ความขัดแย้งในสังคมไทยที่ดำรงอยู่มายาวนานประมาณ 10 ปีนี้มีความล้ำลึกหลากหลายมิติมากกว่าที่เคยมีมา ไม่แพ้ช่วงสงครามกลางเมืองในยุคสงครามเย็น หรือในบางมิติอาจกล่าวได้ว่าหนักหนาสาหัสกว่าด้วยซ้ำ แม้ดูเหมือนจะเริ่มต้นจากจุดเล็ก ๆ แต่สุดท้ายได้ขยายขอบเขตรวบเอาความขัดแย้งเกือบทั้งหมดตั้งแต่หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 มารวมอยู่ด้วยทั้งหมด
ไม่อาจแก้ไขได้ด้วยการเขียนกฎหมายนิรโทษกรรมฉบับเดียว
จะต้องพูดคุยกันจนตกผลึกก่อน
และเป็นการพูดคุยที่ต้องมีขอบเขตที่กว้างขวางครอบคลุมความขัดแย้งหลายหลายมิตินั้น
ภายใต้บรรยากาศและกระบวนการที่เหมาะสม
การนิรโทษกรรมในประเทศไทยโดยกฎหมายนับตั้งแต่ 24 มิถุนายน 2475 มีมาแล้ว 21 ครั้ง หรือหากนับอีกวิธีหนึ่งคือรวมเอารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 309 และกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมหรือเกี่ยวเนื่องกับการนิรโทษในกรณีเดียวกันอีก 3 ฉบับเข้าไว้ด้วยก็จะเป็น 25 ครั้ง
ทั้งหมดทำในรูปแบบพระราชบัญญัติ 17 ครั้ง พระราชกำหนด 4 ครั้ง คือ 2475, 2488, 2524 (ฉบับแรก) และ 2535
ในจำนวนพระราชกำหนด 4 ครั้ง สภาผู้แทนราษฎรไม่อนุมัติ 1 ครั้ง (ปี 2535) ทำให้พระราชกำหนดตกไป ไม่มีผลบังคับใช้ แต่ไม่กระทบกระเทือนผลแห่งการนิรโทษกรรมที่เกิดขึ้นไปแล้ว นี่คือความโหดร้ายของการนิรโทษกรรมโดยพระราชกำหนดที่ผมคัดค้านมาโดยตลอด
และแม้การนิรโทษกรรมโดยพระราชกำหนดจะถือว่าไม่มีผลมาตั้งแต่ต้นได้หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าขัดรัฐธรรมนูญ แต่ยังไม่เคยเกิดขึ้นเลยในทั้ง 4 ครั้ง หรือจะนับการนิรโทษกรรมโดยกฎหมายทุกรูปแบบทั้ง 21 ครั้ง (หรือ 25 ครั้ง) ศาลรัฐธรรมนูญและ/หรือตุลาการรัฐธรรมนูญก็ยังไม่เคยวินิจฉัยว่าขัดรัฐธรรมนูญเลยแม้แต่ครั้งเดียว
และสมควรทราบว่า การวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่จะมีผลทำให้พระราชกำหนดไม่มีผลมาแต่ต้นนั้นจะต้องใช้เสียงถึง 2 ใน 3
มีข้อสังเกตว่าในจำนวนทั้งหมดนี้ หากเป็นความผิดที่เกิดจากความขัดแย้งที่ล้ำลึกหลากหลายมิติ การนิรโทษกรรมโดยกฎหมายไม่เคยก่อให้เกิดความสามัคคีปรองดองที่แท้จริง และยุติการสูญเสียชีวิตเลือดเนื้อได้ เกิดการก่อการครั้งใหม่ตามมาเสมอ
ขอกล่าวถึงเป็นข้อสังเกตให้ร่วมกันศึกษาเพียง 2 ครั้ง
หนึ่ง - กรณีอันสืบเนื่องมาจากกบฏบวรเดช 11 ตุลาคม 2476
ถือเป็นการนิรโทษกรรมต่อกรรมที่เกิดขึ้นก่อนหน้ายาวนานที่สุดในจำนวนการนิรโทษกรรมทั้งหมด คือ 12 ปี โดยพ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดฐานกบฏและจลาจล พ.ศ. 2488 แม้การนิรโทษกรรมครั้งนี้จะตามมาด้วยการปฏิรูปการเมืองโดยรัฐธรรมนูญ 2489 ในอีก 1 ปีต่อมา
