ASTVผู้จัดการรายวัน - “กันตนา” ทุ่ม1,000 ล้านบาท ผุดโรงภาพยนตร์ชุมชน "กันตนา ซีนีเพล็กซ์" หวังกู้ชีพหนังไทย ลดปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ ต่อยอดธุรกิจภาพยนตร์แบบครบวงจร เจาะกลุ่มรากหญ้าทุกหัวอำเภอ ตั้งเป้า 1,000 แห่ง คาดรายได้ปีแรก 200-300 ล้านบาท 5 ปีคุ้มทุน พร้อมต่อยอดสู่ระดับอีโคโนมี่ ออฟ สเกล ผุดทั่วเอเชีย ประเดิมใน 6ประเทศอาเซียน
นายจาฤก กัลย์จาฤก ประธานกรรมการบริหาร บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทได้ลงทุนไปกว่า 150 ล้านบาท สำหรับโครงการโรงภาพยนตร์ชุมชน (One Frame,One Culture)มาได้ 2-3ปีแล้ว โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อต้องการลดความเหลื่อมล้ำในการรับชมภาพยนตร์ระหว่าชุมชนเมืองและต่างจังหวัด สร้างวันฒธรรมการรรับชมภาพยนตร์ของไทยให้กลับมาอีกครั้ง ที่สำคัญเพื่อช่วยอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยให้กลับมาเติบโตได้ รวมถึงช่วยลดการละเมิดลิขสิทธิ์ได้อีกส่วนหนึ่ง เพราะถ้าตั๋วหนังถูกลงจะช่วยให้การซื้อแผ่นผีลดลงตามไปด้วย ขณะที่ราคาตั๋วหนังที่เหมาะสม คือ 10%ของค่าแรงขั้นต่ำ
ล่าสุดบริษัทใช้งบลงทุนกว่า 1,000 ล้านบาท สำหรับการลงทนโรงภาพยนตร์ชุมชน กันตนา ซีนีเพล็กซ์ จำนวน 1,000 แห่งทั่วประเทศไทย โดยได้จัดตั้งบริษัท เอเชีย ซีนีม่า เน็ตเวิร์ค จำกัด หรือ ACN เป็นผู้ดูแล ซึ่งโมเดลโรงภาพยนตร์ชุมชนนี้ ต่อสาขาจะลงทุน 1.3 ล้านบาท เป็นการลงทุนร่วมกันระหว่างกันตนาและผู้ประกอบการท้องถิ่น ลักษณะ 50%เท่าๆกัน ประมาณ 2-3 ปีคุ้มทุน โดยมีขนาดไม่เกิน 50 ที่นั่ง ราคาตั๋วหนัง 30 [าทต่อที่นั่ง ขณะนี้มีผู้สนใจกว่า 500 แห่งแล้ว คาดว่าภายในสิ้นปีนี้จนถึงปีหน้าจะขายได้กว่า 1,000 แห่งตามเป้า
ส่วนรายได้จากการฉายภาพยนตร์นั้นจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ สายหนัง 50% เจ้าของโรงหนัง 40% และกันตนา 10% ทั้งนี้ในส่วนของโฆษณาก่อนหนังฉาย และการโฆษณาภายในตัวโรงภาพยนตร์จะเป็นของกันตนาทั้งหมด ส่วนเจ้าของโรงหนังนอกจากจะมีรายได้จากตั๋วหนังแล้ว ยังหารายได้เพิ่มจากการให้เช่าพื้นที่ การขายอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึง การโฆษณาภายนอกอาคาร เป็นต้น โดยกันตนาคาดว่าจะมีรายได้จากโฆษณาปีละ 200-300 ล้านบาท หรือน่าจะคุ้มทุนภายใน 5 ปี
"ภาพยนตร์ที่จะนำมาฉายส่วนใหญ่จะเป็นภาพยนตร์ไทยและเอเชี่ยน ทั้งนี้เพื่อต้องการยกระดับภาพยนตร์ไทยและอาเซียนให้เติบโตขึ้น ซึ่งอาจจะล่าช้ากว่าโรงภพยนตร์ขนาดใหญ่เล็กน้อย โดยจะเป็นการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมมายังโรงหนังแต่ละแห่ง ส่งผลให้ไม่มีค่าใช้จ่ายทางด้านขนส่ง อีกทั้งยังเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ ที่สำคัญถือเป็นโมเดลการต่อยอดธุรกิจการสร้างภาพยนตร์ของกันตนาที่ทำให้ครบวงจรมากยิ่งขึ้น"
นายจาฤก กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามโมเดลดังกล่าวยังถูกนำเสนอในหลายประเทศอาเซียน โดยขณะนี้ได้มีหลายประเทศให้ความสนใจแล้ว ถือเป็นอีโคโนมี่ ออฟ สเกล ที่บริษัทต้องการดำเนินการไปพร้อมๆกันในหลายประเทศ ส่วนสำคัญจะช่วยให้ต้นทุนลดลง อีกทั้งยังช่วยเข้าถึงกลุ่มผู้ชมระดับรากหญ้าได้เร็วยิ่งขึ้น โดยตั้งเป้าไว้ 6 ประเทศ คือ เวียดนาม 1,000 แห่ง, พม่า 500 แห่ง, เขมร 200 แห่ง, ลาว 50 แห่ง เป็นต้น
