วานนี้ (28ส.ค.) นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงภายหลังการประชุมกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ว่า พรรคมีความเป็นห่วงสถานการณ์บ้านเมือง เนื่องจากเกิดวิกฤตการเมือง จากการที่รัฐบาลพยายามผลักดันกฎหมายนิรโทษกรรม แก้รัฐธรรมนูญ พยายามใช้สภาผ่านกฎหมายเงินกู้ 2 ล้านล้าน ที่อาจทำให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจตามมา
นอกจากนี้กรรมการบริหารพรรคเป็นห่วงพี่น้องชาวสวนยาง ที่รัฐบาลยังไม่มีแนวทางคลี่คลายปัญหา แต่กลับใส่ร้ายประชาชนที่ออกมาเรียกร้องตามสิทธิในรัฐธรรมนูญว่า กลุ่มชาวสวนยางถูกจัดตั้งเป็นม็อบการเมือง ข่มขู่ใช้กำลังสลายการชุมนุม ทิศทางอย่างนี้จะเป็นการเติมฟืนบนกองไฟให้รุนแรงมากขึ้น เพราะจะมีการชุมนุมใหญ่ ในวันที่ 3 ก.ย.นี้ จึงอยากให้รัฐบาลเอาใจใส่ในการแก้ปัญหาอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าประชาชนจะเลือกพรรคเพื่อไทยหรือไม่ ทั้งนี้ ยังเห็นว่านายกรัฐมนตรี ไม่มีความเข้าใจต่อการแก้ปัญหายางพารา เพราะไม่ทราบแม้กระทั่งว่า ไทยคือผู้ส่งออกยางพาราอันดับ 1 ของโลก
" ขณะนี้ถือว่าไทยเดินเข้าสู่วิกฤตการเมือง เศรษฐกิจแล้ว และมีความเป็นไปได้จะมีความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เช่น การยุบสภา ทั้งนี้พรรคยืนยันถึงการต่อสู้ เพื่อรักษาความถูกต้องในบ้านเมืองว่าจะเคลื่อนไหวทั้งใน และนอกสภาอย่างเข้มข้นจนกว่ากฎหมายนิรโทษกรรมจะตกไป"
นอกจากนี้ กรรมการบริหารพรรคยังมีมติอนุมัตแผนการปรับโครงสร้างพรรค ให้สอดคล้องกับสถานการณ์บ้านเมืองให้เป็นที่หวังของประชาชนนำพาประเทศหลุดพ้นวิกฤต โดยมีการนำเสนอแผนปรับโครงสร้างพรรคไปยังคณะกรรมการกฎหมายของพรรค เพราะตามโครงสร้างใหม่ จะต้องมีการปรับเปลี่ยนข้อบังคับให้สอดคล้อง ยืดหยุ่น ตอบสนองความต้องการของประชาชนมากขึ้น และให้คณะกรรมการกฎหมายร่างข้อบังคับพรรคภายใน 30 วัน ก่อนส่งกลับมาให้กรรมการบริหารพรรคพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม การปรับโครงสร้างพรรคครั้งนี้ ไม่ได้เกิดจากข้อเรียกร้องของนายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรค เพราะเป็นเรื่องที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้ตระหนักมาโดยตลอดว่า ทุกองค์กรต้องมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยการเคลื่อนไหวทั้งในและนอกสภา ก็เป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงที่เป็นการแสดงจุดยืนของพรรคให้ประชาชนเห็นว่า เป็นที่พึ่งที่หวังในการกอบกู้บ้านเมืองได้
นอกจากนี้ ได้มีการหารือถึงการปฏิรูปประเทศ ที่ดำเนินการโดยรัฐบาลว่า เป็นการปฏิรูปแบ่งเค้กประเทศไทยของคนในรัฐบาล เพราะจำกัดวงเฉพาะคนที่เห็นด้วย มีผลประโยชน์ร่วมกับรัฐบาล ไม่สามารถเป็นที่หวังของประชาชนอย่างแน่นอน โดยพรรคจะนำเสนอแนวทางปฏิรูปประเทศไทย ที่เคยมีการศึกษาแล้ว เช่น ของนายอานันท์ ปันยารชุน นพ.ประเวศ วะสี และพิมพ์เขียวประเทศไทยของพรรค เพื่อนำเสนอควบคู่ไปกับสิ่งที่รัฐบาลกำลังดำเนินการ อีกทั้งจะจัดการเสวนาเพื่อระดมความเห็น กำหนดแผนแม่บทในการกำหนดนโยบายของพรรคด้วย ซึ่งโครงสร้างใหม่ที่จะมีการปรับเปลี่ยนนั้นจะเปิดโอกาสให้สมาชิพรรคมีส่วนร่วมทำงานเข้าถึงประชาชนมากกว่าเดิม มีกลไกทำงานใกล้ชิดกับประชาชนมากขึ้น ทั้งการออกแบบนโยบาย หรือการทำงานสอดรับกับพื้นที่ และระดับชาติ เพื่อให้เป้าหมายไปถึงชนะการเลือกตั้ง พิสูจน์จุดยืนของพรรคในการรักษาบ้านเมืองและการปฏิรูปประเทศไทย
