เพชรบูรณ์ - เจ้าหนี้สหฟาร์มบุกศาลากลางเมืองมะขามหวาน วอนช่วยทวงเงินค้างจ่ายอีก 300 ล้านบาท ทั้งค่าถมดิน-ปรับพื้นที่ แถมเบี้ยวหนี้ค่าข้าวโพดอีกเพียบ ด้านแบงก์ชาต ระบุเป็นปัญหาเฉพาะบริษัทที่ขยายธุรกิจเกินตัว พร้อมเตรียมส่งทีมเข้าไปตรวจสอบ
วานนี้ (11 ก.ค.) นายวิชัย ฉัตรรัตน์ศักดิ์ กรรมการผู้จัดการบริษัทโชติสุพัฒน์ และเจ้าของ หจก.สยามวัฒนชัย ในฐานะตัวแทนผู้ประกอบการอีก 7 รายที่ได้รับผลกระทบจากบริษัทในเครือสหฟาร์มขาดสภาพคล่องทางการเงิน ได้เดินทางไปยื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อขอความช่วยเหลือติดตามหนี้ค้างชำระจากบริษัทในเครือทั้ง 5 แห่งของบริษัทสหฟาร์ม ค้างชำระมาตั้งแต่ปี 53-55 วงเงินประมาณ 300 ล้านบาท
ต่อมานายคณีธิป บุณยเกตุ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ ในฐานะคณะทำงานแก้ไขปัญหาการชุมนุมเรียกร้องของกลุ่มแรงงานในเครือบริษัทสหฟาร์ม ได้ออกมารับเรื่องที่ศูนย์ดำรงธรรมและรับปากว่าจะส่งปัญหาดังกล่าวไปยังผู้บริหารบริษัทสหฟาร์ม
นายวิชัยเปิดเผยต่อสื่อมวลชนว่า ตนทำบริษัทรับเหมาถมดิน ตกแต่งพื้นที่ ไม่ได้เกี่ยวกับงานก่อสร้าง โดยรับงานปรับพื้นที่ ต.ระวิง อ.เมืองเพชรบูรณ์ มียอดหนี้ที่บริษัทจะต้องจ่ายให้บริษัทของตนรวมแล้วกว่า 12 ล้านบาท โดยสถานะของบริษัทในเครือสหฟาร์มเริ่มไม่ดีมาตั้งแต่ปี 54 กล่าวคือ ติดหนี้อยู่ 7 แสนบาท กระทั่งปี 55-56 มียอดหนี้เพิ่มขึ้นอีก 12 ล้านบาท
นอกจากนี้ยังมีกลุ่มบริษัทรับเหมาที่ประสบชะตากรรมเดียวกัน คือ มีหนี้ค้างชำระค่าถมดิน-ปรับพื้นที่ ต.ระวิงอีกหลายราย เช่น หจก.เจริญพันธุ์ มูลค่า 4 ล้านบาท นางรัตน์ บุญทรัพย์มูลค่าอีก 30 ล้านบาท เป็นต้น
นายวิชัยบอกอีกว่า น้องชายตนทำธุรกิจการเกษตรคือส่งข้าวโพดเพื่อให้บริษัทในเครือของสหฟาร์มทำเป็นอาหารสัตว์ ส่งขายแล้ว แต่เงินยังไม่ได้อีก 9 ล้านบาท มีผู้ค้ารายหนึ่งที่ อ.บึงสามพันขายข้าวโพดแล้วยังไม่ได้เงิน 91 ล้านบาท สหกรณ์การเกษตรวิเชียรบุรีที่มีสมาชิก 3,000 คนกำลังเดือดร้อน เพราะส่งข้าวโพดให้สหฟาร์มแต่ไม่ได้รับเงินอีก 19 ล้านบาท หากรวมกลุ่มผู้ค้าข้าวโพดที่มีเงินค้างกว่า 200 ล้านบาท โดยที่สหฟาร์มค้างจ่ายสะสมมาตลอด
ด้านนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงปัญหาสภาพคล่องว่า ปัญหาน่าจะเกิดมาจากสหฟาร์มไปขยายธุรกิจเพิ่มเติมมาก เลยกลายเป็นปัญหาเฉพาะของบริษัท ไม่เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจชะลอมากมายจนกระทบธุรกิจ
นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจการเงิน กล่าวว่า ในเบื้องต้นมองว่าปัญหาสหฟาร์มน่าจะเป็นปัญหาเฉพาะของตัวบริษัทมากกว่า แต่ ธปท.จะส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปสำรวจอีกครั้ง เนื่องจากเห็นว่าเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ เพื่อศึกษาดูว่าเหตุผลจริงๆ ที่เกิดขึ้น
ด้านนายเกริก วณิกกุล รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท.กล่าวว่า ธปท.ยังไม่ได้รับรายงานจากธนาคารพาณิชย์ในระบบปล่อยกู้ให้แก่บริษัท สหฟาร์ม จำกัด โดยเห็นว่าวงเงินปล่อยกู้ไม่ได้สูงนักเทียบกับสินทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์และกำไรแค่ครึ่งปีเท่านั้น จึงไม่น่าจะกระทบต่อเสถียรภาพระบบสถาบันการเงิน รวมถึงสถาบันการเงินที่ปล่อยกู้ให้แก่สหฟาร์ม
"สุดท้ายคาดว่าสหฟาร์มคงจะมีการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้ได้ หนี้เสียเพียงรายเดียวไม่ได้เป็นห่วงขนาดนั้น เพราะกรณีสหฟาร์มนี้ไม่ใหญ่เกินไปเทียบกับสินทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ที่ปล่อยกู้และกำไรค่อนข้างสูง เพียงแค่ตอนนี้อาจมีปัญหาขาดสภาพคล่อง ดังนั้น ข้อแรกไม่กระทบเสถียรภาพทั้งระบบธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารที่ปล่อยกู้ ข้อสอง สามารถแก้ไขต่อไปได้ และข้อสาม ไม่สามารถเป็นตัวบ่งชี้ได้ว่าเศรษฐกิจจะดีหรือไม่ดี” รองผู้ว่าการธปท.กล่าว
วานนี้ (11 ก.ค.) นายวิชัย ฉัตรรัตน์ศักดิ์ กรรมการผู้จัดการบริษัทโชติสุพัฒน์ และเจ้าของ หจก.สยามวัฒนชัย ในฐานะตัวแทนผู้ประกอบการอีก 7 รายที่ได้รับผลกระทบจากบริษัทในเครือสหฟาร์มขาดสภาพคล่องทางการเงิน ได้เดินทางไปยื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อขอความช่วยเหลือติดตามหนี้ค้างชำระจากบริษัทในเครือทั้ง 5 แห่งของบริษัทสหฟาร์ม ค้างชำระมาตั้งแต่ปี 53-55 วงเงินประมาณ 300 ล้านบาท
ต่อมานายคณีธิป บุณยเกตุ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ ในฐานะคณะทำงานแก้ไขปัญหาการชุมนุมเรียกร้องของกลุ่มแรงงานในเครือบริษัทสหฟาร์ม ได้ออกมารับเรื่องที่ศูนย์ดำรงธรรมและรับปากว่าจะส่งปัญหาดังกล่าวไปยังผู้บริหารบริษัทสหฟาร์ม
นายวิชัยเปิดเผยต่อสื่อมวลชนว่า ตนทำบริษัทรับเหมาถมดิน ตกแต่งพื้นที่ ไม่ได้เกี่ยวกับงานก่อสร้าง โดยรับงานปรับพื้นที่ ต.ระวิง อ.เมืองเพชรบูรณ์ มียอดหนี้ที่บริษัทจะต้องจ่ายให้บริษัทของตนรวมแล้วกว่า 12 ล้านบาท โดยสถานะของบริษัทในเครือสหฟาร์มเริ่มไม่ดีมาตั้งแต่ปี 54 กล่าวคือ ติดหนี้อยู่ 7 แสนบาท กระทั่งปี 55-56 มียอดหนี้เพิ่มขึ้นอีก 12 ล้านบาท
นอกจากนี้ยังมีกลุ่มบริษัทรับเหมาที่ประสบชะตากรรมเดียวกัน คือ มีหนี้ค้างชำระค่าถมดิน-ปรับพื้นที่ ต.ระวิงอีกหลายราย เช่น หจก.เจริญพันธุ์ มูลค่า 4 ล้านบาท นางรัตน์ บุญทรัพย์มูลค่าอีก 30 ล้านบาท เป็นต้น
นายวิชัยบอกอีกว่า น้องชายตนทำธุรกิจการเกษตรคือส่งข้าวโพดเพื่อให้บริษัทในเครือของสหฟาร์มทำเป็นอาหารสัตว์ ส่งขายแล้ว แต่เงินยังไม่ได้อีก 9 ล้านบาท มีผู้ค้ารายหนึ่งที่ อ.บึงสามพันขายข้าวโพดแล้วยังไม่ได้เงิน 91 ล้านบาท สหกรณ์การเกษตรวิเชียรบุรีที่มีสมาชิก 3,000 คนกำลังเดือดร้อน เพราะส่งข้าวโพดให้สหฟาร์มแต่ไม่ได้รับเงินอีก 19 ล้านบาท หากรวมกลุ่มผู้ค้าข้าวโพดที่มีเงินค้างกว่า 200 ล้านบาท โดยที่สหฟาร์มค้างจ่ายสะสมมาตลอด
ด้านนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงปัญหาสภาพคล่องว่า ปัญหาน่าจะเกิดมาจากสหฟาร์มไปขยายธุรกิจเพิ่มเติมมาก เลยกลายเป็นปัญหาเฉพาะของบริษัท ไม่เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจชะลอมากมายจนกระทบธุรกิจ
นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจการเงิน กล่าวว่า ในเบื้องต้นมองว่าปัญหาสหฟาร์มน่าจะเป็นปัญหาเฉพาะของตัวบริษัทมากกว่า แต่ ธปท.จะส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปสำรวจอีกครั้ง เนื่องจากเห็นว่าเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ เพื่อศึกษาดูว่าเหตุผลจริงๆ ที่เกิดขึ้น
ด้านนายเกริก วณิกกุล รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท.กล่าวว่า ธปท.ยังไม่ได้รับรายงานจากธนาคารพาณิชย์ในระบบปล่อยกู้ให้แก่บริษัท สหฟาร์ม จำกัด โดยเห็นว่าวงเงินปล่อยกู้ไม่ได้สูงนักเทียบกับสินทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์และกำไรแค่ครึ่งปีเท่านั้น จึงไม่น่าจะกระทบต่อเสถียรภาพระบบสถาบันการเงิน รวมถึงสถาบันการเงินที่ปล่อยกู้ให้แก่สหฟาร์ม
"สุดท้ายคาดว่าสหฟาร์มคงจะมีการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้ได้ หนี้เสียเพียงรายเดียวไม่ได้เป็นห่วงขนาดนั้น เพราะกรณีสหฟาร์มนี้ไม่ใหญ่เกินไปเทียบกับสินทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ที่ปล่อยกู้และกำไรค่อนข้างสูง เพียงแค่ตอนนี้อาจมีปัญหาขาดสภาพคล่อง ดังนั้น ข้อแรกไม่กระทบเสถียรภาพทั้งระบบธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารที่ปล่อยกู้ ข้อสอง สามารถแก้ไขต่อไปได้ และข้อสาม ไม่สามารถเป็นตัวบ่งชี้ได้ว่าเศรษฐกิจจะดีหรือไม่ดี” รองผู้ว่าการธปท.กล่าว