วานนี้ (21 ส.ค.) กองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ (กปท.) และกองทัพธรรม ราว 100 คน นำโดย นายไทกร พลสุวรรณ พล.ร.อ.ชัย สุวรรณภาพ พล.อ.ปรีชา เอี่ยมสุพรรณ ได้เข้ายื่นหนังสือให้กำลังใจตุลาการศาลรัฐธรรมนูญผ่าน นางอรรถพร เลาหสุรโยธิน ผู้อำนวยการกลุ่มงานบริหารทั่วไป สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
นายไทกร กล่าวว่า ความคิดเห็นที่แตกต่างทางการเมืองในสังคมขณะนี้ ทำให้มีบุคคลบางกลุ่มแสดงพฤติกรรมส่อไปในทางข่มขู่ คุกคามเสรีภาพ ในการใช้ดุลยพินิจของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ภายในขอบเขตอำนาจของกฎหมาย ทางกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ จึงขอให้กำลังใจตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทุกคน เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เที่ยงธรรม สมเจตนารมณ์ที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญ และในระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะในคดีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 อยากให้ศาลรัฐธรรมนูญเร่งพิจารณาวินิจฉัยโดยเร็ว
ด้าน พล.ร.อ.ชัย กล่าวว่า สถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้ หน่วยงานใดที่ทำงานอยู่ในกรอบกฎหมาย แต่ขัดกับระบอบทักษิณ จะถูกข่มขู่ คุกคาม กดดัน 2-3 วันที่ผ่านมา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ออกรายงานผลการตรวจสอบการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง เมื่อปี 2553 ว่าการชุมนุมไม่ถูกต้อง ละเมิดรัฐธรรมนูญอย่างไร ก็ถูกข่มขู่คุกคามกดดันอย่างโหดเหี้ยมจากคนเสื้อแดง
ในส่วนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ คดีที่กำลังพิจารณาอยู่นั้นหลายคดี ตนเชื่อว่าหากยึดหลักกฎหมายแล้วคำวินิจฉัยที่จะออกมาผู้ถูกร้องไม่รอดสักคดี จึงเกรงว่า ศาลฯอาจจะถูกข่มขู่ กดดัน จนมีผลให้พิจารณาคดีเปลี่ยนแปลงไปทำให้ต้องมาให้กำลังใจกัน ทั้งนี้นอกจากผู้ชุมนุมจะยื่นหนังสือให้กำลังใจแล้วยังได้มอบช่อดอกกุหลาบสีขาวเพื่อให้กำลังใจกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญด้วย
** กวป.จี้ศาลรธน.อย่าเลือกปฏิบัติ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันเดียวกันนี้ กลุ่มสื่อวิทยุประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (กวป.) นำโดย นายมาลัยรักษ์ ทองชัย (ศรรักษ์ มาลัยทอง)ได้เข้ายื่นหนังสือถึงตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เช่นกัน โดยนายศรรักษ์ กล่าวว่า อยากให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ยึดหลักกฎหมาย เพื่อเป็นเสาหลักของประชาชน ไม่ใช่วินิจฉัยคดี เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เช่น กรณีพรรคประชาธิปัตย์ หรือ พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม ยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยการปฏิบัติงานของศาลรัฐธรรมนูญ ก็จะรับทุกคำร้อง แต่ถ้าเป็นคำร้องของพรรคเพื่อไทย ที่ขอให้ตรวจสอบ พรรคประชาธิปัตย์ ศาลก็ไม่รับคำร้อง หรือยกคำร้อง ยิ่งในขณะนี้ กลุ่มกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ (กปท.) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญเร่งพิจารณาคดี ถอดถอน ส.ส. และส.ว. 312 คน ที่เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 และคดีคุณสมบัติการเป็น ส.ส.ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ทาง กวป.จึงเกรงว่า หากศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาโดยไม่ใช้หลักนิติธรรม จะทำให้ประชาชนขาดความไว้วางใจ เพราะทั้งสองคดี เป็นเรื่องที่อาจก่อวิกฤตทางการเมือง จึงขอให้ศาลรัฐธรรมนูญเคร่งครัดยึดหลักกฎหมาย
นายศรรักษ์ กล่าวอีกว่า หลังจากนี้ทางกลุ่ม กวป. จะเดินทางไปยังสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อคัดค้านการพิจารณาคดีที่เป็นประโยชน์กับประชาชน เช่น โครงการรับจำนำข้าว โครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท ซึ่งทั้งสองโครงการประชาชนได้ประโยชน์ รัฐบาลยังไม่ได้มีกากรระทำผิด จึงไม่ควรมีการพิจารณาชี้มูล