ส่วนการที่ นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นผู้เสนอแนวทางปฏิรูปพรรคต่อสาธารณะ ไม่ได้เข้าร่วมประชุมด้วยนั้น นายชวนนท์ กล่าวว่า ไม่มีปัญหาที่จะเดินหน้าพิจารณาโครงสร้างพรรค เพราะองค์ประชุมกรรมการบริหารพรรคครบถ้วน และจะเดินหน้าตามนี้ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นนายอลงกรณ์ หรือบุคคลอื่นในพรรค ต้องยอมรับโครงสร้างตามมติของกรรมการบริหารพรรค เพราะเราทำเพื่อประชาชน ไม่ได้ตอบสนองความต้องการของบุคลากรคนใดคนหนึ่งในพรรค พร้อมกับยืนยันว่า พรรคไม่เคยยึดติดกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีแต่พรรคเพื่อไทย ที่ไม่เคยก้าวข้าม พ.ต.ท.ทักษิณ และยังใช้อำนาจเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับพ.ต.ท.ทักษิณ จนก่อให้เกิดวิกฤติการเมืองในขณะนี้
สำหรับการเคลื่อนไหวนอกสภานั้น พรรคจะเดินหลายแนวทางเพื่อต่อต้านกฎหมายล้างผิดภายใต้กรอบของกฎหมาย ด้วยการต่อสู้อย่างเข้มข้นในสภา การเคลื่อนไหวนอกสภาร่วมกับมวลชน และการเสนอทางออกที่เป็นรูปธรรมในเชิงนโยบาย โดยเมื่อถึงจุดที่ต้องเคลื่อนไหวนอกสภา ส.ส.แต่ละคนจะพิจารณาเองว่าบทบาทของตนเอง จำเป็นต้องลาออกจากตำแหน่งหรือไม่ เพราะไม่มีใครยึดติดกับตำแหน่ง เนื่องจากหากประเทศชาติไม่เหลืออะไรแล้ว การเป็น ส.ส.ก็ไม่มีประโยชน์อะไร และสามารถบอกได้เลยว่า จะไม่มี ส.ส.คนใดตกเป็นผู้ก่อการร้ายแน่นอน
นายชวนนท์ ยอมรับว่า คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ไปพบกับ สมณะโพธิรักษ์ ผู้ก่อตั้งสันติอโศก และกองทัพธรรม ว่า เป็นการแสวงหาความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่มีแนวคิดตรงกันในการรักษาบ้านเมือง ละทิฐิ อคติ ในอดีต และขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนทุกฝ่าย ถ้ามีแนวคิดที่จะต่อต้านกฎหมายล้างผิด รักษานิติรัฐประเทศ ไม่ให้ใครกินรวบประเทศไทย ก็สามารถเข้าร่วมต่อสู้กับพรรคได้ โดยพรรคพร้อมต่อสู้อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะต้องใช้เวลายาวนานแค่ไหนก็ตาม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทางพรรคได้มีการแจ้งนัดประชุมกรรมการบริหารพรรคผ่านทาง SMS ของกรรมการบริหารพรรคทุกคน ตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมา รวมทั้งนายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ด้วย แต่นายอลงกรณ์ กลับแจ้งถึงการไม่เดินทางมาร่วมประชุมครั้งนี้ว่า ไม่ทราบว่ามีการประชุมกรรมการบริหารพรรค
สำหรับโครงสร้างใหม่ของพรรคนั้นไม่ได้เป็นไปตามพิมพ์เขียวที่ นายอลงกรณ์ ได้นำเสนอต่อสาธารณชนก่อนหน้านี้ เนื่องจากคณะกรรมการปฏิรูปพรรคได้นำเอาข้อเสนอของทุกฝ่ายมาพิจารณาประกอบกัน เพราะก่อนที่นายอลงกรณ์ จะเสนอแผนปฏิรูปพรรคต่อสาธารณะนั้น นายอภิสิทธิ์ ได้มอบหมายให้ คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน รองหัวหน้าพรรค และนายศุภชัย ศรีหล้า ส.ส.อุบลราชธานี ไปศึกษาเกี่ยวกับแนวทางปรับปรุงพรรคอยู่แล้ว และยังมีข้อเสนอของ ส.ส.คนอื่น ๆ เกี่ยวกับแนวทางปรับปรุงพรรคด้วย คณะกรรมการปฏิรูปพรรค จึงพิจารณาทุกแนวทางที่มีการเสนอมารวมทั้งของนายอลงกรณ์ ก่อนที่จะออกมาเป็นโครงสร้างใหม่ดังกล่าว
