วานนี้(24 มิ.ย.56) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้จัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาหลักสูตรและแนวทางการอบรมเจ้าหน้าที่ของรัฐเกี่ยวกับความซื่อสัตย์สุจริต ระหว่างวันที่ 24-25 มิ.ย. ณ ห้องบุษบงกช เอ โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพฯ
นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการป.ป.ช. กล่าวว่า พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงขอให้ข้าราชการซื่อสัตย์ แต่ปัจจุบันนี้ ปัญหาทุจริต คอรัปชั่น ได้ลุกลามไปมากมาย ข้าราชการจึงต้องตระหนักเพื่อเป็นหลักปฏิบัติในการทำงาน
อย่างไรก็ดี การทุจริตถือเป็นเรื่องของกิเลสให้ทำผิดได้ง่าย ดังนั้น จำเป็นต้องมียุทธศาสตร์ หลักสูตร เพื่อจัดอบรมข้าราชการให้เกิดจิตสำนึกในการช่วยกันป้องกันไม่ให้เกิดเรื่องดังกล่าว เพื่อให้บ้านเมืองสามารถอยู่รอดต่อไปได้ เนื่องจากการทุจริตคอรัปชั่นทำลายทุกอย่างในสังคม
นายกล้านรงค์ กล่าวต่อว่า การป้องกันมีด้วยกัน 3 ป. คือ 1.ปลูกฝัง ปลูกจิตสำนึก 2.ป้องกัน ทำอย่างไรไม่ให้เกิด คือ ป้องกันตัวเองไม่ให้ทำผิด และป้องกันข้าราชการ เพื่อน พี่ น้อง ไม่ให้ทำผิดด้วย และ 3.ปราบปราม ต้องดำเนินการโดยเด็ดขาด แต่ยอมรับว่าทั้ง 3 ป. เป็นสิ่งลำบากที่สุด
ทั้งนี้ ความเป็นนักบริหาร ถือเป็นบุคคลระดับบังคับบัญชาในหน่วยงานนั้นๆ มีทั้งความดี ความรู้ ความสามารถ แต่สิ่งที่นักบริหารส่วนใหญ่ขาด คือ กล้ายืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง จึงทำให้บ้านเมืองไปไม่รอด และเกิดปัญหาทุจริตคอรัปชั่นตามมามากมาย
“อย่าลืมว่านักการเมืองจะทุจริตคอรัปชั่นเป็นหมื่นล้านพันล้านบาท แต่นักการเมืองไม่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง ถ้าไม่ได้รับความร่วมมือจากข้าราชการ เพราะนักการเมืองตั้งโครงการเองไม่ได้ต้องมาจากข้าราชการ และนักการเมืองต่อท่อขึ้นไปยังผู้มีอำนาจเซ็นอนุมัติ”นายกล้านรงค์ กล่าว
สำหรับคุณสมบัติของนักบริหารที่ดี นอกจากกล้ายืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้องแล้ว ต้องรอบรู้ โปร่งใส เป็นผู้นำ เสียสละอดทน มีมนุษยสัมพันธ์ มีความเห็นใจผู้น้อย ทำงานร่วมกัน รับผิดชอบ แต่สำคัญที่สุด คือ ต้องมีความเที่ยงธรรม ปราศจากอคติ เพื่อให้ผลทางกฎหมายบังคับใช้อย่างเท่าเทียมกัน
นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการป.ป.ช. กล่าวว่า พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงขอให้ข้าราชการซื่อสัตย์ แต่ปัจจุบันนี้ ปัญหาทุจริต คอรัปชั่น ได้ลุกลามไปมากมาย ข้าราชการจึงต้องตระหนักเพื่อเป็นหลักปฏิบัติในการทำงาน
อย่างไรก็ดี การทุจริตถือเป็นเรื่องของกิเลสให้ทำผิดได้ง่าย ดังนั้น จำเป็นต้องมียุทธศาสตร์ หลักสูตร เพื่อจัดอบรมข้าราชการให้เกิดจิตสำนึกในการช่วยกันป้องกันไม่ให้เกิดเรื่องดังกล่าว เพื่อให้บ้านเมืองสามารถอยู่รอดต่อไปได้ เนื่องจากการทุจริตคอรัปชั่นทำลายทุกอย่างในสังคม
นายกล้านรงค์ กล่าวต่อว่า การป้องกันมีด้วยกัน 3 ป. คือ 1.ปลูกฝัง ปลูกจิตสำนึก 2.ป้องกัน ทำอย่างไรไม่ให้เกิด คือ ป้องกันตัวเองไม่ให้ทำผิด และป้องกันข้าราชการ เพื่อน พี่ น้อง ไม่ให้ทำผิดด้วย และ 3.ปราบปราม ต้องดำเนินการโดยเด็ดขาด แต่ยอมรับว่าทั้ง 3 ป. เป็นสิ่งลำบากที่สุด
ทั้งนี้ ความเป็นนักบริหาร ถือเป็นบุคคลระดับบังคับบัญชาในหน่วยงานนั้นๆ มีทั้งความดี ความรู้ ความสามารถ แต่สิ่งที่นักบริหารส่วนใหญ่ขาด คือ กล้ายืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง จึงทำให้บ้านเมืองไปไม่รอด และเกิดปัญหาทุจริตคอรัปชั่นตามมามากมาย
“อย่าลืมว่านักการเมืองจะทุจริตคอรัปชั่นเป็นหมื่นล้านพันล้านบาท แต่นักการเมืองไม่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง ถ้าไม่ได้รับความร่วมมือจากข้าราชการ เพราะนักการเมืองตั้งโครงการเองไม่ได้ต้องมาจากข้าราชการ และนักการเมืองต่อท่อขึ้นไปยังผู้มีอำนาจเซ็นอนุมัติ”นายกล้านรงค์ กล่าว
สำหรับคุณสมบัติของนักบริหารที่ดี นอกจากกล้ายืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้องแล้ว ต้องรอบรู้ โปร่งใส เป็นผู้นำ เสียสละอดทน มีมนุษยสัมพันธ์ มีความเห็นใจผู้น้อย ทำงานร่วมกัน รับผิดชอบ แต่สำคัญที่สุด คือ ต้องมีความเที่ยงธรรม ปราศจากอคติ เพื่อให้ผลทางกฎหมายบังคับใช้อย่างเท่าเทียมกัน