เศรษฐกิจไม่โต + หนี้ครัวเรือนที่พุ่งขึ้น
ไม่ว่าท่านจะ “สี” อะไร นี่คือหนทางสู่ประตู “นรก”
เศรษฐกิจไทยยุค “ปฏิแหลเพื่อพี่” กำลังเข้าตาจน ประเด็นที่ถูกจับตามองมากที่สุดในขณะนี้น่าจะอยู่ที่ หนี้สินครัวเรือนและอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เริ่มที่จะชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัดเจน
ในเรื่องหนี้สินครัวเรือน ข้อเท็จจริงที่ปรากฏก็คือ สัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากระดับร้อยละ 44 เมื่อไตรมาสแรกปีพ.ศ. 2546 มาเป็นประมาณร้อยละ 78 ในไตรมาสสุดท้ายของปี พ.ศ. 2555 หรือเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวในช่วงระยะเวลาเพียง 10 ปีและเพิ่มอย่างรวดเร็วในช่วงรัฐบาล “ปฏิแหลเพื่อพี่”
หากไม่นำเอาตัวเลข GDP มาเป็นตัวหารเนื่องจากในช่วงในช่วงปี พ.ศ.2551-55 อัตราการเจริญเติบโตของ GDP โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำเพียงร้อยละ 2.9 ต่อปีเท่านั้นจากความไม่สงบทางการเมืองและความด้อยประสิทธิภาพของรัฐบาลจนทำให้น้ำท่วมทั้งแผ่นดิน เมื่อตัวหารมีขนาดเล็กลงกว่าปกติสัดส่วนข้างต้นก็อาจจะสูงเกินปกติได้
เมื่อคิดเฉพาะจำนวนหนี้ครัวเรือน ตัวเลขจากสำนักงานสถิติแห่งชาติชี้ให้เห็นว่าเพิ่มขึ้นจาก 124,560 บาทต่อครัวเรือนในปี พ.ศ. 2543 มาเป็น 241,760 บาทต่อครัวเรือนในปี พ.ศ. 2554 ยืนอยู่ที่ประมาณ 10 เท่าของรายได้ไม่เปลี่ยนแปลงสักเท่าใด
ส่วนปัจจัยที่ทำให้เกิดการเพิ่มในหนี้สินครัวเรือนอย่างรวดเร็วก็คงหนีไม่พ้น โครงการประชานิยมทั้งหลายที่กระตุ้นและกระตุ้นให้คนใช้จ่ายโดยรัฐบาลสนับสนุนการเป็นหนี้ในรูปแบบต่างๆ
ตัวอย่างที่ถูกยกขึ้นมาบ่อยครั้งก็คือ โครงการรถคันแรก ที่รัฐมนตรีคลังกิตติรัตน์บอกว่ารัฐบาลไม่ได้นำเงินมาอุดหนุนคนซื้อ แต่เป็นภาษีสรรพสามิตของเจ้าของรถเองเอามาคืนให้เมื่อถือครองเกิน 1 ปี หากจะมีหนี้เสียก็เป็นเรื่องของสถาบันการเงินเพราะเป็นผู้ตัดสินใจปล่อยสินเชื่อเอง รัฐบาลไม่เกี่ยวข้องแต่อย่างใด
ฟังดูเหตุผลแล้วก็ต้องบอกว่าเป็นรัฐมนตรีที่โกหกเก่งแล้วยังตะแบงเก่งอีกด้วย เหตุก็เพราะการเก็บภาษีไม่ว่าจะเป็นภาษีอะไรก็เป็นเรื่องหนึ่ง แต่การนำเงินของรัฐไปให้กับผู้ซื้อรถยนต์โดยอ้างว่าเป็นภาษีของผู้ซื้อแล้วคืนให้นั้นมันจะไม่เป็นการอุดหนุนผู้ซื้อให้สามารถซื้อรถในราคาที่ถูกลงกว่าเดิมได้อย่างไร เงินจากภาษีนั้นเป็นรายได้ของรัฐเมื่อเก็บได้ก็ต้องนำส่งคลัง ส่วนจะเบิกจ่ายเพื่อการใดก็ต้องตั้งจ่ายตามกฎหมายการเงิน เช่น งบประมาณรายจ่ายประจำปี ไม่สามารถรับเงินจากภาษีแล้วนำไปคืนให้โดยทันทีโดยไม่เข้าคลังเสียก่อน