แต่เพียง 1 ปีเศษให้หลังก็เกิดการรัฐประหารที่นองเลือดที่สุดครั้งหนึ่งของประเทศไทยเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490
สอง - กรณีอันสืบเนื่องมาจากกบฏ 1 - 3 เมษายน 2524
การนิรโทษกรรมครั้งนี้ที่แม้กระทำในกรรมเดียวกันถึง 2 ครั้ง คือ พ.ร.ก.นิรโทษกรรมแก่ผู้ก่อความไม่สงบเพื่อยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินระหว่างวันที่ 31 มีนาคม ถึงวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2524 พ.ศ. 2524 เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2524 และพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.ก.นิรโทษกรรมแก่ผู้ก่อความไม่สงบเพื่อยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินระหว่างวันที่ 31 มีนาคม ถึงวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2524 พ.ศ. 2524 พ.ศ. 2524 (พิมพ์ไม่ผิดครับ ชื่อกฎหมายนี้ต้องมี 'พ.ศ. 2524' ซ้ำกัน 3 ครั้ง) เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2524 แต่ไม่สามารถยุติความขัดแย้ง ไม่สามารถสร้างความสามัคคีปรองดองที่แท้จริง
นอกจากก่อให้เกิดกบฏที่มีผู้เสียชีวิตโดยผู้ที่ได้รับนิรโทษกรรมไปแล้วในอีก 4 ปีต่อมาเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2528 ก่อให้เกิดการนิรโทษกรรมอีก 1 ครั้งเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2528 ยังเกิดคดีลอบสังหารบุคคลสำคัญโดยผู้ได้รับนิรโทษกรรมไปแล้วอีกหลายครั้ง มีผู้เสียชีวิตระหว่างจับกุม
แต่แม้จะมีกฎหมายนิรโทษกรรมไปแล้วรวม 3 ฉบับในรอบ 4 ปีจาก 2 เหตุการณ์ใหญ่ ความพยายามในการก่อการทั้งรัฐประหารและลอบสังหารก็กลายเป็นหนึ่งในข้ออ้างสำคัญที่ก่อให้เกิดการรัฐประหารในอีก 10 ปีต่อมาเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธุ์ 2534
การรัฐประหาร 23 กุมภาพันธุ์ 2534 แม้สำเร็จ แต่ก็เป็นเหตุให้เกิดการต่อต้านและการสูญเสียชีวิตเลือดเนื้อในอีก 1 ปีต่อมาช่วงวันที่ 17 - 20 พฤษภาคม 2535
ที่ยกเป็นข้อสังเกตมานี้ผมต้องการสื่อเพียงว่าต่อความขัดแย้งที่ล้ำลึกหลากหลายมิติ การออกกฎหมายนิรโทษกรรมไม่สามารถสร้างความสามัคคีปรองดองและยุติการต่อสู้ครั้งต่อไปอย่างแท้จริงตามที่มักเขียนไว้ในหลักการและเหตุผลของกฎหมาย !
ต้อง “คุย(อย่างจริงจัง)ก่อนเขียน(กฎหมาย)” เท่านั้น !!
การจะตั้งโต๊ะพูดคุยกัน “ทุกฝ่าย” นั้น จะเดินหน้าก้าวแรกได้หรือไม่ ก็ตอบได้ว่าอยู่ที่ 2 เงื่อนไข
หนึ่งคือบรรยากาศ สองคือความจริงใจ !
