ASTV ผู้จัดการรายวัน – “โตโยต้า” ปรับเป้าตัวเลขตลาดรถปีนี้เป็น 1.3 ล้านคัน เหตุค่ายรถเร่งผลิตส่งมอบรถคันแรกได้มาก แต่ยังต่ำกว่าปีที่ผ่านมา หรือลดลง 9.5% เผยตลาดจะกลับมาพุ่งแรงอีกครั้งในปี 2558 เหตุประชาชนแห่ซื้อรถก่อนปรับราคา ตามโครงสร้างภาษีสรรถสามิตใหม่ในปี 2559 ที่ใช้มาตรฐาน CO2 เป็นเกณฑ์กำหนดอัตราภาษี
นายเคียวอิจิ ทานาดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า ตลดรถไทยครึ่งแรกของปีนี้ มีปริมาณกว่า 7.40 แสนคัน เพิ่มขึ้น 22.1% จากการเร่งผลิตเพื่อส่งมอบรถในโครงการรถคันแรก ทำให้คาดว่าถึงสิ้นปีนี้ตลาดรถน่าจะอยู่ที่ประมาณ 1.3 ล้านคัน หรือลงจากปีที่แล้ว 9.5% แต่มากกว่าที่ประเมินเมื่อต้นปีไว้ที่ 1.2 ล้านคัน โดยครึ่งปีหลังจะมีการชะลอตัวชัดเจน จากยอดจองรถคันแรกที่ส่งมอบใกล้หมดลง ขณะที่โตโยต้าตั้งเป้าการขายไว้ทั้งสิ้น 4.5 แสนคัน ลดลง 12.8% จากความต้องการของตลาดลดลง ขณะที่ในส่วนของการส่งออก 4.38 แสนคัน รวมมูลค่าส่งออกรถและชิ้นส่วนทั้งสิ้น 2.51 แสนล้านบาท
“ทิศทางตลาดรถไทยในปีหน้า คาดจะลดลงเป็นกว่า 1.2 ล้านคัน กลับเข้าสู่สภาวะตลาดปกติ เพราะไม่มียอดค้างส่งมอบจากโครงการรถคันแรกมาช่วยเหมือนในปีนี้ แต่โตโยต้ามองว่าในปี 2558 ตลาดรถยนต์ในไทยจะกลับมาปรับเพิ่มสูงอีกครั้ง จากการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน หรือ AEC และโดยเฉพาะการที่ประชาชนจะเร่งซื้อรถยนต์ ก่อนที่จะมีการปรับโครงสร้างภาษีใหม่ในปี 2559 ที่ใช้มาตรฐาน CO2 เป็นเกณฑ์พิจารณาภาษี ทำให้ปิกอัพค่อนข้างจะผ่านมาตรฐานต่ำสุดลำบาก จึงต้องปรับราคาขึ้นแน่นอน ขณะที่เก๋งน่าจะบริหารจัดการได้ แต่อาจจะมีปรับขึ้นบางรุ่น”
นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ รองประธานกรรมการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่จะกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ในไทย อยู่ที่เรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท ซึ่งหากปล่อยให้มีการแข็งค่าเหมือนเช่นเมื่อต้นปีที่ผ่านมา จะทำให้กระทบกับการธุรกิจส่งออกของไทย แม้ปัจจุบันเริ่มอ่อนค่าลงเป็นไปในทิศทางที่ดี แต่จำเป็นที่ภาครัฐจะต้องรักษาอัตราแลกเปลี่ยนที่เหมาะสมนี้ไว้ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเรื่องของราคาน้ำมันที่ปรับขึ้น และพลังงานไฟฟ้าที่ปัจจุบันเป็นการสมดุล ระหว่างความต้องการใช้และพลังงานไฟฟ้าที่มี หากไม่เร่งเพิ่มแหล่งพลังงานสำรอง อาจจะส่งผลกระทบต่อประเทศในอนาคตได้
นายเคียวอิจิ ทานาดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า ตลดรถไทยครึ่งแรกของปีนี้ มีปริมาณกว่า 7.40 แสนคัน เพิ่มขึ้น 22.1% จากการเร่งผลิตเพื่อส่งมอบรถในโครงการรถคันแรก ทำให้คาดว่าถึงสิ้นปีนี้ตลาดรถน่าจะอยู่ที่ประมาณ 1.3 ล้านคัน หรือลงจากปีที่แล้ว 9.5% แต่มากกว่าที่ประเมินเมื่อต้นปีไว้ที่ 1.2 ล้านคัน โดยครึ่งปีหลังจะมีการชะลอตัวชัดเจน จากยอดจองรถคันแรกที่ส่งมอบใกล้หมดลง ขณะที่โตโยต้าตั้งเป้าการขายไว้ทั้งสิ้น 4.5 แสนคัน ลดลง 12.8% จากความต้องการของตลาดลดลง ขณะที่ในส่วนของการส่งออก 4.38 แสนคัน รวมมูลค่าส่งออกรถและชิ้นส่วนทั้งสิ้น 2.51 แสนล้านบาท
“ทิศทางตลาดรถไทยในปีหน้า คาดจะลดลงเป็นกว่า 1.2 ล้านคัน กลับเข้าสู่สภาวะตลาดปกติ เพราะไม่มียอดค้างส่งมอบจากโครงการรถคันแรกมาช่วยเหมือนในปีนี้ แต่โตโยต้ามองว่าในปี 2558 ตลาดรถยนต์ในไทยจะกลับมาปรับเพิ่มสูงอีกครั้ง จากการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน หรือ AEC และโดยเฉพาะการที่ประชาชนจะเร่งซื้อรถยนต์ ก่อนที่จะมีการปรับโครงสร้างภาษีใหม่ในปี 2559 ที่ใช้มาตรฐาน CO2 เป็นเกณฑ์พิจารณาภาษี ทำให้ปิกอัพค่อนข้างจะผ่านมาตรฐานต่ำสุดลำบาก จึงต้องปรับราคาขึ้นแน่นอน ขณะที่เก๋งน่าจะบริหารจัดการได้ แต่อาจจะมีปรับขึ้นบางรุ่น”
นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ รองประธานกรรมการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่จะกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ในไทย อยู่ที่เรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท ซึ่งหากปล่อยให้มีการแข็งค่าเหมือนเช่นเมื่อต้นปีที่ผ่านมา จะทำให้กระทบกับการธุรกิจส่งออกของไทย แม้ปัจจุบันเริ่มอ่อนค่าลงเป็นไปในทิศทางที่ดี แต่จำเป็นที่ภาครัฐจะต้องรักษาอัตราแลกเปลี่ยนที่เหมาะสมนี้ไว้ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเรื่องของราคาน้ำมันที่ปรับขึ้น และพลังงานไฟฟ้าที่ปัจจุบันเป็นการสมดุล ระหว่างความต้องการใช้และพลังงานไฟฟ้าที่มี หากไม่เร่งเพิ่มแหล่งพลังงานสำรอง อาจจะส่งผลกระทบต่อประเทศในอนาคตได้