นอกจากนี้กรรมการบริหารพรรคเป็นห่วงพี่น้องชาวสวนยาง ที่รัฐบาลยังไม่มีแนวทางคลี่คลายปัญหา แต่กลับใส่ร้ายประชาชนที่ออกมาเรียกร้องตามสิทธิในรัฐธรรมนูญว่า กลุ่มชาวสวนยางถูกจัดตั้งเป็นม็อบการเมือง ข่มขู่ใช้กำลังสลายการชุมนุม ทิศทางอย่างนี้จะเป็นการเติมฟืนบนกองไฟให้รุนแรงมากขึ้น เพราะจะมีการชุมนุมใหญ่ ในวันที่ 3 ก.ย.นี้ จึงอยากให้รัฐบาลเอาใจใส่ในการแก้ปัญหาอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าประชาชนจะเลือกพรรคเพื่อไทยหรือไม่ ทั้งนี้ ยังเห็นว่านายกรัฐมนตรี ไม่มีความเข้าใจต่อการแก้ปัญหายางพารา เพราะไม่ทราบแม้กระทั่งว่า ไทยคือผู้ส่งออกยางพาราอันดับ 1 ของโลก
" ขณะนี้ถือว่าไทยเดินเข้าสู่วิกฤตการเมือง เศรษฐกิจแล้ว และมีความเป็นไปได้จะมีความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เช่น การยุบสภา ทั้งนี้พรรคยืนยันถึงการต่อสู้ เพื่อรักษาความถูกต้องในบ้านเมืองว่าจะเคลื่อนไหวทั้งใน และนอกสภาอย่างเข้มข้นจนกว่ากฎหมายนิรโทษกรรมจะตกไป"
นอกจากนี้ กรรมการบริหารพรรคยังมีมติอนุมัตแผนการปรับโครงสร้างพรรค ให้สอดคล้องกับสถานการณ์บ้านเมืองให้เป็นที่หวังของประชาชนนำพาประเทศหลุดพ้นวิกฤต โดยมีการนำเสนอแผนปรับโครงสร้างพรรคไปยังคณะกรรมการกฎหมายของพรรค เพราะตามโครงสร้างใหม่ จะต้องมีการปรับเปลี่ยนข้อบังคับให้สอดคล้อง ยืดหยุ่น ตอบสนองความต้องการของประชาชนมากขึ้น และให้คณะกรรมการกฎหมายร่างข้อบังคับพรรคภายใน 30 วัน ก่อนส่งกลับมาให้กรรมการบริหารพรรคพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม การปรับโครงสร้างพรรคครั้งนี้ ไม่ได้เกิดจากข้อเรียกร้องของนายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรค เพราะเป็นเรื่องที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้ตระหนักมาโดยตลอดว่า ทุกองค์กรต้องมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยการเคลื่อนไหวทั้งในและนอกสภา ก็เป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงที่เป็นการแสดงจุดยืนของพรรคให้ประชาชนเห็นว่า เป็นที่พึ่งที่หวังในการกอบกู้บ้านเมืองได้
นอกจากนี้ ได้มีการหารือถึงการปฏิรูปประเทศ ที่ดำเนินการโดยรัฐบาลว่า เป็นการปฏิรูปแบ่งเค้กประเทศไทยของคนในรัฐบาล เพราะจำกัดวงเฉพาะคนที่เห็นด้วย มีผลประโยชน์ร่วมกับรัฐบาล ไม่สามารถเป็นที่หวังของประชาชนอย่างแน่นอน โดยพรรคจะนำเสนอแนวทางปฏิรูปประเทศไทย ที่เคยมีการศึกษาแล้ว เช่น ของนายอานันท์ ปันยารชุน นพ.ประเวศ วะสี และพิมพ์เขียวประเทศไทยของพรรค เพื่อนำเสนอควบคู่ไปกับสิ่งที่รัฐบาลกำลังดำเนินการ อีกทั้งจะจัดการเสวนาเพื่อระดมความเห็น กำหนดแผนแม่บทในการกำหนดนโยบายของพรรคด้วย ซึ่งโครงสร้างใหม่ที่จะมีการปรับเปลี่ยนนั้นจะเปิดโอกาสให้สมาชิพรรคมีส่วนร่วมทำงานเข้าถึงประชาชนมากกว่าเดิม มีกลไกทำงานใกล้ชิดกับประชาชนมากขึ้น ทั้งการออกแบบนโยบาย หรือการทำงานสอดรับกับพื้นที่ และระดับชาติ เพื่อให้เป้าหมายไปถึงชนะการเลือกตั้ง พิสูจน์จุดยืนของพรรคในการรักษาบ้านเมืองและการปฏิรูปประเทศไทย
