นายนุกูล สัณฐิติเสรี รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่โฆษกสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึง กรณีที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ในสังคม เกี่ยวกับการที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จัดซื้อนาฬิกาแขวนผนังจำนวน 200 เรือน มูลค่า 15 ล้านบาท เฉลี่ยเรือนละ 7 หมื่น 5 พันบาท ว่า ขอยืนยันว่า ความเข้าใจดังกล่าวมีความคลาดเคลื่อน เนื่องจากความจริงแล้วเงินจำนวนดังกล่าว เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการควบคุมเวลา และการบริหารเวลาภายในรัฐสภาทั้งระบบ โดยก่อนหน้านี้สภาผู้แทนราษฎรประสบปัญหาในการนัดหมายเวลากับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เนื่องจากนาฬิกาในห้องประชุมแต่ละห้อง เดินไม่ตรงกัน และบางเรือนไม่เดิน ทำให้การบริหารเวลาเกิดความผิดพลาด สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จึงได้มีการศึกษาความเป็นไปได้ ในการจัดทำโครงการระบบนาฬิกาของรัฐสภาให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า งบประมาณ 15 ล้านบาท สำหรับการติดตั้งระบบนาฬิกาของรัฐสภา ไม่ใช่มูลค่าของนาฬิกาเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงอุปกรณ์ที่เป็นตัวแสดงผล ที่มีความเที่ยงตรงตลอดเวลา มีการเชื่อมต่อกับดาวเทียม และระบบอินเตอร์เน็ต เพื่อส่งสัญญาณเวลาให้กับนาฬิกาเครื่องลูกข่ายทั้งหมด รวมถึงมีการ Back Up ระบบเวลาให้กับชุดควบคุมนาฬิกาหลัก ให้สามารถรักษาเวลาต่อเนื่องในกรณีไฟฟ้าดับได้ไม่น้อยกว่า 8 ชั่วโมง
นอกจากนี้งบประมาณดังกล่าว ยังรวมถึงคอมพิวเตอร์ แอปพลิเคชั่น และระบบการเชื่อมต่อกับมาตรฐานเวลาในระบบของสำนักมาตรวิทยา กระทรวงวิทยาศาสตร์ อุปกรณ์ และระบบการเชื่อมต่อที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้สายใยแก้วนำแสง Fiber Optic สำหรับเชื่อมโยงระหว่างอาคารที่มีความเสถียรสูง ระบบการติดตั้ง ระบบไฟฟ้าและสายสัญญาณ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ นายนุกูล กล่าวด้วยว่า ระบบนาฬิกาดังกล่าว มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศ ในกลุ่มทวีปยุโรป กลุ่มทวีปอเมริกาเหนือ และญี่ปุ่น ในประเทศไทย มีการใช้ที่สถาบันมาตรวิทยา กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ และศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะฯ สำหรับนาฬิกาที่จัดซื้อ และติดตั้งทั้งหมดมีจำนวน 240 เครื่อง และมีการดำเนินการที่โปร่งใส ตามระเบียบของราชการทุกประการ
รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า งบประมาณ 15 ล้านบาท สำหรับการติดตั้งระบบนาฬิกาของรัฐสภา ไม่ใช่มูลค่าของนาฬิกาเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงอุปกรณ์ที่เป็นตัวแสดงผล ที่มีความเที่ยงตรงตลอดเวลา มีการเชื่อมต่อกับดาวเทียม และระบบอินเตอร์เน็ต เพื่อส่งสัญญาณเวลาให้กับนาฬิกาเครื่องลูกข่ายทั้งหมด รวมถึงมีการ Back Up ระบบเวลาให้กับชุดควบคุมนาฬิกาหลัก ให้สามารถรักษาเวลาต่อเนื่องในกรณีไฟฟ้าดับได้ไม่น้อยกว่า 8 ชั่วโมง
นอกจากนี้งบประมาณดังกล่าว ยังรวมถึงคอมพิวเตอร์ แอปพลิเคชั่น และระบบการเชื่อมต่อกับมาตรฐานเวลาในระบบของสำนักมาตรวิทยา กระทรวงวิทยาศาสตร์ อุปกรณ์ และระบบการเชื่อมต่อที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้สายใยแก้วนำแสง Fiber Optic สำหรับเชื่อมโยงระหว่างอาคารที่มีความเสถียรสูง ระบบการติดตั้ง ระบบไฟฟ้าและสายสัญญาณ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ นายนุกูล กล่าวด้วยว่า ระบบนาฬิกาดังกล่าว มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศ ในกลุ่มทวีปยุโรป กลุ่มทวีปอเมริกาเหนือ และญี่ปุ่น ในประเทศไทย มีการใช้ที่สถาบันมาตรวิทยา กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ และศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะฯ สำหรับนาฬิกาที่จัดซื้อ และติดตั้งทั้งหมดมีจำนวน 240 เครื่อง และมีการดำเนินการที่โปร่งใส ตามระเบียบของราชการทุกประการ