ในที่สุด “รัฐบาลยิ่งลักษณ์”ก็จำนนต่อความฉิบหายของโครงการรับจำนำข้าวทุกเมล็ด ที่พรรคเพื่อไทยเคยใช้เป็นแคมเปญเด็ดในการเลือกตั้งใหญ่ เมื่อปี 2554 ถึงกับยอมเสียหน้า ประกาศลดราคาจำนำจากตันละ 15,000 บาทเหลือเพียง 12,000 บาท
การลดราคาจำนำข้าวครั้งนี้กลายเป็นการ“สารภาพบาป”ยอมรับว่านโยบายที่ทำมา ล้มเหลว ผิดพลาดโดยสิ้นเชิง และเป็นสัญญาณว่าหากยังดันทุรังต่อไป ไม่เพียงแต่จะนำรัฐบาลไปสู่จุดอวสานเท่านั้น ยังจะนำพาประเทศไปสู่ความหายนะ ล่มจม อีกต่างหาก
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มีเสียงร้องเตือนรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง แต่รัฐบาลกลับเลือกเล่นเกมเสี่ยง “ดื้อแพ่ง”ไม่สนใจ จนความเสียหายลุกลามบานปลาย สั่นคลอนเสถียรภาพรัฐนาวาเสียเอง อย่างตัวเลขการขาดทุน 2.6 แสนล้าน ที่ฝ่ายค้านนำมาขย่ม เปิดแผลไว้ กว่าที่จะยอมรับก็โดน“ตีกิน”อยู่นานสองนาน
ยิ่งสภาพของ 2 รัฐมนตรีพาณิชย์ “บุญทรง เตริยาภิรมย์ –ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ” ออกมานั่งแถลง อู้ๆอี้ๆ แจงตัวเลขขาดทุนแบบไม่เคลียร์ แถมถูกนักข่าวไล่ต้อนเสียจนเสียผู้เสียคน ทั้งๆ ที่คำถามที่ป้อนไปนั้น เป็นคำถามง่ายๆ แค่ว่า รับจำนำข้าวมาเท่าไร ขายไปแล้วเท่าไร เหลือในสต็อกเท่าไร ทั้งที่หากพูดความจริงตั้งแต่ต้น โดยไม่หมกเม็ดอำพราง ปัญหาคงไม่เลยเถิดมาถึงขั้นนี้
จน “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร”นายกรัฐมนตรี ทนไม่ไหว ต้องส่งรัฐมนตรีมาช่วยที่ละคนสองคน เป็น “ตัวช่วย”มาประคองหิ้วปีก ในสภาพร่อแร่
ไปๆมาๆรัฐมนตรีเกือบครึ่งคณะ ถูกลากเข้าอุ้ม “เผือกร้อน”กันแบบทั่วถึง
สุดท้ายเป็น “วราเทพ รัตนากร”รมต.ประจำสำนักนายกฯ เด็ก“เจ๊ ด.”สายเดียวกับ“รมต.บุญทรุด”ที่ต้องมารับหน้าเสื่อเป็นคนปิดจ๊อบ แจกแจงตัวเลขขาดทุนประคองสถานการณ์ไปก่อน หลังปิดห้องเรียกเอกสารไล่เรียงลำดับเหตุการณ์ จนบวกลบคูณหารเคาะตัวเลขขาดทุนได้ที่ 1.36 แสนล้าน มาหักล้างฝ่ายค้าน ว่าไม่ได้เจ๊งยับ 2.6 แสนล้านบาทตามที่ถูกกล่าวหา
**ไม่เท่านั้น ยังชิงจังหวะตั้งตรรกะพิสดารว่า เงินที่รัฐเจ๊ง 1.36 แสนล้าน ส่งไปถึงมือชาวนาถึง 1.1 แสนล้าน ที่เหลือเสียหายเล็กน้อยราว 2 หมื่นล้านบาท ถือเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ เรียกว่าทำทุกวิถีทาง พยายามชิ่งหนีคำว่า“ขาดทุน”ที่แสลงใจคนในรัฐบาลเหลือเกิน
**แถกันสุดๆ สีข้างถลอกเป็นแถบๆ
เพราะตัวเลขที่ว่ามา ยังไม่นับรวมข้าวที่ค้างอยู่ในสต็อกล้นประเทศ หนำซ้ำยังมีประเภท “ข้าวเน่า”ที่ถูกขุดขึ้นมาประจานรายวัน
