นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารกองุทนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู ครั้งที่ 1/2556 ว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบและอนุมัติปล่อยกู้โดยใช้งบประมาณรายจ่ายเงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู ในวงเงินกว่า 548 ล้านบาท โดยในส่วนนี้เป็นวงเงินให้ครูกู้ จำนวน 500 ล้านบาท ซึ่งจะสามารถกู้ได้ 2,500 คน คนละ 200,000 บาท ทั้งนี้ กองทุนนี้เป็นกองทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ดังนั้นผู้ที่จะกู้ต้องมีหนี้อยู่ก่อนที่จะขอกู้ไม่ใช่ไม่มีหนี้เลยแต่มาขอกู้
อย่างไรก็ตาม ในการพิจารณารายละเอียดจะมีคณะอนุกรรมการกองทุนหมุนเวียนฯประจำเขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้พิจารณา เพราะจะทราบว่าหนี้ไหนจำเป็นและสำคัญที่จะอนุมัติให้กู้ นอกจากนี้ที่ประชุมได้เห็นชอบให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการบริหารเงินทุนหมุนเวียน โดยเพิ่มเจ้าหน้าที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) เข้ามา เพื่อช่วยวิเคราะห์ความเสี่ยงของการปล่อยสินเชื่อ
ด้านนายสุบรรณ ไชยศิริโชติ รองเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ก.ค.ศ.) กล่าวว่า สำหรับการปล่อยกู้ให้กับข้าราชการครูฯจะมีวงเงินสูงสุดรายละ 2 แสนบาท อัตราดอกเบี้ย MLR-1 โดยการปล่อยกู้ให้เพื่อบรรเท่าช่วยเหลือครูที่มีหนี้สินให้สามารถจ่ายหนี้สินได้ซึ่งเงินจำนวน 2 แสนบาทจะจ่ายให้กับเจ้าหนี้ของครูไม่ได้โอนเงินดังกล่าวไปให้ครู แต่ครูต้องมาผ่อนชำระกับธกส.แทน ส่วนคุณสมบัติของผู้มีสิทธิกู้ยืม อาทิ เป็นข้าราชการครูไม่น้อยกว่า 5 ปี มีเงินเดือนคงเหลือสุทธิไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของเงินเดือน เป็นผู้ที่เคยได้รับอนุมัติให้กู้ยืมเงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู ไม่เป็นผู้ที่อยู่ในระหว่างถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย ไม่เป็นผู้ที่ถูกฟ้องร้องคดีล้มละลาย เป็นต้น
สำหรับสถานการณ์หนี้สินครูในปัจจุบันจากข้อมูลการสำรวจหนี้สินครูล่าสุด ปี2555 พบว่าครูทั่วประเทศประมาณ 4 แสนกว่ารายมีหนี้สินเฉลี่ยรายละ 1 ล้านบาท รวมมีหนี้สินประมาณ 4 แสนกว่าล้านบาท แต่เมื่อเปรียบเทียบกับทรัพย์สินของครูส่วนใหญ่แล้วมีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน แต่อาจจะมีส่วนน้อยเท่านั้นที่มีหนีิ้วิกฤติประมาณ 2,000 กว่าราย ซึ่งเป็นตัวเลขที่น้อยมาก.
อย่างไรก็ตาม ในการพิจารณารายละเอียดจะมีคณะอนุกรรมการกองทุนหมุนเวียนฯประจำเขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้พิจารณา เพราะจะทราบว่าหนี้ไหนจำเป็นและสำคัญที่จะอนุมัติให้กู้ นอกจากนี้ที่ประชุมได้เห็นชอบให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการบริหารเงินทุนหมุนเวียน โดยเพิ่มเจ้าหน้าที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) เข้ามา เพื่อช่วยวิเคราะห์ความเสี่ยงของการปล่อยสินเชื่อ
ด้านนายสุบรรณ ไชยศิริโชติ รองเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ก.ค.ศ.) กล่าวว่า สำหรับการปล่อยกู้ให้กับข้าราชการครูฯจะมีวงเงินสูงสุดรายละ 2 แสนบาท อัตราดอกเบี้ย MLR-1 โดยการปล่อยกู้ให้เพื่อบรรเท่าช่วยเหลือครูที่มีหนี้สินให้สามารถจ่ายหนี้สินได้ซึ่งเงินจำนวน 2 แสนบาทจะจ่ายให้กับเจ้าหนี้ของครูไม่ได้โอนเงินดังกล่าวไปให้ครู แต่ครูต้องมาผ่อนชำระกับธกส.แทน ส่วนคุณสมบัติของผู้มีสิทธิกู้ยืม อาทิ เป็นข้าราชการครูไม่น้อยกว่า 5 ปี มีเงินเดือนคงเหลือสุทธิไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของเงินเดือน เป็นผู้ที่เคยได้รับอนุมัติให้กู้ยืมเงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู ไม่เป็นผู้ที่อยู่ในระหว่างถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย ไม่เป็นผู้ที่ถูกฟ้องร้องคดีล้มละลาย เป็นต้น
สำหรับสถานการณ์หนี้สินครูในปัจจุบันจากข้อมูลการสำรวจหนี้สินครูล่าสุด ปี2555 พบว่าครูทั่วประเทศประมาณ 4 แสนกว่ารายมีหนี้สินเฉลี่ยรายละ 1 ล้านบาท รวมมีหนี้สินประมาณ 4 แสนกว่าล้านบาท แต่เมื่อเปรียบเทียบกับทรัพย์สินของครูส่วนใหญ่แล้วมีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน แต่อาจจะมีส่วนน้อยเท่านั้นที่มีหนีิ้วิกฤติประมาณ 2,000 กว่าราย ซึ่งเป็นตัวเลขที่น้อยมาก.