แต่ที่รัฐมนตรีผู้นี้พูดไม่หมดและพยายามทำให้เข้าใจผิดก็คือ ภาษีสรรพสามิตมีไว้เพื่อจำกัดการบริโภค หาไม่แล้วก็จะมีคนซื้อรถเกินกว่าปริมาณความจุถนน สร้างผลกระทบภายนอกหรือ externalities ในด้านสภาพแวดล้อมทั้งรถติดและการปล่อยก๊าซคาร์บอนต่อทั้งผู้ใช้และไม่ได้ใช้รถดังเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
รถที่ซื้อในประเทศไทยที่มีราคาแพงกว่าซื้อในต่างประเทศหลายเท่าจนต้องมีการลักลอบแยกชิ้นส่วนมาจดประกอบนั้นก็เพื่อหลีกเลี่ยงภาษีส่วนนี้มิใช่หรือ รถเล็กและไม่ใช่รถหรูก็สร้างผลกระทบภายนอกนี้เช่นกัน ทำไมกิตติรัตน์ไม่เข้าใจเรื่องนี้เลยหรือว่าภาษีก็มีส่วนช่วยสภาพแวดล้อมได้เช่นกัน
ประเด็นสำคัญก็คือ ทำไมจึงต้องเอาเงินของประชาชนคนไทยทุกคนไม่ว่าจะจนหรือรวยไปช่วยให้คนบางคนสามารถซื้อรถได้ในราคาที่ถูกกว่าเดิมเพียงครั้งเดียว นี่คือคำถาม?
ตัวเลขภาระหนี้ครัวเรือนของประเทศ 241,760 บาทข้างต้นที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจึงเป็นเครื่องชี้ในภาพรวมเป็นค่าเฉลี่ย สิ่งที่ซ่อนอยู่ก็คือ ครัวเรือนในกทม.และปริมณฑลมีระดับหนี้โดยเฉลี่ยเกินกว่า 4 แสนบาทที่ส่วนใหญ่เกิดจากการไปซื้ออสังหาและวัตถุถาวรซึ่งต่างกับครัวเรือนในภาคอีสานและใต้ที่แม้จะมีจำนวนหนี้สินน้อยกว่า 2 แสนบาทแต่ส่วนใหญ่ก่อหนี้เพื่อนำไปบริโภคในครัวเรือนซึ่งแสดงถึงโอกาสการเกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้สูงเพราะ “กู้มากิน มิใช่นำมาลงทุน”
ในทำนองเดียวกันสัดส่วนหนี้ต่อรายได้ประมาณ 10 เท่าที่แม้จะดูเหมือนไม่เปลี่ยนแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีความสามารถในการชำระหนี้ได้เหมือนเดิมเพราะรายได้ยังเพิ่มขึ้นตามทันหนี้ที่เพิ่ม
ประเด็นก็คือ ราคาสินค้าเกษตรสำคัญที่เป็นเหล่งรายได้ไม่ว่าจะเป็น ยาง หรือ มัน ต่างมีราคาลดลงอย่างรุนแรงมาโดยตลอดซึ่งหมายความว่าหากไม่สามารถผลิตในจำนวนที่เพิ่มขึ้นได้ รายได้ของเกษตรกรก็จะลดลง ไม่เว้นแม้แต่ข้าวที่รัฐบาลคุยว่าเกษตรกรได้ประโยชน์เพราะราคาจำนำสูงถึง 15,000 บาทต่อตันข้าวเปลือก แต่ราคาที่เกษตรกรขายข้าวได้ก็ไม่ได้แตกต่างไปจากกรณีไม่มีโครงการจำนำข้าวทุกเมล็ดสักเท่าใด
ที่ผ่านมาโครงสร้างเศรษฐกิจประเทศไทยโตได้ด้วยการบริโภคจากประชาชนในประเทศและจากต่างประเทศในรูปของการส่งออกสินค้าไปขายต่างชาติ
