วานนี้(11 มิ.ย.56) ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จัดเสวนาในหัวข้อ “ถอดรหัสบีอาร์เอ็นกับอนาคตการพูดคุยสันติภาพ” โดยพล.อ.สำเร็จ ศรีหร่าย ที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม กล่าวตอนหนึ่งว่า การก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ในปัจจุบันถือว่าเป็นการต่อสู้ทางสงคราม มีกองกำลังติดอาวุธ ซึ่งขบวนการบีอาร์เอ็นได้เตรียมการต่อสู้กับรัฐไทยมาร่วม 20 ปี ซึ่งกลุ่มที่ก่อเหตุรุนแรงก็คือหน่วยทหารขนาดเล็กเคลื่อนที่เร็ว หรืออาร์เคเค ทำงานโดยไม่มีเงินเดือน และต้องบริจาคเงินให้กับขบวนการวันละ 2 บาทด้วย
แต่องค์กรที่ถือว่าสำคัญที่สุดของขบวนการในขณะนี้คือ องค์กรสร้างสมาชิก หรือเปอร์กาเดส ซึ่งรับหน้าที่สร้างสมาชิกเพิ่มให้กับขบวนการ โดยชักจูงเยาวชน และพัฒนาจนกลายไปเป็นอาร์เคเค ทั้งนี้ในส่วนของแนวร่วมในพื้นที่ยังถือว่าไม่ใช่สมาชิกของขบวนการ เพราะไม่ได้ผ่านการเล่าประวัติศาสตร์ปัตตานี และการสาบานตนหรือ ซุมเป๊าะ คนที่เป็นสมาชิกต้องทำงานสนับสนุนขบวนการ และมีหน้าที่ของตนเองอย่างชัดเจน เช่น คนสูงอายุ อาจเป็นสายข่าวเฝ้าอยู่ตามร้านน้ำชา อย่างไรก็ตามแนวร่วมหมายถึงพวกที่ทำสิ่งใดแล้วขบวนการได้ประโยชน์ นั้นมี 2 กลุ่ม คือแนวร่วมทางตรง เช่น ขบวนการค้ายาเสติด สินค้าเถื่อน ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องระดมกำลังพลและเสียเวลาไปดูแลแก้ปัญหาเหล่านี้ ส่วนแนวร่วมทางอ้อมหมายถึงคู่ต่อสู้กับขบวนการ แต่ไม่รู้ว่าสิ่งที่ตนทำนั้น ขบวนการจะได้ประโยชน์ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่รัฐ การแก้ปัญหาต้องพูดคุยทั้งระดับบนและระดับล่าง เราเป็นเจ้าหน้าที่รัฐต้องอดทน ทั้งนี้เชื่อว่าการพูดคุยกับบีอาร์เอ็นในวันที่ 13 มิ.ย.จะมีความชัดเจนมากขึ้น
ด้านนายศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผอ.ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ คณะรัฐศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และเป็นหนึ่งในคณะที่ไปพูดคุยสันติกับบีอาร์เอ็น ที่มาเลเซีย กล่าวว่า สิ่งที่พบจากกการพูดคุยสันติภาพกับบีอาร์เอ็นคือการปรากฏตัวอย่างเป็นทางการขององค์กรดังกล่าว ซึ่งที่ผ่านมาหลายฝ่ายสงสัยและตั้งคำถามว่าเป็นตัวจริงหรือไม่ สามารถพูดคุยกับกลุ่มที่ก่อเหตุรุนแรงได้หรือไม่ การพบกันบีอาร์เอ็นที่อ้างความชอบธรรมให้ตัวเองว่ามาในฐานะตัวแทนประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ หรือเรียกว่าประชาชาติมลายูปัตตานี ซึ่งการปรากฏตัวครั้งแรกที่มาเลเซียของบีอาร์เอ็น ก็ได้รับการยอมรับจากรัฐบาลไทยและมาเลเซีย กลุ่มคนที่มาคุยอ้างว่าเป็นตัวแทนของสภาองค์กรนำ แต่จะมีการประสานกับกองกำลังในพื้นที่หรือไม่ยังไม่เห็น แต่ยอมรับว่าบีอาร์เอ็นมีกลไกการประสานงานที่มีเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพ แม้จะไร้ศูนย์กลางชัดเจน
