วันนี้ (23ส.ค.) จะมีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2557 วงเงิน 2,525,000 ล้านบาท (2.5 ล้านล้านบาท ) ในวาระ 2 ซึ่งจะเริ่มขึ้นในเวลา 10.00 น. หลังจากประธานสั่งพักการประชุมลง ในช่วงเช้าของวันที่ 17 ส.ค. ที่ผ่านมา โดยพิจารณาสิ้นสุดลงที่ มาตรา 17 งบประมาณของกระทรวงมหาดไทย โดยภาพรวม กรรมาธิการเสียงข้างน้อย ยังคงไม่เห็นด้วยกับการจัดสรรงบประมาณที่ไม่ครอบคุลม โดยเฉพาะงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่อาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ และงบประมาณในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ เนื่องจากนโยบายของรัฐบาลยังขาดเอกภาพ และไม่สามารถเข้าถึงประชาชนได้อย่างแท้จริง
ขณะที่ กรรมาธิการเสียงข้างมาก ยังคงยืนยันว่า ได้จัดสรรงบให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างเป็นธรรม ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ สอดคล้องกับรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่ง และเหมาะสมกับภาวะการเงินการคลังของประเทศ
อย่างไรก็ตาม ในวันนี้จะเริ่มพิจารณาต่อที่ มาตรา 18 งบประมาณของกระทรวงยุติธรรม วงเงิน 19,843,391,200 บาท (กว่า1 .9 หมื่นล้านบาท) ซึ่งเสนอปรับลดรวมทั้งสิ้น 245,026,300 ล้านบาท
นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรมช.เกษตรและสหกรณ์ ในฐานะรองประธานกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ ปี 2557 กล่าวถึง การพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ ที่ยังค้างอยู่ว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 168 กำหนดไว้ว่า หากสภาฯพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด จะถือว่าสภาฯได้ให้ความเห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวตามที่เสนอในวาระที่ 1 ฉะนั้นการพิจารณาของสภาฯ ที่ค้างอยู่ หวังว่าฝ่ายค้านจะให้ความร่วมมือให้แล้วเสร็จทันภายในวันที่ 26 ส.ค. โดยมาตราที่เหลืออยู่ หากดูด้วยเหตุผลน่าจะพิจารณาแล้วเสร็จภายในวันที่ 23 ส.ค.วันเดียว เพราะที่ผ่านมามีการใช้เวลาไปมากพอสมควรแล้ว 3 วัน ถือเป็นครั้งแรกที่ได้มีการพิจารณายาวนานขนาดนี้ ซึ่งหากในวันที่ 23 ส.ค. พิจารณาแล้วเสร็จ จะเป็นไปตามขั้นตอนสามารถส่งวุฒิสภาได้ รวมทั้งเป็นไปตามร่างที่กรรมาธิการฯได้มีการแก้ไข
แต่หากไม่แล้วเสร็จ จะขึ้นอยู่กับสภาฯว่าจะประชุมต่อจนถึงวันที่ 26 ส.ค.หรือไม่ และหากก่อนเที่ยงคืนวันที่ 26 ส.ค. ยังพิจารณาไม่แล้วเสร็จ ต้องถือว่าสภาฯ ไม่สามารถพิจารณาได้ทันตามที่กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนด จึงให้กลับไปใช้ ร่าง พ.ร.บ.เดิมในวาระที่ 1 แล้วส่งไปให้วุฒิสภา โดยไม่สามารถปรับแก้ไขได้
“หากต้องกลับไปใช้ ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณใน วาระที่ 1 เท่ากับว่าการพิจารณาในชั้นกรรมาธิการ ไม่ได้เกิดผลใดๆ ทั้งสิ้น เป็นเรื่องที่น่าเสียดายหากว่าจะเกิดเหตุการณ์อย่างนั้น ซึ่งคิดว่าฝ่ายค้าน น่าจะให้ความร่วมมือในการผ่าน ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณตามที่ได้มีการพิจารณาในชั้นกรรมาธิการมา เพราะตัวแทนฝ่ายค้าน ก็อยู่ในกรรมาธิการที่มีการปรับลดบางส่วนที่คิดว่าต้องมีการเปลี่ยนแปลง”นายวราเทพ กล่าว
อย่างไรก็ตาม ในเรื่องการประสานงานระหว่างฝ่ายค้าน และรัฐบาล นอกเหนือจากการประสานผ่านทางวิปรัฐบาลแล้ว ทางรัฐบาลก็พยายามพูดคุยกับฝ่ายค้าน เรื่องระยะเวลา แต่หลังจากการพูดคุยผลก็ไม่เกิด พอมีการเปิดอภิปรายไป กลับไม่ได้เป็นไปตามที่หารือกัน ทั้งนี้ ตนคิดว่าความเสียหายจะเกิดขึ้น หากเป็นเรื่องงบประมาณ เพราะเป็นกฎหมายที่จำเป็นที่ต้องนำมาใช้เพื่อบริหารราชการแผ่นดิน ดังนั้น การจะดึงเวลาอย่างไรก็ตาม จะไม่เกิดผลดีกับใครใดๆ ทั้งสิ้น เพราะกฎหมายรัฐธรรมนูญ มีมาตั้งแต่อดีต และให้การคุ้มครอง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวถึงกรณีการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ ปี 57 ที่มีการระบุว่า หาก ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวไม่ผ่านภายในวันที่ 26 ส.ค.นี้ จะทำให้ประเทศไม่มีงบประมาณใช้ ว่า เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน หากร่าง พ.ร.บ. ไม่ผ่าน ก็สามารถใช้ร่างเดิมที่คณะรัฐมนตรี เสนอในวาระที่ 1 ส่งไปให้วุฒิสภาพิจารณาได้เลย กระบวนการสามารถเดินหน้าได้ แต่พวกตนต้องการให้ใช้ร่างที่กำลังพิจารณาในวาระที่ 2 มากกว่า เพราะฉะนัั้น เป็นไปไม่ได้ที่ฝ่ายค้านจะยื้อเวลาเอาไว้
ขณะที่ กรรมาธิการเสียงข้างมาก ยังคงยืนยันว่า ได้จัดสรรงบให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างเป็นธรรม ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ สอดคล้องกับรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่ง และเหมาะสมกับภาวะการเงินการคลังของประเทศ
อย่างไรก็ตาม ในวันนี้จะเริ่มพิจารณาต่อที่ มาตรา 18 งบประมาณของกระทรวงยุติธรรม วงเงิน 19,843,391,200 บาท (กว่า1 .9 หมื่นล้านบาท) ซึ่งเสนอปรับลดรวมทั้งสิ้น 245,026,300 ล้านบาท
นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรมช.เกษตรและสหกรณ์ ในฐานะรองประธานกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ ปี 2557 กล่าวถึง การพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ ที่ยังค้างอยู่ว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 168 กำหนดไว้ว่า หากสภาฯพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด จะถือว่าสภาฯได้ให้ความเห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวตามที่เสนอในวาระที่ 1 ฉะนั้นการพิจารณาของสภาฯ ที่ค้างอยู่ หวังว่าฝ่ายค้านจะให้ความร่วมมือให้แล้วเสร็จทันภายในวันที่ 26 ส.ค. โดยมาตราที่เหลืออยู่ หากดูด้วยเหตุผลน่าจะพิจารณาแล้วเสร็จภายในวันที่ 23 ส.ค.วันเดียว เพราะที่ผ่านมามีการใช้เวลาไปมากพอสมควรแล้ว 3 วัน ถือเป็นครั้งแรกที่ได้มีการพิจารณายาวนานขนาดนี้ ซึ่งหากในวันที่ 23 ส.ค. พิจารณาแล้วเสร็จ จะเป็นไปตามขั้นตอนสามารถส่งวุฒิสภาได้ รวมทั้งเป็นไปตามร่างที่กรรมาธิการฯได้มีการแก้ไข
แต่หากไม่แล้วเสร็จ จะขึ้นอยู่กับสภาฯว่าจะประชุมต่อจนถึงวันที่ 26 ส.ค.หรือไม่ และหากก่อนเที่ยงคืนวันที่ 26 ส.ค. ยังพิจารณาไม่แล้วเสร็จ ต้องถือว่าสภาฯ ไม่สามารถพิจารณาได้ทันตามที่กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนด จึงให้กลับไปใช้ ร่าง พ.ร.บ.เดิมในวาระที่ 1 แล้วส่งไปให้วุฒิสภา โดยไม่สามารถปรับแก้ไขได้
“หากต้องกลับไปใช้ ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณใน วาระที่ 1 เท่ากับว่าการพิจารณาในชั้นกรรมาธิการ ไม่ได้เกิดผลใดๆ ทั้งสิ้น เป็นเรื่องที่น่าเสียดายหากว่าจะเกิดเหตุการณ์อย่างนั้น ซึ่งคิดว่าฝ่ายค้าน น่าจะให้ความร่วมมือในการผ่าน ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณตามที่ได้มีการพิจารณาในชั้นกรรมาธิการมา เพราะตัวแทนฝ่ายค้าน ก็อยู่ในกรรมาธิการที่มีการปรับลดบางส่วนที่คิดว่าต้องมีการเปลี่ยนแปลง”นายวราเทพ กล่าว
อย่างไรก็ตาม ในเรื่องการประสานงานระหว่างฝ่ายค้าน และรัฐบาล นอกเหนือจากการประสานผ่านทางวิปรัฐบาลแล้ว ทางรัฐบาลก็พยายามพูดคุยกับฝ่ายค้าน เรื่องระยะเวลา แต่หลังจากการพูดคุยผลก็ไม่เกิด พอมีการเปิดอภิปรายไป กลับไม่ได้เป็นไปตามที่หารือกัน ทั้งนี้ ตนคิดว่าความเสียหายจะเกิดขึ้น หากเป็นเรื่องงบประมาณ เพราะเป็นกฎหมายที่จำเป็นที่ต้องนำมาใช้เพื่อบริหารราชการแผ่นดิน ดังนั้น การจะดึงเวลาอย่างไรก็ตาม จะไม่เกิดผลดีกับใครใดๆ ทั้งสิ้น เพราะกฎหมายรัฐธรรมนูญ มีมาตั้งแต่อดีต และให้การคุ้มครอง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวถึงกรณีการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ ปี 57 ที่มีการระบุว่า หาก ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวไม่ผ่านภายในวันที่ 26 ส.ค.นี้ จะทำให้ประเทศไม่มีงบประมาณใช้ ว่า เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน หากร่าง พ.ร.บ. ไม่ผ่าน ก็สามารถใช้ร่างเดิมที่คณะรัฐมนตรี เสนอในวาระที่ 1 ส่งไปให้วุฒิสภาพิจารณาได้เลย กระบวนการสามารถเดินหน้าได้ แต่พวกตนต้องการให้ใช้ร่างที่กำลังพิจารณาในวาระที่ 2 มากกว่า เพราะฉะนัั้น เป็นไปไม่ได้ที่ฝ่ายค้านจะยื้อเวลาเอาไว้