xs
xsm
sm
md
lg

ผู้จัดการสุดสัปดาห์

x

ทุกข์ขุนค้อน-เลขาสภาŽ ข้อหาจัดซื้อพิสดาร-เงินใหม่8พันล้าน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์-เรื่องเงินทองๆ ไม่เข้าใครออกใคร สัปดาห์ที่แล้ว นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ ส.ส.กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ(กมธ.ป.ป.ช.) สภาผู้แทนราษฏร ออกมาระบุว่า เตรียมยื่นที่ประชุมกมธ. 8 ส.ค.เพื่อตรวจสอบการใช้งบประมาณของนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา และ นายสุวิจักขณ์ นาควัชระชัย เลขาธิการสภาผู้แทนราษฏร หลังจากคาดว่า รัฐสภาน่าจะใช้ระบบจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีพิเศษโดยที่มีแพงกว่าราคาท้องตลาดมากกว่า 50 %

โดยยื่นสอบสวนใน 4 ประเด็นประกอบด้วย

1.กรณีเดินทางไปเยือนต่างประเทศของประธานรัฐสภา ซึ่งตามระเบียบประธานสภาฯจะต้องเซ็นรับรองเอกสารการเดินทางภายใน 15 วัน แต่ขณะนี้พบว่าไม่มีการเซ็นรับรองจึงทำให้ข้าราชการมีความผิด

2.กรณีจัดซื้อจัดจ้างปรับปรุงอาคารสถานที่บริเวณรัฐสภา ซึ่งส่วนตัวได้รับแจ้งจากข้าราชการว่าทุกครั้งที่การดำเนินการจะใช้วิธีพิเศษ

3.กรณีใช้งบประมาณต้อนรับแขกต่างประเทศ ปรากฏว่าจัดงานและอาหารรูปแบบเดียวกัน แต่ราคาแตกต่างกัน

4.กรณีอื่นๆ เช่น การซื้อนาฬิกาแขวนผนังยี่ห้อ Bodet จำนวน 200 เรือน มูลค่า 15 ล้านบาท เฉลี่ยเรือนละ 7.5 หมื่นบาทโดยประมาณตามที่มีการร้องเรียน เบื้องต้นตรวจสอบพบว่ายี่ห้อนาฬิกาดังกล่าวไม่มีขายแล้ว

นอกจากนี้พบว่ามีการติดเครื่องปรับอากาศจำนวน 2 เครื่องที่ห้องเก็บขยะบริเวณด้านหลังอาคารสโมสรรัฐสภา เป็นต้น

ก่อนหน้านี้ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ หลายคนออกมาแสงดความเห็น ไม่เห็นด้วย กับแจกแทบเล็ต ยี่ห้อแอปเปิ้ล รุ่นไอแพด 4 หน่วยความจำ 64 จิ๊กกะไบก์ พร้อมซิมการ์ดหมายเลขโทรศัพท์ จำนวน 500 เครื่อง เท่ากับจำนวน ส.ส. 500 คน แม้ทางสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฏร อ้างว่า เป็นลดการใช้กระดาษ โดยจะมีการแจ้งวาระการประชุม และเอกสารสำคัญผ่านทางไอแพด 4

ประเด็นนี้ ส.ส.ประชาธิปัตย์ อย่าง บุญยอด สุขถิ่นไทย ท้วงติงว่า ควรจะจัดซื้อเครื่องมินิไอแพด (Mini IPad) เพราะมีความสะดวกมากกว่า และราคาถูกกว่ากันด้วย แต่ก็ได้รับคำตอบมาจากผู้ที่เกี่ยวข้องว่า ต้องทำตามทีโออาร์ ที่ได้ตกลงกันไว้แล้ว

นอกจากนี้ ซิมการ์ดที่ใส่ในไอแพด ซึ่งทางสำนักเลขาธิการฯ แจ้งมาว่า มีค่าใช้จ่ายรายเดือน ๆ ละ 1,200 บาท ซึ่งรวมแล้วมีค่าใช้จ่ายประมาณปีละ 14,400 บาท ซึ่งเขาเคยติงต่อกรรมาธิการกิจการสภาฯ ว่าไม่สมควรที่จะจัดซื้อซิมให้ส.ส. เพราะ ส.ส.สามารถหาซื้อซิมของแต่ละคนได้เอง และส.ส.ต่างจังหวัดส่วนใหญ่ในแต่ละพื้นที่ มีเครือข่ายโทรศัพท์ครอบคลุมไม่เหมือนกัน

