วานนี้(18 ส.ค.) พ.อ.บรรพต พูลเพียร โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) กล่าวถึงกรณีที่คนร้ายลอบยิงถล่มเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.รือเสาะ จ.นราธิวาส จนเสียชีวิต 4 นาย เมื่อวันที่ 16 ส.ค.ที่ผ่านมาว่า ทราบว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เสียชีวิตจากเหตุดังกล่าวนั้นบางคนมีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ และนับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งคนร้ายไม่ได้มีการแยกแยะ จากเดิมที่มีความเชื่อว่าความรุนแรงและเหตุการณ์ต่างๆในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มาจากความขัดแย้งทางศาสนาและชาติพันธุ์นั้น ตนคิดว่าไม่น่าจะใช่ เพราะยังมีการก่อเหตุกับคนในพื้นที่และคนที่นับถือศาสนาเดียวกัน
อีกทั้งที่ผ่านมาเมื่อเจ้าหน้าที่จำเป็นต้องดำเนินการวิสามัญกับคนร้ายตามกฎหมายก็มักจะถูกอ้างเรื่องสิทธิมนุษยชน ซึ่งแตกต่างกับกรณีที่คนร้ายทำกับเจ้าหน้าที่ที่มุ่งทำร้ายถึงชีวิต และบางครัั้งก็ลอบวางระเบิดเพืี่อหวังผลรุนแรง ถ้าเข้าไปยิงซ้ำได้ก็จะเข้าไปยิงซ้ำอีกอย่างไม่ปรานี แต่กลับกันหากเป็นเจ้าหน้าที่ใช้กฎหมายดำเนินการก็จะถูกตำหนิเรื่องสิทธิมนุษยชนว่าเจ้าหน้าที่ทำเกินกว่าเหตุ "การทำงานของเจ้าหน้าที่ หากเกิดเหตุการณ์ขึ้นแล้วเจ้าหน้าที่ออกไปช้าก็โดนตำหนิ ถ้าออกไปเร็วก็ถูกซุ่มโจมตี ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องใช้ดุลยพินิจตัดสินใจเฉพาะหน้า รวมทั้งแต่ละพื้นที่มีลักษณะภูมิประเทศที่แตกต่างกัน รวมถึงมีเส้นทางที่จำกัด จึงเปิดโอกาสให้คนร้ายล่อลวงเจ้าหน้าที่และทำการซุ่มโจมตี แต่ทางเจ้าหน้าที่ก็พยายามเตือนกันและกระจายกำลัง เพื่อลดการสูญเสีย กรณีนี้ที่เกิดขึ้นก็จะเป็นบทเรียนของเราในการปรับปรุงยุทธวิธีและการดำเนินการต่อไป" โฆษกกอ.รมน.กล่าว.
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวว่า กรณีที่รัฐบาลได้ตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาข้อเสนอของกลุ่มบีอาร์เอ็นว่า อยากให้รัฐบาลทำงานเชิงรุกมากกว่าที่เป็นอยู่ พิจารณาให้รอบคอบก่อน เพราะปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนรอมฎอน แม้จะมีการพูดคุยลดเหตุความรุนแรง แต่สถานการณ์ยังรุนแรงต่อเนื่อง ดังนั้นจึงควรสร้างความชัดเจนถึงเหตุความรุนแรงที่เกิดขึ้นก่อน ว่าเป็นฝีมือของกลุ่มใด เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า เมื่อมีการพูดคุยแล้วความสงบจะเกิดขึ้นในพื้นที่
ทั้งนี้เห็นว่า การพูดคุยจำเป็นต้องมี แต่รูปแบบการทำงานควรทบทวนให้รัดกุมมากขึ้น และรัฐบาลต้องเปิดใจคุยกัน เพื่อแสดงความจริงใจทั้ง2 ฝ่าย
ร.ท.หญิง สุณิสา เลิศภควัต รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เกี่ยวประเด็นข้อเรียกร้องของกลุ่มบีอาร์เอ็นนั้น รัฐบาลขอให้ทุกฝ่ายสบายใจได้ ว่ารัฐบาลจะพิจารณาเรื่องดังกล่าวอย่างรอบคอบและระมัดระวัง อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ยังไม่มีความชัดเจนว่า ข้อเสนอของกลุ่มบีอาร์เอ็น มีรายละเอียดและขอบเขตอย่างไร