ส่วนการที่ นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นผู้เสนอแนวทางปฏิรูปพรรคต่อสาธารณะ ไม่ได้เข้าร่วมประชุมด้วยนั้น นายชวนนท์ กล่าวว่า ไม่มีปัญหาที่จะเดินหน้าพิจารณาโครงสร้างพรรค เพราะองค์ประชุมกรรมการบริหารพรรคครบถ้วน และจะเดินหน้าตามนี้ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นนายอลงกรณ์ หรือบุคคลอื่นในพรรค ต้องยอมรับโครงสร้างตามมติของกรรมการบริหารพรรค เพราะเราทำเพื่อประชาชน ไม่ได้ตอบสนองความต้องการของบุคลากรคนใดคนหนึ่งในพรรค พร้อมกับยืนยันว่า พรรคไม่เคยยึดติดกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีแต่พรรคเพื่อไทย ที่ไม่เคยก้าวข้าม พ.ต.ท.ทักษิณ และยังใช้อำนาจเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับพ.ต.ท.ทักษิณ จนก่อให้เกิดวิกฤติการเมืองในขณะนี้
สำหรับการเคลื่อนไหวนอกสภานั้น พรรคจะเดินหลายแนวทางเพื่อต่อต้านกฎหมายล้างผิดภายใต้กรอบของกฎหมาย ด้วยการต่อสู้อย่างเข้มข้นในสภา การเคลื่อนไหวนอกสภาร่วมกับมวลชน และการเสนอทางออกที่เป็นรูปธรรมในเชิงนโยบาย โดยเมื่อถึงจุดที่ต้องเคลื่อนไหวนอกสภา ส.ส.แต่ละคนจะพิจารณาเองว่าบทบาทของตนเอง จำเป็นต้องลาออกจากตำแหน่งหรือไม่ เพราะไม่มีใครยึดติดกับตำแหน่ง เนื่องจากหากประเทศชาติไม่เหลืออะไรแล้ว การเป็น ส.ส.ก็ไม่มีประโยชน์อะไร และสามารถบอกได้เลยว่า จะไม่มี ส.ส.คนใดตกเป็นผู้ก่อการร้ายแน่นอน
นายชวนนท์ ยอมรับว่า คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ไปพบกับ สมณะโพธิรักษ์ ผู้ก่อตั้งสันติอโศก และกองทัพธรรม ว่า เป็นการแสวงหาความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่มีแนวคิดตรงกันในการรักษาบ้านเมือง ละทิฐิ อคติ ในอดีต และขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนทุกฝ่าย ถ้ามีแนวคิดที่จะต่อต้านกฎหมายล้างผิด รักษานิติรัฐประเทศ ไม่ให้ใครกินรวบประเทศไทย ก็สามารถเข้าร่วมต่อสู้กับพรรคได้ โดยพรรคพร้อมต่อสู้อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะต้องใช้เวลายาวนานแค่ไหนก็ตาม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทางพรรคได้มีการแจ้งนัดประชุมกรรมการบริหารพรรคผ่านทาง SMS ของกรรมการบริหารพรรคทุกคน ตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมา รวมทั้งนายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ด้วย แต่นายอลงกรณ์ กลับแจ้งถึงการไม่เดินทางมาร่วมประชุมครั้งนี้ว่า ไม่ทราบว่ามีการประชุมกรรมการบริหารพรรค
สำหรับโครงสร้างใหม่ของพรรคนั้นไม่ได้เป็นไปตามพิมพ์เขียวที่ นายอลงกรณ์ ได้นำเสนอต่อสาธารณชนก่อนหน้านี้ เนื่องจากคณะกรรมการปฏิรูปพรรคได้นำเอาข้อเสนอของทุกฝ่ายมาพิจารณาประกอบกัน เพราะก่อนที่นายอลงกรณ์ จะเสนอแผนปฏิรูปพรรคต่อสาธารณะนั้น นายอภิสิทธิ์ ได้มอบหมายให้ คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน รองหัวหน้าพรรค และนายศุภชัย ศรีหล้า ส.ส.อุบลราชธานี ไปศึกษาเกี่ยวกับแนวทางปรับปรุงพรรคอยู่แล้ว และยังมีข้อเสนอของ ส.ส.คนอื่น ๆ เกี่ยวกับแนวทางปรับปรุงพรรคด้วย คณะกรรมการปฏิรูปพรรค จึงพิจารณาทุกแนวทางที่มีการเสนอมารวมทั้งของนายอลงกรณ์ ก่อนที่จะออกมาเป็นโครงสร้างใหม่ดังกล่าว