หน้าฉากก็ว่าตัวเลขขาดทุนระดับแสนล้านยอมรับ เพราะถือว่าให้ชาวนาอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ให้บรรดากระดูกสันหลังของชาติได้มีโอกาสลืมตาอ้าปากกับเขาบ้าง แต่หลังฉาก รู้กันว่า เตรียมแผนการหาทางถอยเต็มสูบ
หลังจากที่ก่อนหน้านี้ “กิตติรัตน์ ณ ระนอง”หัวหน้าทีมเศรษฐกิจรัฐบาล ออกมาแย้มว่า มีโอกาสที่รัฐบาลจะปรับเงื่อนไขการรับจำนำข้าว ให้เหมาะกับภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ก่อนโยนลูกต่อให้ คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ หรือ กขช. ออกเป็นมติ โดยใช้ข้ออ้างสวยหรูว่า ลดราคาจำนำเพื่อรักษาวินัยทางการเงินการคลังของรัฐบาลไว้
ซึ่งก็มีข่าวออกมาก่อนหน้านี้แล้วว่า กขช.โดย “บุญทรง”เสนอตัวเลข 12,000 บาทต่อตัน เข้าที่ประชุม ครม. ตั้งแต่วันที่ 18 มิ.ย. แต่เกิดขัดข้องทางเทคนิคเล็กน้อย จนต้องให้ กขช.กลับไปดูรายละเอียด ก่อนที่ “ยิ่งลักษณ์”จะเรียกประชุมนัดพิเศษอีกครั้ง เมื่อวานนี้ (19 มิ.ย.) และสรุปเป็นมติ ครม.ออกมา
เมื่อมาถึงจุดนี้ จึงยากที่จะปฏิเสธว่า การลดราคาจำนำข้าวครั้งนี้ ก็เพื่อต้องการลดภาระหนี้มหาศาลที่ก่อขึ้นมา
กลายเป็นการถอยก้าวใหญ่ ของโครงการจุดขายรัฐบาล ซึ่งไม่เพียงแค่แสดงให้เห็นถึงความไม่เอาไหนของทีมงาน ที่มีโอกาสเป็นรัฐมนตรีกระทรวงสำคัญเท่านั้น ยังกระทบไปถึง “สัญญาประชาคม”ที่ให้ไว้กับประชาชนคนรากหญ้า
กระทบไปถึงยี่ห้อ “ทักษิณคิด เพื่อไทยทำ”ที่เข้าช่วงขาลง อย่างเห็นได้ชัด
การมาปรับเปลี่ยนนโยบายที่ใช้หาเสียงไว้ รวมทั้งประกาศไว้กับรัฐสภา เมื่อครั้งเข้ามาดำรงตำแหน่ง แม้ในแง่กฎหมายอาจจะไม่ขัด แต่ในแง่ความรู้สึกของประชาชนนั้นเยียวยาลำบาก มุมมองความรู้สึกของชาวนา ที่มีต่อ รัฐบาลพรรคเพื่อไทย ในฐานะ "ผู้ให้" ย่อมลดต่ำ ดิ่งเหวอย่างแน่นอน
สาเหตุเป็นเพราะความคะนองใช้หลักประชานิยมพร่ำเพรื่อ ตั้งราคาจำนำไว้สูงลิ่ว แบบไม่สนราคาท้องตลาด ทำให้รัฐบาลต้องขาดทุนมหาศาลแบบไม่ควรจะเป็น
ยังไม่นับถึงขบวนการที่หากิน หาประโยชน์จากโครงการนี้แบบมิชอบอย่างมโหฬาร บานตะไท ซึ่งเอาเข้าจริงน่าจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้โครงการนี้ประสบภาวะขาดทุน แบบวินาศสันตะโรอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน
เมื่อรัฐบาลต้องตัดสินใจแบบ “เดินหน้าก็ตกคู ถอยหลังก็ตกคลอง”สิ่งที่ตามมาคงหนีไม่พ้น “ม็อบชาวนา”ตามคิวที่ “วิเชียร พวงลำเจียก”นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย ออกโรงมาเทกแอกชั่นล่วงหน้าว่า รับไม่ได้กับการลดราคาจำนำข้าว 12,000 บาทต่อตัน ของรัฐบาล ถือว่าผิดสัญญาที่เคยให้ไว้ และเตรียมตัวรับมือการชุมนุมใหญ่จากชาวนาได้เลย