แต่ปรากฏว่า มีการแจก ซึ่งถือว่าเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณของสภาในแต่ละปีโดยไม่จำเป็น ถึงกว่า7,200,000 บาท

สำหรับสเป๊กไอแพด 4 ที่ส.ส. 500 คนจะรับไอแพด 4 จะต้องกรอกแบบฟอร์มยืมเครื่องคอมพิวเตอร์แบบหน้าจอสัมผัส โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จัดซื้อราคาเครื่องละ 28,355 บาท จำนวน 500 เครื่อง รวมทั้งหมดประมาณ 14,177,500 บาท

แต่จากการตรวจสอบราคาที่ขายในศูนย์จำหน่ายก็พบว่า รุ่นและคุณสมบัติของเครื่องนั้น ราคาเครื่องละ 26,500 บาทเท่านั้น หากจัดซื้อ 500 เครื่อง จะใช้งบประมาณทั้งหมด 13,250,000 บาท นอกจากนี้ ยังมีการจัดซื้ออุปกรณ์เพิ่มเติม ได้แก่ 1. ซิมการ์ด 1 หมายเลข 2. เคสใส่ 1,020 บาท 3. สายหูฟังราคา 965 บาท 4. ปากกา 1 ด้าม ราคา 430 บาท 5. ฟิล์มด้านติดบนหน้าจอ 6. แท่งชาร์ตพร้อมสาย ราคา 910 บาท และ 7. ราคาประกันเพิ่มเติม 2 ปี ราคา 6,000 บาท ทั้งนี้มีการตั้งข้อสังเกตว่า การจัดซื้อแทบเล็ตดังกล่าว ตามปกติจะมีการแถมแท่งชาร์ตพร้อมสายอยู่แล้ว แต่รายการที่เพิ่มขึ้น กลับมีการจัดซื้อเพิ่มเติม

ขณะที่ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ส่วนใหญ่ นำไอแพค 4 มาคืนสำนักเลขาธิการสภาฯ โดยเกรงว่า รัฐบาลจะใช้วิธีสอดแนมผ่าน Apple-IDที่ลงทะเบียนของสำนักเลขาธิการสภาฯเพียงรหัสเดียว

ขณะที่สำนักงานเลขาธิการฯ ก็ได้ออกมาชี้แจงถึงตัวเลขที่ระบุราคาของเครื่องที่ปรากฏในเอกสารใบยืมเป็นเงินจำนวน 28,355 บาท ซึ่งมากกว่าราคาจริง คือ 26,500 บาทนั้น เป็นเพราะความผิดพลาดในการจัดทำเอกสาร ซึ่งจริงๆ แล้วราคาก็เป็นราคาเดียวกับท้องตลาดดังกล่าว ขณะเดียวกันยังครอบคลุมไปถึงอุปกรณ์เสริมต่างๆ ปกหุ้มอุปกรณ์แบบหน้า-หลัง ราคา 1,020 บาท (ราคาท้องตลาด 2,000 บาท) สายหูฟัง ราคา 955 บาท (ราคาท้องตลาด 1,090 บาท) ปากการาคา 430 บาท (ราคาท้องตลาด 600 บาท) แผ่นฟิล์มแบบด้านเพื่อติดบนหน้าจอ ราคา 835 บาท (ราคาท้องตลาด 900 บาท)และรับประกันเครื่อง 3 ปี ราคาเครื่องละ 3,000 บาทต่อปี

นอกจากนี้ มีการจัดให้บริการอินเทอร์เน็ต แบบ 3จี รายเดือน ราคาเดือนละ 855 บาท ระยะเวลา 1 ปีด้วย

แต่ที่แปลกๆนายนุกูล สัญฐิติเสรี รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะกำกับดูแลสำนักสารสนเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ส่งเอกสารชี้แจงว่า แท้จริงแล้วราคาเครื่อง iPad นั้นอยู่ที่ 26,500 บาทเท่ากับราคาท้องตลาด

