นายจาตุรันต์ บุญเบ็ญจรัตน์ ผู้ช่วยผู้ประสานงานกลุ่มกรีน กล่าวถึงกรณีที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ส่งข้อมูลและหลักฐานเพิ่มเติมในการพิจารณาความผิดทางจริยธรรม พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) ให้แก่คณะกรรมการป้องกันและกราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ว่า เชื่อว่าการได้รับข้อมูลหลักฐานเพิ่มเติม จะนำไปสู่การพิจารณา และมีมติของป.ป.ช.ในไม่ช้านี้ เพราะก่อนหน้านี้ก็ได้เรียกตนในฐานะผู้ร้องไปสอบสวนเพิ่มเติมมาแล้ว อีกทั้งทางกลุ่มกรีน ก็ได้ยื่นคำร้อง พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ให้ทั้ง 2 องค์กรตรวจสอบในวันเดียวกัน เพียงแต่เรื่องที่ยื่นให้พิจารณาความผิดต่างกันเท่านั้น โดยยื่นคำร้องต่อป.ป.ช.ให้พิจารณเรื่องความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และการดำเนินการเรื่องผ่านมานานพอสมควรแล้ว
นายจาตุรันต์ กล่าวว่า กรณีของ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ เป็นประเด็นที่ทำให้สังคมเกิดความสับสนในตัวบทกฏหมาย เพราะฝ่ายผู้ร้องมองว่าเมื่อเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐเพิกเฉยไม่จับกุมบุคคลที่หนีคดีจากประเทศไทย อีกทั้งทราบเป็นอย่างดีว่านักโทษคนนี้หลบหนีอยูที่ใด เพราะมีการวางแผนนัดหมายไปพบกันล่วงหน้า ซึ่งในความเป็นจริงหน้าที่ของผู้พิทักษ์กฏหมายต้องดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดที่เป็นประโยชน์ต่อทางราชการในการติดตามตัวผู้ต้องหาหลบหนีคดี มิใช่ลาราชการไปพบกับนักโทษหนีคดีเพื่อประดับยศ ซึ่งเป็นยศระดับสูงและเป็นตำแหน่งที่อยู่ในองค์กรที่กินเงินเดือนภาษีพี่น้องประชาชน ขณะที่ฝ่ายที่สนับสนุน พล.ต.ท.คำรณวิทย์ก็เห็นว่า เรื่องนี้ไม่ผิด โดยอ้างว่า ไม่ใช่เขตประเทศไทย จึงไม่สามารถดำเนินการจับกุมหรือบังคับใช้กฏหมายไทยได้
“คดีนี้ดูแล้วไม่น่าซับซ้อนอะไร เพราะมีหลักฐานชัดทุกอย่าง จึงอยากเรียกร้องให้ ป.ป.ช.เร่งพิจารณาเพื่อให้เกิดเป็นบรรทัดฐานต่อไปในอนาคต ส่วนกระแสที่เกิดขึ้นในสังคมออนไลน์เรื่องบุพพการี พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ผมไม่อยากสังคมพาดพิงเรื่องนั้น เพราะหากจะผิด ก็อยู่ที่ตัวพล.ต.ท.คำรณวิทย์ คนเดียว ที่แยกแยะไม่ออกถึงคำว่าบุญคุณ กับคำว่า หน้าที่ เป็นอย่างไร” นายจาตุรันต์ กล่าว
สำหรับในส่วนของ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ในฐานะผู้บังคับบัญชา พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ที่ยืนยันว่าได้รับหนังสือจากทางผู้ตรวจการแผ่นดินแล้วนั้น หากยังไม่ดำเนินการสอบจริยธรรมและวินัย พล.ต.ท.คำรณวิทย์ อย่างตรงไปตรงมา ทางกลุ่มกรีน จะพิจารณาร้องกล่าวโทษเอาผิดกับผบ.ตร.ด้วย
นายจาตุรันต์ กล่าวว่า กรณีของ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ เป็นประเด็นที่ทำให้สังคมเกิดความสับสนในตัวบทกฏหมาย เพราะฝ่ายผู้ร้องมองว่าเมื่อเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐเพิกเฉยไม่จับกุมบุคคลที่หนีคดีจากประเทศไทย อีกทั้งทราบเป็นอย่างดีว่านักโทษคนนี้หลบหนีอยูที่ใด เพราะมีการวางแผนนัดหมายไปพบกันล่วงหน้า ซึ่งในความเป็นจริงหน้าที่ของผู้พิทักษ์กฏหมายต้องดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดที่เป็นประโยชน์ต่อทางราชการในการติดตามตัวผู้ต้องหาหลบหนีคดี มิใช่ลาราชการไปพบกับนักโทษหนีคดีเพื่อประดับยศ ซึ่งเป็นยศระดับสูงและเป็นตำแหน่งที่อยู่ในองค์กรที่กินเงินเดือนภาษีพี่น้องประชาชน ขณะที่ฝ่ายที่สนับสนุน พล.ต.ท.คำรณวิทย์ก็เห็นว่า เรื่องนี้ไม่ผิด โดยอ้างว่า ไม่ใช่เขตประเทศไทย จึงไม่สามารถดำเนินการจับกุมหรือบังคับใช้กฏหมายไทยได้
“คดีนี้ดูแล้วไม่น่าซับซ้อนอะไร เพราะมีหลักฐานชัดทุกอย่าง จึงอยากเรียกร้องให้ ป.ป.ช.เร่งพิจารณาเพื่อให้เกิดเป็นบรรทัดฐานต่อไปในอนาคต ส่วนกระแสที่เกิดขึ้นในสังคมออนไลน์เรื่องบุพพการี พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ผมไม่อยากสังคมพาดพิงเรื่องนั้น เพราะหากจะผิด ก็อยู่ที่ตัวพล.ต.ท.คำรณวิทย์ คนเดียว ที่แยกแยะไม่ออกถึงคำว่าบุญคุณ กับคำว่า หน้าที่ เป็นอย่างไร” นายจาตุรันต์ กล่าว
สำหรับในส่วนของ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ในฐานะผู้บังคับบัญชา พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ที่ยืนยันว่าได้รับหนังสือจากทางผู้ตรวจการแผ่นดินแล้วนั้น หากยังไม่ดำเนินการสอบจริยธรรมและวินัย พล.ต.ท.คำรณวิทย์ อย่างตรงไปตรงมา ทางกลุ่มกรีน จะพิจารณาร้องกล่าวโทษเอาผิดกับผบ.ตร.ด้วย