หากรายได้เกษตรลดลงจากราคายาง 120 บาทเหลือเพียง 60 บาทเศษ หรือราคามันจาก 5 บาทเหลือเพียง 2 บาทเศษ หรือรายได้จากค่าจ้าง 300 บาทไม่พอเพียงเพราะราคาสินค้าเพิ่มมากกว่าค่าจ้าง พลังจากการบริโภคในประเทศก็จะลดลง
เช่นเดียวกันพลังจากการส่งออกนั้นทำได้ยากในปัจจุบันเนื่องจากต่างชาติที่ซื้อของจากไทยไม่ว่าจะเป็น จีน ญี่ปุ่น ยุโรป อาเซียน หรือแม้แต่สหรัฐฯ ต่างก็ประสบปัญหาเศรษฐกิจรายได้ลดลงหรือมีคนตกงานมากขึ้น อัตราการเพิ่มการส่งออกปีนี้ทั้งปีของไทยอาจไม่ถึงร้อยละ 3 ตามที่คาดไว้ทั้งที่โดยปกติจะโตเป็นเลข 2 หลัก
การปรับตัวเลขการเจริญเติบโตให้ลดลงจากร้อยละ 5 มาเหลือเพียงไม่เกินร้อยละ 4 จึงเริ่มที่จะเห็นได้ในครึ่งปีหลังด้วยพลังที่ลดลงจากการบริโภคและการส่งออกเป็นสาเหตุสำคัญ
ครัวเรือนจะมีหนี้เสียมากน้อยเพียงใดก็เป็นเรื่องเป็นปัญหาของสถาบันการเงินอย่างที่กิตติรัตน์อ้างก็จริงอยู่ แต่เมื่อรัฐบาลไทยฝากความหวังไว้กับโครงการเงินกู้ 3.5 แสนล้านและ 2 ล้านล้านบาทที่มีโอกาสเป็นอย่างมากที่จะไม่ได้ใช้เงินกู้ดังกล่าวแม้แต่บาทเดียวแต่เพียงลำพัง เศรษฐกิจไทยจึงถูกจับเป็นตัวประกันเช่นเดียวกับคนไทยจากกฎหมายนิรโทษกรรม
หากมีความผันผวนทั้งจากภายนอกหรือภายในก็มีโอกาสเป็นไปได้ไม่ยากเลยที่ GDP อาจโตอยู่ในระดับร้อยละ 0 ถึง 1 นั่นคือไม่เติบโตเลย อย่าลืมว่าตัวเลข 4 กับต่ำกว่า 1 นั้นใกล้กันมาก
หากรายได้ประเทศไม่โต ด้วยหนี้สินครัวเรือนที่สูง จะให้เตือนอีกไหมว่า นรกของชนชั้นกลางล่างกำลังมาเยือน
ไม่ว่าท่านจะ “สี” อะไร นี่คือหนทางสู่ประตู “นรก”
เศรษฐกิจไทยยุค “ปฏิแหลเพื่อพี่” กำลังเข้าตาจน ประเด็นที่ถูกจับตามองมากที่สุดในขณะนี้น่าจะอยู่ที่ หนี้สินครัวเรือนและอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เริ่มที่จะชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัดเจน
ในเรื่องหนี้สินครัวเรือน ข้อเท็จจริงที่ปรากฏก็คือ สัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากระดับร้อยละ 44 เมื่อไตรมาสแรกปีพ.ศ. 2546 มาเป็นประมาณร้อยละ 78 ในไตรมาสสุดท้ายของปี พ.ศ. 2555 หรือเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวในช่วงระยะเวลาเพียง 10 ปีและเพิ่มอย่างรวดเร็วในช่วงรัฐบาล “ปฏิแหลเพื่อพี่”
หากไม่นำเอาตัวเลข GDP มาเป็นตัวหารเนื่องจากในช่วงในช่วงปี พ.ศ.2551-55 อัตราการเจริญเติบโตของ GDP โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำเพียงร้อยละ 2.9 ต่อปีเท่านั้นจากความไม่สงบทางการเมืองและความด้อยประสิทธิภาพของรัฐบาลจนทำให้น้ำท่วมทั้งแผ่นดิน เมื่อตัวหารมีขนาดเล็กลงกว่าปกติสัดส่วนข้างต้นก็อาจจะสูงเกินปกติได้
