หมูขยับแตะโลละ 140 บาทอีกแล้ว หลังหมูเป็นราคาวิ่งกระฉูด เหตุหมูเข้าสู่ตลาดลดลง สมาคมหมูคาดราคาวิ่งต่อ แนะรัฐดูแลราคาปลายทาง จับตาวัตถุดิบอาหารเริ่มขยับ ห่วงกระทบจานด่วน
ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงพาณิชย์ว่า จากการสำรวจราคาสินค้าเกษตรในตลาดสดกรุงเทพฯ ของกรมการค้าภายในพบว่า ราคาขายปลีกหมูเนื้อแดงได้ปรับราคาเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่กิโลกรัม (กก.) ละ 135-140 บาท เพิ่มขึ้นจากช่วงสัปดาห์ก่อนที่หมูเนื้อแดงเฉลี่ยอยู่ กก.ละ 130-135 บาท ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นหลังจากที่ราคาหมูเป็นหน้าฟาร์มขยับราคาขึ้นมาอีกกก.ละ 2-3 บาท จากราคากก.ละ 65 บาทมาอยู่ที่กก.ละ 67-69 บาท ทำให้ผู้ค้าต้องปรับขึ้นราคาหน้าเขียงตาม
สาเหตุที่ราคาหมูเป็นหน้าฟาร์มได้ปรับตัวสูงขึ้น กลุ่มผู้เลี้ยงสุกรได้ให้เหตุผลว่า เพราะปริมาณลูกหมูลดลง จากการที่เกษตรกรลดการเลี้ยงหมูตั้งแต่กลางปีที่แล้ว จากภาวะการขาดทุน ประกอบการเกิดภาวะโรคในหมู ทำให้หมูตายลงจำนวนหนึ่ง จึงเริ่มส่งผลกระทบต่อปริมาณหมูเข้าสู่ตลาดในช่วงนี้ โดยปกติหมูที่เข้าสู่ตลาดจะอยู่ที่วันละ 4 หมื่นตัว แต่ขณะนี้ปริมาณน่าจะลดลง ซึ่งต้องรอสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติยืนยันอีกที
ทั้งนี้ สมาคมฯ จะมีการประชุมเพื่อทบทวนตัวเลขราคาหมูเป็นหน้าฟาร์มว่าจำเป็นต้องปรับเพิ่มขึ้นจากราคาปัจจุบันที่กก.ละ 67-69 บาทหรือไม่ ซึ่งหากปริมาณหมูลดลงมาก ก็อาจต้องปรับราคาหมูเป็นหน้าฟาร์มขึ้นมาอีก จะทำให้หมูเป็นหน้าฟาร์มทะลุเกินกก.ละ 70 บาทขึ้นไป ส่งผลให้ราคาขายปลีกหมูหน้าเขียงต้องปรับราคาตาม
อย่างไรก็ตาม มองว่าราคาหมูเป็นหน้าฟาร์มที่ขายอยู่ในปัจจุบันนี้ หมูหน้าเขียงไม่ควรขายเกินกก.ละ 130-135 บาท ซึ่งหากขายเกินกว่านั้น ถือเป็นการค้ากำไรเกินควร ภาครัฐต้องเข้าไปดูแลราคาปลายทาง และหากราคาหมูเป็นต้องขยับเพิ่มขึ้น จนกระทบกับราคาขายปลีก สมาคมฯ
ก็พร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ในการจัดหาหมูราคาพิเศษเพื่อนำมาจำหน่ายในโครงการธงฟ้า เพื่อช่วยลดค่าครองชีพให้กับประชาชน
นอกจากนี้ ยังพบว่า ราคาสินค้าในกลุ่มวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตอาหารปรุงสำเร็จเริ่มปรับตัวสูงขึ้น เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ ประกอบการในช่วงเดือนก.ย.2556 จะมีการปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ภาคครัวเรือน ยิ่งจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนในการทำอาหารจานด่วน ซึ่งต้องจับตาราคาอาหารจานด่วนในตลาดจะมีการฉวยโอกาสปรับขึ้นราคาอีกหรือไม่ จากปัจจุบันที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดราคาแนะนำอาหาร 10 เมนูยอดนิยม ไม่เกินจานละ 30-35 บาท
น.ส.วิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า ราคาหมูหน้าเขียงที่ปรับขึ้นระยะนี้ เป็นผลมาจากหมูเป็นหน้าฟาร์มปรับขึ้นมากก.ละ 67-68 บาท หรือปรับขึ้นมา 2-3 บาท ซึ่งราคาขายปลีกหมูหน้าเขียงไม่ควรเกินกก.ละ 135 บาท แต่กรมฯ ยังคงไม่ลงไปตรวจสอบการขายหมูหน้าเขียง โดยจะปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาดก่อน และจะมีการประกาศราคาแนะนำ เพื่อให้ประชาชนตัดสินใจในการเลือกซื้อ.
ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงพาณิชย์ว่า จากการสำรวจราคาสินค้าเกษตรในตลาดสดกรุงเทพฯ ของกรมการค้าภายในพบว่า ราคาขายปลีกหมูเนื้อแดงได้ปรับราคาเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่กิโลกรัม (กก.) ละ 135-140 บาท เพิ่มขึ้นจากช่วงสัปดาห์ก่อนที่หมูเนื้อแดงเฉลี่ยอยู่ กก.ละ 130-135 บาท ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นหลังจากที่ราคาหมูเป็นหน้าฟาร์มขยับราคาขึ้นมาอีกกก.ละ 2-3 บาท จากราคากก.ละ 65 บาทมาอยู่ที่กก.ละ 67-69 บาท ทำให้ผู้ค้าต้องปรับขึ้นราคาหน้าเขียงตาม
สาเหตุที่ราคาหมูเป็นหน้าฟาร์มได้ปรับตัวสูงขึ้น กลุ่มผู้เลี้ยงสุกรได้ให้เหตุผลว่า เพราะปริมาณลูกหมูลดลง จากการที่เกษตรกรลดการเลี้ยงหมูตั้งแต่กลางปีที่แล้ว จากภาวะการขาดทุน ประกอบการเกิดภาวะโรคในหมู ทำให้หมูตายลงจำนวนหนึ่ง จึงเริ่มส่งผลกระทบต่อปริมาณหมูเข้าสู่ตลาดในช่วงนี้ โดยปกติหมูที่เข้าสู่ตลาดจะอยู่ที่วันละ 4 หมื่นตัว แต่ขณะนี้ปริมาณน่าจะลดลง ซึ่งต้องรอสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติยืนยันอีกที
ทั้งนี้ สมาคมฯ จะมีการประชุมเพื่อทบทวนตัวเลขราคาหมูเป็นหน้าฟาร์มว่าจำเป็นต้องปรับเพิ่มขึ้นจากราคาปัจจุบันที่กก.ละ 67-69 บาทหรือไม่ ซึ่งหากปริมาณหมูลดลงมาก ก็อาจต้องปรับราคาหมูเป็นหน้าฟาร์มขึ้นมาอีก จะทำให้หมูเป็นหน้าฟาร์มทะลุเกินกก.ละ 70 บาทขึ้นไป ส่งผลให้ราคาขายปลีกหมูหน้าเขียงต้องปรับราคาตาม
อย่างไรก็ตาม มองว่าราคาหมูเป็นหน้าฟาร์มที่ขายอยู่ในปัจจุบันนี้ หมูหน้าเขียงไม่ควรขายเกินกก.ละ 130-135 บาท ซึ่งหากขายเกินกว่านั้น ถือเป็นการค้ากำไรเกินควร ภาครัฐต้องเข้าไปดูแลราคาปลายทาง และหากราคาหมูเป็นต้องขยับเพิ่มขึ้น จนกระทบกับราคาขายปลีก สมาคมฯ
ก็พร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ในการจัดหาหมูราคาพิเศษเพื่อนำมาจำหน่ายในโครงการธงฟ้า เพื่อช่วยลดค่าครองชีพให้กับประชาชน
นอกจากนี้ ยังพบว่า ราคาสินค้าในกลุ่มวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตอาหารปรุงสำเร็จเริ่มปรับตัวสูงขึ้น เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ ประกอบการในช่วงเดือนก.ย.2556 จะมีการปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ภาคครัวเรือน ยิ่งจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนในการทำอาหารจานด่วน ซึ่งต้องจับตาราคาอาหารจานด่วนในตลาดจะมีการฉวยโอกาสปรับขึ้นราคาอีกหรือไม่ จากปัจจุบันที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดราคาแนะนำอาหาร 10 เมนูยอดนิยม ไม่เกินจานละ 30-35 บาท
น.ส.วิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า ราคาหมูหน้าเขียงที่ปรับขึ้นระยะนี้ เป็นผลมาจากหมูเป็นหน้าฟาร์มปรับขึ้นมากก.ละ 67-68 บาท หรือปรับขึ้นมา 2-3 บาท ซึ่งราคาขายปลีกหมูหน้าเขียงไม่ควรเกินกก.ละ 135 บาท แต่กรมฯ ยังคงไม่ลงไปตรวจสอบการขายหมูหน้าเขียง โดยจะปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาดก่อน และจะมีการประกาศราคาแนะนำ เพื่อให้ประชาชนตัดสินใจในการเลือกซื้อ.