นายจาฤก กัลย์จาฤก ประธานกรรมการบริหาร บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทได้ลงทุนไปกว่า 150 ล้านบาท สำหรับโครงการโรงภาพยนตร์ชุมชน (One Frame,One Culture)มาได้ 2-3ปีแล้ว โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อต้องการลดความเหลื่อมล้ำในการรับชมภาพยนตร์ระหว่าชุมชนเมืองและต่างจังหวัด สร้างวันฒธรรมการรรับชมภาพยนตร์ของไทยให้กลับมาอีกครั้ง ที่สำคัญเพื่อช่วยอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยให้กลับมาเติบโตได้ รวมถึงช่วยลดการละเมิดลิขสิทธิ์ได้อีกส่วนหนึ่ง เพราะถ้าตั๋วหนังถูกลงจะช่วยให้การซื้อแผ่นผีลดลงตามไปด้วย ขณะที่ราคาตั๋วหนังที่เหมาะสม คือ 10%ของค่าแรงขั้นต่ำ
ล่าสุดบริษัทใช้งบลงทุนกว่า 1,000 ล้านบาท สำหรับการลงทนโรงภาพยนตร์ชุมชน กันตนา ซีนีเพล็กซ์ จำนวน 1,000 แห่งทั่วประเทศไทย โดยได้จัดตั้งบริษัท เอเชีย ซีนีม่า เน็ตเวิร์ค จำกัด หรือ ACN เป็นผู้ดูแล ซึ่งโมเดลโรงภาพยนตร์ชุมชนนี้ ต่อสาขาจะลงทุน 1.3 ล้านบาท เป็นการลงทุนร่วมกันระหว่างกันตนาและผู้ประกอบการท้องถิ่น ลักษณะ 50%เท่าๆกัน ประมาณ 2-3 ปีคุ้มทุน โดยมีขนาดไม่เกิน 50 ที่นั่ง ราคาตั๋วหนัง 30 [าทต่อที่นั่ง ขณะนี้มีผู้สนใจกว่า 500 แห่งแล้ว คาดว่าภายในสิ้นปีนี้จนถึงปีหน้าจะขายได้กว่า 1,000 แห่งตามเป้า
ส่วนรายได้จากการฉายภาพยนตร์นั้นจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ สายหนัง 50% เจ้าของโรงหนัง 40% และกันตนา 10% ทั้งนี้ในส่วนของโฆษณาก่อนหนังฉาย และการโฆษณาภายในตัวโรงภาพยนตร์จะเป็นของกันตนาทั้งหมด ส่วนเจ้าของโรงหนังนอกจากจะมีรายได้จากตั๋วหนังแล้ว ยังหารายได้เพิ่มจากการให้เช่าพื้นที่ การขายอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึง การโฆษณาภายนอกอาคาร เป็นต้น โดยกันตนาคาดว่าจะมีรายได้จากโฆษณาปีละ 200-300 ล้านบาท หรือน่าจะคุ้มทุนภายใน 5 ปี
"ภาพยนตร์ที่จะนำมาฉายส่วนใหญ่จะเป็นภาพยนตร์ไทยและเอเชี่ยน ทั้งนี้เพื่อต้องการยกระดับภาพยนตร์ไทยและอาเซียนให้เติบโตขึ้น ซึ่งอาจจะล่าช้ากว่าโรงภพยนตร์ขนาดใหญ่เล็กน้อย โดยจะเป็นการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมมายังโรงหนังแต่ละแห่ง ส่งผลให้ไม่มีค่าใช้จ่ายทางด้านขนส่ง อีกทั้งยังเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ ที่สำคัญถือเป็นโมเดลการต่อยอดธุรกิจการสร้างภาพยนตร์ของกันตนาที่ทำให้ครบวงจรมากยิ่งขึ้น"
นายจาฤก กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามโมเดลดังกล่าวยังถูกนำเสนอในหลายประเทศอาเซียน โดยขณะนี้ได้มีหลายประเทศให้ความสนใจแล้ว ถือเป็นอีโคโนมี่ ออฟ สเกล ที่บริษัทต้องการดำเนินการไปพร้อมๆกันในหลายประเทศ ส่วนสำคัญจะช่วยให้ต้นทุนลดลง อีกทั้งยังช่วยเข้าถึงกลุ่มผู้ชมระดับรากหญ้าได้เร็วยิ่งขึ้น โดยตั้งเป้าไว้ 6 ประเทศ คือ เวียดนาม 1,000 แห่ง, พม่า 500 แห่ง, เขมร 200 แห่ง, ลาว 50 แห่ง เป็นต้น