ASTV ผู้จัดการรายวัน- ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจำคุก 3 ปี เสี่ยเจ้าของตลาดพงษ์เพชร ปลอมตั๋วเงิน 1,300 ล้านบาท กู้แบงก์มหานคร ศาลระบุพฤติการณ์ร้ายแรง มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม แม้จะเคยช่วยเหลือราชการก็ไม่เพียงพอที่จะรอการลงโทษ เหมาะสมแก่รูปคดีแล้ว
วานนี้ (27 ส.ค.) ที่ห้องพิจารณา 904 ศาลอาญาอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีปลอมตั๋วเงิน หมายเลขดำ อ.2190/2553 ที่อัยการฝ่ายคดีอาญา 5 เป็นโจทก์ฟ้องนายพงษ์ไพโรจน์ รัชตะทรัพย์ อายุ 66 ปี เจ้าของและผู้บริหารตลาดพงษ์เพชร เป็นจำเลยในความผิดฐานปลอมและใช้ตั๋วเงินปลอม
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 25 ธ.ค. 2540 จำเลยในฐานะกรรมการผู้จัดการบริษัท พงษ์เพชรแลนด์ จำกัด ได้กระทำผิดกฎหมายปลอมตั๋วสัญญาใช้เงิน 4 ฉบับ เป็นเงินจำนวน 1,315 ล้านบาท โดยปลอมลายมือชื่อบุคคลในครอบครัว รวม 6 คน ลงในช่องผู้รับรองของตั๋วสัญญาใช้เงินทั้ง 4 ฉบับ เพื่อยินยอม และผูกพันในการใช้เงินให้แก่ธนาคารมหานคร จำกัด (มหาชน) จนธนาคารมหานครหลงเชื่อว่าตั๋วสัญญาทั้ง 4 ฉบับเป็นตั๋วสัญญาที่แท้จริง ซึ่งจำเลยได้นำตั๋วสัญญาใช้เงินมาเสนอขายต่อธนาคารมหานครฯ จนสร้างความเสียหายให้แก่ธนาคารและเป็นความผิดกฎหมาย เหตุเกิดที่แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ และที่อื่นเกี่ยวพันกัน ต่อมาวันที่ 8 มิ.ย. 2552 พนักงานสอบสวน สน.ประชาชื่นได้แจ้งข้อหาดำเนินคดีชั้นสอบสวนจำเลยให้การปฏิเสธ แต่ให้การรับสารภาพในชั้นศาล
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิเคราะห์แล้วเห็นว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องจริง พิพากษาฐานใช้ตั๋วเงินปลอมตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 266 (4) จำคุก 6 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่งคงจำคุกจำเลยไว้ 3 ปี จำเลยอุทธรณ์ ขอให้ศาลอุทธรณ์รอการลงโทษด้วย
ศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้วเห็นว่า จำเลยได้ขอสินเชื่อจากธนาคารมหานครฯ เพื่อประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ หากจำเลยไม่ปลอมลายมือชื่อผู้เสียหายทั้ง 6 คน ธนาคารมหานครฯ ย่อมจะไม่อนุมัติสินเชื่อให้ แต่ข้อเท็จจริงเมื่อผู้เสียหายมิได้ลงลายมือชื่อในฐานะผู้รับรองตั๋วสัญญาใช้เงิน ธนาคารเจ้าหนี้ย่อมไม่สามารถบังคับให้ชำระหนี้ตามสัญญาได้ การกระทำของจำเลยย่อมสร้างความเสียแก่ธนาคาร มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม พฤติการณ์แห่งคดีนับเป็นเรื่องร้ายแรง แม้จำเลยจะเคยช่วยเหลือทางราชการโดยบริจาคเงินจำนวน 17 ล้านบาท และบริจาคที่ดิน 9 โฉนด ให้แก่กรุงเทพมหานครก็ยังไม่เพียงพอที่จะรอการลงโทษให้ ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจไม่รอการลงโทษจำเลยนั้น เหมาะสมแก่รูปคดีแล้ว ศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วย อุทธรณ์จำเลยฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน
ต่อมาญาติได้ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์เป็นโฉนดที่ดินย่าน ต.บางโพเหนือ อ.เชียงราก จ.ปทุมธานี เนื้อที่ 2 งาน 58 ตารางวา ราคาประมาณ 2,580,000 บาท ขอปล่อยชั่วคราวระหว่างฎีกา อย่างไรก็ตาม ศาลอาญาพิเคราะห์แล้วเห็นควรส่งเรื่องให้ศาลฎีกาเป็นผู้พิจารณาสั่งประกัน
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์จะนำตัวนายพงษ์ไพโรจน์ไปควบคุมไว้ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ก่อน เนื่องจากต้องรอคำสั่งจากศาลฎีกาว่าจะอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวหรือไม่ คาดว่าต้องว่าใช้เวลา 3-5 วัน.