เมื่อคิดเฉพาะจำนวนหนี้ครัวเรือน ตัวเลขจากสำนักงานสถิติแห่งชาติชี้ให้เห็นว่าเพิ่มขึ้นจาก 124,560 บาทต่อครัวเรือนในปี พ.ศ. 2543 มาเป็น 241,760 บาทต่อครัวเรือนในปี พ.ศ. 2554 ยืนอยู่ที่ประมาณ 10 เท่าของรายได้ไม่เปลี่ยนแปลงสักเท่าใด
ส่วนปัจจัยที่ทำให้เกิดการเพิ่มในหนี้สินครัวเรือนอย่างรวดเร็วก็คงหนีไม่พ้น โครงการประชานิยมทั้งหลายที่กระตุ้นและกระตุ้นให้คนใช้จ่ายโดยรัฐบาลสนับสนุนการเป็นหนี้ในรูปแบบต่างๆ
ตัวอย่างที่ถูกยกขึ้นมาบ่อยครั้งก็คือ โครงการรถคันแรก ที่รัฐมนตรีคลังกิตติรัตน์บอกว่ารัฐบาลไม่ได้นำเงินมาอุดหนุนคนซื้อ แต่เป็นภาษีสรรพสามิตของเจ้าของรถเองเอามาคืนให้เมื่อถือครองเกิน 1 ปี หากจะมีหนี้เสียก็เป็นเรื่องของสถาบันการเงินเพราะเป็นผู้ตัดสินใจปล่อยสินเชื่อเอง รัฐบาลไม่เกี่ยวข้องแต่อย่างใด
ฟังดูเหตุผลแล้วก็ต้องบอกว่าเป็นรัฐมนตรีที่โกหกเก่งแล้วยังตะแบงเก่งอีกด้วย เหตุก็เพราะการเก็บภาษีไม่ว่าจะเป็นภาษีอะไรก็เป็นเรื่องหนึ่ง แต่การนำเงินของรัฐไปให้กับผู้ซื้อรถยนต์โดยอ้างว่าเป็นภาษีของผู้ซื้อแล้วคืนให้นั้นมันจะไม่เป็นการอุดหนุนผู้ซื้อให้สามารถซื้อรถในราคาที่ถูกลงกว่าเดิมได้อย่างไร เงินจากภาษีนั้นเป็นรายได้ของรัฐเมื่อเก็บได้ก็ต้องนำส่งคลัง ส่วนจะเบิกจ่ายเพื่อการใดก็ต้องตั้งจ่ายตามกฎหมายการเงิน เช่น งบประมาณรายจ่ายประจำปี ไม่สามารถรับเงินจากภาษีแล้วนำไปคืนให้โดยทันทีโดยไม่เข้าคลังเสียก่อน
แต่ที่รัฐมนตรีผู้นี้พูดไม่หมดและพยายามทำให้เข้าใจผิดก็คือ ภาษีสรรพสามิตมีไว้เพื่อจำกัดการบริโภค หาไม่แล้วก็จะมีคนซื้อรถเกินกว่าปริมาณความจุถนน สร้างผลกระทบภายนอกหรือ externalities ในด้านสภาพแวดล้อมทั้งรถติดและการปล่อยก๊าซคาร์บอนต่อทั้งผู้ใช้และไม่ได้ใช้รถดังเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
รถที่ซื้อในประเทศไทยที่มีราคาแพงกว่าซื้อในต่างประเทศหลายเท่าจนต้องมีการลักลอบแยกชิ้นส่วนมาจดประกอบนั้นก็เพื่อหลีกเลี่ยงภาษีส่วนนี้มิใช่หรือ รถเล็กและไม่ใช่รถหรูก็สร้างผลกระทบภายนอกนี้เช่นกัน ทำไมกิตติรัตน์ไม่เข้าใจเรื่องนี้เลยหรือว่าภาษีก็มีส่วนช่วยสภาพแวดล้อมได้เช่นกัน
ประเด็นสำคัญก็คือ ทำไมจึงต้องเอาเงินของประชาชนคนไทยทุกคนไม่ว่าจะจนหรือรวยไปช่วยให้คนบางคนสามารถซื้อรถได้ในราคาที่ถูกกว่าเดิมเพียงครั้งเดียว นี่คือคำถาม?