**กลุ่ม 40 ส.ว.เมินร่วมสภาปฏิรูป
นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา เปิดเผยว่า ทางรัฐบาลได้ส่งตัวแทนมาประสานทางโทรศัพท์กับตน เพื่อเชิญกลุ่ม 40 ส.ว.เข้าร่วมสภาปฏิรูปการเมือง ประกอบด้วย พล.ร.อ.สุรศักดิ์ ศรีอรุณ นายสมชาย แสวงการ นายคำนูณ สิทธิสมาน และตนเอง โดยเบื้องต้นจากการหารือกับ 4 ส.ว. ที่มีรายชื่อดังกล่าว และได้ปฏิเสธทางวาจาแก่ตัวแทนรัฐบาลไป โดยเห็นว่าขณะนี้ยังมีการแก้รธน. และ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม จึงเชื่อว่าจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาในประเทศได้ ทั้งนี้ ตนยังเห็นว่า การตั้งสภาปฏิรูปการเมืองไทยนี้ เปรียบเสมือนการตั้งสภาที่ปรึกษาพรรคเพื่อไทยมากกว่า
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ขณะนี้ตนยังไม่ได้รับจม.เชิญให้เข้าร่วมสภาปฏิรูปฯ จากรัฐบาล โดยทราบเพียงว่ามีชื่อตนอยู่ใน 69 คน ที่ได้รับเชิญ และเชื่อว่าก็มีชื่อ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ อยู่ในฐานะอดีตนายกรัฐมนตรีด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามตนยังรอจดหมายเชิญอย่างเป็นทางการจากรัฐบาล หากได้รับจดหมายดังกล่าวแล้ว ตนก็ได้ชี้แจงต่อไป ว่าจะตอบรับเข้าร่วมสภาปฏิรูปการเมือง หรือไม่
ด้านนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่าถึงกรณีกลุ่ม 40 ส.ว. ปฏิเสธการเข้าร่วมสภาปฏิรูปว่า แสดงถึงความมีจิตใจคับแคบ ผิดหลักหน้าที่ของ ส.ว. ตามหลักรัฐธรรมนูญ มาตรา 80 วรรค 6 ที่ต้องสนับสนุนให้ประชาชนมีความสามัคคีกัน ซึ่งเรื่องนี้ต้องพิจารณาจากพฤติกรรม หากมีการกระทำผิด ก็สามารถยื่นถอดถอนได้ ดังนั้น จึงจะส่งหนังสือไปให้นายไพบูลย์ นิติตะวัน และสมาชิกกลุ่ม 40 ส.ว. 4 คน เพื่อพิจารณาหน้าที่ของส.ว. สรรหา ที่ถูกสรรหามาจากผู้ทรงคุณวุฒิอันทรงเกียรติ ได้พิจารณาการทำหน้าที่ของตนเองว่าวันนี้ได้มีการทำหน้าที่ในภาวะผู้นำหรือยัง
** "เหวง" แถ กสม. ใส่ร้ายม็อบแดง
นพ.เหวง โตจิราการ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย แถลงที่รัฐสถา เรียกร้องให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ยกเลิกรายงานประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงาน ประจำปี 2553 –2554ว่า ควรทำให้มีความถูกต้อง และอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง เนื่องจากรายงานดังกล่าวได้กล่าวหาผู้ชุมนุม กุล่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) 9 ประเด็น ทั้งการที่ระบุว่า กลุ่ม นปช.ก่อการจลาจล เผารถประจำทาง การอ้างสาเหตุการชุมนุมมาจากศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำวินิจฉัยยึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร การระบุว่า รัฐบาลใช้กำลังขอคืนพื้นที่ตามลำดับความรุนแรงจากเบาไปหาหนัก การกล่าวหาว่า เกิดการปะทะระหว่างผู้ชุมนุม และผู้ประกอบการธุรกิจ ผู้อาศัยบริเวณถนนสีลม และปะทะกับเจ้าหน้าที่บริเวณอนุสรณ์สถาน ถนนวิภาวดีรังสิต จนมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต การรายงานว่าเหตุการณ์ระหว่าง 13-19 พ.ค. 53 ก็เกิดปะทะอย่างรุนแรง ทั้งที่ศาลก็มีคำวินิจฉัยคดี 6 ศพ ที่วัดปทุมฯ ว่าไม่มีชายชุดดำ และยังกล่าวหาว่าผู้ชุมนุมไม่ยอมยุติการชุมนุมในวันที่ 19 พ.ค. จนเกิดความวุ่นวายหลายจุดในกทม.