เหตุเพราะมีการพิมพ์เอกสารผิด โดยจะติดต่อสมาชิกฯ เพื่อแก้ไขเอกสารให้ถูกต้องต่อไป

ยังไม่รวมที่ สำนักงานเลขาธิการสภาด้ทำสัญญาจ้าง บริษัท บี บี โปรโมชั่น จำกัดจัดทำโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยจัดกิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าใจการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในวงเงิน 12 ล้านบาท

หลายเรื่องนี้ นายสุวิจักษณ์ นาควัชระชัย เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ชี้แจง ว่า โครงการจัดซื้อจัดจ้างไม่ได้แพงเกินจริง เพราะเป็นโครงการที่ได้ตั้งเอาไว้ตั้งแต่สมัยก่อนจะมาดำรงตำแหน่งเลขาธิการฯ โดยถ้าหากไม่ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างให้แล้วเสร็จให้ทันกับปีงบประมาณ มิเช่นนั้นจะต้องส่งคืนรัฐบาล

ส่วนการจัดซื้อนาฬิกาจำนวน 200 เรือนยอมรับว่าจำรายละเอียดเรื่องราคาไม่ได้แต่โครงการดังกล่าวได้ตั้งเรื่องมาตั้งแต่อดีตเลขาธิการสภาฯและได้มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบไว้เรียบร้อยแล้วทำให้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ และยืนยันว่านาฬิกาดังกล่าวเป็นยี่ห้อดีที่สุดของทวีปยุโรปและสาเหตุที่ต้องจัดซื้อจำนวนมากเพราะต้องนำไปติดตามห้องประชุมคณะกรรมาธิการต่างๆเพื่อให้ส.ส.และสว.ได้ทราบเวลา

โดยการจัดซื้อจัดจ้างทุกอย่างสามารถตรวจสอบได้อย่างชัดเจนโดยขณะนี้นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาฯได้มีนโยบายตั้งวอร์รูมเพื่อชี้แจงกรณีที่สภาฯถูกพาดพิงในหลายกรณี โดยให้นายวัฒนา เซ่งไพเราะ โฆษกประธานสภาฯรับผิดชอบชี้แจงประเด็นทางการเมือง ขณะที่ นายนุกูล สัญฐิติเสรี รองเลขาธิการสภาฯ รับผิดชอบชี้แจงประเด็นเกี่ยวกับกิจการภายในสภาฯ

ข้อกล่าวหาเรื่องการติดตั้งเครื่องปรับอากาศในห้องเก็บขยะนั้นยืนยันว่าแม้ว่ารูปลักษณ์ภายนอกจะเหมือนเครื่องปรับอากาศก็จริงแต่เป็นเครื่องดูดอากาศ

ก่อนหน้าเลขาธิการท่านนี้ ระบุในชั้นกมธ.งบประมาณว่า ไม่ใช่เป็นการของบเพื่อดำเนินการภายใน 1 ปี แต่เป็นการของบประมาณต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2554

ขณะที่ นายวัฒนา เซ่งไพเราะ โฆษกประธานสภาผู้แทนราษฎร ออกมาตอบโต้ว่า ทั้งหมดทั้งปวงเป็นอำนาจหน้าที่ของประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎรคือการออกนโยบาย ออกระเบียบภายใต้คณะกรรมการ ที่มีประธานรัฐสภาเป็นประธาน ส่วนเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรมีหน้าที่ควบคุมการปฎิบัติงานของข้าราชการ ที่ต้องดำเนินงานภายใต้ระเบียบและมติ ของคณะกรรมการ กร.

ในกรณีการเดินทางไปต่างประเทศของประธานรัฐสภานั้น ได้มีการเน้นย้ำเสมอให้มีการส่งเรื่องมาก่อน 15 วัน ซึ่งเป็นการดำเนินงานของข้าราชการที่ทำตามระเบียบราชการทุกประการ ประธานรัฐสภาเป็นเพียงผู้เซ็นรับรองค่าใช้จ่ายเท่านั้น

การจัดซื้อจัดจ้างโครงการต่างๆว่า ไม่ทราบรายละเอียด แต่เชื่อว่าเจ้าหน้าที่ทำงานด้วยความโปร่งใส สามารถตรวจสอบเอกสารหลักฐานได้กับ สำนักการคลัง สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยพร้อมเข้าให้ข้อมูลหากหากคณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เชิญเข้าชี้แจง