การแถลงของนายกรัฐมนตรีหลังกลับจากแอฟริกาเมื่อคืนวันที่ 2 สิงหาคม 2556 ที่ผ่านมาแม้จะเป็นการริเริ่มการพูดคุยกับทุกฝ่าย แต่อยู่ภายใต้บรรยากาศที่ยังไม่เหมาะสมนัก เพราะ 2 ปีที่ผ่านมานายกรัฐมนตรีไม่ได้มีท่าทีอะไรเรื่องนี้ นอกจากลอยตัวอยู่เหนือปัญหา บอกว่าเป็นเรื่องของสภา มาแสดงท่าทีชัดเจนครั้งนี้ก็ต่อเมื่อก่อนมีการชุมนุมครั้งใหญ่ของฝ่ายต่อต้านที่เต็มไปด้วยข่าวลือหลากหลาย อันเนื่องมาจากเครือข่ายรัฐบาลกำลังเสนอร่างกฎหมายนิรโทษกรรมเข้าสู่การพิจารณาของสภา ตามมาด้วยร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม 3 ฉบับที่เสร็จขั้นตอนในชั้นกรรมาธิการแล้ว
จึงถูกมองว่าเป็นเพียงกลยุทธเพื่อสลายพลังของฝ่ายต่อต้านนอกรัฐสภา
หากประสงค์จะให้กระบวนการพูดคุยเดินหน้านับ 1 ไปได้มีแต่จะต้องแสดงความจริงใจออกมาให้เป็นรูปธรรม
ถอนวาระการพิจารณาร่างกฎหมายนิรโทษกรรมและ/หรือร่างรัฐธรรมนูญทุกฉบับไว้ก่อน รอให้กระบวนการพูดคุยเดินหน้าไปก่อน
และเลิกคิดตั้งเป้าวางแผนล่วงหน้าโดยไม่ฟังฝ่ายอื่นวางตัวคุณบรรหาร ศิลปอาชามาเป็นประธานสภาปฏิรูปการเมืองหรือองค์กรชื่ออื่นที่จะเกิดขึ้น
รวมทั้งเลิกกะเกณฑ์กรอบและ/หรือผลของการพูดคุยไว้ล่วงหน้า
แม้จะไม่ใช่หลักประกันว่าว่าจะเดินหน้าไปได้ตลอดรอดฝั่ง แต่ก็ดีกว่าการพูดว่า “ไม่มีอำนาจ...”, “เป็นเรื่องของสภาค่ะ ดิฉันมีแค่เสียงเดียว...” ซึ่งรังแต่จะทำให้คนคิดคนเชื่อว่ามุกใหม่นี้ก็แค่อีกกลยุทธหลอกลวงหนึ่งในการบั่นทอนพลังกลุ่มต่อต้านทั้งในและนอกสภาที่โหมกระแสในช่วง 4 - 7 สิงหาคมนี้เท่านั้นเอง
ถ้าจริงใจ และจริงจัง ลองศึกษาการทำงานของคณะทำงานพูดคุยระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ในนาม “โครงการเราจะส่งมอบประเทศไทยแบบไหนให้ลูกหลาน” ที่นำเอาโนว์ฮาวของอาดัม คาเฮนมาดำเนินการ ซึ่งต้องใช้เวลามากกว่า 2 ปีก่อนจะเริ่มกระบวนการพูดคุย
ผู้ครองอำนาจ ผู้ชนะ(การเลือกตั้ง) ต้อง “เสียสละ” ให้เห็นเป็นรูปธรรมเพียงพอจึงจะมีน้ำหนักพอจะกระตุกทุกฝ่ายให้ใคร่ครวญเข้าร่วมได้ !
ไม่อาจแก้ไขได้ด้วยการเขียนกฎหมายนิรโทษกรรมฉบับเดียว
จะต้องพูดคุยกันจนตกผลึกก่อน
และเป็นการพูดคุยที่ต้องมีขอบเขตที่กว้างขวางครอบคลุมความขัดแย้งหลายหลายมิตินั้น
ภายใต้บรรยากาศและกระบวนการที่เหมาะสม
การนิรโทษกรรมในประเทศไทยโดยกฎหมายนับตั้งแต่ 24 มิถุนายน 2475 มีมาแล้ว 21 ครั้ง หรือหากนับอีกวิธีหนึ่งคือรวมเอารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 309 และกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมหรือเกี่ยวเนื่องกับการนิรโทษในกรณีเดียวกันอีก 3 ฉบับเข้าไว้ด้วยก็จะเป็น 25 ครั้ง
ทั้งหมดทำในรูปแบบพระราชบัญญัติ 17 ครั้ง พระราชกำหนด 4 ครั้ง คือ 2475, 2488, 2524 (ฉบับแรก) และ 2535
ในจำนวนพระราชกำหนด 4 ครั้ง สภาผู้แทนราษฎรไม่อนุมัติ 1 ครั้ง (ปี 2535) ทำให้พระราชกำหนดตกไป ไม่มีผลบังคับใช้ แต่ไม่กระทบกระเทือนผลแห่งการนิรโทษกรรมที่เกิดขึ้นไปแล้ว นี่คือความโหดร้ายของการนิรโทษกรรมโดยพระราชกำหนดที่ผมคัดค้านมาโดยตลอด
และแม้การนิรโทษกรรมโดยพระราชกำหนดจะถือว่าไม่มีผลมาตั้งแต่ต้นได้หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าขัดรัฐธรรมนูญ แต่ยังไม่เคยเกิดขึ้นเลยในทั้ง 4 ครั้ง หรือจะนับการนิรโทษกรรมโดยกฎหมายทุกรูปแบบทั้ง 21 ครั้ง (หรือ 25 ครั้ง) ศาลรัฐธรรมนูญและ/หรือตุลาการรัฐธรรมนูญก็ยังไม่เคยวินิจฉัยว่าขัดรัฐธรรมนูญเลยแม้แต่ครั้งเดียว