วานนี้ (27 ส.ค.) ที่ห้องพิจารณา 904 ศาลอาญาอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีปลอมตั๋วเงิน หมายเลขดำ อ.2190/2553 ที่อัยการฝ่ายคดีอาญา 5 เป็นโจทก์ฟ้องนายพงษ์ไพโรจน์ รัชตะทรัพย์ อายุ 66 ปี เจ้าของและผู้บริหารตลาดพงษ์เพชร เป็นจำเลยในความผิดฐานปลอมและใช้ตั๋วเงินปลอม
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 25 ธ.ค. 2540 จำเลยในฐานะกรรมการผู้จัดการบริษัท พงษ์เพชรแลนด์ จำกัด ได้กระทำผิดกฎหมายปลอมตั๋วสัญญาใช้เงิน 4 ฉบับ เป็นเงินจำนวน 1,315 ล้านบาท โดยปลอมลายมือชื่อบุคคลในครอบครัว รวม 6 คน ลงในช่องผู้รับรองของตั๋วสัญญาใช้เงินทั้ง 4 ฉบับ เพื่อยินยอม และผูกพันในการใช้เงินให้แก่ธนาคารมหานคร จำกัด (มหาชน) จนธนาคารมหานครหลงเชื่อว่าตั๋วสัญญาทั้ง 4 ฉบับเป็นตั๋วสัญญาที่แท้จริง ซึ่งจำเลยได้นำตั๋วสัญญาใช้เงินมาเสนอขายต่อธนาคารมหานครฯ จนสร้างความเสียหายให้แก่ธนาคารและเป็นความผิดกฎหมาย เหตุเกิดที่แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ และที่อื่นเกี่ยวพันกัน ต่อมาวันที่ 8 มิ.ย. 2552 พนักงานสอบสวน สน.ประชาชื่นได้แจ้งข้อหาดำเนินคดีชั้นสอบสวนจำเลยให้การปฏิเสธ แต่ให้การรับสารภาพในชั้นศาล
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิเคราะห์แล้วเห็นว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องจริง พิพากษาฐานใช้ตั๋วเงินปลอมตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 266 (4) จำคุก 6 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่งคงจำคุกจำเลยไว้ 3 ปี จำเลยอุทธรณ์ ขอให้ศาลอุทธรณ์รอการลงโทษด้วย
ศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้วเห็นว่า จำเลยได้ขอสินเชื่อจากธนาคารมหานครฯ เพื่อประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ หากจำเลยไม่ปลอมลายมือชื่อผู้เสียหายทั้ง 6 คน ธนาคารมหานครฯ ย่อมจะไม่อนุมัติสินเชื่อให้ แต่ข้อเท็จจริงเมื่อผู้เสียหายมิได้ลงลายมือชื่อในฐานะผู้รับรองตั๋วสัญญาใช้เงิน ธนาคารเจ้าหนี้ย่อมไม่สามารถบังคับให้ชำระหนี้ตามสัญญาได้ การกระทำของจำเลยย่อมสร้างความเสียแก่ธนาคาร มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม พฤติการณ์แห่งคดีนับเป็นเรื่องร้ายแรง แม้จำเลยจะเคยช่วยเหลือทางราชการโดยบริจาคเงินจำนวน 17 ล้านบาท และบริจาคที่ดิน 9 โฉนด ให้แก่กรุงเทพมหานครก็ยังไม่เพียงพอที่จะรอการลงโทษให้ ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจไม่รอการลงโทษจำเลยนั้น เหมาะสมแก่รูปคดีแล้ว ศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วย อุทธรณ์จำเลยฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน
ต่อมาญาติได้ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์เป็นโฉนดที่ดินย่าน ต.บางโพเหนือ อ.เชียงราก จ.ปทุมธานี เนื้อที่ 2 งาน 58 ตารางวา ราคาประมาณ 2,580,000 บาท ขอปล่อยชั่วคราวระหว่างฎีกา อย่างไรก็ตาม ศาลอาญาพิเคราะห์แล้วเห็นควรส่งเรื่องให้ศาลฎีกาเป็นผู้พิจารณาสั่งประกัน
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์จะนำตัวนายพงษ์ไพโรจน์ไปควบคุมไว้ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ก่อน เนื่องจากต้องรอคำสั่งจากศาลฎีกาว่าจะอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวหรือไม่ คาดว่าต้องว่าใช้เวลา 3-5 วัน.