ส่วนการให้สัมภาษณ์ของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะ ผอ.ศปก.กปต. ว่า หากพูดคุยกับนายฮัสซัน ตอยิบ แล้วสถานการณ์ไม่ดีขึ้น ก็จะเปลี่ยนตัวบีอาร์เอ็นนั้น นายศรีสมภพ กล่าวว่า ทุกอย่างของการพูดคุยอยู่ในกรอบกฎหมาย การพูดของ ร.ต.อ.เฉลิม คงเป็นคาแร็คเตอร์ส่วนตัว ทั้งนี้กรอบนโยบาย กฎหมาย และเจตนา และการเมือง มีความชัดเจนว่าจะต้องเดินหน้าพูดคุยต่อไป ส่วนการให้ความเห็นที่ไม่ค่อยตรงกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนั้นจะต้องบูรณาการในระดับสูง โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้กำหนดนโยบาย แต่อาจจะมีการแกว่งไกวในระดับกลางหรือล่าง แต่ไม่ถือว่าเป็นปัญหา
วันเดียวกัน พ.อ.ธนาธิป สว่างแสง โฆษกกระทรวงกลาโหม เปิดเผยว่า ในวันที่ 12 มิ.ย.นี้ เวลา 09.00 น.ที่กระทรวงกลาโหม พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่ากากระทรวงกลาโหม จะเป็นเจ้าภาพร่วมกับ นายนิวัฒน์ธำรงค์ บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำนักนายกรัฐมนตรี เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหา3จังหวัดชายแดนภาคใต้ สำหรับในส่วนของเหล่าทัพ จะส่งโฆษกของแต่ละหน่วยงานเป็นตัวแทนเข้าร่วมประชุม พร้อมโฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน(กอ.รมน.) ในส่วนของพื้นที่ 3จังหวัดชายแดนภาคใต้ส่งนั้น โฆษก กอ.รมน.ภาค4ส่วนหน้า เข้าร่วมประชุมเพื่อประชาสัมพันธ์และบูรณาการการทำงานในภาพรวม พร้อมจะมีการแถลงข่าวภาพรวมเป็นครั้งแรก ก่อนจะส่งข้อมูลให้กับรัฐบาล
การประชุมการแก้ไขปัญหาใน3จังหวัดชายแดนภาคใต้ในครั้งนี้ เพื่อวางกรอบการชี้แจงการทำงานในภาพรวม โดยเน้นการวางแผนการทำงานในเชิงรุก เพราะการดำเนินงานนั้นไม่ได้มีเพียงกระทรวงกลาโหมกับกองทัพเท่านั้นที่รับผิดชอบ แต่ยังมี 17 กระทรวง 66 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ที่ทำเนียบรัฐบาล ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผอ.คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบาย และยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศปก.กปต.) กล่าวถึงกรณีที่นายกรัฐมนตรีให้พล.อ.สุกำพล รับผิดชอบการแก้ปัญหาภาคใต้ว่า ดีจะได้มาช่วยกัน โดยอำนาจในการตัดสินใจยังอยู่ที่ตน นอกจากพล.อ.อ.สุกำพล แล้วก็ให้มากันอีกจะได้ช่วยกัน ส่วนการทำงานจะเป็นเอกภาพหรือไม่ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ตนสั่งอะไรเขาก็ฟัง ทั้งพล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เมื่อคืนก็โทรศัพท์คุยกัน คือพวกนี้เขาตั้งใจแต่เขาคิดไม่เหมือนตน ซึ่งตนคิดว่าเป็นเรื่องยากไม่ง่าย แต่พวกนี้พอเขาตั้งใจก็ฟิตทำงานอย่างเดียว ทั้งนี้เรื่องข้อมูลเรื่องภาคใต้ทั้งหมดจะเข้าคณะกรรมการ ศปก.กปต.
ถามย้ำว่า มองเป็นการถูกแย่งงานหรือไม่ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ไม่มี ท่านนายกฯ ก็อยากให้มาช่วย พล.อ.สุกำพลก็เป็นคนดี ตั้งใจ เขาเก่งกว่าตน เขาเป็นทหารตนเป็นตำรวจ ตนไม่ใช่คนใจน้อย ใครมาช่วยทำงานตนขอบคุณ เพราะรัฐบาลเดียวกัน ถ้าสำเร็จรัฐบาลได้คะแนน เพื่อไทยก็ได้คะแนน และฝ่ายปฏิบัติจะไม่งง เพราะการสั่งการต้องไปจาก ศปก.กปต. ตนก็สั่งการไม่ได้ ต้องเป็นคณะกรรมการแล้วมาบูรณาการหาบทสรุป ตนเป็นผอ.จริงตนก็สั่งไม่ได้ ส่วนการพูดคุยกับกลุ่มบีอาร์เอ็น ในวันที่ 13 มิ.ย. พ.ต.อ.ทวี จะไปด้วยหรือไม่ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า เขาจะไป เมื่อคืนพ.ต.อ.ทวีก็โทรศัพท์หาตน 2 ครั้ง ซึ่งตนก็บอกให้ตั้งหลักให้ดีฟังเขาบ้าง และเมื่อได้ข้อยุติมาแล้ว ศปก.กปต. ไม่เอาด้วยก็จบ ใครจะพูดอะไรก็ช่าง เพราะนายกรัฐมนตรีตั้งตนเป็น ผอ.ศปก.กปต. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ต้องเข้าคณะกรรมการ ศปก.กปต. นายกฯ ต้องการคนมาช่วยตนก็ดี ทำไมไปมองว่าตนขี้ใจน้อย หัวไม่ได้ล้านซะหน่อย
วันเดียวกัน ที่กองบัญชาการกองทัพบก พ.อ.วิเชียร แข็งขัน ผู้อำนวยการส่วนงบประมาณ สำนักงานประมาณและการเงิน กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) กล่าวชี้แจงงบประมาณของกอ.รมน.ในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า งบประมาณตั้งแต่ปี 52-56 เราจะได้งบประมาณเฉลี่ยปีละ 2 หมื่นล้าน โดยในปี 57 กอ.รมน.ได้งบประมาณในการนำไปแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 7,856,131,500 บาท โดยเพิ่มขึ้นจากงบประมาณที่ได้รับในปี 56 ที่ได้ 7,280 ล้านบาทอยู่ประมาณ 576 ล้าน โดยส่วนใหญ่งบประมาณที่เพิ่มขึ้นมากว่า 500 ล้าน เป็นงบกำลังพล และทรงชีพ เพราะงบกำลังพลในปี 56 เราขาดอยู่ประมาณ 500 ล้าน ทำให้เราต้องขอจากงบกลางมาตลอด และงบอีก 130 ล้านบาทเป็นงบซ่อมแซมยุทโธปกรณ์พิเศษ ทั้งนี้จะสังเกตได้ว่า งบประมาณในปี 55-57 งบของกระทรวงมหาดไทยและศอ.บต.เพิ่มมากขึ้น เพราะรัฐบาลเน้นเรื่องการพัฒนา ขณะที่ในส่วนของงบกระทรวงกลาโหมลดลง จึงอยากให้หน่วยงานที่ได้รับงบเพิ่มมากขึ้นมาช่วยกันดูแลแก้ไขปัญหา เพราะพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก เน้นย้ำมาโดยตลอดว่า การแก้ไขปัญหาไม่ใช่ เพียงหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเท่านั้น ทุกหน่วยงานจะต้องร่วมมือกันแก้ไขปัญหา
"ในระยะที่ 3 ของการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ ผบ.ทบ.มีนโยบายในการนำทหารกองทัพภาคต่างๆกลับหน่วยของตนเอง โดยให้เหลือเฉพาะทหารในกองทัพภาคที่ 4 และกองกำลังประจำถิ่น แต่เนื่องจากขณะนี้สถานการณ์ยังอยู่ในระยะที่ 2 และผบ.ทบ.ให้ความสำคัญเรื่องการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจึงจำเป็นต้องใช้กำลังพลในการดูแลความสงบ คิดว่า ถ้าถึงเวลาที่เหมาะสมจะสามารถถอนกำลังออกจากพื้นที่ได้ และจะนำงบประมาณของกำลังพลที่เหลือนำไปพัฒนาในส่วนอื่นต่อไป โดยขณะนี้มีเจ้าหน้าที่อยู่ในพื้นที่ ทั้งทหาร ตำรวจ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองทั้งหมดประมาณ 6 หมื่นคน แบ่งเป็นทหารจาก 3 เหล่าทัพประมาณ 4 หมื่น อาสาสมัครทหารพราน 2 หมื่น และตำรวจอีก 5-6 พัน ทั้งนี้มองว่า แนวโน้มการแก้ไขปัญหาภาคใต้ในปี 57 มีแนวโน้มดีขึ้น เพราะทุกส่วนมีการบูรณาการการทำงานที่มีคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายยุทธศาสตร์และแก้ไขปัญหาความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กปต.) ดูแล"พ.อ.วิเชียร กล่าว
พ.อ.สุริยา กำมณี รองผู้อำนวยการกรมกำลังพลทหารบก กล่าวถึงค่าตอบแทนทหารที่ปฏิบัติราชการชายแดนว่า นายทหารสัญญาบัตร นายทหารประทวน และทหารกองประจำการทุกนายที่ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จะได้ค่าตอบแทนพิเศษรายเดือนหรือค่าเสี่ยงภัยเดือนละ 2,500 บาท โดยในการลงปฏิบัติภารกิจนายทหารจะได้รับค่าเบี้ยเลี้ยงสนามอีกวันละ 250 บาท ส่วนพลทหารจะไม่ได้รับเบี้ยเลี้ยงสนาม แต่จะได้เงินเพิ่มพิเศษวันละ 19 บาท สำหรับนายทหารที่เสียชีวิตระหว่างปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่จะได้รับเงินตอบแทนรายละไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท
แต่องค์กรที่ถือว่าสำคัญที่สุดของขบวนการในขณะนี้คือ องค์กรสร้างสมาชิก หรือเปอร์กาเดส ซึ่งรับหน้าที่สร้างสมาชิกเพิ่มให้กับขบวนการ โดยชักจูงเยาวชน และพัฒนาจนกลายไปเป็นอาร์เคเค ทั้งนี้ในส่วนของแนวร่วมในพื้นที่ยังถือว่าไม่ใช่สมาชิกของขบวนการ เพราะไม่ได้ผ่านการเล่าประวัติศาสตร์ปัตตานี และการสาบานตนหรือ ซุมเป๊าะ คนที่เป็นสมาชิกต้องทำงานสนับสนุนขบวนการ และมีหน้าที่ของตนเองอย่างชัดเจน เช่น คนสูงอายุ อาจเป็นสายข่าวเฝ้าอยู่ตามร้านน้ำชา อย่างไรก็ตามแนวร่วมหมายถึงพวกที่ทำสิ่งใดแล้วขบวนการได้ประโยชน์ นั้นมี 2 กลุ่ม คือแนวร่วมทางตรง เช่น ขบวนการค้ายาเสติด สินค้าเถื่อน ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องระดมกำลังพลและเสียเวลาไปดูแลแก้ปัญหาเหล่านี้ ส่วนแนวร่วมทางอ้อมหมายถึงคู่ต่อสู้กับขบวนการ แต่ไม่รู้ว่าสิ่งที่ตนทำนั้น ขบวนการจะได้ประโยชน์ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่รัฐ การแก้ปัญหาต้องพูดคุยทั้งระดับบนและระดับล่าง เราเป็นเจ้าหน้าที่รัฐต้องอดทน ทั้งนี้เชื่อว่าการพูดคุยกับบีอาร์เอ็นในวันที่ 13 มิ.ย.จะมีความชัดเจนมากขึ้น