**นอกจากลดราคารับจำนำข้าวแบบเสียไม่ได้แล้ว ช็อตต่อไปคงหนีไม่พ้นปรับ ครม.ต่อเนื่องมา ตามคำที่ว่า“เฉือนเนื้อร้ายรักษาชีวิต”หวังเอาตัวรอดต่ออายุรัฐบาลอีกเฮือก
การลดราคาจำนำข้าวครั้งนี้กลายเป็นการ“สารภาพบาป”ยอมรับว่านโยบายที่ทำมา ล้มเหลว ผิดพลาดโดยสิ้นเชิง และเป็นสัญญาณว่าหากยังดันทุรังต่อไป ไม่เพียงแต่จะนำรัฐบาลไปสู่จุดอวสานเท่านั้น ยังจะนำพาประเทศไปสู่ความหายนะ ล่มจม อีกต่างหาก
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มีเสียงร้องเตือนรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง แต่รัฐบาลกลับเลือกเล่นเกมเสี่ยง “ดื้อแพ่ง”ไม่สนใจ จนความเสียหายลุกลามบานปลาย สั่นคลอนเสถียรภาพรัฐนาวาเสียเอง อย่างตัวเลขการขาดทุน 2.6 แสนล้าน ที่ฝ่ายค้านนำมาขย่ม เปิดแผลไว้ กว่าที่จะยอมรับก็โดน“ตีกิน”อยู่นานสองนาน
ยิ่งสภาพของ 2 รัฐมนตรีพาณิชย์ “บุญทรง เตริยาภิรมย์ –ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ” ออกมานั่งแถลง อู้ๆอี้ๆ แจงตัวเลขขาดทุนแบบไม่เคลียร์ แถมถูกนักข่าวไล่ต้อนเสียจนเสียผู้เสียคน ทั้งๆ ที่คำถามที่ป้อนไปนั้น เป็นคำถามง่ายๆ แค่ว่า รับจำนำข้าวมาเท่าไร ขายไปแล้วเท่าไร เหลือในสต็อกเท่าไร ทั้งที่หากพูดความจริงตั้งแต่ต้น โดยไม่หมกเม็ดอำพราง ปัญหาคงไม่เลยเถิดมาถึงขั้นนี้
จน “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร”นายกรัฐมนตรี ทนไม่ไหว ต้องส่งรัฐมนตรีมาช่วยที่ละคนสองคน เป็น “ตัวช่วย”มาประคองหิ้วปีก ในสภาพร่อแร่
ไปๆมาๆรัฐมนตรีเกือบครึ่งคณะ ถูกลากเข้าอุ้ม “เผือกร้อน”กันแบบทั่วถึง
สุดท้ายเป็น “วราเทพ รัตนากร”รมต.ประจำสำนักนายกฯ เด็ก“เจ๊ ด.”สายเดียวกับ“รมต.บุญทรุด”ที่ต้องมารับหน้าเสื่อเป็นคนปิดจ๊อบ แจกแจงตัวเลขขาดทุนประคองสถานการณ์ไปก่อน หลังปิดห้องเรียกเอกสารไล่เรียงลำดับเหตุการณ์ จนบวกลบคูณหารเคาะตัวเลขขาดทุนได้ที่ 1.36 แสนล้าน มาหักล้างฝ่ายค้าน ว่าไม่ได้เจ๊งยับ 2.6 แสนล้านบาทตามที่ถูกกล่าวหา
**ไม่เท่านั้น ยังชิงจังหวะตั้งตรรกะพิสดารว่า เงินที่รัฐเจ๊ง 1.36 แสนล้าน ส่งไปถึงมือชาวนาถึง 1.1 แสนล้าน ที่เหลือเสียหายเล็กน้อยราว 2 หมื่นล้านบาท ถือเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ เรียกว่าทำทุกวิถีทาง พยายามชิ่งหนีคำว่า“ขาดทุน”ที่แสลงใจคนในรัฐบาลเหลือเกิน
**แถกันสุดๆ สีข้างถลอกเป็นแถบๆ
เพราะตัวเลขที่ว่ามา ยังไม่นับรวมข้าวที่ค้างอยู่ในสต็อกล้นประเทศ หนำซ้ำยังมีประเภท “ข้าวเน่า”ที่ถูกขุดขึ้นมาประจานรายวัน
หน้าฉากก็ว่าตัวเลขขาดทุนระดับแสนล้านยอมรับ เพราะถือว่าให้ชาวนาอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ให้บรรดากระดูกสันหลังของชาติได้มีโอกาสลืมตาอ้าปากกับเขาบ้าง แต่หลังฉาก รู้กันว่า เตรียมแผนการหาทางถอยเต็มสูบ