และสมควรทราบว่า การวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่จะมีผลทำให้พระราชกำหนดไม่มีผลมาแต่ต้นนั้นจะต้องใช้เสียงถึง 2 ใน 3
มีข้อสังเกตว่าในจำนวนทั้งหมดนี้ หากเป็นความผิดที่เกิดจากความขัดแย้งที่ล้ำลึกหลากหลายมิติ การนิรโทษกรรมโดยกฎหมายไม่เคยก่อให้เกิดความสามัคคีปรองดองที่แท้จริง และยุติการสูญเสียชีวิตเลือดเนื้อได้ เกิดการก่อการครั้งใหม่ตามมาเสมอ
ขอกล่าวถึงเป็นข้อสังเกตให้ร่วมกันศึกษาเพียง 2 ครั้ง
หนึ่ง - กรณีอันสืบเนื่องมาจากกบฏบวรเดช 11 ตุลาคม 2476
ถือเป็นการนิรโทษกรรมต่อกรรมที่เกิดขึ้นก่อนหน้ายาวนานที่สุดในจำนวนการนิรโทษกรรมทั้งหมด คือ 12 ปี โดยพ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดฐานกบฏและจลาจล พ.ศ. 2488 แม้การนิรโทษกรรมครั้งนี้จะตามมาด้วยการปฏิรูปการเมืองโดยรัฐธรรมนูญ 2489 ในอีก 1 ปีต่อมา
แต่เพียง 1 ปีเศษให้หลังก็เกิดการรัฐประหารที่นองเลือดที่สุดครั้งหนึ่งของประเทศไทยเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490
สอง - กรณีอันสืบเนื่องมาจากกบฏ 1 - 3 เมษายน 2524
การนิรโทษกรรมครั้งนี้ที่แม้กระทำในกรรมเดียวกันถึง 2 ครั้ง คือ พ.ร.ก.นิรโทษกรรมแก่ผู้ก่อความไม่สงบเพื่อยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินระหว่างวันที่ 31 มีนาคม ถึงวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2524 พ.ศ. 2524 เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2524 และพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.ก.นิรโทษกรรมแก่ผู้ก่อความไม่สงบเพื่อยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินระหว่างวันที่ 31 มีนาคม ถึงวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2524 พ.ศ. 2524 พ.ศ. 2524 (พิมพ์ไม่ผิดครับ ชื่อกฎหมายนี้ต้องมี 'พ.ศ. 2524' ซ้ำกัน 3 ครั้ง) เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2524 แต่ไม่สามารถยุติความขัดแย้ง ไม่สามารถสร้างความสามัคคีปรองดองที่แท้จริง
นอกจากก่อให้เกิดกบฏที่มีผู้เสียชีวิตโดยผู้ที่ได้รับนิรโทษกรรมไปแล้วในอีก 4 ปีต่อมาเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2528 ก่อให้เกิดการนิรโทษกรรมอีก 1 ครั้งเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2528 ยังเกิดคดีลอบสังหารบุคคลสำคัญโดยผู้ได้รับนิรโทษกรรมไปแล้วอีกหลายครั้ง มีผู้เสียชีวิตระหว่างจับกุม
แต่แม้จะมีกฎหมายนิรโทษกรรมไปแล้วรวม 3 ฉบับในรอบ 4 ปีจาก 2 เหตุการณ์ใหญ่ ความพยายามในการก่อการทั้งรัฐประหารและลอบสังหารก็กลายเป็นหนึ่งในข้ออ้างสำคัญที่ก่อให้เกิดการรัฐประหารในอีก 10 ปีต่อมาเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธุ์ 2534
การรัฐประหาร 23 กุมภาพันธุ์ 2534 แม้สำเร็จ แต่ก็เป็นเหตุให้เกิดการต่อต้านและการสูญเสียชีวิตเลือดเนื้อในอีก 1 ปีต่อมาช่วงวันที่ 17 - 20 พฤษภาคม 2535
ที่ยกเป็นข้อสังเกตมานี้ผมต้องการสื่อเพียงว่าต่อความขัดแย้งที่ล้ำลึกหลากหลายมิติ การออกกฎหมายนิรโทษกรรมไม่สามารถสร้างความสามัคคีปรองดองและยุติการต่อสู้ครั้งต่อไปอย่างแท้จริงตามที่มักเขียนไว้ในหลักการและเหตุผลของกฎหมาย !