ทั้งนี้ขอให้สังคมเชื่อมั่นว่า ถ้าหากมีข้อเสนอที่เกี่ยวข้องกับการแบ่งแยกดินแดน ฝ่ายไทยก็จะไม่ยอมรับอย่างแน่นอน ซึ่งฝ่ายมาเลเซียซึ่งทำหน้าที่เป็น facilitator หรือ ผู้อำนวยความสะดวกในการพูดคุย ก็ยืนยันผ่านทางสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือ สมช. มาแล้วเช่นกัน ว่ามาเลเซีย ก็จะไม่สนับสนุนเรื่องการแบ่งแยกดินแดน ซึ่งในการประชุมระหว่าง พล.ต.อ. ประชา พรหมนอก รองนายกรัฐมนตรี กับกลุ่มผู้นำศาสนา และคณะที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 11 ท่าน ซึ่งรัฐบาลได้แต่งตั้งขึ้น และมี นาย วันมูฮัมหมัดนอร์ มะทา เป็นประธานเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาที่ทำเนียบรัฐบาลนั้น ทุกฝ่ายก็ได้แสดงจุดยืนอย่างชัดเจนว่า จะให้การ สนับสนุนการพูดคุยเพื่อสร้างสันติภาพแต่ไม่สนับสนุนแนวคิดเรื่องการแบ่งแยกดินแดน
ร.ท.หญิง สุณิสา กล่าวว่า การตัดสินใจใด ๆ หากจะมีขึ้น จะไม่ใช่การคิดของรัฐบาลเพียงฝ่ายเดียว แต่จะผ่านการหารือระดมสมอง จากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคง ทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครองและภาคประชาชนในพื้นที่ โดยหลังจากนี้ รัฐบาลจะร่วมกับคณะที่ปรึกษาฯ ในการออกแบบยุทธศาสตร์ เพื่อดึงประชาชนในพื้นที่ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาภาคใต้ให้มากขึ้น เนื่องจากคณะที่ปรึกษาฯ 11 ท่านที่รัฐบาลแต่งตั้งขึ้น ประกอบด้วย ผู้นำศาสนา และบุคคลที่ได้รับการยอมรับจากประชาชนในพื้นที่ รัฐบาลจึงเชื่อว่า คณะที่ปรึกษาฯ ดังกล่าว จะเป็นกลไกสำคัญ ในการดึงประชาชนในพื้นที่ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดี
อีกทั้งที่ผ่านมาเมื่อเจ้าหน้าที่จำเป็นต้องดำเนินการวิสามัญกับคนร้ายตามกฎหมายก็มักจะถูกอ้างเรื่องสิทธิมนุษยชน ซึ่งแตกต่างกับกรณีที่คนร้ายทำกับเจ้าหน้าที่ที่มุ่งทำร้ายถึงชีวิต และบางครัั้งก็ลอบวางระเบิดเพืี่อหวังผลรุนแรง ถ้าเข้าไปยิงซ้ำได้ก็จะเข้าไปยิงซ้ำอีกอย่างไม่ปรานี แต่กลับกันหากเป็นเจ้าหน้าที่ใช้กฎหมายดำเนินการก็จะถูกตำหนิเรื่องสิทธิมนุษยชนว่าเจ้าหน้าที่ทำเกินกว่าเหตุ "การทำงานของเจ้าหน้าที่ หากเกิดเหตุการณ์ขึ้นแล้วเจ้าหน้าที่ออกไปช้าก็โดนตำหนิ ถ้าออกไปเร็วก็ถูกซุ่มโจมตี ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องใช้ดุลยพินิจตัดสินใจเฉพาะหน้า รวมทั้งแต่ละพื้นที่มีลักษณะภูมิประเทศที่แตกต่างกัน รวมถึงมีเส้นทางที่จำกัด จึงเปิดโอกาสให้คนร้ายล่อลวงเจ้าหน้าที่และทำการซุ่มโจมตี แต่ทางเจ้าหน้าที่ก็พยายามเตือนกันและกระจายกำลัง เพื่อลดการสูญเสีย กรณีนี้ที่เกิดขึ้นก็จะเป็นบทเรียนของเราในการปรับปรุงยุทธวิธีและการดำเนินการต่อไป" โฆษกกอ.รมน.กล่าว.