ตัวเลขภาระหนี้ครัวเรือนของประเทศ 241,760 บาทข้างต้นที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจึงเป็นเครื่องชี้ในภาพรวมเป็นค่าเฉลี่ย สิ่งที่ซ่อนอยู่ก็คือ ครัวเรือนในกทม.และปริมณฑลมีระดับหนี้โดยเฉลี่ยเกินกว่า 4 แสนบาทที่ส่วนใหญ่เกิดจากการไปซื้ออสังหาและวัตถุถาวรซึ่งต่างกับครัวเรือนในภาคอีสานและใต้ที่แม้จะมีจำนวนหนี้สินน้อยกว่า 2 แสนบาทแต่ส่วนใหญ่ก่อหนี้เพื่อนำไปบริโภคในครัวเรือนซึ่งแสดงถึงโอกาสการเกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้สูงเพราะ “กู้มากิน มิใช่นำมาลงทุน”
ในทำนองเดียวกันสัดส่วนหนี้ต่อรายได้ประมาณ 10 เท่าที่แม้จะดูเหมือนไม่เปลี่ยนแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีความสามารถในการชำระหนี้ได้เหมือนเดิมเพราะรายได้ยังเพิ่มขึ้นตามทันหนี้ที่เพิ่ม
ประเด็นก็คือ ราคาสินค้าเกษตรสำคัญที่เป็นเหล่งรายได้ไม่ว่าจะเป็น ยาง หรือ มัน ต่างมีราคาลดลงอย่างรุนแรงมาโดยตลอดซึ่งหมายความว่าหากไม่สามารถผลิตในจำนวนที่เพิ่มขึ้นได้ รายได้ของเกษตรกรก็จะลดลง ไม่เว้นแม้แต่ข้าวที่รัฐบาลคุยว่าเกษตรกรได้ประโยชน์เพราะราคาจำนำสูงถึง 15,000 บาทต่อตันข้าวเปลือก แต่ราคาที่เกษตรกรขายข้าวได้ก็ไม่ได้แตกต่างไปจากกรณีไม่มีโครงการจำนำข้าวทุกเมล็ดสักเท่าใด
ที่ผ่านมาโครงสร้างเศรษฐกิจประเทศไทยโตได้ด้วยการบริโภคจากประชาชนในประเทศและจากต่างประเทศในรูปของการส่งออกสินค้าไปขายต่างชาติ
หากรายได้เกษตรลดลงจากราคายาง 120 บาทเหลือเพียง 60 บาทเศษ หรือราคามันจาก 5 บาทเหลือเพียง 2 บาทเศษ หรือรายได้จากค่าจ้าง 300 บาทไม่พอเพียงเพราะราคาสินค้าเพิ่มมากกว่าค่าจ้าง พลังจากการบริโภคในประเทศก็จะลดลง
เช่นเดียวกันพลังจากการส่งออกนั้นทำได้ยากในปัจจุบันเนื่องจากต่างชาติที่ซื้อของจากไทยไม่ว่าจะเป็น จีน ญี่ปุ่น ยุโรป อาเซียน หรือแม้แต่สหรัฐฯ ต่างก็ประสบปัญหาเศรษฐกิจรายได้ลดลงหรือมีคนตกงานมากขึ้น อัตราการเพิ่มการส่งออกปีนี้ทั้งปีของไทยอาจไม่ถึงร้อยละ 3 ตามที่คาดไว้ทั้งที่โดยปกติจะโตเป็นเลข 2 หลัก
การปรับตัวเลขการเจริญเติบโตให้ลดลงจากร้อยละ 5 มาเหลือเพียงไม่เกินร้อยละ 4 จึงเริ่มที่จะเห็นได้ในครึ่งปีหลังด้วยพลังที่ลดลงจากการบริโภคและการส่งออกเป็นสาเหตุสำคัญ
ครัวเรือนจะมีหนี้เสียมากน้อยเพียงใดก็เป็นเรื่องเป็นปัญหาของสถาบันการเงินอย่างที่กิตติรัตน์อ้างก็จริงอยู่ แต่เมื่อรัฐบาลไทยฝากความหวังไว้กับโครงการเงินกู้ 3.5 แสนล้านและ 2 ล้านล้านบาทที่มีโอกาสเป็นอย่างมากที่จะไม่ได้ใช้เงินกู้ดังกล่าวแม้แต่บาทเดียวแต่เพียงลำพัง เศรษฐกิจไทยจึงถูกจับเป็นตัวประกันเช่นเดียวกับคนไทยจากกฎหมายนิรโทษกรรม
หากมีความผันผวนทั้งจากภายนอกหรือภายในก็มีโอกาสเป็นไปได้ไม่ยากเลยที่ GDP อาจโตอยู่ในระดับร้อยละ 0 ถึง 1 นั่นคือไม่เติบโตเลย อย่าลืมว่าตัวเลข 4 กับต่ำกว่า 1 นั้นใกล้กันมาก
หากรายได้ประเทศไม่โต ด้วยหนี้สินครัวเรือนที่สูง จะให้เตือนอีกไหมว่า นรกของชนชั้นกลางล่างกำลังมาเยือน