หลังจากที่ก่อนหน้านี้ “กิตติรัตน์ ณ ระนอง”หัวหน้าทีมเศรษฐกิจรัฐบาล ออกมาแย้มว่า มีโอกาสที่รัฐบาลจะปรับเงื่อนไขการรับจำนำข้าว ให้เหมาะกับภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ก่อนโยนลูกต่อให้ คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ หรือ กขช. ออกเป็นมติ โดยใช้ข้ออ้างสวยหรูว่า ลดราคาจำนำเพื่อรักษาวินัยทางการเงินการคลังของรัฐบาลไว้
ซึ่งก็มีข่าวออกมาก่อนหน้านี้แล้วว่า กขช.โดย “บุญทรง”เสนอตัวเลข 12,000 บาทต่อตัน เข้าที่ประชุม ครม. ตั้งแต่วันที่ 18 มิ.ย. แต่เกิดขัดข้องทางเทคนิคเล็กน้อย จนต้องให้ กขช.กลับไปดูรายละเอียด ก่อนที่ “ยิ่งลักษณ์”จะเรียกประชุมนัดพิเศษอีกครั้ง เมื่อวานนี้ (19 มิ.ย.) และสรุปเป็นมติ ครม.ออกมา
เมื่อมาถึงจุดนี้ จึงยากที่จะปฏิเสธว่า การลดราคาจำนำข้าวครั้งนี้ ก็เพื่อต้องการลดภาระหนี้มหาศาลที่ก่อขึ้นมา
กลายเป็นการถอยก้าวใหญ่ ของโครงการจุดขายรัฐบาล ซึ่งไม่เพียงแค่แสดงให้เห็นถึงความไม่เอาไหนของทีมงาน ที่มีโอกาสเป็นรัฐมนตรีกระทรวงสำคัญเท่านั้น ยังกระทบไปถึง “สัญญาประชาคม”ที่ให้ไว้กับประชาชนคนรากหญ้า
กระทบไปถึงยี่ห้อ “ทักษิณคิด เพื่อไทยทำ”ที่เข้าช่วงขาลง อย่างเห็นได้ชัด
การมาปรับเปลี่ยนนโยบายที่ใช้หาเสียงไว้ รวมทั้งประกาศไว้กับรัฐสภา เมื่อครั้งเข้ามาดำรงตำแหน่ง แม้ในแง่กฎหมายอาจจะไม่ขัด แต่ในแง่ความรู้สึกของประชาชนนั้นเยียวยาลำบาก มุมมองความรู้สึกของชาวนา ที่มีต่อ รัฐบาลพรรคเพื่อไทย ในฐานะ "ผู้ให้" ย่อมลดต่ำ ดิ่งเหวอย่างแน่นอน
สาเหตุเป็นเพราะความคะนองใช้หลักประชานิยมพร่ำเพรื่อ ตั้งราคาจำนำไว้สูงลิ่ว แบบไม่สนราคาท้องตลาด ทำให้รัฐบาลต้องขาดทุนมหาศาลแบบไม่ควรจะเป็น
ยังไม่นับถึงขบวนการที่หากิน หาประโยชน์จากโครงการนี้แบบมิชอบอย่างมโหฬาร บานตะไท ซึ่งเอาเข้าจริงน่าจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้โครงการนี้ประสบภาวะขาดทุน แบบวินาศสันตะโรอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน
เมื่อรัฐบาลต้องตัดสินใจแบบ “เดินหน้าก็ตกคู ถอยหลังก็ตกคลอง”สิ่งที่ตามมาคงหนีไม่พ้น “ม็อบชาวนา”ตามคิวที่ “วิเชียร พวงลำเจียก”นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย ออกโรงมาเทกแอกชั่นล่วงหน้าว่า รับไม่ได้กับการลดราคาจำนำข้าว 12,000 บาทต่อตัน ของรัฐบาล ถือว่าผิดสัญญาที่เคยให้ไว้ และเตรียมตัวรับมือการชุมนุมใหญ่จากชาวนาได้เลย
**นอกจากลดราคารับจำนำข้าวแบบเสียไม่ได้แล้ว ช็อตต่อไปคงหนีไม่พ้นปรับ ครม.ต่อเนื่องมา ตามคำที่ว่า“เฉือนเนื้อร้ายรักษาชีวิต”หวังเอาตัวรอดต่ออายุรัฐบาลอีกเฮือก