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวว่า กรณีที่รัฐบาลได้ตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาข้อเสนอของกลุ่มบีอาร์เอ็นว่า อยากให้รัฐบาลทำงานเชิงรุกมากกว่าที่เป็นอยู่ พิจารณาให้รอบคอบก่อน เพราะปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนรอมฎอน แม้จะมีการพูดคุยลดเหตุความรุนแรง แต่สถานการณ์ยังรุนแรงต่อเนื่อง ดังนั้นจึงควรสร้างความชัดเจนถึงเหตุความรุนแรงที่เกิดขึ้นก่อน ว่าเป็นฝีมือของกลุ่มใด เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า เมื่อมีการพูดคุยแล้วความสงบจะเกิดขึ้นในพื้นที่
ทั้งนี้เห็นว่า การพูดคุยจำเป็นต้องมี แต่รูปแบบการทำงานควรทบทวนให้รัดกุมมากขึ้น และรัฐบาลต้องเปิดใจคุยกัน เพื่อแสดงความจริงใจทั้ง2 ฝ่าย
ร.ท.หญิง สุณิสา เลิศภควัต รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เกี่ยวประเด็นข้อเรียกร้องของกลุ่มบีอาร์เอ็นนั้น รัฐบาลขอให้ทุกฝ่ายสบายใจได้ ว่ารัฐบาลจะพิจารณาเรื่องดังกล่าวอย่างรอบคอบและระมัดระวัง อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ยังไม่มีความชัดเจนว่า ข้อเสนอของกลุ่มบีอาร์เอ็น มีรายละเอียดและขอบเขตอย่างไร
ทั้งนี้ขอให้สังคมเชื่อมั่นว่า ถ้าหากมีข้อเสนอที่เกี่ยวข้องกับการแบ่งแยกดินแดน ฝ่ายไทยก็จะไม่ยอมรับอย่างแน่นอน ซึ่งฝ่ายมาเลเซียซึ่งทำหน้าที่เป็น facilitator หรือ ผู้อำนวยความสะดวกในการพูดคุย ก็ยืนยันผ่านทางสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือ สมช. มาแล้วเช่นกัน ว่ามาเลเซีย ก็จะไม่สนับสนุนเรื่องการแบ่งแยกดินแดน ซึ่งในการประชุมระหว่าง พล.ต.อ. ประชา พรหมนอก รองนายกรัฐมนตรี กับกลุ่มผู้นำศาสนา และคณะที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 11 ท่าน ซึ่งรัฐบาลได้แต่งตั้งขึ้น และมี นาย วันมูฮัมหมัดนอร์ มะทา เป็นประธานเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาที่ทำเนียบรัฐบาลนั้น ทุกฝ่ายก็ได้แสดงจุดยืนอย่างชัดเจนว่า จะให้การ สนับสนุนการพูดคุยเพื่อสร้างสันติภาพแต่ไม่สนับสนุนแนวคิดเรื่องการแบ่งแยกดินแดน
ร.ท.หญิง สุณิสา กล่าวว่า การตัดสินใจใด ๆ หากจะมีขึ้น จะไม่ใช่การคิดของรัฐบาลเพียงฝ่ายเดียว แต่จะผ่านการหารือระดมสมอง จากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคง ทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครองและภาคประชาชนในพื้นที่ โดยหลังจากนี้ รัฐบาลจะร่วมกับคณะที่ปรึกษาฯ ในการออกแบบยุทธศาสตร์ เพื่อดึงประชาชนในพื้นที่ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาภาคใต้ให้มากขึ้น เนื่องจากคณะที่ปรึกษาฯ 11 ท่านที่รัฐบาลแต่งตั้งขึ้น ประกอบด้วย ผู้นำศาสนา และบุคคลที่ได้รับการยอมรับจากประชาชนในพื้นที่ รัฐบาลจึงเชื่อว่า คณะที่ปรึกษาฯ ดังกล่าว จะเป็นกลไกสำคัญ ในการดึงประชาชนในพื้นที่ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดี