วานนี้ ( 13 มิ.ย.) สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่เอกสารข่าว ภายหลังการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ว่า ที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก 5 ต่อ 4 รับคำร้องที่ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และพวกรวม 6 คน และ คำร้องของ นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย สั่งระงับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ของสมาชิกรัฐสภา และให้ยุบ 6 พรรคการเมือง ที่ร่วมเข้าชื่อเสนอแก้ไข ไว้พิจารณาวินิจฉัย เนื่องจากเห็นว่าทั้ง 2 คำร้อง ต้องด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 วรรคสอง แต่ไม่มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวสั่งระงับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ไว้ก่อน เนื่องจากยังไม่ปรากฏมูลกรณีอันเป็นเหตุฉุกเฉิน หรือมีเหตุผลอันสมควรเพียงพอที่จะต้องใช้วิธีการคุ้มครองชั่วคราว ดังกล่าว และมีคำสั่งให้ผู้ร้องทำสำเนาคำร้อง ส่งต่อศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 312 ชุด เพื่อส่งให้ผู้ถูกร้อง และให้ผู้ถูกร้อง ซึ่งเป็นสมาชิกรัฐสภา ทั้ง 312 คน ยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาต่อศาลรัฐธรรมนูญ ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง หากไม่ยื่นภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ถือว่าไม่ติดใจ
ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ยังมีคำสั่ง รับคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ยื่นชี้แจงในกรณีประธานสภาผู้แทนราษฎร ส่งความเห็นของ ส.ส. 134 คน ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า สมาชิกภาพการเป็นส.ส.ของ นายอภิสิทธิ์ สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 106(5) ประกอบมาตรา 102(6) หรือไม่ เนื่องจากมีคำสั่งกระทรวงกลาโหม ปลด ร.ต.อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ออกจากราชการเป็นนายทหารกองหนุน พร้อมกับมีคำสั่งรับหนังสือมอบฉันทะของนายอภิสิทธิ์ และอนุญาตให้บุคคลดำเนินคดีแทน จำนวน 3 ฉบับ รวมไว้ในสำนวนแล้ว
นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ยังมีมติเป็นเอกฉันท์ ว่า มาตรา 267 วรรค สี่ ของพ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 2535 ที่บัญญัติว่า กรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่า บุคคลที่อาจกระทำผิดตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ อาจหลบหนีออกนอกราชอาณาจักร ให้สำนักกำกับตลาดหลักทรัพย์ ร้องขอให้ศาลอาญามีคำสั่งห้ามมิให้บุคคลดังกล่าวออกจากราชอาณาจักรไว้ก่อนได้ หากเป็นกรณีฉุกเฉินจำเป็นเร่งด่วน ให้คณะกรรมการกำกับตลาดหลักทรัพย์ มีคำสั่งห้ามบุคคลดังกล่าวเดินทางออกนอกราชอาณาจักรไว้เป็นการชั่วคราวได้ เป็นเวลาไม่เกิน 15 วัน จนกว่าศาลอาญาจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นนั้น ไม่ขัด หรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 34 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง ที่ให้บุคคลมีสิทธิเสรีภาพในการเดินทาง โดยเห็นว่า บทบัญญัติ มาตรา 267 วรรค สี่ ของพ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 นั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชน
สำหรับการมีคำวินิจฉัยดังกล่าว สืบเนื่องมาจาก ศาลอาญา ได้ส่งคำโต้แย้งของ นายสนทยา น้อยเจริญ ผู้ถูกกล่าวหาที่ 5 ในคดีที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กล่าวโทษ นายสุริยา ลาภวิสุทธิสิน เจ้าของบริษัท ปิกนิก คอเปอร์เรชั่น จำกัด นายสนทยา และพวก รวม 12 คน ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ ว่ากระทำทุจริตผิดหน้าที่ และยักยอกเงินของบริษัท อีสเทิร์นไวร์ ฯ เ พื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้เพื่อตนเองหรือผู้อื่น ในระหว่างปี 2547 –2548โดยศาลอาญามีคำสั่งห้าม นายสนทยา เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ตามมาตรา 267 วรรคสี่ ของพ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดทรัพย์ดังกล่าว ซึ่งนายสนทยา เห็นว่า เป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการเดินทางที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ จึงได้ขอให้ศาลอาญาส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
รายงานข่าว แจ้งว่า สำหรับทนายความที่นายอภิสิทธิ์ มีหนังสือมอบฉันทะให้เป็นผู้ดำเนินคดีนี้ในศาลรัฐธรรมนูญนั้น ประกอบด้วย นายบัณฑิต ศิริพันธุ์ นายราเมศ รัตนเชวง และนายไพบูลย์ โพธิ์น้อย โดยเมื่อคณะตุลาการมีคำสั่งรับชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ของนายอภิสิทธิ์ แล้ว ก็ต้องนำคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาของนายอภิสิทธิ์ ไปศึกษาก่อนว่ามีประเด็นใดบ้างที่ต้องพิจารณาวินิจฉัย และที่นายอภิสิทธิ์ ได้ชี้แจงมานั้น ครบถ้วนหรือไม่ มีคำขอให้ออกนั่งบัลลังก์ไต่สวนหรือไม่ และมีความจำเป็นหรือไม่ รวมถึงเอกสารที่มีในสำนวนเพียงพอให้พิจารณาวินิจฉัยหรือไม่ หรือมีความจำเป็นต้องเรียกเอกสารเพิ่มเติมจากหน่วยงานใด หรือไม่
ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ยังมีคำสั่ง รับคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ยื่นชี้แจงในกรณีประธานสภาผู้แทนราษฎร ส่งความเห็นของ ส.ส. 134 คน ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า สมาชิกภาพการเป็นส.ส.ของ นายอภิสิทธิ์ สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 106(5) ประกอบมาตรา 102(6) หรือไม่ เนื่องจากมีคำสั่งกระทรวงกลาโหม ปลด ร.ต.อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ออกจากราชการเป็นนายทหารกองหนุน พร้อมกับมีคำสั่งรับหนังสือมอบฉันทะของนายอภิสิทธิ์ และอนุญาตให้บุคคลดำเนินคดีแทน จำนวน 3 ฉบับ รวมไว้ในสำนวนแล้ว
นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ยังมีมติเป็นเอกฉันท์ ว่า มาตรา 267 วรรค สี่ ของพ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 2535 ที่บัญญัติว่า กรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่า บุคคลที่อาจกระทำผิดตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ อาจหลบหนีออกนอกราชอาณาจักร ให้สำนักกำกับตลาดหลักทรัพย์ ร้องขอให้ศาลอาญามีคำสั่งห้ามมิให้บุคคลดังกล่าวออกจากราชอาณาจักรไว้ก่อนได้ หากเป็นกรณีฉุกเฉินจำเป็นเร่งด่วน ให้คณะกรรมการกำกับตลาดหลักทรัพย์ มีคำสั่งห้ามบุคคลดังกล่าวเดินทางออกนอกราชอาณาจักรไว้เป็นการชั่วคราวได้ เป็นเวลาไม่เกิน 15 วัน จนกว่าศาลอาญาจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นนั้น ไม่ขัด หรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 34 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง ที่ให้บุคคลมีสิทธิเสรีภาพในการเดินทาง โดยเห็นว่า บทบัญญัติ มาตรา 267 วรรค สี่ ของพ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 นั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชน
สำหรับการมีคำวินิจฉัยดังกล่าว สืบเนื่องมาจาก ศาลอาญา ได้ส่งคำโต้แย้งของ นายสนทยา น้อยเจริญ ผู้ถูกกล่าวหาที่ 5 ในคดีที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กล่าวโทษ นายสุริยา ลาภวิสุทธิสิน เจ้าของบริษัท ปิกนิก คอเปอร์เรชั่น จำกัด นายสนทยา และพวก รวม 12 คน ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ ว่ากระทำทุจริตผิดหน้าที่ และยักยอกเงินของบริษัท อีสเทิร์นไวร์ ฯ เ พื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้เพื่อตนเองหรือผู้อื่น ในระหว่างปี 2547 –2548โดยศาลอาญามีคำสั่งห้าม นายสนทยา เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ตามมาตรา 267 วรรคสี่ ของพ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดทรัพย์ดังกล่าว ซึ่งนายสนทยา เห็นว่า เป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการเดินทางที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ จึงได้ขอให้ศาลอาญาส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
รายงานข่าว แจ้งว่า สำหรับทนายความที่นายอภิสิทธิ์ มีหนังสือมอบฉันทะให้เป็นผู้ดำเนินคดีนี้ในศาลรัฐธรรมนูญนั้น ประกอบด้วย นายบัณฑิต ศิริพันธุ์ นายราเมศ รัตนเชวง และนายไพบูลย์ โพธิ์น้อย โดยเมื่อคณะตุลาการมีคำสั่งรับชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ของนายอภิสิทธิ์ แล้ว ก็ต้องนำคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาของนายอภิสิทธิ์ ไปศึกษาก่อนว่ามีประเด็นใดบ้างที่ต้องพิจารณาวินิจฉัย และที่นายอภิสิทธิ์ ได้ชี้แจงมานั้น ครบถ้วนหรือไม่ มีคำขอให้ออกนั่งบัลลังก์ไต่สวนหรือไม่ และมีความจำเป็นหรือไม่ รวมถึงเอกสารที่มีในสำนวนเพียงพอให้พิจารณาวินิจฉัยหรือไม่ หรือมีความจำเป็นต้องเรียกเอกสารเพิ่มเติมจากหน่วยงานใด หรือไม่