราชการประจำ เพื่อให้เป็นบุคลากรที่มีคุณธรรมเป็นเครื่องกำกับในการใช้ความรู้ ความสามารถ มิให้นำไปเป็นเครื่องมือในการแสวงหาประโยชน์ในทางมิชอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในข้อที่ 2 คือ อทินนาทาน คือลักขโมย และคดโกง และข้อที่ 4 คือมุสาวาท คือโกหกหลอกลวง
ส่วนแนวทางการปลูกฝังความรู้ ความสามารถในการบริหารจัดการหน้าที่การงานของรัฐเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศ อันเป็นส่วนรวมนั้น น่าจะนำหลักของอริยสัจจะมาเป็นแนวทางแก้ปัญหาได้โดยประยุกต์ใช้ได้ดังนี้
1. ทุกข์ ได้แก่ การค้นหาปัญหาอันก่อให้เกิดความเดือดร้อนในแต่ละด้าน และเรียงลำดับความสำคัญในการแก้ไขก่อนหลัง
2. สมุทัย คือการค้นหาเหตุแห่งปัญหาว่าปัญหาได้เกิดจากเหตุใด เพื่อจะได้แก้ปัญหาให้ตรงจุด ไม่ยืดเยื้อเสียเวลา และคุ้มค่าในการใช้งบประมาณ
3. นิโรธ ผลที่ได้จากการแก้ปัญหาแต่ละด้านคืออะไร และนำไปประเมินความคุ้มค่าก่อนที่จะดำเนินการต่อไปในปัญหาอื่นๆ
4. มรรค คือแนวทางของการแก้ปัญหา โดยเริ่มที่ความคิดเห็นหรือทัศนคติต่อการแก้ปัญหานั้นๆ ว่าเป็นแนวทางที่ถูกต้องหรือไม่ แล้วดำเนินการต่อไปด้วยความโปร่งใส และจิตใจที่เป็นธรรมไม่เอนเข้าไปข้างใดข้างหนึ่งด้วยมีอคติ 4 อันมีการเอนเอียงเพราะความรัก เป็นต้น
เพียงเท่าที่บอกมา เชื่อได้ว่าถ้าทำได้การปฏิรูปประเทศในทุกด้านคงทำได้ไม่ยาก แต่ถ้าตราบใดคนที่นำมาดำเนินการปฏิรูปยังคงมีภาวะที่ไม่แตกต่างไปจากคนที่ควบคู่ไปกับสัตว์คงเป็นไปได้ยาก
ยิ่งกว่านี้ ถ้าการปฏิรูปถูกหยิบยกขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องมือสร้างภาพเพื่อหวังผลทางการเมืองด้วยแล้ว ยิ่งจะไม่ต้องคาดหวังผลใดๆ จากการปฏิรูปที่ว่านี้
ดังนั้นจึงควรเริ่มต้นปฏิรูปหรือการปรับเปลี่ยนภาวะแห่งความเป็นคนให้มีภาวะแห่งความเป็นมนุษย์คือผู้มีจิตใจสูงก่อน แล้วค่อยปฏิรูปประเทศโดยอาศัยภาวะแห่งความเป็นมนุษย์ที่ว่านี้ รับรองว่าได้ผลเป็นที่ยอมรับแน่นอน