ไปรษณีย์ไทยจับมือแอร์เอเชียเปิดบริการซูเปอร์อีเอ็มเอส พร้อมยื่นแผน กนร.ตั้งบริษัทลูกรอบที่สาม ชื่อบริษัท ไปรษณีย์ดิสทริบิวชั่น หวังเป็นศูนย์กระจายสินค้าช่วยโอทอป เอสเอ็มอี คาดปีนี้ฟันรายได้ 2 หมื่นล้านบาท
น.ส.อานุสรา จิตต์มิตรภาพ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย (ปณท.) กล่าวว่า ไปรษณีย์ไทยเตรียมนำแผนจัดตั้งบริษัทลูกในนาม บริษัท ไปรษณีย์ดิสทริบิวชั่น จำกัด เข้าคณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ(กนร.)เพื่อให้พิจารณาอีกครั้งเป็นรอบที่ 3 ในวันที่ 18 ก.ค.2556 นี้ จากเดิมที่ก่อนหน้านี้เคยเสนอไปแล้ว 2 ครั้ง คือบริษัท สินเชื่อ ไปรษณีย์ไทย ซึ่งถูกยกเลิกไปสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ และต่อมาเสนอตั้งบริษัท ไปรษณีย์ โลจิสโพสต์ แต่ก็ถูกที่ประชุมกนร. ตีกลับให้ไปทบทวนภาระหน้าที่ให้สอดคล้องกับภารกิจของไปรษณีย์ไทย ซึ่งปัจจุบันไปรษณีย์ไทยก็ทำหน้าที่ในการขนส่งสินค้าอยู่แล้ว ฉะนั้นการปรับเปลี่ยนมาป็น ไปรษณีย์ดิสทริบิวชั่น เพื่อเป็นจุดกระจายสินค้า ก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศมากกว่า
ทั้งนี้การจัดตั้งบริษัทไปรษณีย์ ดิสทริบิวชั่นมีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยกระจายสินค้าให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก (เอสเอ็มอี) และผู้ผลิตสินค้าหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล (โอทอป) ได้กระจายสินค้าด้วยต้นทุนที่ถูกลงอีกทั้งยังเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับไปรษณีย์ไทย ซึ่งไปรษณีย์ไทยจะใช้สินทรัพย์ที่มีอยู่ในการสร้างมูลค่าเพิ่มโดยจะใช้ทุนจดทะเบียนเริ่มต้น500 ล้านบาท และยังเป็นการรองรับประเทศไทยในการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(เออีซี) ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมในการกระจายสินค้า เพื่อให้สินค้าไทยส่งออกได้อย่างสะดวกสบายมากที่สุด
“ทุนจดทะเบียน500 ล้านบาทนั้นใช้เฉพาะการลงทุนในระยะแรกเท่านั้น ซึ่งจะไม่รวมไปถึงหากไปรษณีย์ไทยต้องมีการเพิ่มศูนย์กระจายสินค้าจากที่มีอยู่แล้ว10ศูนย์ทั่วประเทศ ซึ่งอาจจะต้องลงทุนเพิ่มเติมหากมีลูกค้าจำนวนมาก และมีความต้องการสูง แต่คงต้องรอดูทิศทางภายหลังการเปิดบริษัทใหม่ก่อน”
ขณะที่ภายหลังไปรษณีย์ไทยเสนอแผนจัดตั้งบริษัทลูกให้กับกนร.เป็นที่เรียบร้อยแล้วขั้นตอนต่อไปก็จะนำเสนอเข้ากระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณาอนุมัติต่อไป
น.ส.อานุสรา กล่าวว่า ไปรษณีย์ไทยยังเตรียมจับมือกับพันธมิตรสายการบิน บริษัท ไทยแอร์เอเชีย ในการให้บริการ ซูเปอร์ อีเอ็มเอส (Super EMS) ซึ่งเป็นการจัดส่งด่วนข้ามจังหวัดทั่วประเทศภายใน 24 ชม. ภายในเดือน ก.ค. นี้ จากเดิมที่การส่งข้ามจังหวัดข้ามภูมิภาคจะต้องใช้เวลา 1-2วัน โดยในระยะแรกจะเป็นการขนส่งไปพร้อมกับเที่ยวบินภายในประเทศของแอร์เอเชียทุกเที่ยวบิน
นอกจากนี้ ความร่วมมือดังกล่าวยังเป็นการต่อยอดถึงการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในอีก 2 ปี ข้างหน้าด้วย ซึ่งจะทำให้ไปรษณีย์ไทยสามารถให้บริการขนส่งสินค้า อาหาร จากประเทศอาเซียนที่เส้นทางแอร์เอเชียเปิดให้บริการได้ด้วย
“การร่วมมือครั้งนี้กับแอร์เอเชียยังเป็นการเปิดตลาดในระดับอาเซียนได้เร็วขึ้น จากที่ปัจจุบันทำเพียงแค่บริการไปรษณีย์กับ ธนาณัติระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน คือ กัมพูชา และลาวเท่านั้น”
สำหรับค่าบริการของซูเปอร์อีเอ็มเอสจะสูงกว่าค่าบริการอีเอ็มเอสปกติประมาณ 3 เท่า เช่น ค่าบริการอีเอ็มเอสปกติ 36 บาท บริการซุเปอร์อีเอ็มเอสจะอยู่ที่ 100 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ไม่สูงจนเกินไป และสามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการรายอื่นในตลาดได้
ทั้งนี้ไปรษณีย์ไทยตั้งเป้ารายได้ในปี2556 อยู่ที่ 20,000 ล้านบาท มีกำไร 1,200 ล้านบาท ซึ่งจะเติบโตขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่มีรายได้1.8 หมื่นล้านบาท โดยมีปัจจัยมาจากการให้บริการขนส่ง (โลจิสโพสต์) ให้กับหน่วยงานรัฐ และลูกค้าองค์กรรวมถึงการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ
น.ส.อานุสรา จิตต์มิตรภาพ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย (ปณท.) กล่าวว่า ไปรษณีย์ไทยเตรียมนำแผนจัดตั้งบริษัทลูกในนาม บริษัท ไปรษณีย์ดิสทริบิวชั่น จำกัด เข้าคณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ(กนร.)เพื่อให้พิจารณาอีกครั้งเป็นรอบที่ 3 ในวันที่ 18 ก.ค.2556 นี้ จากเดิมที่ก่อนหน้านี้เคยเสนอไปแล้ว 2 ครั้ง คือบริษัท สินเชื่อ ไปรษณีย์ไทย ซึ่งถูกยกเลิกไปสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ และต่อมาเสนอตั้งบริษัท ไปรษณีย์ โลจิสโพสต์ แต่ก็ถูกที่ประชุมกนร. ตีกลับให้ไปทบทวนภาระหน้าที่ให้สอดคล้องกับภารกิจของไปรษณีย์ไทย ซึ่งปัจจุบันไปรษณีย์ไทยก็ทำหน้าที่ในการขนส่งสินค้าอยู่แล้ว ฉะนั้นการปรับเปลี่ยนมาป็น ไปรษณีย์ดิสทริบิวชั่น เพื่อเป็นจุดกระจายสินค้า ก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศมากกว่า
ทั้งนี้การจัดตั้งบริษัทไปรษณีย์ ดิสทริบิวชั่นมีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยกระจายสินค้าให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก (เอสเอ็มอี) และผู้ผลิตสินค้าหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล (โอทอป) ได้กระจายสินค้าด้วยต้นทุนที่ถูกลงอีกทั้งยังเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับไปรษณีย์ไทย ซึ่งไปรษณีย์ไทยจะใช้สินทรัพย์ที่มีอยู่ในการสร้างมูลค่าเพิ่มโดยจะใช้ทุนจดทะเบียนเริ่มต้น500 ล้านบาท และยังเป็นการรองรับประเทศไทยในการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(เออีซี) ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมในการกระจายสินค้า เพื่อให้สินค้าไทยส่งออกได้อย่างสะดวกสบายมากที่สุด
“ทุนจดทะเบียน500 ล้านบาทนั้นใช้เฉพาะการลงทุนในระยะแรกเท่านั้น ซึ่งจะไม่รวมไปถึงหากไปรษณีย์ไทยต้องมีการเพิ่มศูนย์กระจายสินค้าจากที่มีอยู่แล้ว10ศูนย์ทั่วประเทศ ซึ่งอาจจะต้องลงทุนเพิ่มเติมหากมีลูกค้าจำนวนมาก และมีความต้องการสูง แต่คงต้องรอดูทิศทางภายหลังการเปิดบริษัทใหม่ก่อน”
ขณะที่ภายหลังไปรษณีย์ไทยเสนอแผนจัดตั้งบริษัทลูกให้กับกนร.เป็นที่เรียบร้อยแล้วขั้นตอนต่อไปก็จะนำเสนอเข้ากระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณาอนุมัติต่อไป
น.ส.อานุสรา กล่าวว่า ไปรษณีย์ไทยยังเตรียมจับมือกับพันธมิตรสายการบิน บริษัท ไทยแอร์เอเชีย ในการให้บริการ ซูเปอร์ อีเอ็มเอส (Super EMS) ซึ่งเป็นการจัดส่งด่วนข้ามจังหวัดทั่วประเทศภายใน 24 ชม. ภายในเดือน ก.ค. นี้ จากเดิมที่การส่งข้ามจังหวัดข้ามภูมิภาคจะต้องใช้เวลา 1-2วัน โดยในระยะแรกจะเป็นการขนส่งไปพร้อมกับเที่ยวบินภายในประเทศของแอร์เอเชียทุกเที่ยวบิน
นอกจากนี้ ความร่วมมือดังกล่าวยังเป็นการต่อยอดถึงการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในอีก 2 ปี ข้างหน้าด้วย ซึ่งจะทำให้ไปรษณีย์ไทยสามารถให้บริการขนส่งสินค้า อาหาร จากประเทศอาเซียนที่เส้นทางแอร์เอเชียเปิดให้บริการได้ด้วย
“การร่วมมือครั้งนี้กับแอร์เอเชียยังเป็นการเปิดตลาดในระดับอาเซียนได้เร็วขึ้น จากที่ปัจจุบันทำเพียงแค่บริการไปรษณีย์กับ ธนาณัติระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน คือ กัมพูชา และลาวเท่านั้น”
สำหรับค่าบริการของซูเปอร์อีเอ็มเอสจะสูงกว่าค่าบริการอีเอ็มเอสปกติประมาณ 3 เท่า เช่น ค่าบริการอีเอ็มเอสปกติ 36 บาท บริการซุเปอร์อีเอ็มเอสจะอยู่ที่ 100 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ไม่สูงจนเกินไป และสามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการรายอื่นในตลาดได้
ทั้งนี้ไปรษณีย์ไทยตั้งเป้ารายได้ในปี2556 อยู่ที่ 20,000 ล้านบาท มีกำไร 1,200 ล้านบาท ซึ่งจะเติบโตขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่มีรายได้1.8 หมื่นล้านบาท โดยมีปัจจัยมาจากการให้บริการขนส่ง (โลจิสโพสต์) ให้กับหน่วยงานรัฐ และลูกค้าองค์กรรวมถึงการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