ส่วน นายพิทูร พุ่มหิรัญ อดีตเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร คนก่อนชี้แจงว่า ตัวเองจำไม่ได้ว่าได้ดำเนินโครงการอะไรไว้บ้าง โดยเฉพาะโครงการจัดซื้อจัดจ้างนาฬิกาแขวนผนัง ซึ่งให้ไปขอดูหลักฐานจากกองคลัง เพราะต้องมีการเปิดเอกสารต่างๆ อยู่แล้ว และก็ไม่รู้ว่าประเด็นขั้วอำนาจเก่าทำลายภาพลักษณ์ของรัฐสภาจริงหรือไม่

กลับมาตรวจดู วงเงินจาก พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2556 จำนวน 6,658.98 ล้านบาท เฉพาะในส่วนของ สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ที่เผยแพร่ในเวปไซด์ของสำนักงานเลขาธิการฯ

โดยเฉพาะโครงการที่รับผิดชอบโดยประธานสภาฯ รองประธานสภาฯทั้ง 2 คน เช่น โครงการจัดทำศูนย์ข้อมูลติดตามการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินของทุกส่วนราชการ วงเงิน 14,425,00 บาท โครงการจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงเครือข่ายส่วนภูมิภาค 7 สถานี วงเงิน 15,4000,000 บาท โครงการพัมนาระบบสืบค้นที่ใช้สำหรับกาประชุมสภาด้วยคอมพิวเตอร์ พกพาแบบจอสัมผัส 55,646,200 บาท โครงการพัฒนาเวปไซด์เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในการเมืองการปกครองฯ 5 ล้านบาท โครงการดำเนินงานประชาสัมพันธ์เชิงรุกของรัฐสภาทางสื่ออนไลน์ (Social Media) จำนวน 5 ล้านบาท

โครงการกำหนดยุทธศาสตร์แบรนด์การนำเสนอภาพลักษณ์และการพัมนาบุคลากรของสำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 8 ล้านบาทเศษ โครงการด้านรักษาความปลอดภัยรัฐสภา โครงการก่อสร้างศูนย์บริการจำหน่ายตั๋วเครื่องบิน รถไฟ และรถบขส. วงเงิน 2,800,000 บาท โครงการปรับปรุงระบบแลกบัตร สำหรับผ่านเข้าออกอิเล็คทีอนิกส? จำนวนเงิน 4 ล้านบาทเศษ โครงการจัดทำห้องประชุมยุทธศาสตร์เพื่อการตัดสินใจของรัฐสภา วงเงิน 24,599,996 บาท โครงการปรับปรุงนาฬิกา clock system สำหรับติดตั้งบริการภายในและโดยรอบอาคารรัฐสภา วงเงิน 14,112,845 บาท โครงการปรับปรุงห้องทำงานส.ส. 4 ล้านบาทเศษ

เป็นที่น่าสนใจว่า โครงการทั้งหมดจัดทำในรัฐสภาหลังเก่าตามงบปี 2556 ไม่เกี่ยวข้องกับรัฐสภาหลังใหม่ วงเงิน 4,106,760,000 บาท เพราะการตกแต่งภายในรวมอยู่ในวงเงินนี้ด้วย

ขณะที่ ในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 วงเงิน 2.525 ล้านล้านบาท โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ ได้พิจารณารายงานของคณะอนุกรรมาธิการทั้ง 6 คณะ พบว่าในส่วนสำนักงานเลขาธิการสภาฯได้ปรับเพิ่ม 562 ล้านบาท เพื่อใช้ในโครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ 451 ล้านบาท ให้หน่วยงานวิจัยของสภา 50 ล้านบาท และให้กรรมาธิการสามัญ 35 คณะ รวม 50 ล้านบาท

รวมงบประมาณปี 2557 ที่ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฏร ได้รับการจัดสรรทั้งสิ้นจำนวน 8,958 ล้านบาท มากกว่าปี 2556 อีกว่า 2,000 ล้านบาท



กำลังโหลดความคิดเห็น