ต้อง “คุย(อย่างจริงจัง)ก่อนเขียน(กฎหมาย)” เท่านั้น !!
การจะตั้งโต๊ะพูดคุยกัน “ทุกฝ่าย” นั้น จะเดินหน้าก้าวแรกได้หรือไม่ ก็ตอบได้ว่าอยู่ที่ 2 เงื่อนไข
หนึ่งคือบรรยากาศ สองคือความจริงใจ !
การแถลงของนายกรัฐมนตรีหลังกลับจากแอฟริกาเมื่อคืนวันที่ 2 สิงหาคม 2556 ที่ผ่านมาแม้จะเป็นการริเริ่มการพูดคุยกับทุกฝ่าย แต่อยู่ภายใต้บรรยากาศที่ยังไม่เหมาะสมนัก เพราะ 2 ปีที่ผ่านมานายกรัฐมนตรีไม่ได้มีท่าทีอะไรเรื่องนี้ นอกจากลอยตัวอยู่เหนือปัญหา บอกว่าเป็นเรื่องของสภา มาแสดงท่าทีชัดเจนครั้งนี้ก็ต่อเมื่อก่อนมีการชุมนุมครั้งใหญ่ของฝ่ายต่อต้านที่เต็มไปด้วยข่าวลือหลากหลาย อันเนื่องมาจากเครือข่ายรัฐบาลกำลังเสนอร่างกฎหมายนิรโทษกรรมเข้าสู่การพิจารณาของสภา ตามมาด้วยร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม 3 ฉบับที่เสร็จขั้นตอนในชั้นกรรมาธิการแล้ว
จึงถูกมองว่าเป็นเพียงกลยุทธเพื่อสลายพลังของฝ่ายต่อต้านนอกรัฐสภา
หากประสงค์จะให้กระบวนการพูดคุยเดินหน้านับ 1 ไปได้มีแต่จะต้องแสดงความจริงใจออกมาให้เป็นรูปธรรม
ถอนวาระการพิจารณาร่างกฎหมายนิรโทษกรรมและ/หรือร่างรัฐธรรมนูญทุกฉบับไว้ก่อน รอให้กระบวนการพูดคุยเดินหน้าไปก่อน
และเลิกคิดตั้งเป้าวางแผนล่วงหน้าโดยไม่ฟังฝ่ายอื่นวางตัวคุณบรรหาร ศิลปอาชามาเป็นประธานสภาปฏิรูปการเมืองหรือองค์กรชื่ออื่นที่จะเกิดขึ้น
รวมทั้งเลิกกะเกณฑ์กรอบและ/หรือผลของการพูดคุยไว้ล่วงหน้า
แม้จะไม่ใช่หลักประกันว่าว่าจะเดินหน้าไปได้ตลอดรอดฝั่ง แต่ก็ดีกว่าการพูดว่า “ไม่มีอำนาจ...”, “เป็นเรื่องของสภาค่ะ ดิฉันมีแค่เสียงเดียว...” ซึ่งรังแต่จะทำให้คนคิดคนเชื่อว่ามุกใหม่นี้ก็แค่อีกกลยุทธหลอกลวงหนึ่งในการบั่นทอนพลังกลุ่มต่อต้านทั้งในและนอกสภาที่โหมกระแสในช่วง 4 - 7 สิงหาคมนี้เท่านั้นเอง
ถ้าจริงใจ และจริงจัง ลองศึกษาการทำงานของคณะทำงานพูดคุยระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ในนาม “โครงการเราจะส่งมอบประเทศไทยแบบไหนให้ลูกหลาน” ที่นำเอาโนว์ฮาวของอาดัม คาเฮนมาดำเนินการ ซึ่งต้องใช้เวลามากกว่า 2 ปีก่อนจะเริ่มกระบวนการพูดคุย
ผู้ครองอำนาจ ผู้ชนะ(การเลือกตั้ง) ต้อง “เสียสละ” ให้เห็นเป็นรูปธรรมเพียงพอจึงจะมีน้ำหนักพอจะกระตุกทุกฝ่ายให้ใคร่ครวญเข้าร่วมได้ !