ด้านนายศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผอ.ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ คณะรัฐศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และเป็นหนึ่งในคณะที่ไปพูดคุยสันติกับบีอาร์เอ็น ที่มาเลเซีย กล่าวว่า สิ่งที่พบจากกการพูดคุยสันติภาพกับบีอาร์เอ็นคือการปรากฏตัวอย่างเป็นทางการขององค์กรดังกล่าว ซึ่งที่ผ่านมาหลายฝ่ายสงสัยและตั้งคำถามว่าเป็นตัวจริงหรือไม่ สามารถพูดคุยกับกลุ่มที่ก่อเหตุรุนแรงได้หรือไม่ การพบกันบีอาร์เอ็นที่อ้างความชอบธรรมให้ตัวเองว่ามาในฐานะตัวแทนประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ หรือเรียกว่าประชาชาติมลายูปัตตานี ซึ่งการปรากฏตัวครั้งแรกที่มาเลเซียของบีอาร์เอ็น ก็ได้รับการยอมรับจากรัฐบาลไทยและมาเลเซีย กลุ่มคนที่มาคุยอ้างว่าเป็นตัวแทนของสภาองค์กรนำ แต่จะมีการประสานกับกองกำลังในพื้นที่หรือไม่ยังไม่เห็น แต่ยอมรับว่าบีอาร์เอ็นมีกลไกการประสานงานที่มีเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพ แม้จะไร้ศูนย์กลางชัดเจน
ส่วนการให้สัมภาษณ์ของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะ ผอ.ศปก.กปต. ว่า หากพูดคุยกับนายฮัสซัน ตอยิบ แล้วสถานการณ์ไม่ดีขึ้น ก็จะเปลี่ยนตัวบีอาร์เอ็นนั้น นายศรีสมภพ กล่าวว่า ทุกอย่างของการพูดคุยอยู่ในกรอบกฎหมาย การพูดของ ร.ต.อ.เฉลิม คงเป็นคาแร็คเตอร์ส่วนตัว ทั้งนี้กรอบนโยบาย กฎหมาย และเจตนา และการเมือง มีความชัดเจนว่าจะต้องเดินหน้าพูดคุยต่อไป ส่วนการให้ความเห็นที่ไม่ค่อยตรงกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนั้นจะต้องบูรณาการในระดับสูง โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้กำหนดนโยบาย แต่อาจจะมีการแกว่งไกวในระดับกลางหรือล่าง แต่ไม่ถือว่าเป็นปัญหา
วันเดียวกัน พ.อ.ธนาธิป สว่างแสง โฆษกกระทรวงกลาโหม เปิดเผยว่า ในวันที่ 12 มิ.ย.นี้ เวลา 09.00 น.ที่กระทรวงกลาโหม พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่ากากระทรวงกลาโหม จะเป็นเจ้าภาพร่วมกับ นายนิวัฒน์ธำรงค์ บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำนักนายกรัฐมนตรี เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหา3จังหวัดชายแดนภาคใต้ สำหรับในส่วนของเหล่าทัพ จะส่งโฆษกของแต่ละหน่วยงานเป็นตัวแทนเข้าร่วมประชุม พร้อมโฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน(กอ.รมน.) ในส่วนของพื้นที่ 3จังหวัดชายแดนภาคใต้ส่งนั้น โฆษก กอ.รมน.ภาค4ส่วนหน้า เข้าร่วมประชุมเพื่อประชาสัมพันธ์และบูรณาการการทำงานในภาพรวม พร้อมจะมีการแถลงข่าวภาพรวมเป็นครั้งแรก ก่อนจะส่งข้อมูลให้กับรัฐบาล