ขณะเดียวกัน รายงานยังไม่ยอมยืนว่า รัฐบาล หรือ ศอฉ. มีส่วนทำให้ประชาชนเสียชีวิต สุดท้ายยังกล่าวหาว่า กลุ่มนปช. ใช้วิธีการเรียกร้องด้วยความรุนแรง มีอาวุธ เช่นการปิดล้อมสถานที่ราชการ จุดไฟเผารถยนต์ ทุบรถอดีตนายกฯ ซึ่งล้วนไม่เป็นความจริง และไม่มีหลักฐานใดๆ ยืนยันว่า นปช. ไปปิดล้อมสถานที่ราชการ ซึ่ง กสม.ไม่ได้ทำหน้าที่ปกป้องสิทธิมนุษยชนของประชาชน แต่กลับสร้างความชอบธรรมให้ รัฐบาลอภิสิทธิ์ แสดงถึงอคติทางการเมืองของกสม.อย่างเลวร้าย ซึ่งตนจะทำหนังสือชี้แจงไปยัง นางอมรา พงศาพิษญ์ ประธาน กสม. โดยไม่ขอไปยื่นด้วยตนเอง เพราะรับไม่ได้ กับศักดิ์ศรีสิทธิมนุษยชนของนางอมรา ที่หมดสิ้น
นายไทกร กล่าวว่า ความคิดเห็นที่แตกต่างทางการเมืองในสังคมขณะนี้ ทำให้มีบุคคลบางกลุ่มแสดงพฤติกรรมส่อไปในทางข่มขู่ คุกคามเสรีภาพ ในการใช้ดุลยพินิจของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ภายในขอบเขตอำนาจของกฎหมาย ทางกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ จึงขอให้กำลังใจตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทุกคน เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เที่ยงธรรม สมเจตนารมณ์ที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญ และในระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะในคดีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 อยากให้ศาลรัฐธรรมนูญเร่งพิจารณาวินิจฉัยโดยเร็ว
ด้าน พล.ร.อ.ชัย กล่าวว่า สถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้ หน่วยงานใดที่ทำงานอยู่ในกรอบกฎหมาย แต่ขัดกับระบอบทักษิณ จะถูกข่มขู่ คุกคาม กดดัน 2-3 วันที่ผ่านมา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ออกรายงานผลการตรวจสอบการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง เมื่อปี 2553 ว่าการชุมนุมไม่ถูกต้อง ละเมิดรัฐธรรมนูญอย่างไร ก็ถูกข่มขู่คุกคามกดดันอย่างโหดเหี้ยมจากคนเสื้อแดง
ในส่วนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ คดีที่กำลังพิจารณาอยู่นั้นหลายคดี ตนเชื่อว่าหากยึดหลักกฎหมายแล้วคำวินิจฉัยที่จะออกมาผู้ถูกร้องไม่รอดสักคดี จึงเกรงว่า ศาลฯอาจจะถูกข่มขู่ กดดัน จนมีผลให้พิจารณาคดีเปลี่ยนแปลงไปทำให้ต้องมาให้กำลังใจกัน ทั้งนี้นอกจากผู้ชุมนุมจะยื่นหนังสือให้กำลังใจแล้วยังได้มอบช่อดอกกุหลาบสีขาวเพื่อให้กำลังใจกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญด้วย
** กวป.จี้ศาลรธน.อย่าเลือกปฏิบัติ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันเดียวกันนี้ กลุ่มสื่อวิทยุประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (กวป.) นำโดย นายมาลัยรักษ์ ทองชัย (ศรรักษ์ มาลัยทอง)ได้เข้ายื่นหนังสือถึงตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เช่นกัน โดยนายศรรักษ์ กล่าวว่า อยากให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ยึดหลักกฎหมาย เพื่อเป็นเสาหลักของประชาชน ไม่ใช่วินิจฉัยคดี เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เช่น กรณีพรรคประชาธิปัตย์ หรือ พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม ยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยการปฏิบัติงานของศาลรัฐธรรมนูญ ก็จะรับทุกคำร้อง แต่ถ้าเป็นคำร้องของพรรคเพื่อไทย ที่ขอให้ตรวจสอบ พรรคประชาธิปัตย์ ศาลก็ไม่รับคำร้อง หรือยกคำร้อง ยิ่งในขณะนี้ กลุ่มกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ (กปท.) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญเร่งพิจารณาคดี ถอดถอน ส.ส. และส.ว. 312 คน ที่เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 และคดีคุณสมบัติการเป็น ส.ส.ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ทาง กวป.จึงเกรงว่า หากศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาโดยไม่ใช้หลักนิติธรรม จะทำให้ประชาชนขาดความไว้วางใจ เพราะทั้งสองคดี เป็นเรื่องที่อาจก่อวิกฤตทางการเมือง จึงขอให้ศาลรัฐธรรมนูญเคร่งครัดยึดหลักกฎหมาย
นายศรรักษ์ กล่าวอีกว่า หลังจากนี้ทางกลุ่ม กวป. จะเดินทางไปยังสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อคัดค้านการพิจารณาคดีที่เป็นประโยชน์กับประชาชน เช่น โครงการรับจำนำข้าว โครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท ซึ่งทั้งสองโครงการประชาชนได้ประโยชน์ รัฐบาลยังไม่ได้มีกากรระทำผิด จึงไม่ควรมีการพิจารณาชี้มูล
**กลุ่ม 40 ส.ว.เมินร่วมสภาปฏิรูป
นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา เปิดเผยว่า ทางรัฐบาลได้ส่งตัวแทนมาประสานทางโทรศัพท์กับตน เพื่อเชิญกลุ่ม 40 ส.ว.เข้าร่วมสภาปฏิรูปการเมือง ประกอบด้วย พล.ร.อ.สุรศักดิ์ ศรีอรุณ นายสมชาย แสวงการ นายคำนูณ สิทธิสมาน และตนเอง โดยเบื้องต้นจากการหารือกับ 4 ส.ว. ที่มีรายชื่อดังกล่าว และได้ปฏิเสธทางวาจาแก่ตัวแทนรัฐบาลไป โดยเห็นว่าขณะนี้ยังมีการแก้รธน. และ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม จึงเชื่อว่าจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาในประเทศได้ ทั้งนี้ ตนยังเห็นว่า การตั้งสภาปฏิรูปการเมืองไทยนี้ เปรียบเสมือนการตั้งสภาที่ปรึกษาพรรคเพื่อไทยมากกว่า
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ขณะนี้ตนยังไม่ได้รับจม.เชิญให้เข้าร่วมสภาปฏิรูปฯ จากรัฐบาล โดยทราบเพียงว่ามีชื่อตนอยู่ใน 69 คน ที่ได้รับเชิญ และเชื่อว่าก็มีชื่อ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ อยู่ในฐานะอดีตนายกรัฐมนตรีด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามตนยังรอจดหมายเชิญอย่างเป็นทางการจากรัฐบาล หากได้รับจดหมายดังกล่าวแล้ว ตนก็ได้ชี้แจงต่อไป ว่าจะตอบรับเข้าร่วมสภาปฏิรูปการเมือง หรือไม่
ด้านนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่าถึงกรณีกลุ่ม 40 ส.ว. ปฏิเสธการเข้าร่วมสภาปฏิรูปว่า แสดงถึงความมีจิตใจคับแคบ ผิดหลักหน้าที่ของ ส.ว. ตามหลักรัฐธรรมนูญ มาตรา 80 วรรค 6 ที่ต้องสนับสนุนให้ประชาชนมีความสามัคคีกัน ซึ่งเรื่องนี้ต้องพิจารณาจากพฤติกรรม หากมีการกระทำผิด ก็สามารถยื่นถอดถอนได้ ดังนั้น จึงจะส่งหนังสือไปให้นายไพบูลย์ นิติตะวัน และสมาชิกกลุ่ม 40 ส.ว. 4 คน เพื่อพิจารณาหน้าที่ของส.ว. สรรหา ที่ถูกสรรหามาจากผู้ทรงคุณวุฒิอันทรงเกียรติ ได้พิจารณาการทำหน้าที่ของตนเองว่าวันนี้ได้มีการทำหน้าที่ในภาวะผู้นำหรือยัง
** "เหวง" แถ กสม. ใส่ร้ายม็อบแดง
นพ.เหวง โตจิราการ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย แถลงที่รัฐสถา เรียกร้องให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ยกเลิกรายงานประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงาน ประจำปี 2553 –2554ว่า ควรทำให้มีความถูกต้อง และอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง เนื่องจากรายงานดังกล่าวได้กล่าวหาผู้ชุมนุม กุล่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) 9 ประเด็น ทั้งการที่ระบุว่า กลุ่ม นปช.ก่อการจลาจล เผารถประจำทาง การอ้างสาเหตุการชุมนุมมาจากศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำวินิจฉัยยึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร การระบุว่า รัฐบาลใช้กำลังขอคืนพื้นที่ตามลำดับความรุนแรงจากเบาไปหาหนัก การกล่าวหาว่า เกิดการปะทะระหว่างผู้ชุมนุม และผู้ประกอบการธุรกิจ ผู้อาศัยบริเวณถนนสีลม และปะทะกับเจ้าหน้าที่บริเวณอนุสรณ์สถาน ถนนวิภาวดีรังสิต จนมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต การรายงานว่าเหตุการณ์ระหว่าง 13-19 พ.ค. 53 ก็เกิดปะทะอย่างรุนแรง ทั้งที่ศาลก็มีคำวินิจฉัยคดี 6 ศพ ที่วัดปทุมฯ ว่าไม่มีชายชุดดำ และยังกล่าวหาว่าผู้ชุมนุมไม่ยอมยุติการชุมนุมในวันที่ 19 พ.ค. จนเกิดความวุ่นวายหลายจุดในกทม.
ขณะเดียวกัน รายงานยังไม่ยอมยืนว่า รัฐบาล หรือ ศอฉ. มีส่วนทำให้ประชาชนเสียชีวิต สุดท้ายยังกล่าวหาว่า กลุ่มนปช. ใช้วิธีการเรียกร้องด้วยความรุนแรง มีอาวุธ เช่นการปิดล้อมสถานที่ราชการ จุดไฟเผารถยนต์ ทุบรถอดีตนายกฯ ซึ่งล้วนไม่เป็นความจริง และไม่มีหลักฐานใดๆ ยืนยันว่า นปช. ไปปิดล้อมสถานที่ราชการ ซึ่ง กสม.ไม่ได้ทำหน้าที่ปกป้องสิทธิมนุษยชนของประชาชน แต่กลับสร้างความชอบธรรมให้ รัฐบาลอภิสิทธิ์ แสดงถึงอคติทางการเมืองของกสม.อย่างเลวร้าย ซึ่งตนจะทำหนังสือชี้แจงไปยัง นางอมรา พงศาพิษญ์ ประธาน กสม. โดยไม่ขอไปยื่นด้วยตนเอง เพราะรับไม่ได้ กับศักดิ์ศรีสิทธิมนุษยชนของนางอมรา ที่หมดสิ้น