การประชุมการแก้ไขปัญหาใน3จังหวัดชายแดนภาคใต้ในครั้งนี้ เพื่อวางกรอบการชี้แจงการทำงานในภาพรวม โดยเน้นการวางแผนการทำงานในเชิงรุก เพราะการดำเนินงานนั้นไม่ได้มีเพียงกระทรวงกลาโหมกับกองทัพเท่านั้นที่รับผิดชอบ แต่ยังมี 17 กระทรวง 66 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ที่ทำเนียบรัฐบาล ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผอ.คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบาย และยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศปก.กปต.) กล่าวถึงกรณีที่นายกรัฐมนตรีให้พล.อ.สุกำพล รับผิดชอบการแก้ปัญหาภาคใต้ว่า ดีจะได้มาช่วยกัน โดยอำนาจในการตัดสินใจยังอยู่ที่ตน นอกจากพล.อ.อ.สุกำพล แล้วก็ให้มากันอีกจะได้ช่วยกัน ส่วนการทำงานจะเป็นเอกภาพหรือไม่ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ตนสั่งอะไรเขาก็ฟัง ทั้งพล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เมื่อคืนก็โทรศัพท์คุยกัน คือพวกนี้เขาตั้งใจแต่เขาคิดไม่เหมือนตน ซึ่งตนคิดว่าเป็นเรื่องยากไม่ง่าย แต่พวกนี้พอเขาตั้งใจก็ฟิตทำงานอย่างเดียว ทั้งนี้เรื่องข้อมูลเรื่องภาคใต้ทั้งหมดจะเข้าคณะกรรมการ ศปก.กปต.
ถามย้ำว่า มองเป็นการถูกแย่งงานหรือไม่ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ไม่มี ท่านนายกฯ ก็อยากให้มาช่วย พล.อ.สุกำพลก็เป็นคนดี ตั้งใจ เขาเก่งกว่าตน เขาเป็นทหารตนเป็นตำรวจ ตนไม่ใช่คนใจน้อย ใครมาช่วยทำงานตนขอบคุณ เพราะรัฐบาลเดียวกัน ถ้าสำเร็จรัฐบาลได้คะแนน เพื่อไทยก็ได้คะแนน และฝ่ายปฏิบัติจะไม่งง เพราะการสั่งการต้องไปจาก ศปก.กปต. ตนก็สั่งการไม่ได้ ต้องเป็นคณะกรรมการแล้วมาบูรณาการหาบทสรุป ตนเป็นผอ.จริงตนก็สั่งไม่ได้ ส่วนการพูดคุยกับกลุ่มบีอาร์เอ็น ในวันที่ 13 มิ.ย. พ.ต.อ.ทวี จะไปด้วยหรือไม่ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า เขาจะไป เมื่อคืนพ.ต.อ.ทวีก็โทรศัพท์หาตน 2 ครั้ง ซึ่งตนก็บอกให้ตั้งหลักให้ดีฟังเขาบ้าง และเมื่อได้ข้อยุติมาแล้ว ศปก.กปต. ไม่เอาด้วยก็จบ ใครจะพูดอะไรก็ช่าง เพราะนายกรัฐมนตรีตั้งตนเป็น ผอ.ศปก.กปต. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ต้องเข้าคณะกรรมการ ศปก.กปต. นายกฯ ต้องการคนมาช่วยตนก็ดี ทำไมไปมองว่าตนขี้ใจน้อย หัวไม่ได้ล้านซะหน่อย
วันเดียวกัน ที่กองบัญชาการกองทัพบก พ.อ.วิเชียร แข็งขัน ผู้อำนวยการส่วนงบประมาณ สำนักงานประมาณและการเงิน กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) กล่าวชี้แจงงบประมาณของกอ.รมน.ในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า งบประมาณตั้งแต่ปี 52-56 เราจะได้งบประมาณเฉลี่ยปีละ 2 หมื่นล้าน โดยในปี 57 กอ.รมน.ได้งบประมาณในการนำไปแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 7,856,131,500 บาท โดยเพิ่มขึ้นจากงบประมาณที่ได้รับในปี 56 ที่ได้ 7,280 ล้านบาทอยู่ประมาณ 576 ล้าน โดยส่วนใหญ่งบประมาณที่เพิ่มขึ้นมากว่า 500 ล้าน เป็นงบกำลังพล และทรงชีพ เพราะงบกำลังพลในปี 56 เราขาดอยู่ประมาณ 500 ล้าน ทำให้เราต้องขอจากงบกลางมาตลอด และงบอีก 130 ล้านบาทเป็นงบซ่อมแซมยุทโธปกรณ์พิเศษ ทั้งนี้จะสังเกตได้ว่า งบประมาณในปี 55-57 งบของกระทรวงมหาดไทยและศอ.บต.เพิ่มมากขึ้น เพราะรัฐบาลเน้นเรื่องการพัฒนา ขณะที่ในส่วนของงบกระทรวงกลาโหมลดลง จึงอยากให้หน่วยงานที่ได้รับงบเพิ่มมากขึ้นมาช่วยกันดูแลแก้ไขปัญหา เพราะพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก เน้นย้ำมาโดยตลอดว่า การแก้ไขปัญหาไม่ใช่ เพียงหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเท่านั้น ทุกหน่วยงานจะต้องร่วมมือกันแก้ไขปัญหา
"ในระยะที่ 3 ของการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ ผบ.ทบ.มีนโยบายในการนำทหารกองทัพภาคต่างๆกลับหน่วยของตนเอง โดยให้เหลือเฉพาะทหารในกองทัพภาคที่ 4 และกองกำลังประจำถิ่น แต่เนื่องจากขณะนี้สถานการณ์ยังอยู่ในระยะที่ 2 และผบ.ทบ.ให้ความสำคัญเรื่องการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจึงจำเป็นต้องใช้กำลังพลในการดูแลความสงบ คิดว่า ถ้าถึงเวลาที่เหมาะสมจะสามารถถอนกำลังออกจากพื้นที่ได้ และจะนำงบประมาณของกำลังพลที่เหลือนำไปพัฒนาในส่วนอื่นต่อไป โดยขณะนี้มีเจ้าหน้าที่อยู่ในพื้นที่ ทั้งทหาร ตำรวจ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองทั้งหมดประมาณ 6 หมื่นคน แบ่งเป็นทหารจาก 3 เหล่าทัพประมาณ 4 หมื่น อาสาสมัครทหารพราน 2 หมื่น และตำรวจอีก 5-6 พัน ทั้งนี้มองว่า แนวโน้มการแก้ไขปัญหาภาคใต้ในปี 57 มีแนวโน้มดีขึ้น เพราะทุกส่วนมีการบูรณาการการทำงานที่มีคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายยุทธศาสตร์และแก้ไขปัญหาความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กปต.) ดูแล"พ.อ.วิเชียร กล่าว
พ.อ.สุริยา กำมณี รองผู้อำนวยการกรมกำลังพลทหารบก กล่าวถึงค่าตอบแทนทหารที่ปฏิบัติราชการชายแดนว่า นายทหารสัญญาบัตร นายทหารประทวน และทหารกองประจำการทุกนายที่ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จะได้ค่าตอบแทนพิเศษรายเดือนหรือค่าเสี่ยงภัยเดือนละ 2,500 บาท โดยในการลงปฏิบัติภารกิจนายทหารจะได้รับค่าเบี้ยเลี้ยงสนามอีกวันละ 250 บาท ส่วนพลทหารจะไม่ได้รับเบี้ยเลี้ยงสนาม แต่จะได้เงินเพิ่มพิเศษวันละ 19 บาท สำหรับนายทหารที่เสียชีวิตระหว่างปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่จะได้รับเงินตอบแทนรายละไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท